×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

คุณสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม (ที่ 7 จากซ้าย) ประธานกรรมการ และคุณสุมาลี บำรุงชาติอุดม (ที่ 6 จากขวา) ที่ปรึกษาด้านตลาดทุน บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM)  พร้อมทีมงานได้ประชุมร่วมพร้อมเยี่ยมชมธุรกิจของ บริษัท บ้านสวยกรุ๊ป (สุราษฎร์ธานี) จำกัด (มหาชน) โดยมีคุณพิริยะ ธานีรณานนท์ (ที่ 6 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  พร้อมทีมงานผู้บริหาร ให้การต้อนรับ เมื่อเร็วๆนี้

ความสำเร็จของ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (Asset Pro Management Co.,Ltd) หรือ APM ตลอด 22 ปี นับตั้งแต่วันก่อตั้งเติบโตมาจนถึงวันนี้ พบว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นได้จากวิสัยทัศน์และแนวการทำงานสไตล์ เชิงรุกและบุกหนัก ของ สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม หรือ พี่ป้อม’  ผู้ก่อตั้งและรั้งตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท เป็นพ่อหัวเรือใหญ่ ของ APM ผู้กำหนดพันธะกิจที่ต้องการให้ APM มีบทบาทในการ ประสานและสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งในประเทศไทยและ ในภูมิภาค CLMV ให้มีโอกาสขยายฐานการเติบโตของธุรกิจ  ด้วยกลไกการระดมเงินผ่านตลาดทุน ดังปรากฏที่เห็นได้จาก ผลงานบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา

Update

พี่ป้อม’ เปิดประเด็นการอัปเดตความเป็นไปของ สถานการณ์และความคืบหน้าด้านการดำเนินธุรกิจของ APM ทั้ง ในประเทศไทยและในกลุ่ม CLMV ตลอดปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา และทิศทางการเดินหน้าของปี พ.ศ. 2562 ต่อทีมงาน MBA ว่า "ในฝั่งของประเทศไทย ความยาวนานนับตั้งแต่ที่เราได้รับการ ให้ความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาการเงิน (Licence) ในการเป็น ที่ปรึกษาทางการเงินจาก ก.ล.ต ผลงานและฐานลูกค้าในส่วน Primary Market จนทุกวันนี้เรามีมากพอควร APM มีเป้าหมายที่ กำหนดการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO : Initial Public Offering) ให้ได้ปีละ 3 – 6 ราย อย่างปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา  ภาพรวมทั้งประเทศมี IPO โดยรวม 19 ราย สัดส่วนที่ APM ทำ ในปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 3 ราย สำหรับปีนี้คาดว่าจะมี IPO ของเรา เข้าตลาดประมาณ 5-6 ราย ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่ กำหนดไว้ โครงสร้างของ APM เรามี CEO แบ่งออกเป็นสองกิ่งใหญ่ คือ คุณเสกสรรค์ ธโนปจัย และคุณสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ในสายงาน ก็แบ่งสาขาและแยกย่อยออกไป ทำให้ APM มีศักยภาพและ ความพร้อมมากในการที่จะดูแลลูกค้าในสายงาน Primary Market  อย่างเต็มที่ หรือพูดได้ว่าไม่น้อยกว่า 8 -10 รายขึ้นไปต่อปี  ทุกวันนี้ APM มีทีมงานครบพร้อมในทุกสายงานร่วม 70 คน ครอบคลุมการให้บริการได้ทั้งในประเทศไทยและใน CLMV อย่างเช่น สปป.ลาว ที่กล้าพูดได้ว่า APM เราเข้มแข็งมาก"

