หูฟังนำแฟชันนวัตกรรมใหม่สวมใส่สบายด้วย C-Bridge Design และ HUAWEI MatePad Pro 13.2 แท็บเล็ตเรือธงพร้อมเทคโนโลยี NearLink การทำงานร่วมกับปากการุ่นใหม่ HUAWEI M-Pencil (รุ่นที่ 3)

เทคโนโลยีอัจฉริยะในปัจจุบันกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของทุกคน ทั้งในแง่ของกระบวนการทำงาน และรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้หลาย ๆ ภาคส่วนต้องปรับวิสัยทัศน์และแนวทางในด้านการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ตอบรับกับเทรนด์โลกที่เริ่มมุ่งเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น โดยเมืองอัจฉริยะ (Smart City) คือการนำหลากเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้งานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการทรัพยากรภายในเมือง รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองอีกด้วย โดยการนำเทคโนโลยีทั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้โดยอัตโนมัติ (Machine Learning) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet of Things) และอีกมากมาย มาใช้งานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ จนกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ช่วยให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแม้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงง่าย โรคระบาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ยังคงต้องแก้ไขปัญหาการจราจรที่ควบคุมได้ยาก และอาชญากรรมที่ล้วนคาดเดาไม่ได้  หัวเว่ย ในฐานะผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) พร้อมเร่งสนับสนุนประเทศไทยให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพระดับสากล สามารถผลักดันให้การใช้เทคโนโลยีเกิดขึ้นได้จริง จนกลายเป็นอีกหนึ่งเมืองอัจฉริยะในทวีปเอเชีย

เมื่อไม่นานมานี้หัวเว่ยได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า จัดเวทีพิเศษ Thailand Smart City 2023 ภายใต้แนวคิด “Accelerating Intelligence of Smart City ยกระดับเมืองอัจฉริยะน่าอยู่” ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้นำจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมกับจัดแสดง นวัตกรรม เทคโนโลยี และกลยุทธ์ที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้เกิดขึ้นได้จริงในเมืองอัจฉริยะ

นายเชลดอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ภายในงาน ไทยแลนด์ สมาร์ทซิตี้ ฟอรัม 2023 (Thailand Smart City 2023) ว่า “เมื่อเราพูดถึงคำว่า เมืองอัจฉริยะ เรากำลังหมายถึงการบูรณาการเทคโนโลยีมากมายเข้าด้วยกัน สำหรับ หัวเว่ย เราแบ่งหมวดหมู่ของเทคโนโลยีออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่จะช่วยให้ทุกสิ่งในเมืองถูกเข้าถึงได้ทั้งหมดผ่านระบบคลาวด์ กลุ่มถัดมาคือ ระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Smart Connectivity) ที่ช่วยให้ระบบหลักของเมือง (City Backbone) สามารถเชื่อมต่อถึงเทคโนโลยีอื่นที่มีความหลากหลายและทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด และกลุ่มสุดท้ายคือ ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center) ที่ควบคุมการจัดการอย่างเป็นระบบและคอยช่วยเหลือผู้คนที่อาศัยในเมืองให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น”

โดยทั้งหมดนี้ หัวเว่ย ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงคำนึงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนของ เศรษฐกิจเชิงสังคม (Social Economy) ตามมาด้วยเรื่องของคุณภาพชีวิตและการศึกษาของประชากรภายในเมือง สำหรับการรักษาความปลอดภัยในเมืองแห่งเทคโนโลยีนี้ หัวเว่ย เลือกใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Intelligent Sensor) ได้แก่ ระบบ 5G อุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ และระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่รองรับความหลากหลายของอุตสาหกรรมทางธุรกิจ มาช่วยให้ระยะเวลาการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Response Time) เป็นไปตามมาตรฐาน ตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็วจากการทำงานร่วมกันระหว่างกล้องวงจรปิด (CCTV) อุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมผ่านสัญญาณไวไฟ (Wi-Fi) ไปยังศูนย์ควบคุม เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้ระบบวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ (Real Time Monitoring) ได้ทันที

 

