SCB WEALTH เผยตั้งแต่ต้นปี 2566 เงินลงทุนทั่วโลกไหลเข้าตลาดเงิน (money market) สกุลดอลลาร์สหรัฐสูงที่สุด ตามด้วย ตราสารหนี้ภาคเอกชน พันธบัตรรัฐบาล และหุ้น โดย money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ 5 ปีที่ผ่านมา เงินไหลเข้าประมาณ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากเฟดลดดอกเบี้ย เม็ดเงินใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐจะเคลื่อนย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แนะนักลงทุนหาจังหวะลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในอีก 1-3 ปี เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและอาจได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาอีกด้วย ส่วนตลาดหุ้นแนะหาจังหวะช่วงปรับฐานทยอยสะสมหุ้นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ด้านตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปสามารถลงทุนต่อได้แต่ผลตอบแทนอาจจะไม่สูงเหมือนปีที่ผ่านมา

นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับลดลงช้ากว่าที่นักลงทุนคาดการณ์ ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ อยู่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อติดต่อกัน 6 เดือน คาดว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯ จะค่อยๆ ลดลงและเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มั่นใจว่าสามารถควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2%ได้ หลังจากนั้น Fed จะกลับมาให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ซึ่งตลาดคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย. 2567 และรวมทั้งปีนี้ คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยประมาณ 3-4 ครั้ง โดยในช่วงที่ดอกเบี้ยเริ่มลดลง จะทำให้ผลตอบแทนของการถือครองเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐปรับลดลง และผลตอบแทนไม่ได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่น

“ในปี 2566 ที่ผ่านมา การถือเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐให้ผลตอบแทนประมาณ 5.1% ดีกว่าการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ แต่อาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์อื่นๆ ขณะที่ จากสถิติย้อนหลัง 30 ปี พบว่า เงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่นในปีที่เกิดวิกฤต แต่ในจังหวะที่เงินเฟ้อทรงตัว อัตราดอกเบี้ยมีทิศทางเป็นขาลง เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ สินทรัพย์เสี่ยงจะให้ผลตอบแทนเป็นบวก ส่วนเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าสินทรัพย์อื่น ดังนั้น เราจึงควรหาแนวทางไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นก่อนจะตกรถ” นายศรชัย กล่าว

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงช่วงต้นเดือน มี.ค. 2567 เงินลงทุนทั่วโลกยังคงไหลเข้าไปในตลาดเงิน (money market) สกุลดอลลาร์สหรัฐสูงที่สุด ตามด้วย ตราสารหนี้ภาคเอกชน พันธบัตรรัฐบาล และหุ้น โดยในส่วนของ money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ หากนับรวมตลอด 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีเงินไหลเข้ามารวม 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้ว หมายความว่า เมื่อถึงช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับลดลง เม็ดเงินใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ ส่วนนี้มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ

สำหรับผู้ลงทุนที่นำเงินส่วนใหญ่พักไว้ใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมองว่าการลงทุนในตราสารการเงิน ซึ่งมีระยะเวลาสั้นๆ ยังให้ผลตอบแทนได้ดี ทำให้ไม่เคลื่อนย้ายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ใดนั้น ในอนาคตผลตอบแทนระยะสั้นมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สินทรัพย์อื่นเริ่มปรับตัวดีขึ้นไปก่อนแล้ว ดังนั้น เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี ผู้ลงทุนควรมองหาช่องทางไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ตราสารหนี้อายุประมาณ 1-3 ปี รวมถึงการเพิ่มโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความน่าสนใจในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ทั้งนี้ การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ มองว่า ตราสารหนี้ที่มีระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนในอีก 1-3 ปีข้างหน้า ยังให้ผลตอบแทนสูง เป็นกลุ่มที่น่าสนใจ และอาจได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาในช่วงที่ดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วง ไตรมาส 2-3 นี้ด้วย ส่วนการลงทุนในหุ้น พบว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรป ล้วนมีผลการดำเนินงานที่ดี ด้วยอานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของหุ้นขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักในดัชนีค่อนข้างมาก เช่น ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ นับตั้งแต่ต้นปี 2567 ( YTD) ปรับขึ้นมาประมาณ 7-8% ผลตอบแทนที่มาจากหุ้นขนาดใหญ่กลุ่ม 7 นางฟ้า ประมาณ 6% ส่วนที่เหลือไม่เกิน 2% เป็นผลตอบแทนของหุ้นอื่นๆ ในตลาด สะท้อนถึงการกระจุกตัวของผลตอบแทนที่มาจากหุ้นขนาดใหญ่ค่อนข้างชัดเจน ส่วนตลาดหุ้นยุโรป เมื่อดูจากดัชนี STOXX 600 พบว่า นับแต่ต้นปี 2567 (YTD) ปรับเพิ่มขึ้น 4.5% โดยเป็นผลการดำเนินงานจากหุ้นขนาดใหญ่ 7 ตัว เกือบ 4% มีเพียงส่วนน้อยที่เหลือที่มาจากหุ้นขนาดเล็ก

นายศรชัย กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาตลาดคาดหวังกับผลตอบแทนของหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วค่อนข้างมาก และให้ผลตอบแทนเป็นไปตามที่เป้าหมาย ซึ่งหุ้นเหล่านี้อาจมีการปรับฐาน จากการขายทำกำไร ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานยังคงสนับสนุนให้เติบโตได้อีก และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังเป็นผลบวกต่อหุ้นกลุ่มนี้ แม้นักลงทุนจะรับรู้ปัจจัยการลดดอกเบี้ยไปในราคาหุ้นแล้วก็ตาม ดังนั้น แนวโน้มในอนาคตอาจจะปรับขึ้นไม่มากอย่างที่ผ่านมา ทำให้มองว่า นักลงทุนสามารถถือลงทุนในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วต่อไปได้ แต่ผลตอบแทนที่ได้รับอาจไม่สูงเช่นเดิม