‘พี่ป้อม’ เปิดเผยความคืบหน้าของ APM ใน สปป.ลาว ว่า ตั้งแต่ บริษัท APM (LAO) Securities Co.,Ltd ได้รับการให้ความ เห็นชอบเป็นที่ปรึกษาการเงิน (Licence) จาก ก.ล.ต. สปป.ลาว (The Lao Securities Exchange and Commission Office : LSCO) ในปี พ.ศ. 2556 อย่างเป็นทางการ มีผลงานนำบริษัทใน สปป.ลาว เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว 3 บริษัท และกำลังจะออก IPO อีก 2 - 3 ราย ซึ่งเป็นธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ ธุรกิจฟาร์มหมู บริษัท Laos Star ซึ่งดำเนินธุรกิจรายการ โทรทัศน์ และธุรกิจน้ำประปาที่สะหวันนะเขต ซึ่งตั้งอยู่ในเขต เศรษฐกิจพิเศษสะหวัน – เซโน (Savan – Seno Special Eco-Nomic Zone) โดยเหล่านี้คือดีลที่กำลังทำอยู่ ซึ่งใน สปป.ลาว หากจะมีดีลเพิ่มอีกสัก 3 – 5 ราย APM ก็สามารถจะดูแลได้อย่าง ทั่วถึง เพราะมีทีมงานเป็นบุคลากรอยู่ในฝั่งลาวที่พรั่งพร้อมถึง 10 คน ดำเนินงานภายใต้ผู้บริหารจากฝั่งไทย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ในฝั่ง สปป.ลาว โดยที่ยังมีเจ้าหน้าที่จากฝั่งไทยคอยสนับสนุน และพร้อมให้การช่วยเหลือตลอดเวลา

ในส่วนประเทศกัมพูช หลังจากที่พี่ป้อม ได้เข้าไปศึกษา โอกาส ศึกษาตลาด จนถึงเริ่มลงทุนจัดตั้งสำนักงานในพนมเปญ ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา APM (Cambodia)  Securities Co.,Ltd ได้รับการให้ความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาการเงิน  (Licence) อย่างเป็นทางการ จาก ก.ล.ต. ประเทศกัมพูชา  (The Securities and Exchange Commission of Cambodia : SECC)  ซึ่งส่งผลให้ดีลต่างๆ ที่เจรจาและให้คำปรึกษาไปก่อนหน้านั้น สามารถประกาศเดินหน้าได้อย่างเป็นทางการ อย่างเช่น  Park Cafe ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage)  ที่กำลังเติบโตและมาแรง มีสาขาในกัมพูชา 14 สาขา และกำลัง จะเปิดเพิ่มอีก 9 สาขาภายในปี พ.ศ. 2562 ได้ประกาศแต่งตั้ง ให้ APM เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (FA : Financial Advisor) อย่าง เป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เพื่อเตรียมตัว เข้าสู่กระบวนการออก IPO ภายในปี พ.ศ. 2563  ก็คือภายใน ปีหน้า นอกเหนือจากนี้ยังมีธุรกิจด้านทันตกรรม (Dental) และ ธุรกิจด้านบริการอื่นๆที่สนใจเข้าตลาดหลักทรัพย์ในกระดาน Growth ของตลาด CSX อีกด้วย

‘พี่ป้อม’ กล่าวย้ำด้วยความมั่นใจว่า สถานภาพของ APM ณ วันนี้ ที่ถือ FA License อยู่ในมือถึง 3 ประเทศ ทำให้มี Potential ที่จะทำงานในสายงานตลาดทุน ครอบคลุมกลุ่มประเทศ CLMV อย่างเต็มที่ ส่วนอีกสองประเทศในกลุ่ม ได้แก่ ประเทศ เวียดนามและประเทศเมียนมาร์นั้น แนวทางใน การทำงานจะต่างออกไปภายใต้บริบทของ ประเทศที่ไม่เหมือนกัน เช่นว่า

ประเทศเวียดนามมีตลาดหลักทรัพย์ อยู่แล้วถึงสองที่ คือ ฮานอยและโฮจิมินห์ เมื่อรวมกันแล้วมีกิจการจดทะเบียนอยู่ใน ตลาดมากกว่า 700 บริษัท เป้าหมายของ เราจึงไม่ใช่การเข้าไปชักชวนบริษัทต่างๆ เพื่อขายหุ้นเพิ่มทุนในรูปแบบ IPO แต่ แนวทางจะเป็นการทำ Dual listing ซึ่ง แนวทางนี้ APM มีเป้าหมายที่ต้องการ จะนำบริษัทที่จดทะเบียนอยู่แล้วในตลาด ที่เวียดนามมาทำ Secondary Listing เพื่อ ขายหุ้นเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ของไทย เปรียบเสมือนการมา Raise Fund เท่ากับ ขนาดการยื่น IPO ของประเทศไทย คือ ไม่น้อยกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้กลไกตลาดหุ้นของสอง ประเทศคึกคักขึ้น

