เพื่อยกระดับการพัฒนาธุรกิจชุมชนไทยอย่างครบวงจร ควบคู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานเปิดโครงการ Business Day 2567 คณะบริหารธุรกิจ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.กล้าหาญ  ณ น่าน คณบดีคณะบริหารธุรกิจ กล่าวรายงานการจัดโครงการ ณ หอประชุมราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

โดยรองศาสตราจารย์ ดร.กล้าหาญ ณ น่าน คณบดีคณะบริหารธุรกิจ เผยว่า Business Day 2567 จัดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติดำเนินกิจกรรม โดยอาศัยแนวคิดทางทฤษฎีที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำเสนอผลงาน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สามารถต่อยอดความคิดจากการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน และให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทราบถึงหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะบริหารธุรกิจ รวมถึงแนวทางการประกอบอาชีพของสาขาวิชาต่าง ๆ ในการดำเนินงานครั้งนี้ ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการประกวดบูธและการนำเสนอผลงานทางวิชาการ จำนวน 10 หลักสูตร การประกวดเขียนแผนธุรกิจ BA Young Startup 2024 จำนวน 9 ทีม การแข่งขันประกวดร้องเพลง BA  Singing Contest 2024 คณะบริหารธุรกิจ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมของการผลิตบัณฑิตเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและธุรกิจในอนาคตต่อไป

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย เปิดรับนิสิตชาวไทยและต่างชาติ ด้วยกว่าร้อยหลักสูตรนานาชาติ รองรับทุกสายการเรียน สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ไร้พรมแดน เตรียมบัณฑิตสู่ความเป็นพลเมืองโลก

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ชาวต่างชาตินิยมมาท่องเที่ยว ด้วยเสน่ห์ของ Soft Power อย่างศิลปะ วัฒนธรรม อาหาร วิถีชีวิต ธรรมชาติ ภูมิอากาศ และค่าครองชีพที่สมเหตุสมผล แต่ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ – ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในจุดหมายของการศึกษาที่นิสิตต่างชาติสนใจมาเรียนและใช้ชีวิตด้วยเช่นกัน

“ประเทศไทยมีความโดดเด่นทางด้านการศึกษาและเป็นที่สนใจของนิสิตต่างชาติจำนวนมาก เช่นที่จุฬาฯ เราเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่การศึกษามีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มีหลักสูตรนานาชาติที่สามารถรองรับนิสิตต่างชาติด้วยการสอนเป็นภาษาอังกฤษมากกว่า 100 หลักสูตรในทุกระดับปริญญา ในขณะที่ค่าครองชีพและค่าเล่าเรียนของเราก็ถูกกว่าประเทศอื่น ๆ ที่โดดเด่นด้านการศึกษาในระดับเดียวกัน” คุณศุกลิน วนาเกษมสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการนานาชาติ สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

ปัจจุบัน จุฬาฯ มีนิสิตต่างชาติประมาณ 2,000 คน จาก 60 ประเทศ ที่มาศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนระดับปริญญาในหลายหลักสูตร

จำนวนของนิสิตต่างชาติดูมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้วยทิศทางของโลกสมัยใหม่ ที่เปิดให้ผู้คนเดินทางและโยกย้ายถิ่นฐานได้สะดวกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะไปทำงาน ท่องเที่ยว หรือศึกษาเล่าเรียน โดยเฉพาะการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต สร้างเสริมความเป็นพลเมืองโลกและทักษะในการอยู่ในโลกสมัยใหม่ ที่ต้องเปิดใจ เข้าใจและยอมรับความแตกต่างหลากหลายและพหุวัฒนธรรม

ทำไม นิสิตต่างชาติจึงเลือกมาเรียนจุฬาฯ

ชื่อเสียงของจุฬาฯ และการยอมรับในระดับนานาชาติเป็นหนึ่งในเหตุผลต้น ๆ ที่นิสิตต่างชาติเลือกมาเรียนที่จุฬาฯ

ในระดับประเทศ จุฬาฯ ครองอันดับ 1 ของประเทศไทยเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน จาก THE Impact Rankings 2023 และติดอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยเป็นปีที่ 15 ติดต่อกัน (ตั้งแต่ปี 2009) ในการจัดอันดับ QS World University Rankings 2024 โดย QS Quacquarelli Symonds  

ส่วนในระดับนานาชาติ จุฬาฯ ครองอันดับ 17 ของโลก จาก THE Impact Rankings 2023 และติดอันดับท็อป 50 ของโลกทางด้านผลลัพธ์ด้านการจ้างงาน (Employment Outcomes) โดย QS World University Rankings 2024

“จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางการศึกษาในระดับอาเซียนและเอเชีย มีความโดดเด่นด้านวิชาการทั้งในสายวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ทุกหลักสูตรเปี่ยมด้วยคุณภาพและส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกให้นิสิตทั้งชาวไทยและต่างชาติ ซึ่งเมื่อจบการศึกษา บัณฑิตจุฬาฯ จะมีทักษะที่จำเป็นและสามารถทำงานได้ทุกที่ในโลก” คุณศุกลิน กล่าว

นอกจากความโดดเด่นด้านวิชาการแล้ว บรรยากาศการเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่จุฬาฯ ยังมีสีสัน ผสานความเก่าแก่และความทันสมัย เปิดโลกการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ไม่มีในตำรา

จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งมาแล้วกว่า 106 ปี ในพื้นที่การศึกษากว่า 1 ตารางกิโลเมตร (637 ไร่) ของจุฬาฯ มีอาคารทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมากมาย อีกทั้งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ขนานไปกับการเติบโตของประเทศไทยยุคใหม่ (modernization) นอกจากนี้ ด้วยความที่ตั้งอยู่ใจกลางมหานคร จุฬาฯ จึงอยู่ในแหล่งความทันสมัยและวัฒนธรรมสมัยใหม่ เช่น สยามสแควร์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ และไม่ไกลจากย่านเมืองเก่า เช่น เยาวราช สามย่าน เจริญกรุง ฯลฯ กล่าวได้ว่านิสิตที่มาเรียนที่จุฬาฯ จะได้ใช้ชีวิตการเรียนรู้ในบรรยากาศที่อดีต ปัจจุบัน และทิศทางแห่งอนาคตผสานกันอย่างลงตัว