สำหรับตลาดหุ้นในเอเชีย มองว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่น และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ น่าสนใจ โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น นับแต่ต้นปี 2567 (YTD) ให้ผลตอบแทน 15-16% แต่ผลตอบแทนกระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และเทคโนโลยีเป็นหลัก ในส่วนของดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่น แม้จะปรับตัวขึ้นมามาก แต่เมื่อเทียบกับการปรับขึ้นในรอบก่อนที่เคยทำสถิติสูงสุด พบว่า ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) มีความแตกต่างกัน โดยในครั้งนี้มีระดับ P/E ที่ต่ำกว่า ขณะที่ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีมาตรการในการปฏิรูปธรรมาภิบาล ส่งเสริมให้บริษัทนำเงินสดที่เก็บไว้จำนวนมากในงบดุล ออกไปซื้อหุ้นคืน ซึ่งจะช่วยให้ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น หนุนให้ EPS สูงขึ้น และสามารถจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้สูงขึ้น ก็จะช่วยให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นได้ เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ที่มี ROE มากกว่า 20% ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่น เงินเฟ้อเริ่มปรับเพิ่มขึ้น การจ้างงานดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการ ส่วนค่าแรงปรับตัวขึ้นตามเงินเฟ้อ ซึ่งช่วยให้การบริโภคในญี่ปุ่นดีขึ้น และจะส่งผลให้เกิดการลงทุนที่มาจากนักลงทุนญี่ปุ่นมากขึ้นตาม ดังนั้น เราจึงมองว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นน่าสนใจในระยะกลางถึงยาว เพียงแต่ในระยะสั้น ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับขึ้นมามาก อาจจะมีการปรับฐานบ้าง นักลงทุนอาจรอจังหวะที่ตลาดปรับฐานเพื่อกลับเข้าไปลงทุนอีกครั้ง

ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปัจจุบันยังมีอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ที่ต่ำมากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจและมีเงินสดมากในงบดุล ซึ่งตลาดหุ้นเกาหลีใต้กำลังพยายามผลักดันการเพิ่มมูลค่าบริษัทคล้ายกับตลาดหุ้นญี่ปุ่น ผ่านการซื้อหุ้นคืน และการจ่ายเงินปันผลให้นักลงทุน นอกจากนี้ ROE ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้มักจะเคลื่อนไหวสอดคล้องกับวัฏจักรของการส่งออกสินค้าของเกาหลีใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้น การส่งออกเกาหลีใต้ก็น่าจะฟื้นตัว ทำให้ ROE ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้ดีขึ้น ส่วนกำไรต่อหุ้นก็

น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามการส่งออก นอกจากนี้ ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) ก็ยังถูกอยู่ โดย P/E ในระยะ 12 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 10.6 เท่า หรือ -0.3 S.D. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ทำให้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนใน Opportunistic Portfolio ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนส่วนเสริม สำหรับเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน ในไตรมาสที่ 2 นี้

นางสาวดรุณรัตน์ ภิยโยดิลกชัย หัวหน้าฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บลจ.อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงมาเนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศเช่นเดียวกันตลาดอื่นๆ ทั้งประเด็นสงคราม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (บอนด์ยีลด์) ที่ปรับตัวสูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิชะลอตัวแบบ Soft Landing ขณะที่ปัจจัยในประเทศ การปรับประมาณกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ). ลงอย่างต่อเนื่องของนักวิเคราะห์ที่ยังไม่สิ้นสุด กดดัชนีลง ประกอบกับช่วงเลือกตั้งและหลังเลือกตั้งยังไม่มีการใช้จ่ายหนุนเศรษฐกิจ โดยมอง Downside ดัชนีหุ้นไทยแถว 1,300-1,350 จุด ซึ่งระดับ 1,300 จุด กรณีที่สงครามอิสราเอลและกลุ่มฮามาลขยายวงกว้างมากขึ้น

สำหรับการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ย และรอดูการส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ย โดยประเด็นที่ต้องติดตาม คือ การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ตัวเลขการจ้างงาน ที่จะเป็นทริกเกอร์ว่าเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงและราคาหุ้นก็จะปรับตัวลง ซึ่งจะเป็นจังหวะให้เข้าซื้อ

"อเบอร์ดีนมองราคาหุ้นไทยลงมามาก เป็นจังหวะทยอยสะสม จากช่วงก่อนเลือกตั้งดัชนีอยู่แถว 1,570 จุด ตอนนี้ลงมากว่า 200 จุด หลักๆ จากกำไรบจ.ที่ถูกหั่นลง กดดัชนีปัจจุบันอยู่แถว 1,370-1,380 จุด อยู่ในระดับที่น่าสนใจมากกว่าเดิม ขณะที่ P/E ตอนนี้ 14 เท่า เมื่อเทียบกับในอดีต 17-18 เท่า ซึ่ง Discount เยอะมาก มอง Dowside ไม่มากแล้ว ซึ่ง 6 เดือนข้างหน้าต้องติดตามกำไรบจ. เป็นหลัก"นางสาวดรุณรัตน์ กล่าว