ยังมีอีกสัญญาณที่เป็นเรื่องดีคือ เมื่อเร็วๆ นี้ทาง ก.ล.ต ไทย ก็กำลังจะเปิดนโยบายในเรื่องการเชื่อมโยงระบบด้านการซื้อขาย หลักทรัพย์ กับประเทศกัมพูชา เพื่อให้สามารถซื้อขายหุ้น ผ่านกระดานที่ 3 ซึ่งจะเป็นกระดานของกลุ่ม CLMV โดยเฉพาะ เนื่องจากเกณฑ์การจดทะเบียนทุนและกำไรของแต่ละประเทศ ต่างกัน จึงต้องมีกระบวนการผ่านการยอมรับร่วมกันระหว่าง สองประเทศ ซึ่งตอนนี้ทางประเทศกัมพูชาก็ได้มีการทำข้อตกลง กับไทยเป็นประเทศแรกแล้วอย่างเป็นทางการ

ผมหวังว่าบริษัทในกัมพูชาที่จะเข้ามา List ในบอร์ดนี้ ตัวแรกจะเป็นบริษัท Phnom Penh Special Economic Zone  (PPSEZ) ซึ่งได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชาเมื่อปี  พ.ศ. 2560 โดยขณะนี้มีทุนจดทะเบียน 30 กว่าล้านเหรียญสหรัฐ เขามีแผนอยากจะเข้ามาระดมทุนขายหุ้นเพิ่มทุน หรือ Secondary  Listing ในประเทศไทย 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ โดยตอนนี้ อยู่ระหว่างการทำ Regulatory Mapping เพื่อให้เกิดเป็น Dual Listing ตามนโยบายของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ของ ทั้งสองประเทศ” พี่ป้อมกล่าว

ภายใต้การผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ ในกลุ่ม CLMV ในแง่ของกลุ่ม Non-Listed Company หรือ SMEs  ขนาดเล็กที่ยังไม่มีการจดทะเบียนตลาดทุนในประเทศไทย  อาจจะด้วยเหตุผลของขนาดกิจการที่เล็กเกินไป อาจจะเหมาะ ในการไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศกลุ่ม CLMV ซึ่งมีเงื่อนไขทุนและกฎเกณฑ์ที่เบาลง และเมื่อผ่านไป 3 – 5 ปี  มีการเติบโต จึงจะสามารถขายหุ้นเพิ่มทุนแล้วมาจดทะเบียน เป็น Dual Listing ตามเกณฑ์ประเทศไทยในอนาคตได้ ดังนั้น แนวทางเช่นนี้จึงเป็น Opportunity ของการขยายกิจการใน ระยะยาวที่มั่นคง ซึ่งก็ควรจะมีการกำหนดมาตรฐานร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องรทำบัญชี ซึ่งพี่ป้อมและ APM เน้นย้ำว่า เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ สำหรับกิจการที่ ต้องการจะขายหุ้นระดมทุนผ่าน IPO

ในส่วนของประเทศเมียนมาร์ ‘พี่ป้อม’ เผยว่า ตลาดหลักทรัพย์เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาเพียง 4 ปี ตอนนี้บริษัทในเมียนมาร์ มีบริษัทจดทะเบียนอยู่แล้ว 5 บริษัท โดยที่ 4 บริษัทแรกเป็นการ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แบบโอนมาจาก OTC Market เนื่องจากเป็นบริษัทมหาชน ไม่ใช่ IPO ทำให้ไม่มีการขายหุ้นเพิ่ม ทุนใหม่ เช่น บริษัท First Myanmar Investment Public Co., Ltd เป็นต้น แต่ล่าสุด บริษัท TMH Telecom Public Co .,Ltd (TMH) ซึ่งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa Special Economic Zone: SEZ) จะเป็นกิจการแรกที่ขายหุ้น IPO ให้กับประชาชน เมียนมาร์ และตอนนี้เริ่มมีการผ่อนคลายและอนุญาตให้ขายหุ้น ให้กับนักลงทุนต่างประเทศได้ จึงถือเป็นสัญญาณที่ดี ซึ่งต่อไป บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่เมียนมาร์ ก็สามารถมาทำ Dual Listing ในไทยได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นในความเห็นของพี่ป้อมคิดว่าน่าจะ ต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 5 ปีสำหรับเมียนมาร์ เพื่อพัฒนาตลาด ให้เติบโตและมีความพร้อมทั้งในแง่ระเบียบ กฎเกณฑ์ และ รายละเอียดต่างๆ อย่างลงตัว