ความร่วมมือระดับนานาชาติ สร้างนิสิตจุฬาฯ สู่ความเป็นพลเมืองโลก

จุฬาฯ ก้าวไปกับทิศทางการศึกษาในโลกสมัยใหม่ ที่เน้นหล่อหลอมบัณฑิตให้มีสำนึกความเป็นพลเมืองโลก สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงมีความเข้าใจความหลากหลายของสังคมและอยู่ได้ในพหุวัฒนธรรม

“ด้วยชื่อเสียงและความพยายามของจุฬาฯ ทำให้เรามี MOU กับมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่งทั่วโลก นิสิตหลักสูตรนานาชาติของจุฬาฯ จะได้เรียนรู้และอยู่ในบรรยากาศแบบนานาชาติ และมีโอกาสได้เจอสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เข้าเรียนกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศในวิชาที่ตนสนใจได้แทนที่จะเรียนตลอด 4 ปีที่จุฬาฯ ที่เดียว”

ด้วยเป้าหมายดังกล่าว จุฬาฯ ได้ทำความร่วมมือกับหน่วยงานและมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ เพื่อให้นิสิตสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล รวมถึง โดยความร่วมมือที่จุฬาฯ ทำกับสถาบันต่าง ๆ ได้แก่

ความร่วมมือด้านฐานข้อมูล จุฬาฯ มีห้องสมุดและฐานข้อมูลระดับเวิล์ดคลาส ที่นิสิตจุฬาฯ จะสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ ทั้งหนังสือ วารสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลอ้างอิงจากต่างประเทศได้อย่างกว้างขวาง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการค้นคว้าของนิสิตได้อย่างเต็มที่

ความร่วมมือด้านหลักสูตร จุฬาฯ มีหลักสูตรนานาชาติแบบหลักสูตรปริญญาร่วมและหลักสูตรสองปริญญา ที่ผู้เรียนจะได้เรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์จากต่างประเทศ เช่น หลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา ร่วมกับ University of Queensland ออสเตรเลีย หลักสูตรปริญญาโทการจัดการทางวิศวกรรม ร่วมกับ The University of Warwick สหราชอาณาจักร เป็นต้น

นอกจากนี้ จุฬาฯ ยังได้ทำ MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในโลก เพื่อให้นิสิตจุฬาฯ สามารถไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ เพื่อเรียนในสาขาที่ตนเองสนใจกับมหาวิทยาลัยคู่สัญญา 1-2 ภาคการศึกษา หรือหากไม่อยากเดินทาง ก็สามารถแลกเปลี่ยนผ่าน APRU Virtual Student Exchange ที่นิสิตสามารถเข้าคลาสเรียนของมหาวิทยาลัยคู่สัญญาจากต่างประเทศได้ผ่านห้องเรียนออนไลน์

(ดูรายชื่อหลักสูตรทั้งหมดที่จุฬาฯ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ที่นี่)

ชีวิตในรั้วจุฬาฯ สะดวกสบาย สนุก มีสีสัน

มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นเรื่องการเรียนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องการใช้ชีวิต คุณศุกลินให้ข้อมูลว่า จุฬาฯ มีความพร้อมทุกด้าน ไม่ว่าบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จะช่วยให้การมาเรียนและใช้ชีวิตในต่างแดนของนิสิตต่างชาติเป็นประสบการณ์สุดวิเศษครั้งหนึ่งในชีวิต

  • การเดินทางจุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ใจกลางเมือง มีเส้นทางการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS และ MRT ส่วนการเดินทางภายในมหาวิทยาลัย จุฬาฯ ก็มีรถโดยสารภายในจุฬาฯ (Shuttle Bus) เพื่อให้นิสิตสามารถเดินทางไปอาคารเรียน หอพักนิสิต และพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยถึง 6 เส้นทาง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

  • สุขภาพกายจุฬาฯ มีศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ที่ให้บริการทางสุขภาพฟรีแก่นิสิตจุฬาฯ และมีประกันสุขภาพสำหรับนิสิตต่างชาติ ที่นิสิตสามารถไปรับบริการที่โรงพยาบาลทั่วไปได้ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน นิสิตจึงไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายหากเกิดเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างที่เข้ามาศึกษา
  • สุขภาพใจสำหรับนิสิตที่รู้สึกไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน การใช้ชีวิต การปรับตัว หรือเรื่องใดก็ตาม จุฬาฯ มีหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต (Chula Student Wellness) ที่มีนักจิตวิทยาและจิตแพทย์คอยให้คำปรึกษานิสิตที่มีเรื่องกังวลทางใจ อีกทั้งจุฬาฯ ยังมีเจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ และเจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตรที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี คอยให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียน การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ การทำวีซ่า และการดูแลขณะเกิดเรื่องฉุกเฉิน

 

  • ที่พักสำหรับนิสิตจุฬาฯ มีหอพักเรือนวิรัชมิตร (CU I-House) สำหรับนิสิตต่างชาติโดยเฉพาะ สามารถเดินทางได้สะดวก มีรถรับส่งไปยังมหาวิทยาลัย อยู่ใกล้ร้านอาหารมากมาย และค่าใช้จ่ายถูกกว่าหอพักบริเวณใกล้เคียง
  • กิจกรรมและสันทนาการสำนักบริหารกิจการนิสิต ตั้งชมรม International Student Club เพื่อให้นิสิตต่างชาติและนิสิตไทยได้ทำกิจกรรมด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือหากนิสิตสนใจเล่นกีฬา ดนตรี หรือกิจกรรมด้านอื่น ๆ ก็สามารถสมัครเข้าร่วมชมรมที่สนใจได้ เพื่อหาเพื่อนที่มีความสนใจเหมือนกัน

  • Unibuddyแอปคู่หูการใช้ชีวิตในจุฬาฯ เพื่อนิสิตต่างชาติ คุณศุกลินกล่าวว่าในบางครั้งการดูรีวิวจากอินเทอร์เน็ตก็อาจจะมีข้อมูลที่จริงบ้างไม่จริงบ้าง หรือการสอบถามข้อมูลโดยตรงจากมหาวิทยาลัยก็อาจจะไม่ได้ข้อมูลในมุมมองของผู้เรียน จุฬาฯ จึงเปิด “Unibuddy” เว็บไซต์แอปพลิเคชันที่จะช่วยให้นิสิตต่างชาติได้รู้เรื่องราว ทั้งเรื่องเรียนและการใช้ชีวิตในมุมมองนิสิตจุฬาฯ โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นนิสิตจุฬาฯ ทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ สามารถเข้าใช้งาน Unibuddy ได้ที่นี่

พูดไทยไม่ได้ จะมาเรียนที่จุฬาฯ ได้ไหม?