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนโฟกัสที่ปัจจัยพื้นฐาน หุ้นต้องเติบโตไปต่อได้ ไม่มีความเสี่ยงหรือได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงหรือหากต้นทุนเพิ่มขึ้นสามารถส่งผ่านไปได้ โดยมองกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งคาดว่าผลประกอบการในไตรมาส 3/66 จะออกมาค่อนข้างดี เพราะคนไข้ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้นจากการระบาดของไข้หวัด และหากดูมูลค่าหุ้ Valuation มากกว่าครึ่งของกลุ่มใน SET ทั้งหมดเทรดต่ำกว่า PE ค่าเฉลี่ย 10 ปี ที่ระดับ 30-50% แล้ว

นอกจากนี้ในกลุ่มท่องเที่ยว จากประมาณการณ์นักท่องเที่ยวปี 2566 ทั้งหมด 28 ล้านคน อาจลดลงเล็กน้อย จากนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาในประเทศน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่ยังมีนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ เข้ามาชดเชย เช่น อินเดีย รัสเซียและมาเลเซีย รวมทั้งจากการพูดคุยกับผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจยังเห็นการเติบโตของค่าห้องพัก และยังไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามในตะวันออกกลาง เนื่องจากมีสัดส่วนนักท่องเที่ยวจากอิสราเอลค่อนข้างน้อยมาก

ขณะที่กลุ่มโรงไฟฟ้า อาจต้องหลีกเลี่ยงไปก่อน เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการลดค่าครองชีพ ส่งผลให้รายได้กลุ่มโรงไฟฟ้าถูกจำกัด ในขณะที่ต้นทุนยังผันผวนอยู่ ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการทำกำไร ส่วนกลุ่มค้าปลีกจากประมาณการของนักวิเคราะห์ยังไม่ได้ให้น้ำหนักกับนโยบาย Digital Wallet กับกลุ่มที่เป็นบริษัทจดทะเบียน เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในนโยบาย ซึ่งมองว่าหากมีการปรับเงื่อนไขและใช้วงเงินน้อยลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 4-5 แสนล้านบาท และมีการลงทุนระยะยาวเพื่อผลักดันจีดีพีเติบโตน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี

"อเบอร์ดีนมองว่าราคาหุ้นที่ลงมาถึงระดับหนึ่ง นักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุน และเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเอเชียถือว่าหุ้นไทยไม่ได้แพง เมื่อเทียบกับเสถียรภาพโดยรวม แต่ต้องรอดูจุดขายของรัฐบาลเพื่อดึงดูดนักลงทุนหรือหากรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นข่าวดี ดัชนีน่าจะมี Sentiment ที่ดี โดยอเบอร์ดีนปรับประมาณการ 6-12 เดือนข้างหน้า จากเดิมกรอบดัชนีอยู่ที่ 1,530-1,663 จุด เป็น 1,444-1,560 จุด กรณี Best Case อยู่ที่ 1,494-1,618 จุด"นางสาวดรุณรัตน์ กล่าว

พร้อมกันนี้แนะนำกองทุน ABSM ลงทุนหุ้นไทยขนาดกลางและเล็ก ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตของกำไรที่ดี โดยกองทุนจะเน้นลงทุน 4 ธีม ท่องเที่ยว เฮลธ์แคร์ EV อาหารและเครื่องดื่ม

ด้านนายจอช ดิวทซ์ รองหัวหน้าทีมโกลบอลเอคควิตี้ อเบอร์ดีน เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวแบบ Soft landing เงินเฟ้อเริ่มลดลง สถานการณ์ดีขึ้นเมื่อเทียบปีก่อนที่กังวลเศรษฐกิจอาจเกิด Hard landing ขณะที่สงครามในตะวันออกกลางมีความกังวลอยู่บ้าง แต่มองกำไรบริษัทจดทะเบียนเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีและคาดว่าไตรมาส 4/66 กำไรน่าจะดีขึ้น ในแง่ของการลงทุนมองราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมาเป็นโอกาสลงทุน โดยเฉพาะหุ้นปันผล

สำหรับกองทุนเปิดอเบอร์ดีน โกลบอล ไดนามิค ดีวิเดนด็น ฟันด์ (ABGDD) เน้นลงทุนหุ้นปันผลทั่วโลก ซึ่งกองทุนเน้นหุ้น Value มากกว่าหุ้น Growth เนื่องจากมีความสม่ำเสมอและมีความมั่นคง ซึ่ง 3 ปีล่าสุดราคาหุ้นปรับตัวลงมาเมื่อเทียบ หุ้น Growth เมื่อเทียบหลายวิกฤตที่ผ่านมาหุ้น Value มักจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งรอบนี้หุ้น Growth ปรับตัวขึ้นมามากจากหุ้นบิ๊กเนม 7 ตัว มีขนาด 1 ใน 3 ของมาร์เก็ตแคปตลาดหุ้นสหรัฐดึงหุ้นกลุ่มเทคขึ้นมา แต่มองในฝั่งหุ้น Value โอกาสในการลงทุนกำลังมา

"อเบอร์ดีนมองโอกาสลงทุนหุ้นปันผลดี สม่ำเสมอและมีโอกาสเติบโต จากสถิติหุ้นตัวไหนที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและโอกาสเติบโตได้ ภาพระยะยาวจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นตัวที่ลดการจ่ายเงินปันผลหรือไม่จ่ายปันผล สะท้อนภาพ 10 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งการลงทุนหุ้นปันผลยังเป็นการกระจายความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ และหากเลือกหุ้นที่ดีมีโอกาสเพิ่มผลตอบแทนจากเงินปันผล เป็นความเซ็กซี่ของหุ้นกลุ่มนี้ ขณะที่ราคาหุ้น Value ปรับตัวลงมามาก ถึงจุดน่าสนใจ โดยเฉพาะเมื่อเทียบอดีตใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดโควิด จึงมองเป็นจังหวะเข้าลงทุนหุ้นดี ราคาเหมาะสมและถูก"นายจอช กล่าว

