เอไอเอ ตอกย้ำความสำเร็จครั้งสำคัญในการลดการใช้กระดาษทั่วเอเชีย ซึ่งเผยแพร่ใน AIA ESG Report ประจำปี 2565 โดย เอไอเอ สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษทั่วภูมิภาคเอเชียได้มากถึง 1,750 ตัน เทียบเท่ากับกระดาษกว่า 350 ล้านแผ่น ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเดินหน้าผลักดันพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance - ESG) ที่ถือเป็นรากฐานหลักในการดำเนินธุรกิจ

โดย เอไอเอ ให้ความสำคัญกับการมุ่งมั่นส่งเสริมสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนให้กับทุกคน และ เอไอเอ ยังคงเดินหน้าสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับผู้คนทั่วภูมิภาคเอเชีย ตามคำมั่นสัญญา “Healthier, Longer, Better Lives”

ในปี 2565 เอไอเอ ประเทศไทย สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษลงได้ถึง 1,008,440 แผ่น ด้วยการสนับสนุนให้ลูกค้าลงทะเบียนใช้บริการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) และบริการกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Policy) โดยบริการเหล่านี้ได้เปิดตัวตั้งแต่ปี 2563 เพื่อช่วยให้ลูกค้าเอไอเอ เข้าถึงเอกสารกรมธรรม์ได้ง่ายผ่านแอปพลิเคชัน AIA+ อีกทั้ง เอไอเอ ประเทศไทย ยังได้ผสานเทคโนโลยี บริการดิจิทัล และการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าไว้ในผลิตภัณฑ์ประกัน ตามเป้าหมายที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแบบครบวงจรแก่ผู้ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน AIA+ ตลอดจนยังประสบความสำเร็จตามเป้าหมายในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และการตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านในการดำเนินงานโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมาภิบาล โดยที่ผ่านมา เอไอเอ ได้มีโครงการที่ส่งเสริมด้าน ESG เช่น โครงการ AIA Saves the World และอีกหลายโครงการที่มุ่งส่งเสริมด้านการออกแบบและการใช้งานอาคาร ภายใต้คอนเซ็ปต์ Green Building ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สำหรับแอปพลิเคชัน AIA+ (เอไอเอ พลัส) ที่ เอไอเอ ประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นนั้นเป็นการรวบรวมบริการของ แอปพลิเคชัน AIA iService และแอปพลิเคชัน AIA Vitality เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบดิจิทัล ระบบติดตามสุขภาพ รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ส่งเสริมให้ผู้คนมีไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นแบบไร้รอยต่อ

รายงานระบุว่า ในเอเชีย มีการซื้อประกันชีวิต การใช้บริการ และการเรียกร้องสินไหมทดแทนผ่านระบบดิจิทัล สูงถึงร้อยละ 87 จากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ (Advancing Digital Transformation) ข้อมูลยังระบุว่า ขั้นตอนการซื้อประกันของ เอไอเอ ร้อยละ 98 เป็นแบบไร้กระดาษทั้งหมด การที่ เอไอเอ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้จึงช่วยให้นำไปสู่การสร้างรากฐานความยั่งยืนในอนาคต โดยเป็นการทดแทนขั้นตอนการติดต่อดำเนินงานด้านเอกสารแบบเดิม ๆ มาเป็นการให้บริการที่คล่องตัวและราบรื่นอย่างไร้รอยต่อให้แก่ลูกค้า โดย เอไอเอ ได้ติดตามผลและวิเคราะห์ระดับของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินงานของทุกประเทศ โดยต่อยอดจากเฟรมเวิร์กที่พัฒนาขึ้นในปี 2561 พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อสื่อสารกับลูกค้า พัฒนาตัวเลือกบริการให้ดียิ่งขึ้น และลดปริมาณการใช้กระดาษในองค์กร