ภาษาไม่ใช่อุปสรรคในการเรียนและใช้ชีวิตที่จุฬาฯ แม้จะไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ นิสิตต่างชาติก็สามารถเรียนและสนุกกับประสบการณ์ชีวิตที่จุฬาฯ ได้

หลักสูตรนานาชาติทุกหลักสูตรจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด นอกจากนี้ นิสิตจุฬาฯ ชาวไทยส่วนมากก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี ภายนอกมหาวิทยาลัยอาจจะมีบุคคลที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ แต่สมัยนี้ เราก็มีเครื่องมือและโปรแกรมที่สามารถแปลภาษาเพื่อใช้สื่อสารได้ เช่น ในโรงอาหาร แม้จะไม่มีเมนูภาษาอังกฤษ ก็สามารถถ่ายรูปอาหารบนป้ายที่อยากทานแล้วยื่นให้แม่ค้าดูได้”

สำหรับนิสิตที่สนใจจะเรียนภาษาไทย จุฬาฯ ก็มีหลักสูตรหลากหลายรูปแบบให้นิสิตได้เลือกเรียนตามความสนใจ

  • หลักสูตรออนไลน์เรียนฟรีกับ Chula MOOC เตรียมตัวก่อนมาประเทศไทยด้วยหลักสูตรภาษาไทยพื้นฐานที่น่าสนใจ ได้แก่ หลักสูตร Survival Thai หลักสูตร Communicative Thai for Foreigners และหลักสูตร Thai on Campus พร้อมรับประกาศนียบัตรจากจุฬาฯ เมื่อเรียนจบหลักสูตร

  • หลักสูตรภาษาไทยแบบลงทะเบียนเรียนนิสิตต่างชาติสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยสำหรับนิสิตต่างชาติโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนเรียนเพิ่ม และยังเก็บเป็นวิชาเรียนในใบทรานสคริปต์ได้ด้วย
  • หลักสูตรภาษาไทยแบบเข้มข้นหากการเรียนในห้องเรียนยังไม่เพียงพอ นิสิตก็สามารถสมัครเรียนเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะมีการเรียนภาษาในห้องเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมเวิร์คช็อปทางวัฒนธรรมไทยอีกด้วย หลักสูตรนี้ชาวต่างชาติที่ไม่ใช่นิสิตจุฬาฯ ก็สามารถสมัครเรียนได้เช่นเดียวกัน

“ในเมื่อมีโอกาสได้มาเป็นนิสิตจุฬาฯ ที่ประเทศไทย นอกจากการเรียนภาษาไทยกับเจ้าของภาษาในห้องเรียนแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการนำความรู้ที่ได้มาใช้กับคนนอกห้องเรียนเพื่อฝึกฝนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาไทยที่สุด”

สนใจมาเรียนที่จุฬาฯ จะต้องทำอย่างไร

จุฬาฯ มีหลักสูตรนานาชาติ ที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกมากกว่า 100 หลักสูตรจากหลากหลายสาขาวิชา โดยเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ในเดือนสิงหาคม

การรับสมัครในระดับปริญญาตรีจะเปิดรับสมัครรอบที่ 1 ในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม

ส่วนการรับสมัครในระดับบัณฑิตศึกษาจะแบ่งการรับสมัครเป็น 2 ช่วง ได้แก่ รอบรับสมัครเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม เริ่มเรียนในเดือนสิงหาคม และรอบรับสมัครเดือนกันยายน – ตุลาคม เริ่มเรียนในเดือนมกราคม

สำหรับนิสิตที่ต้องการทุน จุฬาฯ ก็มีทุนสนับสนุนสำหรับนิสิตหลายประเภทตามทั้งทุนการศึกษาและทุนทำวิจัย

นอกจากการเรียนในระดับปริญญาแล้ว จุฬาฯ ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนสำหรับนิสิตจากต่างประเทศที่สนใจมาเรียนที่จุฬาฯ ระยะสั้น 1-2 ภาคการศึกษา เพื่อมาเก็บเกี่ยวความรู้ที่จุฬาฯ และหาประสบการณ์การใช้ชีวิตที่ประเทศไทยในเวลาเดียวกัน

·      Exchange Program นิสิตจากมหาวิทยาลัยคู่สัญญาที่ทำ MOU ร่วมกับจุฬาฯ สามารถมาแลกเปลี่ยนที่จุฬาฯ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนที่จุฬาฯ นอกจากชำระค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยของตน ผู้สนใจสามารถสมัครได้ล่วงหน้า 6 เดือนก่อนเปิดภาคเรียน* ที่ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยที่ตนเองสังกัด โดยสามารถตรวจสอบมหาวิทยาลัยคู่สัญญาได้ที่นี่

·      Visiting Program สำหรับนิสิตที่มาจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่ไม่ใช่คู่สัญญาของจุฬาฯ ก็สามารถมาศึกษาที่จุฬาฯ 1-2 ภาคการศึกษาได้เช่นกัน โดยสามารถติดต่อกับผู้ดูแลหลักสูตรที่ต้องการสมัครของจุฬาฯ ได้เลย โดยชำระค่าเล่าเรียนที่จุฬาฯ ผู้สนใจจะต้องสมัครล่วงหน้า 6 เดือนก่อนเปิดภาคเรียน*

*สำหรับ Exchange Program และ Visiting Program หากต้องการจะเริ่มเรียนในภาคเรียนที่ 1 ในเดือนสิงหาคม สามารถสมัครได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน และหากต้องเริ่มเรียนในภาคเรียนที่ 2 ในเดือนมกราคม สามารถสมัครได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – สิงหาคมของปีก่อนหน้า