นอกจากนี้ในภาวะตลาดขาลง หุ้น Value ก็ปรับตัวลงน้อยกว่าตลาด เนื่องจากบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผลระดับสูงมักมีโมเดลธุรกิจที่มีความมั่นคง กระแสเงินสดดี งบดุลแข็งแกร่งและบริษัทมีการบริหารจัดการภายใน เพื่อเตรียมเงินไว้จ่ายปันผล ซึ่งจากสถิติหุ้นที่มีการจ่ายปันผลดี สม่ำเสมอและมีโอกาสเติบโตให้ผลตอบแทนที่ดีและความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นอื่นๆ

นายจอช กล่าวว่า ภาพรวมมูลค่าการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกเพิ่มขึ้นตอเนื่องอยู่ที่ 1.93 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 8.4% ต่อปี ซึ่งเติบโตทุกภูมิภาค ส่วนหนึ่งมาจากหลายบริษัทมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง กระแสเงินสดดีสามารถจ่ายเงินปันผลได้และมีแนวโน้มการเติบโต

สำหรับกองทุน ABGDD เน้นลงทุนหุ้นพื้นฐานดีที่ปันผลสม่ำเสมอและมีโอกาสเติบโต สัดส่วน 95% ของพอร์ต ส่วน 5% ที่เหลือมองหาเงินปันผลที่มากกว่ากองทุนอื่นๆ โดยจะหาหุ้นบริษัทที่ดีเพื่อเข้าซื้อหุ้นก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD และบางจังหวะจะใส่เงินเพิ่มเพื่อรับเงินปันผลเพิ่มมากขึ้น หรือหาหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลแบบพิเศษ ซึ่งบางบริษัทอาจปรับโครงสร้างงบดุลภายในให้สถานการณ์ดีหรือมีการขายสินทรัพย์หรือบริษัทลูกมีเงินสดเข้ามาก็สามารถจ่ายเงินปันผลพิเศษได้

"กองทุน ABGDD มุ่งสร้างผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ 7% ต่อปี เพื่อให้ Stable มั่นคงและยั่งยืน สะท้อนได้จากการจ่ายเงินปันผลทุกเดือน ในอดีตสามารถปันผลได้ในระดับ 5-7% ต่อปีและในปี 2565 ที่ตลาดปรับตัวลงกองทุนยังสามารถจ่ายผลตอบแทนได้ 8.04% เนื่องจากบริษัทที่ลงทุนแม้จะจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่มีรายได้จากยุโรปและเอเชียด้วย"นายจอช กล่าว

SCB WEALTH จัดสัมมนา SCB FIRST INVESTMENT OUTLOOK 2023 ภายใต้ชื่อ “EMBRACING THE LIGHTNING OPPORTUNITY”ให้กับกลุ่มลูกค้า First

บนเวทีสัมนา   SCB CIO  ชี้เศรษฐกิจสหรัฐเป็น Soft Landing ปีหน้าเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.4% หุ้นสหรัฐแพงแต่ถือต่อได้ หากซื้อเพิ่มแนะรอจังหวะย่อตัวค่อยทยอยสะสม ส่วนตลาดEM ไทย จีน เวียดนาม ราคายังถูก ด้านวิกฤติอสังหาในจีนกระทบตลาดหุ้นกู้เป็นหลัก ในตลาดหุ้น A-share และH-shareกระทบเพียงบางตัวเท่านั้น ชี้ตราสารหนี้สกุลดอลล่าร์ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินบาท กองทุนตลาดเงินอยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี หุ้นกู้อนุพันธ์แฝง Double Shark Fin Note รักษาเงินต้นอายุ 1 ปี อยู่ที่ 0-15% และ KIKO โอกาสรับผลตอบแทน 15 -25%ต่อปี ช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนในช่วงที่ตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ ด้าน InnovestX คาดภายในครึ่งหลังของปีนี้ ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสปรับได้ถึง1,650-1,700จุด หลังรัฐบาลใหม่พร้อมบริหารประเทศ หุ้นกลุ่มได้รับอนิสงค์นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม ส่วนหุ้นที่ได้อนิสงค์วัฐจักรโลก คือกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์

ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจWEALTH ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยในงานสัมมนา SCB FIRST INVESTMENT OUTLOOK 2023 ภายใต้ชื่อ “EMBRACING THE LIGHTNING OPPORTUNITY ” ว่า ในช่วงที่ภาวะตลาดทุนโลกมีความผันผวนหลังวิกฤติโควิด จนส่งผลกระทบต่อทิศทางการลงทุน นำไปสู่เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ธนาคารกลางหลักทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องและคงไว้ในระดับสูง จนส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินในสหรัฐฯ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทั้งนี้ มองว่าวัฐจักรดอกเบี้ยขาขึ้น น่าจะใกล้จุดสูงสุดแล้ว แม้เงินเฟ้อทั่วโลกจะยังอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบของนโยบายการเงินของหลายประเทศ แต่มีแนวโน้มลดลง เศรษฐกิจสหรัฐอาจชะลอตัวลงบ้าง แต่ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยอาจจะลดน้อยลง