‘พี่ป้อม’ ระบุถึงการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ในกลุ่ม CLMV และประเทศไทยได้เริ่มมีการทำข้อตกลงเพื่อสร้าง โอกาสในการขับเคลื่อนกลไกการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน มากขึ้น อย่างเช่นเรื่องการเปิดกระดานที่ 3 เพื่อรองรับการทำ  Dual Listing ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในภูมิภาค ที่จะสามารถระดมทุนเพื่อการขยายกิจการได้อย่างกว้างขึ้น และ ยังเป็นการขยายโอกาสและความง่ายให้กับนักลงทุนที่สนใจ ตลาดและโอกาสใหม่ๆ

โอกาส SMEs ไทยออก IPO ในกลุ่ม CLMV

‘พี่ป้อม’ ได้กล่าวถึงปัจจัยและโอกาสสำหรับ SMEs ไทย  ที่สนใจหรือขยายกิจการไปยังประเทศในกลุ่มประเทศ CLMV  ที่สามารถใช้กลไกตลาดทุนในการผลักดันการเติบโต เพราะ เงื่อนไขในการขายหุ้นเพิ่มทุน หรือ IPO ของประเทศเพื่อนบ้าน กำหนดกฎเกณฑ์และเงื่อนไขผ่อนปรนกว่าในประเทศไทยมาก ด้วยเหตุผลที่ GDP ของประเทศมีความแตกต่างกัน ทุนของเขา ไม่จำเป็นต้องใหญ่เหมือนในประเทศไทย อย่างตลาดหลักทรัพย์ ในกัมพูชามีอยู่ 2 กระดาน อันแรกคือ Main Board กำหนดทุน จดทะเบียนของบริษัทที่ต้องการออก IPO ไว้ที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ  (ประมาณ 150 ล้านบาท) ส่วนอีกกระดานหลักทรัพย์ที่เพิ่งเกิดขึ้น เมื่อปีที่แล้วคือ Growth Board ลักษณะคล้าย MAI Board ของไทยเรา  แต่ทุนจดทะเบียนกำหนดเพียง 5 แสนเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 15 ล้านบาท ก็สามารถจดทะเบียนออก IPO ได้แล้ว

 

สำหรับทิศทางตลาดหุ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 พี่ป้อม ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นขับเคลื่อนด้วยตลาดทุนเป็นหลัก โดยวิเคราะห์จากอัตรามูลค่าที่สูงกว่าตลาดเงินร่วมสองเท่าตัว อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจก็ต้องมีการพึ่งพาทั้งสองทาง หากปีนี้การเมืองมีเสถียรภาพ รัฐบาลมีนโยบายทางการเงินเชิง Aggressive ที่ผลักดัน SMEs เชิงประจักษ์ชัดเจน ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางตลาดทุนระหว่างประเทศกลุ่ม CLMV มากขึ้น คิดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงปลายไตรมาสที่สองเป็นต้นไปจะ Rebound และสร้างความเชื่อมั่นได้มากขึ้น และคิดว่าในช่วงปลายปีกลไกการลงทุน Portfolio Investment ก็จะทำให้เกิดห่วงโซ่ รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษก็จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในประเทศ ก่อเกิดสภาพคล่องตามมาและลดแรงกดดันในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 

ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ เองก็ต้องเตรียมเต้น Footwork ศึกษา Alternative หรือ Scenario ไว้ก่อน พอนโยบายออกมาชัดเจนเมื่อไหร่ ก็จะเดินหน้าได้เร็วและแรงขึ้น ไม่เสียโอกาสทางธุรกิจ


เรื่อง ณัฐพัชธ์ สุมา

ภาพ ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

คุณสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม (คนที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ได้เข้าหารือแนวโน้มธุรกิจยิปซั่ม กับท่านสังคม จันสุก (คนที่ 2 จากขวา) ประธานบริษัท สะหวัน ยิปซั่ม โปรดักส์ จำกัด (SGP) ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เมื่อเร็วๆ นี้

คุณสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม (ที่ 2 จากขวา) ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) พร้อมทีมงานได้เข้าเยี่ยมชมและหารือแนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจกาแฟ กับท่านสีนุก สีสมบัติ (กลาง) ประธานบริษัท สีนุก คอฟฟี่ จำกัด เมื่อเร็วๆนี้

“21-24 พ.ย. ไปพนมเปญและสีหนุวิลล์  24 กลับมาไป หาดใหญ่และภูเก็ต และ 26 พ.ย. ไปสอนหนังสือเชียงใหม่ และปลายเดือนพ.ย. บินเข้าลาวต่อ ส่วนเดือนธันวาคมอยู่กรุงเทพประมาณ 3-4 วัน”

