December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

Dealing with Disruption

February 13, 2018 5458

ถ้าจะท้าวความถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจ นั้นเริ่มจากการที่ประเทศจีนเปิดประเทศและกลายเป็นแหล่งผลิต สินค้าที่่สำคัญของโลก และรวมถึงประเทศอินเดียที่กลายเป็นแหล่งของการให้บริการด้านไอที คอลเซ็นเตอร์(Call Center) และบริการด้านอื่นๆ ทำให้เริ่มก่อเกิดกระแสแรกที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ หรือ Globalization

กระแสโลกาภิวัตน์มีผลอย่างรุนแรงตั้งแต่ช่วงปี 1990 ที่โลกทั้งใบจะเริ่มเชื่อมกัน ในด้านเศรษฐกิจ และทำให้เกิดโลกไร้พรมแดน ที่สินค้าที่ผลิตจากประเทศหนึ่งส่งไปขายอย่างเสรีในอีกประเทศหนึ่ง และทำให้เกิดข้อตกลงเขตการค้าเสรีขึ้นมากมายทั้งเป็นแบบระหว่างสองประเทศที่เรียกว่า ทวิภาคี หรือ Bilateral Agreement เช่น เจเทปปา (FTA ของไทยกับญี่ปุ่น Japan - Thailand Economic Partnership Agreement (JTEPA)) และ แบบหลายๆประเทศร่วมมือกัน หรือเรียกว่าแบบ พหุภาคี หรือ Multilateral Agreement เช่น อาฟต้า (ASEAN Free Trade Agreement (AFTA) ) ซึ่งนำไปสู่การเกิด AEC เออีซี-ASEAN Economic Community

กระแสโลกาภิวัฒน์ดังกล่าว ทำให้เกิดผู้ขายรายใหม่มากมาย เพราะในอดีตการจะมีสินค้าเข้ามาขายในตลาดหรือในอุตสาหกรรม ผู้ขายจะต้องลงทุนสร้างโรงงานเพื่อผลิตสินค้า ซึ่งการลงทุนดังกล่าวทำให้เกิดต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ทำให้มีผู้ขายเพียงไม่กี่รายที่มีสินค้า และเป็นการยากที่จะมีผู้ขายรายใหม่ๆ ที่จะมีเงินทุนในการลงทุนสร้างโรงงานเพื่อผลิตสินค้าดังกล่าว แต่ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่ผู้ขายรายใหม่สามารถจ้างโรงงานที่อยู่ในประเทศจีนผลิตสินค้าแล้วส่งมาขายในประเทศของตนเอง ทำให้เกิดผู้ขายรายใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเร่งให้เกิดกระแสการแข่งขันที่รุนแรงและนำไปสู่การปรับตัวของโลกธุรกิจในยุคแรก การปรับตัวของธุรกิจ คือการพยายามไม่สร้างต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ในธุรกิจ เพราะต้นทุนคงที่เป็นภาระทางการเงินและทำให้ไม่เกิดความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพการแข่งขัน และทำให้เกิดกระแสการ เอาต์ซอร์ส (Outsource) หรือมอบหมายให้คนอื่นทำแทน ในกิจกรรมทางธุรกิจ ไม่ว่ากิจกรรมการผลิต การขนส่ง การกระจายสินค้า เป็นต้น ซึ่งพอถึงจุดสมดุลที่ ผู้ขายทุกรายสามารถบริหารจัดการต้นทุนให้เหมาะสม ก็ประจวบเหมาะกับการเกิดกระแสอินเทอร์เน็ต (Internet) กระแสอินเทอร์เน็ต (Internet) เริ่มเกิดขึ้นในปี 2000 ก่อให้เกิดการใช้เว็บไซต์ (Website) ในการสร้างช่องทางในการทำธุรกิจใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า ยุคดอตคอม (dot com) หรือ กระแสดอตคอม (dot com) ที่ธุรกิจเกือบทุกแห่ง ได้หวาดกลัวว่าจะตกขบวนรถไฟที่กำลังมาแรงภายใต้กระแสอินเทอร์เน็ต และดอตคอม (dot com) ส่งผลให้ธุรกิจได้ลงทุนอย่างหนักในการใช้อินเทอร์เน็ต เป็นช่องทางของการเข้าถึงลูกค้า และรวมถึงการพยายามใช้เว็บไซต์ในการขายสินค้า
โดยทุกบริษัทได้ทุ่มลงทุนเกินตัวและที่สุดไม่ได้สร้างผลตอบแทนตามที่คาดหวัง และนำไปสู่การล้มสลายของ ยุคดอตคอม (dot com) หรือที่เรียกว่า ฟองสบู่แตก (dot com bubble burst) ในช่วงปี 2002 เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว ความเร็วของอินเทอร์เน็ต ยังอยู่ในยุคความเร็วต่ำทำให้ไม่สามารถจะพัฒนาเว็บไซต์ ให้เหมาะสมกับการใช้งานและทำให้ผู้บริโภคเกิดความเบื่อหน่ายในการค้นหาและการรอข้อมูล แต่กระแสการใช้ อินเทอร์เน็ตยังคงอยู่ และในช่วงปี 2006 เริ่มมีการพัฒนาความเร็วของ อินเทอร์เน็ต ให้เร็วขึ้น ด้วยเทคโนโลยี เอดีเอสแอล (ADSL) เกิดเป็น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet) ซึ่งประจวบกับการเกิด เฟซบุ๊ก (Facebook) ที่เปิดตัว เมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2006 และ การเปิดตัว มือถือสมาร์ตโฟน (SmartPhone) ที่เปลี่ยนโลกคือ ไอโฟน (Iphone) รุ่นแรกในเดือน มิถุนายน ปี 2007 นำไปสู่การเกิดกระแสสังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย(Social Media) ในเวลาต่อมา

กระแสสังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) เริ่มเกิดขึ้นในปี 2007 ทำให้เกิดแนวทางทำการตลาดรูปแบบใหม่ที่
เรียกว่า การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) และเกิดการขายสินค้าออนไลน์ โดยในระยะแรกจะใช้การค้นหาบน กูเกิล (Google) เป็นตัวนำไปสู่การเข้าถึงเว็บไซต์ของธุรกิจ ต่อมาได้มีการพัฒนาการขายสินค้าโดยอาศัย เฟซบุ๊ก (Facebook), อินสตราแกรม (Instagram) ยูทูป (YouTube) ที่มีฐานผู้บริโภคใช้งานเป็นล้านๆ ราย โดยทาง เฟซบุ๊ก (Facebook) ยูทูป (YouTube) และ กูเกิล (Google) ได้มีการเก็บข้อมูลพฤติกรรม การใช้งานและคาดเดาถึงความต้องการของผู้ใช้ว่าน่าจะสนใจสินค้าประเภทใด ทำให้เกิดการขายบริการโฆษณาในรูปแบบใหม่ๆที่นำมาสู่การขายสินค้าบนเฟซบุ๊ก (Facebook) นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา แอฟพลิเคชั่น (Application) บนสมาร์ตโฟน (Smart Phone) ทำให้การใช้งานง่ายขึ้น โดยการเก็บข้อมูลพฤติกรรมความสนใจของผู้บริโภค ในการค้นหาและติดตามข้อมูลต่างๆ บน สังคมออนไลน์ (Social Media) ทำให้เกิดกระแสที่สำคัญต่อมาคือการเกิด ข้อมูลปริมาณมหาศาลและมีการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อคาดเดาถึงความต้องการในยุคกระแสของข้อมูลขนาดใหญ่ หรือบิ๊กดาต้า (Big Data)

กระแสของบิ๊กดาต้า (Big Data) เกิดขึ้นในปี 2008 จากการที่มีการบันทึกติดตาม พฤติกรรมต่างๆ ของผู้บริโภคเพื่อดูว่ากำลังสนใจหรือกำลังค้นหา หรือติดตามข้อมูลอะไรบนสื่อสังคมออนไลน์  ไม่ว่าเป็นเฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) ยูทูป (YouTube) ทำให้เกิดกระแสที่ธุรกิจจะต้องมีการเก็บข้อมูลลูกค้าเพิ่มมากขึ้นเพื่อสามารถคาดเดาความต้องการ และนำไปสู่การนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการให้ได้มากขึ้น โดยหลายธุรกิจได้มีการให้บริการฟรีกับผู้บริโภคเพื่อทำให้สามารถใช้เป็นฐานในการศึกษาพฤติกรรมต่าง อย่างเช่น กูเกิล (Google) ให้บริการค้นหาข้อมูลฟรี ยูทูป (YouTube) ให้บริการดูวิดีโอฟรี แผนที่กูเกิล (GoogleMaps) ให้บริการแผนที่และการนำทางฟรี หรือการที่กูเกิล (Google) พัฒนาแอนดรอยด์ (Android) เพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการ (Operation System) สำหรับมือถือสมาร์ตโฟน (Smart Phone) ในราคาที่ไม่แพงเพื่อทำให้กูเกิล (Google) สามารถเรียนรู้พฤติกรรมการใช้มือถือของผู้บริโภคได้ ซึ่งทำให้หลายๆ ธุรกิจพยายามจะสร้างบริการต่างๆ โดยไม่คิดเงินแล้วเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในการขายโฆษณา หรือนำเสนอสินค้าให้กับผู้บริโภค