·      APRU Virtual Student Exchange สำหรับนิสิตต่างชาติจากมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่าย  APRU ที่สนใจจะเรียนวิชาของจุฬาฯ แต่ไม่สะดวกที่จะมาเรียนที่ประเทศไทย หรืออยากจะเรียนแค่วิชาเดียว ก็สามารถเข้าร่วมโครงการ APRU Virtual Student Exchange ที่นิสิตจะได้เรียนวิชาที่สนใจบนคลาสออนไลน์กับนิสิตจุฬาฯ โดยที่ชำระค่าเล่าเรียนเฉพาะที่มหาวิทยาลัยของตนเท่านั้น

เตรียมวีซ่าให้พร้อมก่อนมาเรียนที่จุฬาฯ  

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การใช้ชีวิตที่จุฬาฯ ของชาวต่างชาติราบรื่น นั่นก็คือ “วีซ่า” ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาเรียนที่จุฬาฯ ต้องมี Education Visa

หลังจากที่ผู้สมัครผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ทางมหาวิทยาลัยจะออกเอกสารตอบรับเข้าศึกษาเพื่อให้ผู้สมัครไปยื่นขอวีซ่าที่สถานทูตไทยหรือกงสุลไทย และเมื่อต้องมีการต่อวีซ่า ก็สามารถติดต่อได้ที่ผู้ประสานงานหลักสูตรของตนเองได้เลย

“สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ Education Visa คือ วีซ่าประเภทนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเดินทางมาจากประเทศของตนเองเท่านั้น วีซ่านักท่องเที่ยวไม่สามารถเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็นวีซ่านักเรียนที่ประเทศไทยได้ กรณีนี้ นิสิตจะต้องเดินทางกลับประเทศของตนก่อนแล้วบินกลับมาใหม่เท่านั้น”

“สำหรับผู้ที่มีวีซ่าทำงานแล้วมาเรียนนอกเวลาทำงานก็สามารถมาเรียนได้ แม้จะถือวีซ่าทำงาน แต่วีซ่าทำงานไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่านักเรียนได้ที่ประเทศไทยเช่นเดียวกับวีซ่าท่องเที่ยว ซึ่งเป็นปัญหาที่นิสิตพบบ่อย นี่จึงคือสิ่งที่ควรเตรียมตัวมาให้ดีหากนิสิตไม่อยากเสียเงินและเสียเวลาในการเดินทาง”

Medicine Revolution: Are We Going to Cure All Diseases and at What Price?” โดย ศาสตราจารย์อารอน ชีชาโนเวอร์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี 2547

เอปสัน ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีการพิมพ์และการฉายภาพระดับโลก เห็นความสำคัญจึงเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุนแพลตฟอร์มนี้ให้สามารถสร้างระบบนิเวศสร้างสรรค์และสร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจ ด้วยการชักชวนศิลปินและนักสร้างสรรค์ทั้งจากภาคการ ศึกษาและภาคธุรกิจ มาร่วมกันสร้างผลงานศิลปะจากเทคโนโลยี Projection Mapping เพื่อนำไปสู่การเป็นต้นแบบของการออกแบบเมืองน่าอยู่ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีไร้ขีดจำกัด ด้วยการติดตั้งเครื่องเลเซอร์ โปรเจคเตอร์ ความสว่างสูงทั่วกรุงเทพฯ โชว์ศักยภาพผ่านผลงานการฉายภาพกราฟฟิกบนอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง (Projection Mapping) ภายในงาน Bangkok Design Week 2024  

เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Design Week 2024 จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ ภาคีเครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตลอดจนศิลปิน นักออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ กว่า 2,000 ราย เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจ ผ่านงานดีไซน์และกิจกรรมสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ ทั่วเมืองกรุงเทพฯ ภายใต้ธีม ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ผ่าน 3 มิติ คือ  Hard Matters เมืองดีต่อกาย  Heart Matters เมืองดีต่อใจ และ Design Matters เมืองออกแบบดี ชีวิตดี

สำหรับงานครั้งนี้เอปสัน ได้ทำงานร่วมกับศิลปินและนักออกแบบทั้งจากภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ ในการสร้างผลงานศิลปะจากเทคโนโลยี Projection Mapping เพื่อนำไปสู่การเป็นต้นแบบของการออกแบบเมืองน่าอยู่ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีไร้ขีดจำกัด ผ่านเอปสัน เลเซอร์โปรเจคเตอร์ ความสว่างสูง ในย่านต่างๆ 11 จุดทั่วเมืองกรุงเทพฯ เพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองให้เต็มไปด้วยแสงสีและจินตนาการที่ไร้ขีดจำกัด และสื่อถึงความลงตัวในการทำงานร่วมกันระหว่างทักษะฝีมือของนักออกแบบกับเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว

ไฮไลท์โปรแกรมที่น่าสนใจ อาทิ

1) Collective Blooms โดย 27 June Studio

อาคารไปรสนียาคารตามหาเมล็ดดอกไม้ดิจิทัลในย่านปากคลองตลาด และนำมาปลูกร่วมกันที่กระถางดอกไม้ที่อาคารไปรสนียาคารเชิงสะพานพระปกเกล้า ผ่าน Interactive Projection Mapping

2) Living in a Color ป้อมมหากาฬ

ผลงาน Projection Mapping ที่นำเสนอผลงานศิลปะของศิลปินฉายบนตัวอาคารป้อมมหากาฬ ในหัวข้อ “Living in a Color” ผู้ร่วมงานจะได้สัมผัสแสงสีและประสบการณ์การสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ โดย The Motion House พร้อมด้วย Line up พิเศษ โดย From Object To Studio, 2NERDZ, Summer & Co Studio จากประเทศไทย SEMBILAN MATAHARI, Arafura media Design จากประเทศอินโดนีเชีย และ COSCI ผลงานจากนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

