November 08, 2024

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คาดการณ์ทิศทางความยั่งยืนของภาคธุรกิจไทย ปี 66 จุดกระแส ESG (Environmental, Social and Governance) จากที่เป็นปัจจัยความเสี่ยงขององค์กร สู่ปัจจัยที่ใช้เป็นโอกาสทางธุรกิจเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนของกิจการตามทิศทางกระแสโลก

ปัจจุบัน ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อภาคธุรกิจอย่างเข้มข้น และกระทบกับกิจการในทุกขนาด ทุกสาขา ESG ได้กลายเป็นประเด็นที่ถูกบรรจุเป็นหลักเกณฑ์ในการขอสินเชื่อของธนาคาร พัฒนาเป็นหลักการลงทุนที่รับผิดชอบของผู้ลงทุนสถาบัน เป็นปัจจัยใหม่ในการตัดสินใจจับจ่ายของลูกค้า และกลายมาเป็นข้อพิจารณาในการสมัครเข้าทำงานของบุคลากร โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ เป็นต้น

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ได้กล่าวในงานแถลงทิศทางความยั่งยืน ปี 2566 ที่จัดขึ้นวันนี้ (24 กุมภาพันธ์ 2566) ว่า “ปัจจุบัน ESG มิได้เข้ามามีบทบาทเพียงในแง่ของความเสี่ยงที่กระทบกับธุรกิจ หรือถูกมองว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายทางเดียว แต่ยังเป็นผลกระทบที่ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ และถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ช่วยเพิ่มยอดขายและลดต้นทุนของกิจการ ซึ่งหากธุรกิจสามารถจับกระแสในเรื่องนี้ แล้วแปลงมาเป็นโจทย์ทางธุรกิจได้ ก็จะทำให้กิจการได้ประโยชน์จากเรื่อง ESG ในฐานะที่เป็นใบเบิกทาง (Enabler) สู่ตลาดใหม่ ๆ”

ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ประมวลแนวโน้มการขับเคลื่อน ESG ของภาคธุรกิจไทย ไว้เป็น 3 ธีมสำคัญ ได้แก่ LEAN รับมือเศรษฐกิจโลกถดถอย CLEAN เพื่อสังคมที่มีสุขภาวะ และ GREEN ที่มากกว่าคำมั่นสัญญา

พร้อมกับการประเมินทิศทางความยั่งยืน ปี 2566 ใน 6 ทิศทางสำคัญ ได้แก่

1) ESG as an Enabler

2) Industry-specific Taxonomy

3) Double Materiality

4) Climate Action

5) Lean Operation

6) Proof of Governance

สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจที่จะใช้ ESG เป็นกรอบในการขับเคลื่อน สามารถนำไปเป็นข้อมูลนำเข้าและใช้พัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของกิจการให้มีความครอบคลุมอย่างรอบด้าน

ในงานแถลงทิศทางความยั่งยืนปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ยังได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง ESG Footprint: The Supplier Journey แนะนำการดำเนินการด้าน ESG กับผู้ส่งมอบ (Suppliers) ตามมาตรฐาน GRI1 ที่ทั่วโลกยอมรับ สำหรับขยายบทบาทด้าน ESG ของกิจการ จากที่ทำได้สมบูรณ์แล้วภายในองค์กร ไปสู่คู่ค้าในสายอุปทานเพื่อสนับสนุนให้คู่ค้ามีการดำเนินงานโดยคำนึงถึง ESG ในทิศทางที่กิจการคาดหวัง โดยในงานยังเปิดโอกาสให้กิจการที่สนใจสมัครเข้าร่วมดำเนินการด้าน ESG กับผู้ส่งมอบ โดยใช้ประโยชน์จากโครงการ ESG Footprint ด้วย

นายวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “ในปี 2566 นี้ ภาคเอกชนที่ต้องการขยายบทบาทการดำเนินการด้าน ESG กับคู่ค้า/ผู้ส่งมอบในสายอุปทานของตน เพื่อตอบโจทย์การสร้างระบบนิเวศแห่งความยั่งยืน (The Ecosystem of Sustainability) สามารถนำเกณฑ์ชี้วัดที่เป็นสากล อาทิ GRI 308 (Supplier Environmental Assessment) และ GRI 414 (Supplier Social Assessment) มาใช้ในการประเมิน ESG Footprint และเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ ผ่านรายงานความยั่งยืนของกิจการ”