 

โดยธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคือ อาลีบาบา (Alibaba) ที่เป็นตลาดออนไลน์ (Online) ให้คนมาขายสินค้าโดยคิดค่าธรรมเนียมต่ำมากหรือไม่คิดเลยสำหรับร้านค้าที่มีฐานลูกค้ามากๆ แต่ อาลีบาบา (Alibaba) กลับนำข้อมูลพฤติกรรมการขายสินค้าของร้านค้าไปสร้างเป็นเครดิต เรตติ้ง (Credit Rating)เพื่อดูความน่าเชื่อถือของร้านค้า โดยร้านค้าใดมีความน่าเชื่อถือมาก ทางอาลีบาบา (Alibaba) จะนำเสนอเงินกู้ให้กับร้านค้าเพื่อไปขยายกิจการ ผ่าน อาลีเพย์ (AliPay) โดยการให้กู้ ทำให้อาลีบาบา(Alibaba) สามารถสร้างกำไรมหาศาลจากธุรกิจเงินกู้ มากกว่าการสร้างกำไรจากธุรกิจตลาดออนไลน์ แต่การให้กู้ของอาลีเพย์ (AliPay) ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำเพราะลูกค้าที่จ่ายเงินซื้อสินค้าจะต้องใช้อาลีเพย์ (AliPay) ในการจ่ายเงิน ทำให้อาลีบาบา (Alibaba) เป็นคนได้รับเงินจากลูกค้าก่อนโอนไปให้ร้านค้า การให้บริการฟรีของธุรกิจที่ต้องยอมขาดทุนจากการลงทุนให้ใช้บริการโดยไม่คิดเงินหรือคิดเงินในปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยสร้างกำไรคืนจากการได้ข้อมูลของผู้ใช้งานนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งการขายโฆษณา การให้กู้ยืมเงิน การขายข้อมูล นำไปสู่การเกิดกระแสที่เรียกว่า เศรษฐกิจแบ่งปัน หรือแชร์ริ่งอีโคโนมี (Sharing Economy) ที่มีการให้บริการฟรีโดยอาศัยทรัพยากรของผู้บริโภครายหนึ่งมาให้บริการกับผู้บริโภคอีกรายหนึ่งที่มีการแบ่งปันการใช้งาน

กระแสเศรษฐกิจแบ่งปัน หรือแชร์ริ่งอีโคโนมี (Sharing Economy) เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2009 ที่เกิดการให้บริการ แท็กซี่ (Taxi) โดย อูเบอร์ (Uber) ที่ธุรกิจไม่ได้มีรถยนต์เป็นของตัวเองแม้แต่คันเดียว แต่เป็นการนำรถของผู้บริโภคที่อยากแบ่งปันให้บริการกับผู้บริโภครายอื่น โดยทางอูเบอร์ (Uber) คิดค่าธรรมเนียมกับผู้บริโภคที่อยากแบ่งปัน และในเวลาใกล้เคียงกัน เกิดธุรกิจให้บริการที่พักโรงแรมโดยแอร์บีเอ็นบี (Airbnb) ที่ไม่ได้มีห้องหรือตึกเป็นของตัวเองแต่เป็นการเอาห้องของผู้บริโภคที่อยากแบ่งปันให้บริการกับผู้บริโภครายอื่น โดยทั้ง อูเบอร์ (Uber) และ แอร์บีเอ็นบี (Airbnb) ถือว่าได้ประโยชน์จากการให้บริการฟรี (ไม่คิดค่าธรรมเนียม) กับผู้บริโภคที่ใช้งาน และยังได้รายได้จากค่าธรรมเนียมที่คิดจากผู้บริโภคที่แบ่งปันให้บริการ โดยค่าบริการของผู้บริโภคที่ใช้บริการจะถูกจ่ายให้กับผู้บริโภคที่ให้บริการ ซึ่งโมเดลและกระแสแบบนี้มีความน่าสนใจและทำลายล้าง (Disrupt) ธุรกิจดั้งเดิม คือธุรกิจโรงแรมกับธุรกิจรถแท๊กซี่ ในขณะเดียวกัน อาลีเพย์ (AliPay) ที่ให้บริการกู้เงินก็ทำลายล้าง (Disrupt) ธนาคารที่ให้บริการกู้เงิน ทำให้เกิดกระแสการให้บริการทางการเงินด้วยเงินดิจิทัล หรือ คริปโต เคอเรนซี่ (Cryptocurrency)