3) มา/หา/กัน Join (joy) together

กิจกรรม ExperienceScape นำเสนอเทคนิค New Media Art และ Projection Mapping เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในพื้นที่ปิดร้าง พื้นที่สวนสาธารณะ พื้นที่มรดกทางสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น และพื้นที่ (นอกเวลา) ราชการ ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี มาพัฒนาพื้นที่สาธารณะ ให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างสร้างสรรค์สำหรับทุกคน โดยร่วมมือกับศิลปินแนวหน้าทั้งไทยและต่างชาติในการออกแบบ Video Mapping สื่อสารถึงประวัติศาสตร์ และความหวังสู่อนาคต ฉายภาพบนพื้นผิวของสถาปัตยกรรม สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยเอปสัน เลเซอร์โปรเจคเตอร์หลากหลายรุ่น ให้ย่านพระนครใน 4 พื้นที่จัดงาน ได้แก่ ประปาแม้นศรี (หลังเก่า) ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) สวนรมณีนาถ และป้อมมหากาฬ

ผู้ที่สนใจ “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567” หรือ “Bangkok Design Week 2027” สามารถเดินชมงานออกแบบ ใน 15+ ย่านทั่วกรุงเทพฯ ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ ติดตามโปรแกรมได้ที่ www.bangkokdesignweek.com, FB: bangkokdesignweek

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศความสำเร็จต่อเนื่อง ประเดิมศักราชใหม่ปี 2567 เดินหน้ารับ 2 รางวัลอันทรงเกียรติ ได้แก่ รางวัล Best Investor Relations Bank และ รางวัล Best Environmental Sustainability Bank จากเวที International Finance Awards 2023 จัดโดย International Finance Magazine (IFM) นิตยสารด้านธุรกิจและการเงินชั้นนำระดับโลกจากประเทศอังกฤษ ซึ่งสะท้อนความโดดเด่นของทีทีบีในฐานะธนาคารไทยที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับบนเวทีระดับนานาชาติ โดยเป็นธนาคารที่ให้ความสำคัญและมีมาตรฐานการดำเนินงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ในระดับสูงและเป็นที่ยอมรับมาโดยตลอด พร้อมทั้งมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ตามแนวทางความสำเร็จสู่ “การธนาคารเพื่อความยั่งยืน” ตามกรอบ B+ESG โดยมีนางสาวดารารัตน์ อุระพันธมาศ หัวหน้านักลงทุนสัมพันธ์ ทีเอ็มบีธนชาต และนายกมลพันธ์ ลักษณา หัวหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืน ทีเอ็มบีธนชาต เป็นผู้แทนรับมอบรางวัล ณ โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย กรุงเทพฯ 

ทั้งนี้ รางวัล Best Investor Relations Bank เป็นรางวัลที่สะท้อนความโดดเด่นของผลงานและกิจกรรมด้านนักลงทุนสัมพันธ์ในระดับสากลและเป็นที่ยอมรับจากนักวิเคราะห์ ตลอดจนนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ สำหรับรางวัล Best Environmental Sustainability Bank จากการที่ธนาคารให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมผ่านโซลูชันทางการเงินที่ยั่งยืน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การออกตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ ตราสารหนี้สีเขียว ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนทางทะเล หรือ ตราสารหนี้สีฟ้า สินเชื่อที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน รวมถึงการปล่อยสินเชื่อสีเขียวเพื่อสนับสนุนธุรกิจในการอนุรักษ์และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลงสังคมสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และยังขับเคลื่อนองค์กร มุ่งเดินตามกรอบ B+ESG นำแนวทางการธนาคารเพื่อความยั่งยืนเป็นรากฐานในการวางกลยุทธ์ทั่วทั้งองค์กรอีกด้วย

บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้าเซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรู ไอดีซี ผู้นำการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์และระบบคลาวด์ของประเทศไทยลงทุนเพิ่มกว่า 10,000 ล้านบาท ในการขยายศักยภาพธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ครั้งใหญ่ โดยการลงทุนนี้จะประกอบไปด้วยหลายโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการขยายดาต้าเซ็นเตอร์ที่ ทรู ไอดีซี อีสต์ บางนา แคมปัส และทรู ไอดีซี นอร์ท เมืองทอง โครงการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนเพื่อก้าวเป็น Green Data Center เต็มรูปแบบ และโครงการพัฒนาความเป็นเลิศในการดำเนินงาน ตลอดระยะเวลา3 ปี ตั้งแต่ปี 2567 ถึงปี 2570 โดยโครงการทั้งหมดจะเพิ่มขีดความสามารถให้กับบริษัทฯ ในการรองรับธุรกิจของไฮเปอร์สเกลเลอร์ ผู้ให้บริการโอทีที และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากต่างประเทศที่กำลังยกขบวนเข้ามาในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

ขึ้นแท่นดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดของไทย

การลงทุนหลักจะเน้นการขยายดาต้าเซ็นเตอร์โครงการทรู ไอดีซี อีสต์ บางนา แคมปัส และโครงการ ทรู ไอดีซี นอร์ท เมืองทอง โดยมุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานดาต้าเซ็นเตอร์ให้กับประเทศไทยในการรองรับการเข้ามาของธุรกิจระดับโลก เช่น ผู้ให้บริการระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Hyperscaler) อย่างระบบคลาวด์และระบบโซเชียลมีเดีย ผู้ให้บริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต (Over-the-Top; OTT) อย่างระบบคอนเทนต์สตรีมมิง ตลอดจนธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีการปรับใช้และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการดิจิทัลออกสู่ตลาดโดยเฉพาะด้าน AI ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยทั้งสองโครงการจะมีพื้นที่ให้บริการกว่า 60,000 ตารางเมตร ก่อสร้างตามมาตรฐาน Uptime และ TIA-942 ส่งมอบความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจด้วยรูปแบบการให้บริการแบบ Build-to-Suit ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถออกแบบการวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รูปแบบต่าง ๆ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ประเภทเน้นการประมวลผลขั้นสูงที่รองรับเทคโนโลยี AI (High Density Computing) ระบบคอมพิวเตอร์ประเภทใช้ของเหลวเพื่อปรับอุณหภูมิ (Liquid Cooling Computing) ตลอดจนลูกค้าสามารถกำหนดการใช้พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ของตนเองได้ในปริมาณที่สูงและมีความอิสระมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการขยายปริมาณไฟฟ้าอีกจำนวน 41 เมกะวัตต์ ซึ่งส่งผลให้ ทรู ไอดีซี สามารถให้บริการด้วยกำลังไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเมื่อรวมกับกำลังไฟฟ้าเดิม อีกทั้งยังมีการควบคุมประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า (Power Usage Effectiveness: PUE) ไว้ที่ระดับต่ำที่สุดในไทย ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่มีการเชื่อมต่อโครงข่ายเสรีด้วยระบบเน็ตเวิร์ก 4 เส้นทางแบบอิสระจากกัน การันตีการเข้าถึงและส่งผ่านข้อมูลอย่างไร้รอยต่อ พร้อมบริการเชื่อมต่อตรงไปยังระบบคลาวด์ต่างประเทศและบริการ Internet Exchange ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างฉับไวกว่าการเชื่อมต่อแบบทั่วไป โครงการขยายดาต้าเซ็นเตอร์ดังกล่าวคาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการในตั้งแต่ช่วงปี 2568