ฟังตารางงานของ สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) และ CEO APM ในภูมิภาคอินโดจีน มือทองด้านการเงินขาลุยที่ตระเวนเปิดตลาดใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศจนได้รับการยอมรับในวงการ การหาเวลานั่งพูดคุยกับเขาจัดว่าเป็นเรื่องที่ยาก เมื่อมีโอกาส MBA จึงขอนัดคุยอัปเดตเรื่องราวของ APM ทั้งในไทยและต่างประเทศว่ามีความคืบหน้าไปในระดับใดบ้างแล้ว รวมถึงรูปแบบธุรกิจที่เขาและทีมงานกำลังสร้างอาณาจักรธุรกิจ APM ทั้งในไทยและต่างประเทศ

หากจะสรุปวิธีการทำธุรกิจของ APM จะใช้วิธีสร้างพื้นฐานให้แน่น ใส่ใจกับรายละเอียด และมีความอดทนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และจากนั้นก็จะเริ่มขยายฐานออกไปสู่พื้นที่หรือธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกัน เห็นได้จากการที่ APM เริ่มปูงานในประเทศไทยจนมีความเข้มแข็งสามารถนำบริษัทเข้าจดทะเบียนมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีแววทั่วประเทศ โดยสมภพและทีมงานใช้วิธีเข้าไปเชิญชวนให้กิจการนั้นๆ เห็นประโยชน์ของการเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์และการใช้เครื่องมือทางการเงินประเภทต่างๆ

เมื่อ APM มีความมั่นคง 7 ปีที่ผ่านมา สมภพก็นำทีมเข้าไปวางรากฐานการทำธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินใน สปป.ลาว ที่เขามองว่าแม้ตลาดหลักทรัพย์ของ สปป.ลาว ในขณะนั้นยังเล็ก แต่ก็เป็นตลาดที่มีโอกาสอยู่มาก ประกอบกับความใกล้ชิดของทั้งสองประเทศเป็นประโยชน์ต่อการสร้างฐานธุรกิจให้เข้มแข็ง จนได้ใบอนุญาตที่ปรึกษาทางการเงินสามารถเริ่มนำบริษัทเจ้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สปป.ลาว แล้ว 3 บริษัท และมีอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ระหว่างเตรียมการ ระหว่างนั้นเขาก็เริ่มวางรากฐานธุรกิจใหม่ของ APM คือธุรกิจเช่าซื้อที่กำลังเริ่มต้นในวันนี้

 

สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) และ CEO APM ในภูมิภาคอินโดจีน

 

ปูฐานให้มั่นคง

การเติบโตตามธรรมชาติเป็นวิธีที่ APM ใช้ขยายธุรกิจ สมภพและทีมงานวางรากฐานทั้งการขยายฐานลูกค้าและบริการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อน ตัวอย่างการขยายธุรกิจเช่าซื้อ สมภพมองว่าเขาและทีมงานมีประสบการณ์จากสายธนาคารมาก่อน การทำธุรกิจนี้จึงเป็นหนึ่งในธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่สามารถเกื้อหนุนธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่เดิมได้สมภพวิเคราะห์ว่าปี 2561 ที่กำลังจะมาถึง ตลาดทุนใน CLMV จะมีความตื่นตัวมาก เพราะผู้กำกับดูแลรวมถึงผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเหล่านี้วางเป้าหมายให้มีบริษัทจดทะเบียนในแต่ละตลาดแต่ละแห่งขั้นต่ำ 20 บริษัท ทำให้ตลาดทุนในประเทศกลุ่มนี้ยังเป็นโอกาสของ APM