กระแส สกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโต เคอเรนซี่ (Cryptocurrency) หรือเงินคริปโต ที่มีเหรียญที่เป็นสกุลเงินที่โด่งดัง คือ บิตคอยน์ (Bitcoin) ที่เริ่มมีการซื้อขายครั้งแรกในปี 2011 (แนวคิดของการเกิด บิตคอยน์เกิดมาในปี 2008 และเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในปี 2009 แต่เริ่มมีการซื้อขายครั้งแรก ในวงจำกัด ในปี 2011) และเริ่มมาเป็นที่รู้จักและโด่งดังในปี 2016 ที่ธุรกิจเริ่มมองบิตคอยน์เป็นสินทรัพย์รูปแบบใหม่ ที่สามารถลงทุนและเพิ่มมูลค่าได้ ทำให้บิตคอยน์เริ่มมีบทบาทที่สำคัญกับธุรกิจ ทั้งเป็นแหล่งลงทุนและสามารถใช้เป็นระบบให้กู้ยืม จ่ายเงิน ชำระหนี้ได้เหมือนสกุลเงินปรกติ แต่ก็มีข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมของการใช้สกุลเงินดิจิทัล เพราะบางประเทศมีการมอง บิตคอยน์เป็นเรื่องของการเก็งกำไร ที่ปราศจากพื้นฐาน ทำให้มีความเสี่ยงสูงและไม่เหมาะกับการเป็นสกุลเงิน เนื่องจากไม่สามารถสะท้อนมูลค่าเพื่อใช้ชำระหนี้ได้เหมือนกับสกุลจริงที่มีเสถียรภาพและไม่ผันผวน โดยประเทศ จีน อินเดีย ไต้หวัน รัสเซีย ประกาศว่าบิตคอยน์เป็นเรื่องผิดกฎหมายและไม่อนุญาตให้มีการลงทุน ในขณะที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ยังอนุญาตให้มีการลงทุนในบิตคอยน์ได้ สำหรับบางประเทศยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากรัฐบาลว่าจัดการอย่างไรกับบิตคอยน์ ซึ่งกระแสบิตคอยน์สามารถทำลายล้าง (Disrupt) ธุรกิจธนาคาร ได้อย่างรุนแรงและทำให้ธนาคารต้องมีการปรับตัวอย่างมากในปัจจุบัน ถ้ามาพิจารณากระแส การทำลายล้าง (Disruption) ต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเริ่มจาก
ปี 1990 กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)
ปี 2000 กระแสอินเทอร์เน็ต (Internet) ที่ส่งผลให้เกิดดอตคอม (dot com)
ปี 2007 กระแสสังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media)
ปี 2008 กระแสข้อมูลปริมาณมาก หรือบิ๊กดาต้า (Big Data)
ปี 2009 กระแสเศรษฐกิจแบ่งปัน หรือแชร์ริ่งอีโคโนมี (Sharing Economy)
ปี 2016 กระแสสกุลเงินคริปโต (Cryptocurrency)

โดยกระแสทั้ง 6 ยังคงส่งผลต่อการทำธุรกิจในปัจจุบันที่เศรษฐกิจทั้งโลกมีการเชื่อมโยงกัน ก่อให้เกิดการรวมกลุ่ม
ของเศรษฐกิจที่เหนียวแน่นขึ้น อินเทอร์เน็ต ยังคงส่งผลให้เกิดการสื่อสารและการใช้ออนไลน์เพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้สื่อ สังคมออนไลน์ มีอิทธิพลมากกว่า สื่อแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้ข้อมูลปริมาณมากในการทำธุรกิจและมีธุรกิจเกิดใหม่ที่ไม่ได้ลงทุนทรัพยากรแต่ใช้การแบ่งปันทรัพยากรจากคนอื่น และมีการสร้างสกุลเงินใหม่ที่เรียกว่าเงินดิจิทัล หรือเงินคริปโต
ที่อาจเหมาะสมกับการลงทุนและกลายเป็นสินทรัพย์ใหม่ทางด้านดิจิทัล ทำให้ภาคธุรกิจยังคงต้องปรับตัวอีกมาก

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Wednesday, 04 December 2019 05:49
X

Right Click

No right click