ยกระดับความยั่งยืนตั้งแต่รากฐานดิจิทัล

การลงทุนส่วนถัดมาจะเป็นโครงการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนเพื่อก้าวเป็น Green Data Center เต็มรูปแบบ ซึ่งทรู ไอดีซีเล็งเห็นว่าความยั่งยืนทางดิจิทัลต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการก่อสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ ตั้งแต่การออกแบบอาคารสีเขียวตามมาตรฐาน Leadership in Energy & Environmental Design (LEED) เน้นการใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ระบบและอุปกรณ์ที่สนับสนุนความยั่งยืน เช่น อุปกรณ์ที่ปราศจากสารซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (SF-6) การใช้แบตเตอรี่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เป็นต้น ในด้านของพลังงานไฟฟ้าที่มีการนำร่องติดตั้งระบบโซลาร์เซลส์ไปในดาต้าเซ็นเตอร์เฟสก่อนหน้า จะนำเอาพลังงานสะอาดรูปแบบอื่นอย่างพลังงานลมและเซลส์เชื้อเพลิงมาใช้ควบคู่ในเฟสใหม่ด้วย และภายนอกดาต้าเซ็นเตอร์จะมีการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยจะผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลส์ที่ติดตั้งบริเวณหลังคาของพื้นที่จอดรถเพื่อสนับสนุนการใช้งานพลังงานสะอาดให้กับผู้ใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ทรู ไอดีซีได้ตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่จะผลักดันธุรกิจสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutral ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2,573 อีกด้วย 

ผนึกความอัจฉริยะคู่กับการบริหารจัดการแบบฉบับสากล

ทรู ไอดีซี ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานของดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีความเป็นเลิศมากยิ่งขึ้น จะเพิ่มการใช้งานซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลดาต้าเซ็นเตอร์อัจฉริยะ (AI Data Center Infrastructure Management) ผสานการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ไอโอทีและเซนเซอร์เพื่อการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถเฝ้าระวังแบบเรียลไทม์พร้อมการวิเคราะห์ผลจากศูนย์กลางแห่งเดียว เพิ่มการกำกับดูแลและรักษาสมดุลอุณหภูมิภายในดาต้าเซ็นเตอร์ให้อุปกรณ์และระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความร้อนให้สูงทำงานได้อย่างราบรื่น การดำเนินงานทั้งหมดของดาต้าเซ็นเตอร์ได้ถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้แนวทางปฎิบัติของมาตรฐาน Uptime ระดับ Tier III Gold ซึ่งทางทรู ไอดีซีได้รับการรับรองเพียงหนึ่งเดียวในไทยและอินโดไชน่า ครอบคลุมในเรื่องการบำรุงรักษาเชิงรุก การสำรองอุปกรณ์ซัพพอร์ตระบบ การตรวจสอบระบบอย่างถี่ถ้วน ปฎิบัติงานโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะและประสบการณ์สูง ช่วยให้การดำเนินงานด้านไอทีของลูกค้าเป็นไปอย่างไร้กังวล

นายธีรพันธุ์ เจริญศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไปของทรู ไอดีซี เปิดเผยว่า “การเติบโตของตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ในปี 2024 นั้นมีการคาดการณ์จาก USDC Technology ว่าจะเติบโตสูงถึง 12.9% และมีมูลค่าตลาดถึง 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า 122,500 ล้านบาท ประกอบกับการคาดการณ์การเติบโตของการใช้งานเทคโนโลยี AI ในเอเชียจาก Statista ในปี 2023 ถึง 2030 ว่าจะเติบโตสูงสูงถึง 19.5%  เราจึงตระหนักและเล็งเห็นว่าการลงทุนในโครงการดาต้าเซ็นเตอร์ครั้งนี้จะสร้างโอกาสใหม่ให้กับเศรษฐกิจของไทยและอาเซียน ตลอดจนสนับสนุนชีวิตดิจิทัลของผู้คนในสังคมให้ดียิ่งขึ้นและยั่งยืนขึ้น เพราะธุรกิจเราเป็นรากฐานที่จะรองรับการต่อยอดทางเทคโนโลยีของธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลและยุคของ AI ที่ผู้เล่นจากต่างประเทศก็ต่างพากันเข้ามาทำธุรกิจ ถึงแม้ว่าเราจะเป็นผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์อันดับหนึ่งของไทยและดำเนินธุรกิจมาแล้วกว่า 20 ปี เรายังคงต้องเพิ่มศักยภาพและพัฒนาบริการให้ครอบคลุมตอบโจทย์ของทุกธุรกิจให้มากที่สุด”

ผู้ที่สนใจใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์และบริการระบบคลาวด์ของทรู ไอดีซี หรือต้องการเยี่ยมชมศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์สามารถติดต่อเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trueidc.com/th/contact หรือ โทรฯ 02-494-8300

บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นำโดย นายโชน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, นางอรนุช สำราญฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายประกันชีวิต, นายจักรพงศ์ แสงแก้ว ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานตัวแทนและที่ปรึกษาทางการเงิน และ นางสาวอรนาฎ นชะพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายกลยุทธ์การตลาดและบริหารจัดการลูกค้า นำทัพผู้บริหารฝ่ายขายและตัวแทนประกันชีวิตกว่า 500 ท่าน บินลัดฟ้าไปดินแดนเวกัสแห่งเอเชีย เขตปกครองพิเศษมาเก๊า MACAU Go Together - One Team, One Goal เพื่อสร้างพลังให้กับทีมสุดยอดนักขาย กรุงเทพประกันชีวิต ก้าวสู่เป้าหมายสร้างการเติบโต 2 เท่าร่วมกันนับจากนี้ โดยนอกจากจะไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสักการะเจ้าแม่กวนอิมเพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว ยังเยี่ยมชมย่านมรดกโลก เซนาโด สแควร์ พร้อมถ่ายภาพแห่งความประทับใจ ณ โบสถ์เซนต์ปอล สถานที่ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองมาเก๊า เมื่อวันที่ 25 – 29 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา

เริ่มต้นแล้ววันนี้กับงาน Cybersec Asia x Thailand International Cyber Week 2024 (โดย NCSA) รวมกลุ่มผู้นำและผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์จากประเทศไทยและทั่วเอเชียมารวมตัวกันภายใต้หลังคาเดียวกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน แบ่งปันข้อมูลเชิงลึก และสร้างภูมิทัศน์ของความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งอนาคตไปพร้อมกัน

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของ New S-Curve หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีแนวโน้มเติบโตสูงและส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้รับความสนใจไม่เพียงแต่ในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในเวทีระหว่างประเทศด้วย วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ตระหนักถึงความสำคัญทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (NCSA) ร่วมจัดงาน Cybersec Asia 2024 x Thailand International Cyber Week 2024 (โดย NCSA) กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 31 มกราคม ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 09:30 น. - 17:00 น. Cybersec Asia มุ่งมั่นที่จะสร้างเวทีเจรจาการค้าและแหล่งรวมสัมมนาระดับนานาชาติที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในด้านความปลอดภัยด้านไอที การจัดการข้อมูล และโซลูชั่นคลาวด์

พิธีเปิดงาน Cybersec Asia x Thailand International Cyber Week 2024 เริ่มต้นวันนี้ 31 มกราคม 2567 ได้ต้อนรับผู้นำทางธุรกิจและแขกผู้มีเกียรติมากกว่าร้อยคนในงานพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ รวมถึงตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ สถานทูต สมาคม บริษัทเอกชน และสื่อมวลชน เพื่อรวมกันเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาและผลักดันวิวัฒนาการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในเอเชีย

Thailand International Cyber Week 2024 (โดย NCSA)

 

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และในฐานะผู้แทนนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ในโลกดิจิทัล ภัยคุกคามทางไซเบอร์แฝงตัวอยู่และปรับตัวเหมือนกิ้งก่าคาเมเลี่ยนเพื่อใช้ประโยชน์จากความไว้วางใจ นวัตกรรม และข้อมูล การฉ้อโกงและการหลอกลวงใช้เครื่องมือดิจิทัล เพื่อดักจับเหยื่อในช่วงเวลาแห่งความเปราะบาง นำไปสู่การสูญเสียทางการเงินอย่างร้ายแรง กลยุทธ์ฟิชชิ่งมีการพัฒนานอกเหนือจากอีเมลเพื่อแทรกซึม SMS แอพส่งข้อความ และโซเชียลมีเดีย โดยเลียนแบบได้ถูกต้องอย่างแม่นยำจนน่าตกใจ การละเมิดข้อมูลจะละเมิดป้อมปราการดิจิทัลอย่างเงียบ ๆ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางทั้งในด้านส่วนตัวและด้านอาชีพ มักเกิดจากการป้องกันที่ไม่เพียงพอ การเกิดขึ้นของปัญญาประดิษฐ์ได้ขยายความซับซ้อนของการโจมตีทางไซเบอร์ ในขณะที่ศักยภาพที่ปรากฏขึ้นของคอมพิวเตอร์ควอนตัมคุกคามความปลอดภัยของการเข้ารหัสสมัยใหม่ เตือนเราว่าความลับของวันนี้อาจไม่ถูกซ่อนไว้ในวันพรุ่งนี้ หากไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ”

“Cybersec Asia x Thailand International Cyber Week 2024 (โดย สกมช.) สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของรัฐบาลไทยในการสร้างระบบนิเวศด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่น รายละเอียดของภัยคุกคามทางไซเบอร์ นำเสนอโซลูชันที่ล้ำสมัย และส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย งานนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นอันแรงกล้าของเราในการรักษาภูมิทัศน์ดิจิทัลในอนาคต” พลอากาศตรี อมร ชมเชย กล่าวสรุป

Cybersec Asia เปิดตัวครั้งแรกในประเทศอย่างสมบูรณ์แบบ (โดย วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค)

คุณอิกอร์ เพาก้า กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค เน้นย้ำถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์ในเอเชีย หลังจากความสำเร็จของ Cybersec Europe 2023 เราได้ตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ โดยเปิดตัวงาน Cyber Asia 2024 เป็นครั้งแรก ภายในงานจะมีการนำเสนอการอภิปรายที่น่าสนใจ ข้อมูลเชิงลึกที่ล้ำสมัย และโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับผู้คนในวงการทั้งในและต่างประเทศ ด้วยการรวมตัวกันของบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมมากกว่า 50+ รายจัดแสดงนวัตกรรมและโซลูชั่นครบวงจร อาทิ บริษัท Palo Alto Networks (US), M-Tech (TH), Akamai (US), Huawei, Microsoft, Google และแบรนด์ระดับโลกอีกมากมาย "ในมุมมองของการสร้างแพลตฟอร์มทางการศึกษา เวทีนี้จะนำเสนอเนื้อหาเชิงลึก งานวิจัย บทวิเคราะห์ที่แข็งแกร่งสำหรับตลาดความปลอดภัยทางไซเบอร์ นำเสนอโดย 60 วิทยากรจากนานาประเทศ ร่วมบรรยายมากกว่า 50 เซสชันตลอดระยะเวลาสองวันของการจัดงาน นอกจากนี้ยังมีเวิร์กช็อปทางเทคนิคที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทในอุตสาหกรรมและการประชุมที่สำคัญระดับประเทศของหน่วยงานภาครัฐไทยและต่างประเทศ” คุณอิกอร์ เพาก้า แสดงความมั่นใจว่า “Cybersec Asia จะสร้างแพลตฟอร์มที่ยั่งยืนสำหรับการพัฒนาตลาดความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอนาคตและเอเชียอย่างสมบูรณ์”