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศไทย ขณะนี้ได้รัฐบาลใหม่พร้อมเข้าบริหารประเทศแล้ว ทำให้มุมมองโอกาสในการลงทุนมีความชัดเจนขึ้น การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change ) เริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้น จากการที่ทั่วโลกตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) โดยในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ การปล่อยสินเชื่อ และพอร์ตการลงทุนของธนาคาร ต้องเป็น Net zero ในปี 2050 นอกจากนี้ธนาคารมุ่งมั่นในการเฟ้นหาผลิตภัณฑ์การลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พอร์ตมีเสถียรภาพในทุกช่วงจังหวะของการลงทุน และพร้อมเดินเคียงข้างลูกค้า เพื่อดูแลความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโสและหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า สหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ย จาก 0.25% มาอยู่ที่ 5.5% ภายในระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน ทำให้เงินเฟ้อชะลอลงบ้าง แม้ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง เราจึงปรับปรุงมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft landing) ซึ่งคาดว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯ แต่ละเดือนจะปรับลดลง 0.2% ทำให้ในปีหน้าอยู่ที่ประมาณ 2.4% และดอกเบี้ยใกล้จบรอบการปรับขึ้นแล้ว แต่จะยังค้างอยู่ในระดับสูงจนถึงกลางปี 2024 ส่วนพันธบัตรระยะสั้นให้อัตราผลตอบแทน (yield) มากกว่าพันธบัตรระยะยาว ทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนกลับทิศ (Inverted yield curve) ทั้งนี้ หากย้อนดูช่วงที่ Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ย ส่วนต่างของ Inverted yield curve จะเริ่มลดลง โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นใน 6 เดือนข้างหน้า และกลางปี 2024 yield ของพันธบัตรรระยะยาวจะกลับมามากกว่าพันธบัตรระยะสั้น

นอกจากนี้ เรามองเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนแต่จะช้ากว่าที่คาดส่วนความกังวลที่จีนอาจเผชิญภาวะ Balance sheet recession หรือภาวะที่ภาคธุรกิจและครัวเรือนกังวลกับหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง ทำให้รายได้ส่วนใหญ่ไม่ถูกนำไปใช้จ่ายบริโภคและลงทุน รวมถึงไม่กู้ยืมเพิ่มเติมแต่เน้นการจ่ายคืนหนี้เพื่อลดภาระทางการเงิน เนื่องจากราคาสินทรัพย์ที่ปรับลดลงเร็วกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งอาจลุกลามทำให้เกิด Lost Decades เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นในช่วงปี 1980-2000 ราคาบ้านในจีนไม่ได้เข้าสู่ภาวะฟองสบู่เหมือนกับญี่ปุ่น และภาคธนาคารพาณิชย์ของจีนไม่ได้มีหนี้เสียสูงเท่ากับญี่ปุ่น (ล่าสุด NPLจีน อยู่ที่ 1.6 % และญี่ปุ่นอยู่ที่ 6.2% ) ซึ่งธนาคารพาณิชย์ของจีนยังมีความแข็งแกร่งทั้งในด้านฐานทุนและสภาพคล่อง

ทั้งนี้ เมื่อดู Valuation หุ้นประเทศพัฒนาแล้วค่อนข้างแพง โดยหุ้นสหรัฐฯ แม้จะปรับลงมาบ้าง แต่ในเดือน ส.ค. ดัชนี S&P500 ยังซื้อขายที่ระดับราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) ที่ 19-20 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ในค่าเฉลี่ย ดังนั้น หากมีหุ้นสหรัฐฯ อยู่ สามารถถือต่อได้ แต่ถ้าต้องการซื้อเพิ่ม เราแนะนำให้รอจังหวะย่อตัวลงมาแล้วค่อยทยอยสะสม ส่วนหุ้นตลาดเกิดใหม่ (EM) ราคายังถูก เช่น ไทย จีน และเวียดนาม แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยง โดยเรามีมุมมอง Neutral กับหุ้นเวียดนาม (ถือได้แต่ยังไม่ซื้อเพิ่ม) เนื่องจากเศรษฐกิจเวียดนามชะลอตัวลง ขณะที่ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนออกมาแย่น้อยกว่าที่คาด

ส่วนตลาดหุ้นจีน H-Share มีมุมมอง Neutral แม้ว่าตลาดในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาจะปรับขึ้น 5-6% แต่ยังมีความเสี่ยงจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ และน่าจะทำให้ตลาดผันผวนไปอีกระยะหนึ่ง ตลาดหุ้นจีน A-Share ซึ่งเน้นอุปสงค์ในประเทศ เราแนะนำให้ทยอยซื้อ เนื่องจากราคาค่อนข้างถูก และซื้อขายที่ P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11-12 เท่า ประเด็นภาคอสังหาฯ จีน มองว่า สัดส่วนหุ้นกลุ่มอสังหาฯ คิดเป็น 1% ของตลาดหุ้น A-Share และกว่า 2%ของ H-Share เท่านั้น และเมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว สถานการณ์ภาคอสังหาฯจีนจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นกู้เป็นหลัก ส่วนในตลาดหุ้นกระทบเพียงหุ้นรายตัวที่มีปัญหา แต่โดยรวมไม่มีผลกับตลาดหุ้นมากเพราะมูลค่าตามราคาตลาดไม่สูง ขณะที่หุ้นไทย แนะนำทยอยซื้อ เพราะความไม่แน่นอนทางการเมืองลดลงไปมาก ส่วนเศรษฐกิจและผลกำไรบริษัทจดทะเบียนน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา

นายศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product Function และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย CIO Office กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ มีโอกาสให้ผลตอบแทนน่าสนใจกว่าผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันที่เป็นสกุลเงินบาท และ ครอบคลุมในทุกระดับความเสี่ยง ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำ ไปถึงความเสี่ยงสูง ผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน บนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 5.0% ต่อปี ในขณะที่สกุลเงินบาท ผลตอบแทนประมาณ 1.68% ต่อปี ผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงปานกลางและมุ่งรักษาเงินลงทุน เช่น Double Shark Fin Note หุ้นกู้อนุพันธ์แฝง แบบรักษาเงินลงทุน อายุการลงทุน 1 ปี เหมาะกับตลาดที่ยังมีความผันผวน สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ให้ผลตอบแทนประมาณ 0-15% ต่อปี สกุลเงินบาท ให้ผลตอบแทน 0-10% ต่อปี และผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงสูง เช่น KIKO ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ที่อ้างอิงการเคลื่อนไหวของหุ้นที่มีมุมมองเคลื่อนไหวในกรอบแคบ (sideway) เมื่อสิ้นสุดสัญญา ได้รับคืนเงินต้นในรูปแบบเงินสดหรือหุ้นอ้างอิง โดยมีเงื่อนไขเรื่องราคาปรับลดลงไปถึงระดับราคาต่ำสุดที่ตกลงกันไว้ (Knock-in) เป็นตัวช่วยลดโอกาสการรับหุ้น ซึ่ง KIKO สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ให้ผลตอบแทนประมาณ 15-25% ต่อปี ขณะที่ สกุลเงินบาท ให้ผลตอบแทนประมาณ 6-10% ต่อปี

โดยรวมแล้วการใช้กลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนได้ในช่วงที่ตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ อย่างไรก็ตาม หากผู้ลงทุนกังวลเรื่องการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน เรามองว่าในระยะสั้นทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ ไปอีกระยะ เนื่องจากมีทั้งปัจจัยที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าและแข็งค่าหักล้างกันอยู่ เช่น ปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า ได้แก่ การท่องเที่ยวฟื้นตัว ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่า คือ เงินบาทเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับเงินหยวนมากขึ้น เพราะไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีนสูงขึ้น ซึ่งเงินหยวนมีทิศทางอ่อนค่าลง เป็นแรงกดดันที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่า เงินลงทุนต่างชาติไหลออก และราคาทองคำลดลง ทำให้คนขายเงินบาทเพื่อไปซื้อทองคำ เป็นต้น ทั้งนี้ เรามองว่า หากเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34-35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นระดับที่ผู้ลงทุนสามารถทยอยแลกเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อไปลงทุนในต่างประเทศได้

นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด เปิดเผยว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ มีสัญญาณฟื้นตัว ถ้ามองในเชิงนโยบาย เมื่อได้รัฐบาล

ใหม่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะมีการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ครึ่งปีหลังควรจะเติบโตดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ด้านภาพรวมตลาดหุ้นไทยครึ่งปีแรก ปรับตัวลดลง 10% โดยเงินลงทุนไหลออกไปตลาดหุ้นอื่น เช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน และอินเดีย อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยเริ่มกลับสู่ขาขึ้น นักลงทุนต่างชาติเริ่มมีแรงขายลดลง ดังนั้น โอกาสที่จะกลับมาซื้อจึงเป็นไปได้ และเวลานี้ไทยถือเป็นตลาดที่น่าสนใจ เพราะการเมืองมีความชัดเจนแล้ว โดยมองว่า ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับขึ้นไปได้ถึง 1,650-1,700 จุด ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ส่วนความเสี่ยงด้านการปรับลดลงประเมินไว้ที่ 1,450 จุด ซึ่งปัจจุบันดัชนีอยู่ที่ระดับกว่า 1,500 จุด และมองว่าน่าจะผ่านจุดที่ต่ำสุดไปแล้ว ทั้งนี้ หุ้นขนาดใหญ่ ราคายังไม่กลับไปเท่ากับช่วงก่อนเลือกตั้ง ส่วนหุ้นกลุ่มการแพทย์ก็ยังปรับตัวขึ้นน้อยมากจึงยังมีโอกาสปรับขึ้นได้ ธุรกิจที่มีแนวโน้มผลประกอบการเติบโตมีเพิ่มขึ้นในหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น พลังงาน ท่องเที่ยว การแพทย์ ค้าปลีก และ พาณิชย์

สำหรับหุ้นที่ได้อานิสงส์จากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม ได้ประโยชน์จากนโยบายแจกเงินดิจิทัลและนโยบายพักหนี้เกษตรกรส่วนนโยบายลดราคาน้ำมันและค่าไฟจะให้ประโยชน์กับผู้ประกอบการ ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำ จะช่วยเพิ่มรายได้ให้คนใช้แรงงาน นอกจากนี้ ยังมีหุ้นที่ได้อานิสงส์จากวัฎจักรเศรษฐกิจโลก ที่เซมิคอนดักเตอร์ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ได้แก่ กลุ่มหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง โดยพิจารณาจากผลประกอบการ เรามองว่า มี 4 อุตสาหกรรมและ 8 หุ้นเด่น ได้แก่ 1) กลุ่มพลังงาน จากราคาน้ำมันฟื้นตัว ได้แก่ PTT และ BCP 2) กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ จากอุปสงค์ที่เข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น ได้แก่ KCE และ HANA 3)กลุ่มท่องเที่ยว ที่เข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น ได้แก่ AOT และ ERW และ4) กลุ่มสุขภาพ จากรายได้ผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น ได้แก่ BDMS และ BCH