เขาแจกแจงกิจกรรมที่น่าสนใจของ APM ในแต่ละประเทศโดยเริ่มจาก สปป.ลาว ที่เพิ่งนำ Phousy Construction and Development Public Company (PCD) เข้าตลาดหลักทรัพย์ลาวไปเมื่อตุลาคมที่ผ่านมา และกำลังเตรียมนำ UDA Farm เข้าจดทะเบียนในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า และยังมีบริษัทที่เตรียมจะยื่นเข้าจดทะเบียนอีก 2 บริษัทในปี 2561 และกำลังเตรียมความพร้อมอีก 1 บริษัท ทิศทางการทำงานใน สปป.ลาวจึงยังคงเดินหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่กัมพูชา APM กำลังรอรับใบอนุญาตในนามบริษัท APM Cambodia Securities จำกัดซึ่งคาดว่าจะได้รับในไม่นานนี้ ขณะเดียวกันก็เริ่มเจรจาให้คำปรึกษาธุรกิจในกัมพูชาเพื่อเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์กัมพูชาไว้แล้ว นอกจากนี้ APM ยังจะจับมือกับ ก.ล.ต.กัมพูชา เพื่อผลักดันเอสเอ็มอี 50 บริษัทเข้าโครงการ Excellence Program เตรียมเอสเอ็มอีเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดย APM จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ช่วยผลักดันเตรียมความพร้อมบริษัทเหล่านี้ในด้านระบบบัญชี

เมียนมาเป็นอีกประเทศที่ APM ตั้งใจจะเข้าไปทำธุรกิจ โดยยังอยู่ระหว่างการรอใบอนุญาตอย่างเป็นทางการ รวมทั้งปัจจุบันประเทศเมียนมายังไม่มีการนำหุ้นเข้า IPO แต่มีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 4 บริษัทที่เดิมมีการซื้อขายหุ้นกันนอกตลาดหลักทรัพย์ (OTC) เดิมอยู่แล้ว และก็ขออนุญาตเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Rangon Stock Exchange) จึงยังไม่มีความคืบหน้าด้านที่ปรึกษาทางการเงินมากนัก เวียดนามเป็นประเทศที่มีตลาดทุนมา 19 ปีแล้ว สมภพมองว่า APM ก็ให้ความสนใจแต่ยังต้องทำให้กิจการในประเทศต่างๆ มีความเข้มแข็งมากขึ้นก่อนจึงจะรุกเข้าไปได้ อีกทางหนึ่ง APM ก็รุกเข้าไปที่สิงคโปร์ โดยอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและศึกษากฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อไปเปิดบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน โดยสมภพให้ความสนใจ Catalyst Board ซึ่งเป็นตลาดรองที่มีกฎเกณฑ์ไม่มากนัก แต่ให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเป็นคนรับผิดชอบหากเกิดอะไรผิดพลาดขึ้นมา

สมภพสรุปกรอบที่วางไว้ทั้งหมดว่า “เพื่อให้ครอบคลุมการบริการใน 3- 5 ปีจากนี้ได้ เราไม่จำเป็นต้องเร่ง เพราะเราเรียนรู้ว่าแต่ละอย่างเร่งไม่ได้ ใจเราเร่ง แต่บางอย่างเร่งไม่ได้ อย่างไลเซนต์ พอได้แล้วเราเร่งคนก็ไม่ได้ ก็ต้องค่อยๆ เรียนรู้”ความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับงานที่ปรึกษาทางการเงิน ตัวอย่างเช่นที่สปป.ลาวซึ่ง APM ต้องส่งคนลงไปทำงานอย่างทุ่มเทอย่างน้อย 1-2 ปีเรียนรู้ทำความรู้จักตลาดใหม่ ให้ความรู้กับตลาดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ พัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ซึ่งต้องใช้ความทุ่มเททรัพยากรทั้งเงินทุนและเวลาเป็นอย่างมาก หัวเรือใหญ่อย่างสมภพจึงต้องลงมือด้วยตัวเองในแบบที่เรียกได้ว่ากัดไม่ปล่อยจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ แม้จะต้องเดินทางไปมาแทบไม่มีเวลาพักแต่นั่นคืองานที่เขาสนุกและอยากทำเพื่อให้งานมีคุณภาพและเดินหน้าต่อเนื่อง

 

 

รักษาฐานขยายตลาด

การลุยงานอย่างต่อเนื่องของสมภพเป็นจุดเด่นที่เขาได้รับการยอมรับในวงการ ทำให้เขามีคิวงานแน่นล้นแทบทุกวันทั้งนี้เพื่อรักษาฐานที่มีอยู่พร้อมกับขยายตัวต่อไปหาพื้นที่ใหม่ๆ จำนวน IPO ที่ APM นำเข้าจดทะเบียนในแต่ละปีมีหลายบริษัทคือคำตอบที่เห็นได้ชัดเจน หากไม่มีการเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่องคงทำได้ยากในประเทศไทยปี 2560 APM ยื่นไฟลลิ่งไปแล้ว 5 บริษัท เข้าจดทะเบียนซื้อขายไปแล้ว 2 บริษัท ขณะที่ปี 2561 สมภพบอกว่าน่าจะยื่นได้ประมาณ 6-8 บริษัท

