November 24, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

Day to Day Experiences with Big Data

December 03, 2017 4042

ในโลกของการแข่งขันปัจจุบัน หลายองค์กรพยายามเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูล

ที่ถูกเก็บและบันทึกจากเทคโนโลยีใกล้ตัวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรที่จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำไปปรับปรุงสินค้าและบริการ หรือสร้างกลยุทธ์ให้ตรงตามความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าได้มากขึ้นหรือไม่

ตัวอย่างจากกิจวัตรประจำวัน ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Big Data ของ ผศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่นำมาแบ่งปันให้เห็นเป็นรูปธรรม

 

 

  • 00 – 07.00 เริ่มจากการตื่นนอน ด้วย Smart Phone ที่ปรับเสียงตามพฤติกรรมของผู้ใช้ จากนั้นใช้แปรงสีฟันอิเล็กทรอนิกส์ ที่เชื่อมต่อกับโมบายแอพพลิเคชั่น ผ่านสัญญาณบลูทูธ เพื่อติดตามพฤติกรรมการแปรงฟัน แสดงผลแบบ Real-Time บนโมบายแอพพลิเคชั่น

 

 

  • 00 – 08.00 ออกกำลังกายตอนเช้า ใช้หูฟังแบบไร้สายที่มาพร้อมกับเซนเซอร์วัดชีพจร (Heart Rate Monitor) และเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว (TrackFit Motion Counting) ข้อมูลการออกกำลังกายถูกเชื่อมต่อและบันทึกลงบน Smart Phone เพื่อวัดผลการออกกำลัง เสื้อที่สวมออกแบบเป็นพิเศษ ประกอบด้วยเซนเซอร์ที่วัดอัตราการเต้นของหัวใจ และข้อมูลถูกส่งไปยังมือถือ และบันทึกไว้บน cloud ของแพทย์ผู้ประจำตัว ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบ real-time นำไปวิเคราะห์อาการเบื้องต้นของโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคระบบทางเดินหายใจ โดยไม่ต้องเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาล

 

 

  • 00 – 10.00 เล่น Social Media ระหว่างรับประทานอาหารเช้า ล็อคอินเข้า Facebook อัพเดทข้อมูลข่าวสาร ค้นหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ “Big Data” บนเว็บไซต์ โทรจองร้านอาหารหลังจากที่เห็นโปรโมชั่นใน Facebook ดาวน์โหลดคูปองลดราคาล้างรถ จากโปรโมชั่นของปั๊มน้ำมันที่เห็นใน Line

ผศ.ดร.จงสวัสดิ์ กล่าวว่าพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องเป็นที่มา ทำให้เกิดข้อมูลใหม่ๆ มากมาย ที่สามารถนำมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรได้ เพราะข้อมูลและการวางแผนการตลาดออนไลน์ (Social Network Marketing) นั้นเป็นของคู่กัน การปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์หรือสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นข้อมูลที่มีคุณค่าต่อการวางกลยุทธ์ทั้งสิ้น ตั้งแต่การคลิกดูผลิตภัณฑ์ การใช้เวลาที่หน้าเว็บไซต์ การใช้คูปองส่วนลด การกดไลค์ แชร์ และคอมเมนท์ ซึ่งจะถูกนำมาวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้เข้าใจพฤติกรรม  และแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้ดียิ่งขึ้น แต่ละองค์กรสามารถมองเห็นและประเมินผลการดำเนินงานจากการทำโฆษณาบนโซเชียลมีเดียว่าความเหมาะสมกับแบรนด์หรือไม่ ดูการตอบรับ รวมถึงการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า

Amazon.com ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจสินค้าออนไลน์ลำดับต้นๆของโลก เป็นตัวอย่างที่ดีในการนำพฤติกรรมการซื้อสินค้า (Purchasing Behavior) มาช่วยในการส่งเสริมกิจกรรมการขายได้เป็นอย่างดี โดยใช้วิธีการนำเสนอสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งอาศัยพฤติกรรมของลูกค้าอื่นที่ซื้อสินค้าลักษณะเดียวกันมาเป็นกรอบในการวางกลยุทธ์