SCB CIO คาดเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงแบบSoft landing จากเงินเฟ้อที่ชะลอลงต่อเนื่อง แม้อีก 1-2 ปีถึงจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2%มองในปี 2567–2568 เฟดจะลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. มาอยู่ที่ 3.4% พร้อมแนะนำหลีกเลี่ยงหุ้นกู้High Yield โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์จีนจากภาวะหนี้สินสูงและการฟื้นตัวช้า ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นและเวียดนามเป็น Neutral และยังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทยหลังความชัดเจนทางการเมืองมีมากขึ้น

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า SCB CIO ได้ปรับมุมมองที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยคาดว่า จะชะลอตัวลงแบบจัดการได้ (Soft landing) จากเดิมที่มองว่าอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบไม่รุนแรง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง แม้จะยังต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปีกว่าที่จะเข้าสู่อัตราเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายในช่วงปี 2568 แต่ด้วยตลาดแรงงานโดยเฉพาะในภาคบริการที่ยังแข็งแกร่ง ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงปี 2566-2567 มีการชะลอตัวแบบจัดการได้ โดยจากประมาณการล่าสุดของ Fed (มิ.ย. 2566) คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2566-2568 จะเติบโต 1.0% , 1.1% และ 1.8% ตามลำดับ เทียบกับอัตราการเติบโตในระยะยาวเฉลี่ยที่ 1.8%

ทั้งนี้ SCB CIO มองว่า จากแนวโน้มเศรษฐกิจแบบ Soft landing บวกกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับลดลงช้า ทำให้การลดดอกเบี้ยของ Fed ในรอบนี้จะมีลักษณะค่อยๆ ลดลง (small and slow rate cuts) และน้อยกว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งก่อนๆ โดย Fed คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. ในปี 2567-2568 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ปลายปี 2568 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed ยังอยู่ในระดับสูงถึง 3.4% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับนี้ในช่วงการลดดอกเบี้ยของFedครั้งสุดท้ายเกิดขี้นในปี2551 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อชะลอมากกว่าคาด น่าจะเริ่มเห็นการลดดอกเบี้ย เช่น จีนและเวียดนามหรือการหยุดขึ้นดอกเบี้ย เช่น ไทย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างระหว่างสหรัฐฯ และประเทศ Emerging ยังคงอยู่ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า

จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ยังค้างอยู่ในระดับสูง ในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประเทศที่มีบริษัทและครัวเรือนที่มีการก่อหนี้สูงจำนวนมาก มีความเสี่ยงภาวะ Balance sheet recession คือภาวะภาคธุรกิจและครัวเรือนกังวลกับหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง ราคาสินทรัพย์ที่ฟื้นตัวช้าหรือปรับลดลงบวกกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้รายได้ส่วนใหญ่ไม่ถูกนำมาใช้จ่ายบริโภคและลงทุนรวมถึงไม่กู้ยืมเพิ่มเติม แต่เน้นการจ่ายคืนหนี้เพื่อลดภาระทางการเงิน ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงปี 2533 และล่าสุดจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่ตลาดเริ่มมีความกังวลในประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม

เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นในช่วงปี 2533 ภาคการธนาคารของจีนในปัจจุบันยังมีฐานะทางการเงินที่แข็งแรงกว่า รวมถึง ราคาสินทรัพย์ของจีนโดยเฉพาะราคาบ้านแม้ฟื้นตัวช้าแต่ไม่ได้ประสบปัญหาราคาร่วงลงรุนแรงเท่ากับที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่น

ดร.กำพล กล่าวว่า จากมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเป็นภาวะ Soft landing ทำให้เราปรับมุมมองหุ้นกู้ Investment Grade กลับขึ้นมาเป็น Slightly Positive หรือทยอยสะสมได้ แต่ยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High Yield หรือ HY) โดยเฉพาะในตลาดหุ้นกู้จีน เนื่องจาก เราเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงบวกกับท่าทีของ Fed ในการหยุดขึ้นดอกเบี้ยและแนวโน้มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2567 จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั้งระยะสั้นและยาว ทยอยลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ค้างในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี มีแนวโน้มทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้กลุ่ม HY ยังมีโอกาสขยับสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะหุ้นกู้ในกลุ่มธุรกิจที่มีการก่อหนี้สูง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในจีน

สำหรับมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก จากการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2566 ส่วนใหญ่ดีกว่าที่คาด โดยยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ชะลอตัวลง แต่มีผลประกอบการและกำไรที่ดีกว่าคาดหรือลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นหุ้นของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ในNasdaq 100 ตามมาด้วย S&P500 โดยรวมจะดีกว่าหุ้นกลุ่มบริษัทขนาดกลางและเล็ก ใน Russell 2000 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยอดขายสินค้าและบริการชะลอลงเล็กน้อย แต่ผลกำไรยังเติบโตตามอานิสงส์จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยวและค่าเงินเยนอ่อนค่า นอกจากจะเติบโตได้มากแล้ว ยังทำได้ดีกว่าคาดอีกด้วย ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป EuroStoxx600 มียอดขายและกำไรหดตัว ตลาดหุ้นเวียดนาม กำไรจากยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทยังคงฟื้นตัวช้า แต่แย่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และตลาดหุ้นไทย ยอดขายและผลประกอบการหดตัวและต่ำกว่าคาด แรงฉุดหลักมาจากกลุ่มพลังงาน สินค้าบริโภค และอสังหาริมทรัพย์