นายประยุทธ์ ตั้งสงบ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศไทยว่า “เรามีระบบ 5G ที่พร้อมที่สุด และเป็นผู้นำของเอเชีย สามารถเก็บข้อมูลสำหรับโครงการ Government Data Center and Cloud Service (GDCC) นอกจากนี้เรายังมี AI Unique Thailand ซึ่งเป็นระบบ AI Computing ที่เข้าใจภาษาไทยและคนไทยเป็นพิเศษ รวมถึงระบบ AI ที่ถูกสร้างมาเพื่อการใช้งานของภาครัฐโดยเฉพาะ เช่น ใช้สำหรับพยากรณ์อากาศ การก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ เราจะเชื่อมโยงทุกจุดของประเทศไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล ตำบลที่อยู่ไกลจากตัวเมือง ผ่านสัญญาณ 5G ที่เป็นคลื่นไมโครเวฟให้เชื่อมถึงกัน เรามีเทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างชุมชนโลกเสมือนจริง (Metaverse) มองเห็นเมืองได้ตั้งแต่บนพื้นดินจนถึงท่อที่อยู่ใต้ดิน ให้ผู้ดูแลเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดและรับรู้ความเป็นไปที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับเมือง เช่น หากพายุกำลังจะเข้าเมือง เจ้าหน้าที่สามารถใช้ AI ในการคำนวนค่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและแจ้งประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเพื่อเตรียมรับมือหรืออพยพ”

การยึดมั่นในเรื่องความปลอดภัยในเมืองอัจฉริยะของหัวเว่ย คือจุดเริ่มต้นของแนวคิดระบบความปลอดภัยรอบด้าน (Omni Safety) ที่จะเป็นการเชื่อมข้อมูลของทุกระบบการสื่อสารของทุกหน่วยงานในไทยเข้าด้วยกัน ในยามที่ต้องรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุรถแก๊สชนกัน ซึ่งปกติจะมีการแจ้งเหตุผ่านโทรศัพท์โดยประชาชนผู้พบเห็นเหตุการณ์ไปยังโรงพยาบาล สถานีตำรวจ ตามแต่วิจารณญาณส่วนบุคคล แต่เมื่อมีนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ ระบบจะรวบรวมทุกอย่างที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลไปที่สมองของเมือง หรือ Intelligent Operation Center ที่ทำหน้าที่ในการบริหารตัดการเมือง ช่วยสังเกตการณ์และรวบรวมข้อมูลจำนวนมากเพื่อจัดการกับสถานการณ์ในเมืองได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยศูนย์ควบคุมหลักนี้ประกอบไปด้วยระบบรวมศูนย์ข้อมูลที่จะแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้สามารถเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดยมีกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ (Intelligent Vision) ที่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏในภาพ ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ดูแลคอยแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่อย่างทันท่วงที

เทคโนโลยีที่ข้บเคลื่อนด้วยข้อมูลและสามารถใช้งานได้จริง เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและมนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบยกระดับ หัวเว่ยพร้อมสนับสนุนและผลักดันให้เมืองอัจฉริยะ รวมถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาระบบบริการสาธารณะที่ชาญฉลาดให้สามารถกระจายตัวเข้าถึงทุกพื้นที่ในประเทศไทยได้อย่างไร้ขอบเขต มอบความสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตที่มีมาตรฐานให้กับคนไทย สอดคล้องกับพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” ของหัวเว่ยที่ต้องการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรในหลายภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นอีกหนึ่งเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตในภูมิภาคอาเซียน

ร่วมจับมือเปิดโครงการฝึกอบรมบุคลากรดิจิทัลด้านคลาวด์ ตามกลยุทธ์ Cloud Security First

เมื่อเรามองไปที่สภาพภูมิทัศน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน เราจะเห็นความน่าตื่นเต้นจากการที่ได้เห็นว่าโลกได้เชื่อมต่อกันมากยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 2,700 ล้านคนในปี 2022 เหลือเพียงประมาณ 2,600 ล้านคนในปี 2023 ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยการเชื่อมต่อนี้ได้นำมาซึ่งโอกาสใสการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญที่มากขึ้น ซึ่งนอกจากการเชื่อมต่อขั้นพื้นฐานจะมีความสำคัญแก่ทุกคนแล้ว เทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญในการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติได้อีกด้วย

หัวเว่ย หนึ่งในผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำของโลก มุ่งมั่นที่จะสร้างโลกที่เชื่อมต่อกันอย่างเต็มรูปแบบ มีความยั่งยืน และชาญฉลาด โดยมีเป้าหมายที่จะเชื่อมต่อผู้คนกว่า 120 ล้านคนในพื้นที่ห่างไกลในกว่า 80 ประเทศให้สำเร็จภายในปี 2025 โดยในปี 2022 หัวเว่ยได้เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรดิจิทัล “Partner2Connect Digital Coalition” หรือ P2C ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เพื่อช่วยจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้กับพื้นที่ชนบททั่วโลก เพื่อให้ชุมชนที่ขาดแคลนสามารถเข้าถึงการศึกษาอัจฉริยะ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ทางไกล และบริการด้านดิจิทัลอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำหรับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในอนาคต

บนเวทีการสัมนาด้านความยั่งยืน Sustainability Forum ครั้งที่ 3 ของหัวเว่ย ณ เมืองตงกว่าน ประเทศจีน ภายใต้หัวข้อ “เติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยี ตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Thrive Together with Tech: Realizing Sustainable Development) หัวเว่ยได้รวบรวมผู้บริหารและตัวแทนจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือ ITU และเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN SDSN) มาร่วมหารือเกี่ยวกับความสำคัญและความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ดร. เหลียง หัว ประธานกรรมการบริหารของหัวเว่ย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในช่วงเปิดงานว่า “โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในยุคใหม่ เช่น การเชื่อมต่อและพลังการประมวลผล มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม เทียบเท่ากับโครงสร้างทางกายภาพอย่างท้องถนน โดยโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่นี้จะเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมในภาพรวม โดยการประมวลผลจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในแง่ประสิทธิภาพของการทำงานในเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้ การเร่งขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผลจะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในหลายภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการผสานระหว่างเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจจริงอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจโลกและการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

คุณดอรีน บ็อกแดน-มาร์ติน เลขาธิการ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้เน้นย้ำถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการเร่งผลักดันการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ว่า “ในขณะนี้ มีเป้าหมาย SDGs เพียง 15% เท่านั้นที่น่าจะสำเร็จลุล่วงได้ภายในปี 2030 ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลจะสามารถช่วยเร่งให้เป้าหมายเหล่านี้สำเร็จตามได้มากถึง 70% หากมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้อย่างเหมาะสม  เราไม่ควรจะต้องเลือกระหว่างเทคโนโลยีกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน  เราต้องการทั้งสองสิ่ง  ดังนั้น มาเติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยี  และร่วมสร้างอนาคตดิจิทัลที่ก้าวหน้าเพื่อประชาชนและโลกของเรากันเถอะ”

คุณเจฟฟ์ หวัง ประธานฝ่ายกิจการสาธารณะและสื่อสารของหัวเว่ย ได้กล่าวว่า “หัวเว่ยมีความภูมิใจที่ได้เป็นพันธมิตรกับ ITU ในโครงการสำคัญนี้  รวมถึงการได้เห็นคนรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ร่วมมือกันในการสร้างความเท่าเทียมทางด้านดิจิทัลทั่วโลก โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนรวมถึงเงินทุนสำหรับโครงการต่าง ๆ ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจาก ITU และหัวเว่ย รวมถึงโอกาสในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันด้วย"

ดร. คอสมาส ลัคกีซัน ซาวาซาว่า ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาโทรคมนาคมของ ITU กล่าวว่า “ด้วยความร่วมมือระหว่าง ITU และหัวเว่ย เยาวชนจะได้เรียนรู้ และได้มีส่วนร่วมเป็นผู้นำในโลกดิจิทัล โดยเทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็นความรู้เบื้องต้นที่จะช่วยเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เราต้องการให้เยาวชนช่วยกันผลักดันอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลที่กำลังพัฒนาอยู่ทั่วโลกและสร้างความเปลี่ยนแปลง ผมขอขอบคุณหัวเว่ยสำหรับความร่วมมืออันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ และผมหวังว่าจะได้เห็นผลกระทบในระดับโลกจากโครงการที่มีนวัตกรรมนี้”

กลุ่มพันธมิตร P2C ที่ริเริ่มก่อตั้งโดย ITU มุ่งส่งเสริมการเชื่อมต่ออย่างมีคุณค่าและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลในระดับโลก โดยให้ความสำคัญกับชุมชนห่างไกลในประเทศและภูมิภาคที่ขาดการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระดับโลกเมื่อปีที่แล้ว โดยตั้งเป้าหมายที่จะเชื่อมต่อผู้คนประมาณ 120 ล้านคนในพื้นที่ห่างไกลในกว่า 80 ประเทศ ให้สำเร็จภายในปี 2025 จนถึงขณะนี้ หัวเว่ยได้จัดการฝึกอบรมไปแล้ว 2,066 ครั้งในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นพันธมิตร P2C รายแรกของ ITU โดยได้เข้าไปร่วมมือกับกระทรวงต่าง ๆ และมหาวิทยาลัยในพื้นที่