TCEB  ผู้สนับสนุนสำคัญของอุตสาหกรรมงานนิทรรศการไทย

นายภูริพันธ์ บุนนาค ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) - ทีเส็บ กล่าวถึงบทบาทที่สำคัญของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในโลกดิจิทัลทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย เน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็วของภูมิภาคและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ความสำคัญของมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจไทย ซึ่งทางสสปน. เล็งเห็นความสำคัญของการจัดงานแสดงสินค้าทุกรูปแบบและพร้อมที่จะส่งเสริมผลักดันให้งานแสดงสินค้าไทยก้าวทัดเทียมนานาประเทศในภูมิภาค เช่นเดียวกันกับงาน Cybersec Asia และ Thailand International Cyber Week ซึ่งเป็นอนาคตของโลกไซเบอร์และความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจากทุกสาขาอาชีพ

งานพิธีเปิดอย่างเป็นทางการได้ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและผู้นำคนสำคัญจำนวนมากจากหลายภาคส่วนของอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ นาย Atul Kumar หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ทางการค้าระดับโลกจากสภาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล ประเทศอินเดีย ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอินเดียและโอกาสความร่วมกันในอนาคต นอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจากแขกผู้มีเกียรติมากมายร่วมเป็นสักขีพยานและเยี่ยมชมงาน อาทิ ผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม (ประเทศไทย) - สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทย – สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต – กองบัญชาการกองทัพไทย และสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยและกัมพูชา เป็นต้น พร้อมด้วยแบรนด์ระดับโลกกว่า 50+ แบรนด์ที่พร้อมเผยโซลูชั่นล่าสุดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด

Cybersec Asia x Thailand International Cyber Week 2024 ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ การบรรจบกันของนวัตกรรมและความร่วมมือ เพื่อเป็นทางเชื่อมไปสู่พัฒนาการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://cybersec-asia.net 

มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์  โดย ดร.สายสม วงศาสุลักษณ์ ประธานมูลนิธิ ฯ จัดงานแถลงข่าว เดิน วิ่งการกุศลมินิมาราธอน “วิ่งสนุกปลูกปัญญา ครั้งที่ 2 (Run Fun Fund) 

ณ ห้องประชุมหทัยนเรศวร์ ชั้น 7 มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยงานแข่งขันจัดขึ้น วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 05.30 น. ณ สวนพุทธมณฑล ศาลายา จังหวัดนครปฐม

ดร.สายสม วงศาสุลักษณ์ ประธานมูลนิธิ ฯ กล่าวว่า มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นองค์กรสาธารณกุศล ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี 2505 โดยให้บริการแก่คนพิการทางสติปัญญาในด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านต่าง ๆ และฝึกอาชีพตลอดทั้ง จัดสวัสดิการ ปัจจุบันมีหน่วยงานที่ให้บริการทั้งหมด 11 แห่ง

ตั้งอยู่ในส่วนกลาง 6 แห่ง และในส่วนภูมิภาคอีก 5 แห่ง และกำลังดำเนินการจัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 3 แห่ง คือ ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก สระบุรี และปัตตานี โดยในส่วนของ จังหวัดปัตตานีสามารถให้บริการผู้พิการทางสติปัญญาที่นับถือทั้งศาสนาพุทธและอิสลาม โดยรวมจะสามารถรองรับ ผู้พิการทางสติปัญญาทุกระดับวัยและระดับความพิการ ได้จำนวน 800 – 900 คน นอกจากนั้นยังได้ขยายการบริการ ลงสู่ชุมชน โดยให้การอบรมความรู้แก่ผู้ปกครองและอาสาสมัครตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดหาสวัสดิการให้แก่ผู้ที่มีฐานะยากจนทั้งประจำและเป็นครั้งคราว ปีละไม่น้อยกว่า 5,000 ราย

การดำเนินงานของมูลนิธิฯ นับได้ว่าช่วย แบ่งเบาภาระของภาครัฐและสังคมได้เป็นอย่างมาก ทุนในการดำเนินงานของมูลนิธิฯ อาศัยจากการรับบริจาคเป็นส่วนใหญ่ ในแต่ละปีจะใช้งบประมาณจำนวนประมาณ 60 ล้านบาท ดังนั้น คณะกรรมการมูลนิธิฯ จึงได้จัดกิจกรรม น้อง ๆ ชวน “เดิน-วิ่งสนุกปลูกปัญญา ครั้งที่ 2” (Run Fun Fund 2) ขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สวนพุทธมณฑล ศาลายา เพื่อหารายได้สนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิฯ

การแข่งขันเดิน-วิ่งการกุศลมินิมาราธอนครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล ชนะเลิศทั้งประเภทชายและหญิง โดยแบ่งเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร 5 กิโลเมตร และ 10 กิโลเมตร

จึงขอเชิญผู้สนใจ สมัครเข้าร่วมการแข่งขันได้ที่ มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เลขที่ 362 ถนนเพชรบุรี แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-215-0781-5/ หรือ e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. / ID Line : 095-5506812 หรือสมัครออนไลน์ได้ที่ www.fanaticrun.com

การจัดการแข่งขันครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.สายสม วงศาสุลักษณ์ ประธานมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน และได้รับความกรุณาจากผู้มีอุปการคุณ ให้การสนับสนุนเป็นสปอนเซอร์หลัก ดังนี้

  1. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
  2. บริษัท ทีโอเอ โดฟเคม-อินดัสตรีส์ จำกัด (TOA)
  3. บริษัท Apollo (Thailand) จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น ยี่ห้อ Idemitsu
  4. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
  5. บริษัท เซ็นทรัล กรุ๊ป จำกัด
  6. บริษัท ถุงเท้า ท.ไทยรุ่ง จำกัด ผู้ผลิตถุงเท้า Socksy
  7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทห้างร้านและบุคคลต่าง ๆ ที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนเป็นอย่างดี

X

Right Click

No right click