SCB CIO มองว่า ความตึงตัวของ Valuation ของตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มปรับลดลงโดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯกลุ่มTech ซึ่งเราแนะนำสับเปลี่ยนเข้าลงทุนในกลุ่มหุ้นทนทานความผันผวน (Defensive) ไปก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันเราได้ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็น Neutral (หยุดขายหรือถือไว้) หลังตลาดรับรู้การเปลี่ยนกรอบนโยบายการควบคุมการเคลื่อนไหวของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี (Yield Curve Control) ไปพอสมควรแล้ว ขณะที่ในระยะถัดไปยังได้แรงหนุนจากความคืบหน้าการปฏิรูปตลาดหุ้นญี่ปุ่นเน้นเรื่องธรรมาภิบาลมากขึ้นและแนวโน้มการฟื้นตัวของผลประกอบการบริษัท

นอกจากนี้ เรายังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทย ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายเริ่มลดลง ปรับมุมมองหุ้นเวียดนามเป็น Neutral (หลัง Valuation ปรับความตึงตัวลงและงบออกมาแย่น้อยกว่าคาด) สำหรับหุ้นจีน H-share เรายังคงมุมมองเป็น Neutral แม้ Valuation จะถูกลงค่อนข้างมาก แต่ความกังวลประเด็นหุ้นกลุ่มธนาคาร ( 18% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) ที่ผลประกอบการอาจถูกกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยและการเข้าช่วยซื้อพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงหุ้นกลุ่ม Tech (37% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) จากความเสี่ยงด้าน Tech war ที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง

KBank Private Banking เห็นสัญญาณบวกในภาคการลงทุน จากที่ตลาดทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ส่งผลให้ความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเริ่มกลับมา แต่ความผันผวนโดยเฉพาะความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงอยู่ในระดับสูง แนะนักลงทุนเพิ่มสัดส่วนการลงทุน ชู 3 กองทุนผสมภายใต้ K-ALLROAD Series* กองทุนอัจฉริยะที่กระจายลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย มาพร้อมปรับพอร์ตอัตโนมัติโดยยึดความเสี่ยงของสินทรัพย์เป็นหลัก จึงสร้างผลตอบแทนได้อย่างมั่นคงและควบคุมการขาดทุนได้ในทุกสภาพเศรษฐกิจ เผยเป็นซีรีส์กองทุนที่ลูกค้าตอบรับดี ระดมเงินลงทุนไปได้แล้วกว่า 6.3 พันล้านบาท **

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “บรรยากาศโดยรวมของการลงทุนในต้นปี 2566 นี้ปรับตัวดีขึ้น เห็นได้จากดัชนีตลาดหุ้นโลก MSCI World Index ที่มีผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 (YTD Returns) ที่ 4.16% อย่างไรก็ดี ยังมีหลายปัจจัยความเสี่ยงที่ต้องจับตา จากการประเมินของ Lombard Odier ค่าความผันผวนในตลาดยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 78% ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการฟื้นตัวของราคาสินทรัพย์ยังมีความเสี่ยงและยังไม่มีเสถียรภาพนัก อย่างไรก็ดี ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ (Risk Appetite) จากการประเมินของ Lombard Odier ปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกันมาอยู่ที่ระดับ 83% ถือว่าอยู่ในระดับพร้อมลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (Risk on) จากก่อนหน้าช่วงปลายปีที่อยู่ในระดับ 36% ที่นักลงทุนไม่พร้อมที่จะรับความเสี่ยง (Risk off)

เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้พอร์ตการลงทุนท่ามกลางความผันผวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังน่ากังวล KBank Private Banking ยังคงแนะนำลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงของธนาคารให้แบ่งเงินลงทุน 50-60% ของพอร์ตลงทุนในสัดส่วนพอร์ตหลักโดยเน้นกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ Risk-Based Asset Allocation เพื่อสร้างผลตอบแทนในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ช่วยให้สามารถลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested) ในทุกสภาวะตลาด ผ่านกองทุน K-ALLROAD Series ที่มาพร้อมกลไกอัจฉริยะที่กำหนดสัดส่วนการลงทุนให้สมดุลโดยอัตโนมัติในสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน อาทิ ในช่วงตลาดปกติเพิ่มอัตราทดเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ในช่วงตลาดผันผวน ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสียหาย ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ จัดการกับความเสียหายให้อยู่ในกรอบที่กำหนด

 

กองทุน K-ALLROAD Series ประกอบด้วย 3 กองทุนซึ่งแตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ คือ K-ALLROAD-UI, K-ALLGROWTH-UI และ K-ALLENHANCE-UI โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมากองทุนหลัก LO FUNDS - ALL ROADS Series ในต่างประเทศสามารถสร้างผลตอบแทนและควบคุมความผันผวนได้ดีสมํ่าเสมอ สามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ ถ้าลงทุนอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป

“KBank Private Banking ได้เริ่มแนะนำกองทุน K-ALLROAD Series ให้แก่ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 และจากภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลังดีขึ้น ตลอดไตรมาสแรกของปี 2566 กิจกรรมการตลาดกับลูกค้าใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการลงทุนและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนผ่านการลงทุนใน K-ALL ROAD Series คาดว่าจะยังคงได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้า ปัจจุบัน ทั้ง 3 กองทุนในซีรีส์นี้สามารถระดุมเงินลงทุนจากลูกค้าไปได้กว่า 6.3 พันล้านบาท** ” นายจิรวัฒน์ กล่าวปิดท้าย

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3ETkS5v

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click