ในประเทศไทย หัวเว่ยมุ่งมั่นในการสร้างสังคมดิจิทัลที่มีความเท่าเทียมในระดับท้องถิ่น ดังจะเห็นได้ชัดจากโครงการ “รถดิจิทัลเพื่อสังคม” (Digital Bus) ซึ่งริเริ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2021 เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยการช่วยฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้ฟรีในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้คนท้องถิ่นใน 10 จังหวัด ในชุมชนห่างไกล 40 แห่ง ครอบคลุมกลุ่มเด็กในชนบท กลุ่มแรงงาน และกลุ่มเอสเอ็มอีกว่า 3,000 คน โดยในโครงการนี้ หัวเว่ยได้เข้าไปช่วยพัฒนาทักษะดิจิทัลและการศึกษาด้าน STEM สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีความเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในโครงการ USO 2.0 เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบท ทั้งนี้ หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นในการส่งเสริมพันธกิจ “เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) และ “นำทุกคนไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” (Lead Everyone Forward, Leave No One Behind) โดยมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย

หัวเว่ยและกระทรวงดิจิทัลร่วมยกระดับการใช้งานคลาวด์และ AI ในไทย เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดงานประชุม Huawei Cloud AI Summit Thailand 2023 โดยมีทั้งผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม ลูกค้าและพันธมิตรในไทย รวมถึงจากองค์กรธุรกิจในจีนเข้าร่วมกว่าหลายร้อยคน เพื่อร่วมพูดคุยถึงการพัฒนาเทคโนโลยี AI พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย ภายในงานครั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์ และกระทรวงดิจิทัล ยังได้ลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อการพัฒนาทางดิจิทัล พร้อมเป้าหมายในการสนับสนุนการสร้างอีโคซิสเต็มด้านคลาวด์และ AI พร้อมการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถให้กับประเทศไทย ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้าน AI ของภูมิภาค ผ่านการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

 

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมุ่งขับเคลื่อนนโยบาย คลาวด์-เฟิร์ส (Cloud-First policy) ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตรูปแบบใหม่ของไทย ซึ่งคลาวด์และ AI จะเป็นอนาคตของประเทศไทย ในนามของกระทรวงดิจิทัล ผมขอขอบคุณหัวเว่ย ประเทศไทย ที่รับหน้าที่ผู้นำภาคเอกชนจัดกิจกรรมครั้งสำคัญนี้ และยังได้นำประสบการณ์ระดับโลกที่มีความล้ำสมัยของหัวเว่ยและพันธมิตรมาสู่ประเทศไทย พร้อมรวมถึงสนับสนุนการสร้างอีโคซิสเต็มทางดิจิทัลสำหรับเทคโนโลยีคลาวด์และ AI ให้กับประเทศไทยอีกด้วย ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเอกชนอย่างหัวเว่ยนี้ จะช่วยส่งเสริมประเทศไทยสู่การเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเทคโนโลยี AI ของภูมิภาค กระทรวงดิจิทัลมุ่งมั่นสนับสนุนประเทศไทยอย่างเต็มกำลังในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล พร้อมการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ และการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของคนไทย”

 

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เกียรติขึ้นกล่าวในงาน Huawei Cloud AI Summit Thailand 2023 ในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน 

AI เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีระดับโลกและการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรม โดยมีผลกระทบในเชิงลึกต่อสังคมมนุษย์และการปรับเปลี่ยนของอุตสาหกรรม จึงทำให้ประเทศไทยตระหนักถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงนี้และมุ่งมั่นยกระดับความสามารถในการแข่งขันระดับโลก โดยการเสริมสร้างความสามารถด้าน AI และเป็นศูนย์กลาง AI ในภูมิภาค หัวเว่ย คลาวด์ ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้ ผ่านพันธกิจ “ในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย” (In Thailand, for Thailand)

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นกล่าวในงาน Huawei Cloud AI Summit Thailand 2023

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวย้ำถึงพันธกิจของหัวเว่ย คลาวด์ ในการขับเคลื่อนการใช้งานเทคโนโลยีระบบคลาวด์และ AI ในประเทศไทยว่า “หัวเว่ย คลาวด์ มุ่งมั่นต่อพันธกิจ “ในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย” พร้อมสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาดิจิทัลของประเทศตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล หัวเว่ย คลาวด์ จึงยังคงมุ่งลงทุนในการสร้างอีโคซิสเต็มคลาวด์และเสริมประสิทธิภาพในประเทศ โดยการสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งในประเทศไทยและโครงสร้างพื้นฐาน AI สำหรับรัฐบาลและองค์กร หัวเว่ย คลาวด์ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านดิจิทัลของไทยผ่านเทคโนโลยี AI ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้งาน AI อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ พร้อมสร้างประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนไทยและส่งเสริมความก้าวหน้าทางดิจิทัลของประเทศ"