การประเมิน ESG Footprint สามารถใช้เกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ พลังงาน (GRI 302) น้ำและน้ำทิ้ง (GRI 303) มลอากาศ (GRI 305) และเกณฑ์ด้านสังคม อาทิ การจ้างงาน (GRI 401) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (GRI 403) แรงงานเด็ก (GRI 408) แรงงานเกณฑ์และแรงงานบังคับ (GRI 409) มาใช้กับคู่ค้า เพื่อรับทราบสถานะความยั่งยืนในสายอุปทานตามประเด็น ESG ที่องค์กรได้ดำเนินการและที่ควรดำเนินการ (Gap)

นายฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ กรรมการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวเสริมว่า “เพื่อช่วยภาคเอกชนในการสร้างระบบนิเวศแห่งความยั่งยืน ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ได้ก่อตั้ง ESG Sandbox โดยนำโครงการที่อยู่ในระหว่างริเริ่ม อาทิ ESG Meter มาตรวัดความยั่งยืนขององค์กร, ESG Footprint รอยเท้าความยั่งยืนในสายอุปทาน, ChatESG สื่อความยั่งยืนด้วยฐานปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาทำงานร่วมกับองค์กรที่สนใจในวงจำกัด โดยสามารถนำไปทดลองใช้ก่อนที่จะเผยแพร่ในวงกว้าง”

ESG Sandbox เป็นความริเริ่มของสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มทำงานร่วมกับภาคเอกชน ในการสร้างระบบนิเวศแห่งความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาโครงการที่ใช้ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งมีแนวโน้มที่ก่อให้เกิดความพลิกผัน (Disruption) ด้านความยั่งยืนในอนาคต โดยเปิดโอกาสให้องค์กรที่เข้าร่วมสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการที่อยู่ใน Sandbox ก่อนองค์กรอื่น ๆ ทั้งในรูปแบบที่เป็นองค์กรสมาชิก (Member) ผู้อุปถัมภ์ (Sponsor) และผู้ให้ทุน (Funder) โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันตามระดับ

หน่วยงานที่ต้องการใช้ประโยชน์จากโครงการต่าง ๆ ใน ESG Sandbox ของสถาบันฯ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างระบบนิเวศแห่งความยั่งยืน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ www.thaipat.org ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

6 CSR Trends 2022

March 08, 2022

ปัจจัยความท้าทายใหม่ๆ ในปี 2565 ทั้งปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินในภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งอิทธิพลต่อการเติบโตทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคม นอกเหนือจากผลพวงของสถานการณ์โควิดที่ยังส่งผลสืบเนื่องต่อในปีนี้


ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ได้กล่าวในงานแถลงทิศทาง CSR ปี 2565 ที่จัดขึ้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาว่า “ภาคธุรกิจกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ไม่อาจพึ่งพารูปแบบการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business as Usual) ในการเติบโตได้ดังเดิม หลายกิจการที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นที่จะต้องมองหาและพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่ (Business as New Normal) ที่เอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจในแบบยั่งยืน และสามารถเสริมหนุนการพัฒนาทางสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน”
ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2565: From ‘Net Zero’ to ‘Social Positive’ สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจในการใช้พัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลผลกระทบทางบวกที่มีต่อสังคมให้เกิดประสิทธิผล สมตามเจตนารมณ์ของกิจการ โดยแนวโน้มทั้ง 6 ประกอบด้วย

1. Regenerative Agriculture & Food System ระบบอาหารและการเกษตรแบบเจริญทดแทน เป็ นธุรกิจการเกษตรที่เน้นการคืนสภาพของหน้าดิน การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับปรุงวัฏจักรของน้า การเพิ่มพูนบริการจากระบบนิเวศการ สนับสนุนการกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีการทางชีวภาพ การเพิ่มภาวะพร้อมผันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวการแปรรูป การขนส่งการจัดจำหน่าย การบริโภค ไปจนถึงกระบวนการก าจัดของเสีย รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมการผลิตอาหารที่เป็น ผลบวกต่อธรรมชาติ(Nature-Positive Production)