ปัจจุบัน เอไอเอ มีลูกค้าที่ถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตรายบุคคลที่มีผลบังคับมากกว่า 41 ล้านกรมธรรม์ โดย AIA ESG Report ประจำปี 2565 ระบุว่า เอไอเอ มีอัตราการซื้อกรมธรรม์แบบไร้กระดาษสูงถึงร้อยละ 98 นอกจากนี้อัตราการส่งเอกสารกรมธรรม์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-submission) สำหรับบริการของ เอไอเอ ยังเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76 เป็นร้อยละ 85 ส่วนอัตราการเรียกร้องสินไหมทดแทนแบบไร้กระดาษในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 85 ของทั้งหมด ซึ่งธุรกรรมการซื้อประกัน การให้บริการ และการเรียกร้องสินไหมของ เอไอเอ ในปัจจุบันร้อยละ 87 ดำเนินการผ่านระบบดิจิทัล โดย เอไอเอ ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Output) ซึ่งในปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 92 ซึ่ง เอไอเอ ยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดการใช้กระดาษโดยใช้ระบบ E-Output ด้วยการเพิ่มบริการ ออกกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Policy) และการแจ้งเตือนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Notifications) เข้ามาใช้อย่างจริงจัง

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำหน้าเข้ามาช่วย เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในพันธกิจด้าน ESG ของ เอไอเอ และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนและมีสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับผู้คน โดยกลยุทธ์ ESG ของ เอไอเอ สอดคล้องกับแนวทางหลักทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การลงทุนที่ยั่งยืน การดำเนินงานที่ยั่งยืน ผู้คนและวัฒนธรรม และธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ โดย เอไอเอ ตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและส่งเสริมให้ทุกคนในสังคมมีสุขภาพที่ดีขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมให้ผู้ใช้งานได้สนุกกับการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้าน

ทั้งนี้ สำหรับ AIA ESG Report ยังได้รวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทและความมุ่งมั่นในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อทุกคนในสังคม โดยสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.aia.com/en/about-aia/esg

นางสาวดวงดาว วงค์พนิตกฤต ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน พร้อมด้วยนายพูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) รับ 6 รางวัลจากงาน Asian Excellence Award 2023 ครั้งที่ 13  จัดโดยนิตยสาร Corporate Governance Asia เมื่อเร็วๆ นี้

ในงานดังกล่าวนางสาวดวงดาว ได้รับรางวัล Asia’s Best CFO (Investor Relations) ติดต่อกันเป็นปีที่ 9 และ นายพูนสิทธิ์ ได้รับรางวัล Best Investor Relations Professional (Thailand) ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 นอกจากนี้ กรุงศรียังโชว์ศักยภาพที่โดดเด่นด้วยการคว้ารางวัลอื่นๆ ประกอบด้วย รางวัล Asia’s Best CEO (Investor Relations) รางวัล Asia’s Best CSR รางวัล Best Investor Relations Company (Thailand) และรางวัล Best Environmental Responsibility (Thailand) สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของกรุงศรี ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศไทยที่มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน สู่เป้าหมายในการเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ยั่งยืนที่สุดในไทย

ทิพยประกันภัย ผู้นำการประกันวินาศภัยอันดับหนึ่งของไทย มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสังคมอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ESG โดยคำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล ทิพยประกันภัยจึงได้จัดโครงการ TIP Zone โดย ทิพยประกันภัย จัดกิจกรรมภายในบริษัทฯ รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น อาทิ กระดาษชำระ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ทิชชู่เปียก เพื่อคืนรอยยิ้มให้ผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนรอบเขตยานนาวา พระราม3  

นำโดย นายอาคม ไม้ดัดจันทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมผู้บริหาร บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)  มอบให้กับ  นางสาวอรชา มุ้ยเสมา ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตยานนาวา พร้อมผู้นำชุมชนทั้งสิ้น 14 ชุมชน เป็นตัวแทนรับมอบ เพื่อนำไปส่งต่อให้กับผู้ป่วยต่อไป ณ อาคารทิพยประกันภัย พระราม 3

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่นับวันจะส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้น

ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วยนายสุวัฒน์ กมลพนัส ประธานกรรมการบริหาร EXIM BANK ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ที่ปรึกษาพิเศษด้านการต่างประเทศ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และนายจักร บุญ-หลง ประธานกรรมการ บริษัท เวสท์เทค เอ็กซ์โพเนนเชียล จำกัด พบปะหารือกับนายมาเอดะ ทาดาชิ ประธานกรรมการธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) เกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance : ESG) และพบปะหารือกับนายเคอิ คาวาฮาระ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินการค้าและสำนักงานความร่วมมือทางการเงินและสำนักงานความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือในการส่งสริมและสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างไทยและญี่ปุ่น รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการจัดการและรีไซเคิลซากรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งานของญี่ปุ่น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็ว ๆ นี้

X

Right Click

No right click