ภายในงานประชุมดังกล่าว หัวเว่ย คลาวด์ ยังเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรจีนและไทย เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี AI ที่ทันสมัย แอปพลิเคชัน และความเชี่ยวชาญจากประเทศจีน โดยใช้ประสบการณ์การทำงานในระดับโลกกว่า 170 ประเทศและภูมิภาค หัวเว่ย คลาวด์ ยังได้ให้ข้อมูลในเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมระดับโลกและภูมิภาค ด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันที่ทันสมัย พร้อมเป็นพันธมิตรที่เหมาะสมสำหรับองค์กรไทยที่ต้องการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลกและองค์กรจีนที่ต้องการเข้าสู่ตลาดไทย

 

 

ศาสตราจารย์คลินิก นพ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ (ที่ 8 จากซ้าย) ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ให้เกียรติเข้าร่วมงาน Huawei Cloud AI Summit Thailand 2023 ในครั้งนี้ เพื่อเป็นสักขีพยานการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์และ AI อย่างรวดเร็วในประเทศไทย โดยในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล กสทช. จะนำเทคโนโลยีคลาวด์และ AI เข้าร่วมพิจารณาในการร่างนโยบายเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย

สำหรับโมเดลภาษาไทยนั้น ผ่านการฝึกฝนด้วยคลังข้อมูลของ AI ในภาษาไทย ผสานความรู้ ความเข้าใจในอุตสาหกรรมของหัวเว่ยที่สะสมมากว่าสามทศวรรษ ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการเรียนรู้ข้อมูลภาษาไทยจำนวนมาก การพัฒนานี้ช่วยกำจัดอุปสรรคในการเข้าถึงโมเดลพื้นฐาน ทำให้ประเทศไทยสามารถเปลี่ยนจากผู้ใช้ AI เป็นผู้สร้าง AI ได้

ในด้านอุตุนิยมวิทยา หัวเว่ย คลาวด์ ได้ร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยาของไทย พัฒนาโมเดลพยากรณ์อากาศ ผานกู่ (Pangu) สำหรับประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยวของไทยในเชิงลึกยิ่งขึ้น โมเดลนี้เหนือกว่าการพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข (numerical weather prediction - NWP) ที่ได้รับการพัฒนาล่าสุด โดยความเร็วในการพยากรณ์มีหลายระดับและรวดเร็วยิ่งขึ้น ที่ผ่านมา การพยากรณ์เส้นทางของพายุไต้ฝุ่นในช่วง 10 วันข้างหน้า ใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมง แต่ด้วยโมเดลพยากรณ์อากาศ ผานกู่ สามารถทำได้ภายในเวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น

สำหรับภาครัฐ หัวเว่ย คลาวด์ นำเสนอความอัจฉริยะในกระบวนการทำงานของรัฐบาลและภาคการปกครองเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การรับรู้แ ความเข้าใจไปจนถึงการจัดการและการตัดสินใจ คำร้องขอของประชาชนจะได้รับการมอบหมายโดยอัตโนมัติ

และจัดการได้ตลอดเวลา ทำให้รัฐบาลให้บริการที่มีคุณภาพสูงโดยไม่ต้องกังวลเรื่องขาดแคลนบุคลากร

นายมาร์ค เฉิน ประธานกรรมการฝ่ายขายโซลูชันคลาวด์ บริษัท หัวเว่ย

ด้านความสามารถของบุคลากรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี AI ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ในงานประชุมครั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์ กระทรวงดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคม AI องค์กรธุรกิจและพันธมิตรได้ร่วมกันเปิดตัว Cloud & AI Community Thailand เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยี AI ด้วยเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างบทบาทของประเทศไทยสู่ AI ระดับโลก

ด้วยโซลูชัน AI ที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมอันแข็งแกร่ง ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่กว้างขวาง และการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม หัวเว่ย คลาวด์ พร้อมจะสนับสนุนประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลาง AI ที่สำคัญในภูมิภาค ผ่านการลงทุนต่อเนื่องทั้งใน อีโคซิสเต็มและอุตสาหกรรมในประเทศ พร้อมมุ่งมั่นสนับสนุนการเติบโตด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีคุณภาพสูงของประเทศไทย

X

Right Click

No right click