สมภพมองว่า เอสเอ็มอียังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพราะหากดูตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาบริษัทใหญ่ๆ ล้วนเกิดจากการผลักดันเอสเอ็มอีเข้าตลาดแนสแด็กแล้วเติบโตขึ้นทั้งสิ้น ส่วนหนึ่งของการผลักดันโดย APM คือการจัดงานดินเนอร์ทอล์กตามจังหวัดต่างๆ เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว เพื่อโปรโมตหุ้นน้องใหม่ที่เข้าจดทะเบียน ที่สมภพมองว่าเป็นการสร้างโอกาส 2 ทาง ทางหนึ่งคือการสร้างนักลงทุน และอีกทางหนึ่งคือการสร้างผู้ประกอบการใหม่ๆ ที่จะเข้ามาสู่กระบวนการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ “เป็นเวทีให้คนได้ฟัง หลายรายที่เป็นนักลงทุนคือผู้ประกอบการพอฟังเสร็จเขาก็เรียกรุ่นลูกมาบอกว่า เขาแก่แล้ว รุ่นลูกไปคุยกับ APM ว่าจะเอาบริษัทเข้าอย่างไรแต่ต้องคิดเองพูดเองเพราะต้องเป็นคนอยากเอาเข้าเอง เตี่ยแค่ปิ๊งไอเดีย เราก็จะได้คนรุ่นใหม่ฟังครั้งหนึ่ง 200-300 คน ครั้งหนึ่งได้ 1 ราย ก็พอแล้ว คิดแค่นี้ แต่ถ้าไม่จัดก็ไม่มีได้ ต้องยอมเหนื่อยและลงทุนด้วย

อีกเรื่องที่ APM ทำมาต่อเนื่องคือการให้ความรู้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่บริษัทให้คำปรึกษาทางการเงินและกำลังเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยจัดหลักสูตร High Flyer Entrepreneur ให้แนวคิดการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว สามารถใช้ศาสตร์ด้านบริหารจัดการเข้าไปใช้ได้อย่างไร และเรื่องการเตรียมความพร้อมเข้าตลาดหลักทรัพย์ การใช้ประโยชน์จากตลาดทุน การใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อสร้างความเติบโต โดยในประเทศไทยจัดมาแล้ว 5 รุ่น และกำลังเตรียมจะจัดหลักสูตรเดียวกันใน สปป.ลาวและกัมพูชาในปีหน้า

นอกจากเป็นการให้ความรู้กับผู้ประกอบการยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงกันและอีกทางหนึ่งคือการสร้างสายสัมพันธ์ที่มัดแน่นกับ APM ในฐานะที่ปรึกษาที่คอยช่วยเหลือธุรกิจ การสานสัมพันธ์รักษาฐานลูกค้าเมื่อพัฒนาให้เข้มแข็งได้แล้ว ก็จะมีส่วนช่วยเสริมธุรกิจของ APM ให้ขยายตัวไปได้ ดังที่สมภพกล่าวในช่วงหนึ่งของการสนทนาว่า APM ไทยมั่นคง APM ลาวมั่นคง กัมพูชามั่นคง พอเราจะไปที่สิงคโปร์หรือเมียนมา เขาเห็นผลงาน 3 ประเทศว่ามั่นคงถึงจะต่อยอดความเป็น FA ได้ง่ายขึ้น เราจะมาพูดปากเปล่าคงไม่ได้ เราต้องพูดถึงนิติบุคคลที่เรามีผลงานนี่คือหลักการ”

สมภพเล่าภาพอนาคตที่เราจะเห็น APM จะประกอบด้วย 2 ธุรกิจหลัก คือที่ปรึกษาทางการเงิน โดยมีฐานหลักที่ประเทศไทยและ สปป.ลาว ค่อยๆ ขยายตัวไปยังประเทศกัมพูชา เมียนมาและเวียดนามภายใน 5 ปีข้างหน้า อีกข้างหนึ่ง คือธุรกิจเช่าซื้อ ที่จะปรับโครงสร้างการถือหุ้นโดยจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งขึ้นมาถือหุ้นในลิสซิ่งทุกประเทศในอนาคตจะผลักดันโฮลดิ้งนี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนไปขยายธุรกิจใน CLMV ต่อไป