  • 00 – 11.00 ใช้มือถือค้นหาเที่ยวบินไปประเทศญี่ปุ่นผ่านแอฟลิเคชั่นของสายการบิน ซึ่งจากการค้นหานั้น สายการบินสามารถนำข้อมูลมาช่วยในการวางแผนงานได้ เพราะความถี่ของการค้นหา จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี สายการบินสามารถส่งข่าวสาร หรือแคมเปญติดตามผล ผ่านแอฟพลิเคชั่นตรงมาที่ลูกค้า ตั้งแต่ส่วนลด การเพิ่มไมล์สะสม ช่วยเพิ่มโอกาสในการดึงลูกค้า หรือหากจะมองในภาพที่กว้างขึ้น ยังสามารถนำข้อมูลการค้นหาทั้งหมด มาวางแผนจัดการทรัพยากรและเที่ยวบินได้เช่นกัน

 

 

  • 00 – 14.00 เดินทางไปรับประทานอาหารกลางวัน โดยรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีการตรวจจับความเคลื่อนไหวของคนเดินถนน และยวดยานต์ที่เข้ามาใกล้ มีระบบ Adaptive Cruise Control ที่มีการตรวจจับความเร็วและระยะห่างกับรถคันหน้า พร้อมการปรับความเร็วแบบอัตโนมัติ และยังมี Pilot Assist ซึ่งเป็นระบบขับขี่กึ่งอัตโนมัติ ทำงานร่วมกับระบบช่วยเบรกเพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉิน และในปัจจุบันยังมีการพัฒนาไปถึงขั้นที่ รถยนต์สามารถเชื่อมต่อกับหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ เพื่อตรวจจับความเร็วของผู้ที่เข้ามาใกล้ได้แม่นยำมากขึ้น และทำงานร่วมกับเทคโนโลยี Steer Assist ควบคุมพวงมาลัยแบบอัตโนมัติเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุระหว่างการเปลี่ยนเลน

 

 

  • 00 - 19.00 ร่วมงานแสดงสินค้าเทศกาล “กินดื่มเที่ยว ที่เดียวครบ” ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ โดยลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์แอฟพลิเคชั่น มีสายรัดข้อมือแบบ RFID (Radio Frequency Identification) ติดตามตัวและบ่งชี้ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ซึ่งเทคโนโลยีนี้ทำหน้าที่ระบุตำแหน่งของผู้เข้าร่วมงานผ่านคลื่นความถี่วิทยุ เครื่องอ่านสายรัดข้อมือ ที่ถูกติดตั้งอยู่ในแต่ละบูธ จะติดตามตำแหน่ง รวมถึงเวลาที่เข้าเยี่ยมชม ข้อมูลที่ถูกเก็บจะช่วยบ่งชี้ถึงความสนใจของผู้เข้าชมงานเป็นอย่างดี ผู้จัดงานสามารถวิเคราะห์ย้อนหลังตั้งแต่เข้าชมที่ใดของงาน ใช้เวลานาน หรือมีการเข้าบูธใดมากกว่า 1 ครั้งทำให้เข้าใจพฤติกรรมชองผู้เข้าร่วมมากขึ้น การจัดเตรียมโปรโมชั่นในอนาคตจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

ผศ.ดร.จงสวัสดิ์ กล่าวสรุปว่า ตัวอย่างของกิจวัตรประจำวันแสดงให้เห็นว่ารอบๆ ตัวเราเต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาลและเมื่อเทคโนโลยีรอบๆ ตัวเราได้ถูกพัฒนาให้ฉลาดมากขึ้น ทันสมัยมากขึ้น การเก็บข้อมูลของผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นก็ทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ปัจจุบันหลายองค์กรก้าวผ่านกับคำถามที่ว่า “Big Data คืออะไร Big Data สำคัญแค่ไหน และประโยชน์ของ Big Data คืออะไร” ไปไกลกว่านั้นแล้ว เนื่องจากมีกรณีศึกษาและงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์นำหลักการของ Big Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเกิดความยั่งยืนให้กับองค์กรในระยะยาวได้

แต่สิ่งที่สำคัญในยุคดิจิตอล จะเป็นเรื่องของการสร้างคน การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร และการกำหนดกลยุทธ์เพื่อกำหนดแนวทางให้ชัดเจนว่าจะเริ่มโครงการของ Big Data ที่ระดับไหน เลือกใช้ระบบและเครื่องมือจัดการข้อมูลองค์กรให้เหมาะสมอย่างไร นับว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจะมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น และสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ให้กับองค์กรได้ นำไปสู่การหาความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นแผนงานที่เป็นรูปธรรม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Wednesday, 04 December 2019 05:55
X

Right Click

No right click