January 23, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

หลักการบริหารโครงการ แบบ Agile สำหรับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ

July 13, 2017 5206

สภาพแวดล้อมของโครงการที่แตกต่างกันมีความจำเป็นต้องใช้วิธีการบริหารโครงการที่แตกต่างกัน การบริหารโครงการในอดีตเน้นการบริหารจัดการโครงการในลักษณะ Waterfall (น้ำตก) หรือ Linear นั่นคือต้องมีการวางแผนทั้ง Scope, Time, และ Cost ตั้งแต่แรกจากนั้นถึงมีการดำเนินโครงการ (Executing) จุดประสงค์ของการดำเนินโครงการ คือจัดทำโครงการให้เป็นไปตามแผนและกรอบของงานที่วางไว้ตั้งแต่แรก การเปลี่ยนแปลง Scope และ Requirement เป็นสิ่งที่ผู้บริหารโครงการต้องการหลีกเลี่ยง

 

โครงการลักษณะนี้เหมาะสมกับโครงการในยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ที่เน้นความมีประสิทธิภาพในโครงการ รวมถึงสามารถกำหนด Scope ของงานได้ตั้งแต่แรก

 

 

 

อย่างไรก็ตามโครงการในลักษณะ Knowledge Work, Innovation Project, และ Start-ups มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโครงการอย่างต่อเนื่อง Scope ของโครงการสามารถมีการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของลูกค้าหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น โครงการในลักษณะนี้จำเป็นต้องมี
การบริหารโครงการที่มีความแตกต่างจากรูปแบบการบริหารโครงการแบบดั้งเดิม 

 

โครงการ Agile Project เป็นรูปแบบของการบริหารโครงการที่เน้นความ-ยืดหยุ่น และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง เหมาะสมกับโครงการที่มีความไม่แน่นอนสูงและสภาพแวดล้อมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซี่งจะเห็นได้ว่าโครงการลักษณะนี้เหมาะสมกับโครงการในลักษณะ Knowledge Work ตารางสรุปความแตกต่างระหว่างงานในยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) กับงานในยุดความรู้และข้อมูลข่าวสาร (Knowledge and Information Age) 

 

โครงการในลักษณะ Knowledge and Innovation Work มีความไม่แน่นอนสูงและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการในยุคอุตสาหกรรม ซึ่งเวลาที่ผู้บริหารโครงการพยายามที่จะบริหารโครงการในลักษณะ Waterfall กับโครงการ Knowledge and Innovation Work จะพบกับปัญหาในการ-บริหารโครงการและมีโอกาสที่โครงการจะล้มเหลวสูง ดังนั้นการบริหารโครงการในลักษณะ Agile จึงพยายามเป็นทางออกในการแก้ปัญหานี้ ถึงแม้ว่าการบริหารงานโครงการ Agile มีการใช้ค่อนข้างเยอะในโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และการพัฒนา Software ก็ตาม แต่ผู้เขียนก็เห็นว่ารูปแบบการบริหารโครงการแบบ Agile สามารถนำไปปรับใช้ในการบริหารโครงการแบบอื่นๆ เข่น โครงการพัฒนาสินค้า โครงการฝึกอบรม และ โครงการก่อสร้างด้วย

 

Defined Vs. Empirical Process

ความแตกต่างระหว่างโครงการในยุคอุตสาหกรรมและโครงการในลักษณะ Knowledge and Innovation Work อาจเรียกได้ว่า คือความแตกต่างระหว่าง Defined กับ Empirical Process 

 

ใน Defined Process ขอบเขตของงานสามารถกำหนดและวางแผนได้ตั้งแต่ต้น แผนงานเป็นลักษณะ Steps by steps โดยสามารถคาดการณ์ขั้นตอนที่ต้องใช้ในการจัดทำโครงการไว้ได้ล่วงหน้า โดย Defined Process เหมาะสมกับโครงการที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีความแน่นอน
คาดการณ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น โครงการก่อสร้างตึก เป็นต้น 

 

สำหรับ Empirical Process เหมาะกับโครงการที่ใหม่มีความไม่แน่นอนสูง ไม่สามารถคาดการณ์ไว้ได้ล่วงหน้า โดยต้องมี Feedback จากลูกค้าในการกำหนด Scope และลดความเสี่ยงของงาน โดยใช้รูปแบบ Incremental (Little by little) หรือการส่งมอบงานแบบทีละนิดทีละหน่อย และ Iterative คือการทำงานเป็นวงรอบของกระบวนการทำงาน การบริหารโครงการเน้นความยืดหยุ่นพร้อมปรับให้เข้าการ Feedback และกาเปลี่ยนแปลง จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นรูปแบบ Empirical Process และ Agile ในการจัดทำโครงการ IT Start-ups เนื่องจากผลลัพธ์ของโครงการ (Applications and Websites) ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ 

 

โดยเราสามารถสรุปได้ว่า Core Principles ของ Agile คือ

1. น้อมรับการเปลี่ยนแปลง (Welcome Change)

2. การส่งมอบงานที่ละนิดที่มีคุณค่า (Working in Small Value-Added Increments)

3. ใช้ Feedback จากลูกค้าในการพัฒนา (Using Build and Feedback Loops)

4. การเรียนรู้จากการค้นพบ (Learning Through Discovery)

5. การพัฒนาอย่างมีคุณค่า (Value-Driven Development)

6. การสร้างความผิดพลาดที่รวดเร็วและเรียนรู้จากมัน (Failing Fast With Learning)

7. การนำส่งผลงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Delivery) 

8. การพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ (Continuous Improvement) 

 

 

 

The Agile Triangle

ในการจัดทำโครงการแบบดั้งเดิม (Waterfall) จะใช้ Scope เป็นตัวตั้ง และทำการปรับเวลาและงบประมาณให้เป็นไปตาม Scope ของงาน เช่น เริ่มจากการแตกงานออกเป็นกิจกรรมผ่าน Work Breakdown Structure (WBS) จากนั้นทำการจัดทำตารางเวลาการทำงาน และ คำนวณต้นทุนของโครงการผ่านทางแต่ละกิจกรรมใน WBS 

 

สำหรับ โครงการ Agile นั้น Scope มีความยืดหยุ่นและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่มีการกำหนดเวลาและงบประมาณในแต่ละวงรอบของการพัฒนา ยกตัวอย่างเช่นใน SCRUM ในแต่ละ Sprint (วงรอบในการพัฒนา) จะมีการกำหนดกรอบเวลาและงบประมาณ แต่ไม่ได้กำหนด Scope ของงาน Scope สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเปลี่ยนแปลงและ Feedback ของลูกค้า โดยโครงการ Agile จะเหมาะกับ Knowledge and Discovery Work ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและต้องมีการทดลอง ลองผิดลองถูก นำเอา Feedback ของลูกค้ากลับไปพัฒนาสินค้าและกำหนด Scope งานอยู่ตลอดเวลา

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Thursday, 13 July 2017 07:18
X

Right Click

No right click