 

"เพื่อให้ครอบคลุมการบริการใน 3- 5 ปีจากนี้ได้ เราไม่จำเป็นต้องเร่ง เพราะเราเรียนรู้ว่าแต่ละอย่างเร่งไม่ได้ ใจเราเร่ง แต่บางอย่างเร่งไม่ได้"

 

APM Leasingใส่เกียร์ 1 เริ่มเดินหน้า

สมภพเริ่มด้วยข่าวดีของ APM ในลาว ว่าเมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทหลักทรัพย์ APMLAO Leasing จำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทำธุรกิจเช่าซื้อใน สปป.ลาว หลังจากยื่นขออนุญาตมาแล้วกว่า 2 ปี เป็นการเติมเต็มภาพ APMLAO ที่เขาเคยเล่าให้ MBA ฟังว่า จะมีด้านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับใบอนุญาตมาครบ 4 ปีแล้ว และด้านลิสซิ่งที่จะเป็นดาวเด่นในอนาคตของกลุ่มธุรกิจเข้ามาเสริม

สมภพเล่าเบื้องหลังว่ากว่าจะได้ใบอนุญาตมีหน่วยงานที่ร่วมพิจารณาให้ใบอนุญาตหลายหน่วยงาน โดยเริ่มต้นจะปล่อยสินเชื่อได้ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ก่อนระยะเวลาหนึ่งจึงจะได้รับอนุญาตให้ไปทำธุรกิจในแขวงอื่นๆ ได้ ซึ่งตามแผนงานของ APM ก็จะเป็นช่วงเวลาที่เตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวด้วยการผสมผสานทั้งคนในพื้นที่และพนักงานที่มีประสบการณ์จากประเทศไทย

แผนงานที่ APM วางไว้สำหรับธุรกิจลิสซิ่งหลังจากได้รับใบอนุญาตจากกรมคุ้มครองสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งชาติ สปป.ลาว คือภายใน 2 เดือนที่เหลือของปีนี้จะเริ่มปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถเพื่อการพาณิชย์ อุปกรณ์สำนักงาน อุปกรณ์ร้านเสริมสวย และอุปกรณ์ทางการเกษตร

เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อสมภพบอกว่า “ปี 2018 ก็น่าจะปล่อยเพิ่มเติบโตไม่น้อยกว่าเป็น 100 เปอร์เซ็นต์จากปีนี้ เป้าหมาย 50 ล้านบาท ปีนี้ (2017) น่าจะปล่อย 10-20 ล้านบาท และปีต่อไป 2019 ก็อยู่ 100-200 ล้านบาท ปี 2020 น่าจะอยู่ที่ 500 ล้านบาท เป็นการปล่อยเพิ่มนะ แสดงว่าผมต้องวางแผนทางการเงินทำลิสซิ่ง สุดท้ายลิสซิ่งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ ทำให้ผลงานของ APMLAO Leasing โดดเด่นในปี 2020 ได้ และมีโอกาสใช้ตลาดทุนในการระดมทุนเพื่อไปขยายในประเทศกัมพูชา และ CLMV”

สมภพมองว่าธุรกิจลิสซิ่งจะเป็นดาวเด่นของ APM ในอนาคต เขาจึงมุ่งมั่นลงลึกถึงรายละเอียด ด้วยการเป็นหนึ่งในกรรมการพิจารณาปล่อยสินเชื่อของบริษัทด้วยตัวเอง “ผมปล่อยลิสซิ่งถ้าปล่อยเสียไปหนึ่งรายสองรายกำไรที่ควรจะได้นี่หายไปเลย เพราะฉะนั้นต้องเข้ม นี่คือหัวใจการทำงานธุรกิจลิสซิ่ง ต้องดูผู้เช่าซื้อให้ถี่ถ้วน เพราะลิสซิ่ง มีตั้งแต่การวางดาวน์ 10-15 เปอร์เซ็นต์และดูความสามารถในการผ่อนชำระ ดูครอบครัว ดูที่บ้าน ไม่ใช่ทำง่าย เช่นรถปิ๊กอัป เดือนนี้จะปล่อย 1-2 คัน รู้ตัวตน รู้พ่อแม่ อย่างนี้ปล่อย เราค่อยๆ เรียนรู้ไป อย่าไปเร่ง”

Page 8 of 8
X

Right Click

No right click