2. Biotechnology เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นธุรกิจที่จะไปเสริมหนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) ที่ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเสริมสร้างจุดแข็งของ ประเทศไทยอาทิพันธุวิศวกรรม (การดัดแปลงยีน) การผลิตสารเวชภัณฑ์(เช่น ยา วัคซีน โปรตีนเพื่อการบ าบัด) การผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การเกษตรอาหารและสิ่งแวดลอ้ม การผลิตที่ใช้เซลล์จุลินทรีย์เซลล์พืช และเซลล์สัตว์ในการผลิตสารชีวโมเลกุล สารออกฤทธิ์ ชีวภาพ การผลิตวัตถุดิบและ/ หรือวัสดุจำเป็นที่ใช้ในการทดลองหรือทดสอบด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลรวมท้งับริการตรวจวิเคราะห์และ/หรือสังเคราะห์สารชีวภาพ


3. Renewable Resources & Alternative Energy ทรัพยากรหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก เป็นธุรกิจที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เช่น การใช้เชื้อเพลิงสะอาด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและการ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน สำาหรับรองรับการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ตามที่ประเทศไทยประกาศในเวทีประชุม World Leaders Summit ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่26 (UNFCCC COP26) ที่จะ บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ค.ศ. 2065


4. Electric Vehicles & Components ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนประกอบ เป็นธุรกิจที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งและร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและ ชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ั ตามนโยบาย 30/30 คือการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปีค.ศ. 2030


5. Social Digital Assets สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อสังคม เป็นธุรกิจการเงินแบบหลากหลาย (Diversified Finance) ที่ไม่ได้มีเพียงธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์หรือธุรกิจประกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยก าลัง อยู่ระหว่างศึกษาการออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในระดับรายย่อย (Retail CBDC) เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนในการใช้จ่ายและช าระเงินที่ ปลอดภัยลดต้นทุนต่อหน่วยของการใช้เงินสดในระบบ เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งได้เริ่มมีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ เป็นศูนย์ซื้อขาย (Exchange) นายหน้า (Broker) ผู้ค้า (Dealer) ที่ปรึกษา (Advisor) และผู้จัดการเงินทุน (Fund Manager) ด าเนินการขอใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจ ที่ก.ล.ต. เพิ่มมาเป็นประเภทธุรกิจใหม่ภายใต้การกำกับดูแลในปัจจุบัน


6. Metaware for Vulnerable Groups เมตาแวร์เพื่อกลุ่มเปราะบาง เป็นธุรกิจที่นาเทคโนโลยีในโลกเมตาเวิร์ส มาพัฒนาอุปกรณ์หรือเมตาแวร์สำหรับเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางอาทิกลุ่มคนพิการในกลุ่มที่มีปัญหา ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านและติดเตียง แต่ประสาทสัมผัสทั้งห้ายังเป็นปกติเนื่องจากเมตาเวิร์ส สามารถช่วยจำลองให้ บุคคลไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้โดยอาศัยการสวมใส่อุปกรณ์ที่สร้างการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสในรูปแบบของภาพและเสียง เช่น อุปกรณ์สวมศีรษะ VR (Virtual Reality) และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อยู่ในเมตาเวิร์สเดียวกันผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปิด โอกาสให้กลุ่มเปราะบาง ดังกล่าว สามารถใช้ประโยชน์จากเมตาเวิร์ส มาทดแทนข้อจำากัดในการทำกิจกรรมที่ต้องเดินทางหรือต้องออกจากบ้าน

