November 22, 2024

ในทศวรรษที่ผ่านมาเศรษฐกิจหลายประเทศถูกขับเคลื่อนส่วนหนึ่งจากการก่อหนี้ สะท้อนจากตัวเลขหนี้ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ล่าสุดหนี้ในโลกสูงขึ้นถึงกว่า 270% ของ GDP ทั้งโลก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะธนาคารกลางทั่วโลกยังสามารถคงดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ จากการที่เศรษฐกิจโลกไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม KKP Research วิเคราะห์ว่าเมื่อเงินเฟ้อกลับมาจนนโยบายการเงินต้องกลับมาตึงตัวอย่างรวดเร็วเช่นในปัจจุบันและอัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับสูงขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูงรวมทั้งเศรษฐกิจไทยที่มีหนี้ในระดับสูงเช่นกัน

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 4/2021 ตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 4 ปี 2021 อยู่ที่ 14.6 ล้านล้านบาท ขยายตัวที่ 3.9%YOY โดยชะลอลง  จากไตรมาสก่อนหน้าและเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของ GDP ที่ชะลอตัวลงมากทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP อยู่ที่ระดับ 90.1% ปรับตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า  โดยการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนในระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 4 ชะลอลงในทุกหมวดสินเชื่อสำคัญยกเว้นบัตรเครดิต อย่างไรก็ตาม สินเชื่อส่วนบุคคลยังขยายตัวอยู่ในระดับสูง แสดงถึงแนวโน้มการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายทดแทนสภาพคล่องที่หายไปตามรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัว

 หนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 1 ปี 2021 เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 14.1 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวที่ 4.6%YOY ซึ่งเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และยังนับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา การบริโภคของประชาชนคนไทย หรือ เรียกง่ายๆ ว่า ชาวบ้านไม่ค่อยจะดีมากนัก ส่วนใหญ่จะระมัดระวังในการใช้จ่ายกันมาก เหตุผลก็มีหลายอย่างเช่น ไม่แน่ใจเรื่องการเมืองบ้าง

X

Right Click

No right click