พร้อมแนะนำ ESG Benchmark เครื่องมือวัดเทียบสมรรถนะองค์กรด้าน ESG เป็นครั้งแรก

สถาบันไทยพัฒน์ ประกาศรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance) ติดอันดับ ESG 100 ปี 62 พร้อมคัดกองทุนโครงสร้าง พื้นฐาน / รีทส์ / อสังหาริมทรัพย์ ด้วยเกณฑ์ ESG เป็นครั้งแรก สร้างทางเลือกสำหรับการลงทุนที่ยั่งยืน และได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป

สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ซึ่งเป็นผู้พัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจในประเทศไทย ได้ริเริ่มจัดทำและประกาศรายชื่อ 100 หลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ในปี พ.ศ.2558 เป็นปีแรก

การจัดอันดับหลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 รอบนี้ถือเป็นปี ที่ห้าของการประเมินโดยทีม ESG Rating ในสังกัด สถาบันไทยพัฒน์ ด้วยการคัดเลือกจาก 771 บริษัทจดทะเบียน (ไม่รวมหลักทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟู) รวมทั้งกองทุน รวมอสังหาริมทรัพย์ (PF) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (IF) ทาการประเมินโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง1  จำนวนกว่า 14,278 จุดข้อมูล 

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธาน สถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “การประเมินในปีนี้สถาบันไทยพัฒน์ ได้พิจารณา ข้อมูลทั้งการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน โดยในปีนี้ เรายังได้ทำการประเมินกองอสังหาฯ - REITs – โครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้เกณฑ์ ESG เป็นครั้งแรก เพื่อเพิ่มทางเลือกของการลงทุนที่มีความผันผวนต่ำ แต่สามารถให้ผลตอบแทนที่ไม่ด้อยกว่าการลงทุนในหุ้นทั่วไป”

ผลการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่เข้าอยู่ใน Universe ของ ESG100 ประจำปี 2562 จำแนกตามรายกลุ่มอุตสาหกรรม จำนวน 8 กลุ่ม ประกอบด้วย

  • กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry) 11 หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) 4  หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มธุรกิจการเงิน (Financials) 12  หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (Industrials) 15 หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (Property & Construction) 21  หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มทรัพยากร (Resources) 10  หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มบริการ (Services) 21  หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มเทคโนโลยี (Technology) 6  หลักทรัพย์

ในจำนวนนี้ มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่ม ESG100 ที่มาจากตลาด mai อยู่ 9 หลักทรัพย์ ได้แก่ FPI, MBAX, MOONG, PPS, TMILL, TPCH, SPA, WINNER, XO และเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 กอง ได้แก่

  • กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGATIF)
  • กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF)

มีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PF) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ที่ได้รับคัดเลือก จำนวน 7 กอง ได้แก่

  • กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG)
  • กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ (POPF)
  • ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์บัวหลวง ออฟฟิศ (B-WORK)
  • ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ต้ี (FTREIT)
  • ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT)
  • ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ (LHSC)
  • ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท (WHART)

ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) รวมกันของหลักทรัพย์ ESG100 มีมูลค่าราว 10.4 ล้านล้าน บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 62.6 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปรวมของตลาด (SET) ที่ 16.6 ล้านล้านบาท

รายชื่อหลักทรัพย์ ESG100 ชุดใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากปี ที่แล้ว ในสัดส่วนร้อยละ 27 และจะถูกนำไปใช้ ทบทวนรายการหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ หรือ Thaipat ESG Index ในเดือนกรกฎาคมนี้

ผู้ลงทุนที่สนใจข้อมูลหลักทรัพย์จดทะเบียนในกลุ่ม ESG100 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.esgrating.com

 

 


1 ประกอบด้วย ข้อมูลในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคมในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อมูลการประเมินการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน (ESG Rating) บริษัท อีเอสจี เรตติ้ง จำกัด ข้อมูลโครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืน สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ข้อมูลผลสำรวจการกำกับ ดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (CG Scoring) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ข้อมูลโครงการประเมินระดับการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ (CSR Progress Indicator และ Anti-corruption Indicator) สถาบันไทยพัฒน์ และข้อมูลการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและสื่อ (Media and Stakeholder Analysis: MSA) บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

X

Right Click

No right click