ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปีกับลูกค้า ด้วยของขวัญคอลเลกชันพิเศษที่ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ชื่อดังและศิลปินที่กำลังมาแรงในแวดวงศิลปะ ได้แก่ คุณหมู-พลพัฒน์ อัศวะประภา เจ้าของแบรนด์ Asava แบรนด์แฟชั่นที่โดดเด่นในวงการแฟชั่นไทย และคุณธิดารัตน์ จันทเชื้อ ผู้ชนะจากเวทีการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประจำปี 2558 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไว้วางใจตลอด 25 ปีจากลูกค้าและการสนับสนุนคนไทย
มร.ริชาร์ด มาโลนี่ย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า "ของขวัญคอลเลกชันนี้เป็นการขอบคุณสำหรับความไว้วางใจและการสนับสนุนของลูกค้าตลอด 25 ปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ร่วมมือกับดีไซเนอร์ชาวไทยเพื่อออกแบบของขวัญที่มีความหมายสะท้อนถึงคุณค่าที่ธนาคารยึดมั่นให้แก่ลูกค้าของเรา”
ของขวัญคอลเลกชันสุดพิเศษจากแบรนด์ ASAVA ออกแบบมาสำหรับลูกค้าพริวิเลจ แบงก์กิ้ง ของธนาคารยูโอบี ประเทศไทยโดยเฉพาะ มีแรงบันดาลใจจากดอกไม้นานาพันธุ์ ซึ่งสื่อถึงการส่งเสริมการเติบโตและความเจริญรุ่งเรืองของลูกค้า ในคอลเลกชันลิมิเต็ด อิดิชั่นจำนวน 5 ชิ้นประกอบด้วย ชุดจานอาหาร กระเป๋าใส่บัตรเครดิต กระเป๋าใส่อุปกรณ์ในห้องน้ำ กระเป๋าทรงโท้ท และกระเป๋าใส่อุปกรณ์ส่วนตัว ซึ่งออกแบบมาให้ใช้งานในชีวิตประจำวันของลูกค้าได้จริง
และสำหรับผลงาน "พลังแห่งการเติบโต" โดยนางสาวธิดารัตน์ จันทเชื้อ เป็นผลงานที่ธนาคารได้นำมาใช้ในคอลเลกชันของขวัญสำหรับลูกค้าทั่วไป ที่สะท้อนถึงพลังขับเคลื่อนของอาเซียนและความมุ่งมั่นของยูโอบี ประเทศไทย ต่อความก้าวหน้าในภูมิภาค
ความร่วมมือระหว่างธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กับดีไซน์เนอร์และศิลปินที่มีผลงานโดดเด่นครั้งนี้ ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการสานความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับลูกค้าของธนาคาร การสนับสนุนผู้มีความสามารถในประเทศไทย และเฉลิมฉลองความสำเร็จตลอด 25 ปีที่ผ่านมา
ไฮไลท์สำคัญ: · อิหร่านเปิดฉากการโจมตีตอบโต้อิสราเอลเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2567 · ผลกระทบคือราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากความเสี่ยงของการหยุดชะงักของอุปทานน้ำมันจากตะวันออกกลาง · นักลงทุนควรมุ่งเน้นไปยังเป้าหมายทางการเงินระยะยาวด้วยการสร้างพอร์ตโฟลิโอที่แข็งแกร่งด้วย ผ่านการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ (Multi-asset) และตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment grade bond)
จากเหตุการณ์ที่อิสราเอลโจมตีทางอากาศต่อสถานกงสุลอิหร่านในซีเรีย เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ทำให้อิหร่านตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบิน ขีปนาวุธนำวิถี ขีปนาวุธร่อน ตลอดจนโดรนโจมตีรวมมากกว่า 300 ครั้ง ในวันที่ 14 เมษายน 2567 แม้ว่าอิสราเอลและพันธมิตรจะสามารถสกัดกั้นการโจมตี ส่วนใหญ่ได้และแม้ว่าจะมีความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความวิตกถึงความเป็นไปได้ที่ความขัดแย้งจะขยายวงกว้างไปทั่วทั้งตะวันออกกลาง นายกิดอน เจอโรม เคสเซล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์เงินฝากและบริหารการลงทุนบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้ให้ความเห็นต่อสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการลงทุนดังนี้
สถานการณ์เป็นการตอบโต้เชิงสัญลักษณ์ ซึ่งสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อย
สหรัฐฯคาดการณ์ถึงการตอบโต้ของอิหร่านเอาไว้ล่วงหน้า โดย Wall Street Journal รายงานถึงการประท้วงที่ใกล้จะเกิดขึ้น ด้วยคำเตือนล่วงหน้านี้ ทำให้เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย เนื่องจากอิสราเอลและพันธมิตรสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับการโจมตีของข้าศึกได้
• อิหร่านส่งสัญญาณว่าไม่ต้องการยกระดับความขัดแย้ง โดยกล่าวว่า “ ปฏิบัติการโจมตีอิสราเอลถือว่ายุติลงแล้ว” หลังการโจมตี แต่ยังได้เตือนสหรัฐฯ ให้อยู่ห่างจากความขัดแย้งนี้
สถานการณ์ตึงเครียดจะเลวร้ายลงหรือไม่?
• ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของอิสราเอล แต่สัญญาณเบื้องต้นคบ่งชี้ว่าอิหร่านไม่ต้องการยกระดับความตึงเครียด
• มีรายงานว่าสหรัฐฯ จะไม่เข้าร่วมหรือสนับสนุนปฏิบัติการตอบโต้อิหร่าน แต่จะยังป้องกันเสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยการปกป้องฐานทัพของอิสราเอล
ผลกระทบต่อการลงทุน
• นักลงทุนมีความระมัดระวังในการลงทุนเพิ่มขึ้นและคาดว่าตลาดจะยังผันผวนในระยะสั้น
~ ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากความเสี่ยงของการหยุดชะงักของอุปทานน้ำมันจากตะวันออกกลาง
~ หากอิหร่านปิดกั้นช่องแคบฮอร์มุซ อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ 21 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือประมาณ 21% ของการบริโภคทั่วโลก
~ ความไม่แน่นอนทำให้นักลงทุนมองหาสินทรัพย์ปลอดภัย เป็นปัจจัยหนุนต่อราคาทองคำ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (UST) และเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)
• การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันอาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อและทำให้การลดอัตราดอกเบี้ยล่าช้าออกไป
• อย่างไรก็ตาม ภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ และความเชื่อมั่นของตลาดก็คาดว่าจะกลับมามีเสถียรภาพได้อีกครั้ง หากความขัดแย้งไม่บานปลาย
คำแนะนำสำหรับนักลงทุน
• ทบทวนพอร์ตการลงทุน เพื่อพิจารณาความเสี่ยงว่ามีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่กระจุกตัวมากเกินไปหรือไม่
• มุ่งเน้นไปที่การบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาวโดยการสร้างพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่ง ผ่านสินทรัพย์กลุ่ม Core Investment
• แนะนำกลยุทธ์กระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ (Multi-Asset) ที่มีการลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ , ภูมิภาค และอุตสาหกรรม เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน
• พิจารณากองทุนตราสารหนี้และตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment Grade) ที่จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับพอร์ตการลงทุนในช่วงตลาดผันผวน ตราสารหนี้ยังมีอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจและมีโอกาสได้กำไรด้านราคา หากธนาคารกลางเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปลายปีนี้
• สำหรับนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ ลองพิจารณาธีมการลงทุนด้านการดูแลสุขภาพระดับโลก (Global Healthcare) , เอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น และอาเซียน และสามารถทยอยสะสมการลงทุนในหุ้นคุณภาพดีที่มีการเติบโต (quality growth) และหุ้นปันผล ในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง
• นักลงทุนสามารถใช้ฟีเจอร์ Wealth ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวใน UOB TMRW จะช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนรวมได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถจัดการความมั่งคั่งผ่านโทรศัพท์มือถือได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว
ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2567 เป็นต้นไป นักลงทุนจะสามารถเข้าถึงกองทุนต่างประเทศได้โดยตรง ทำให้สามารถลงทุนโดยตรงในกองทุนรวมที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศจากบริษัทจัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงถึง 14 แห่ง อาทิ Blackrock, PIMCO, JPMorgan และ Fidelity สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนรวมผ่านแอป UOB TMRW ได้ที่นี่
เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยได้รับรางวัลด้านตราสารหนี้ยอดเยี่ยมจากเวทีระดับประเทศและระดับภูมิภาครวม 7 รางวัล จากการบริการทางการเงินที่โดดเด่นและหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทย
นายพิศาล ขัตติโยทัยวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Head of Investment Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “เรารู้สึกป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลที่ครอบคลุมความสำเร็จด้านตราสารหนี้ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในตลาดการเงินในปีนี้ รางวัลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของธนาคารในการนำเสนอโซลูชันทางการเงิน และบริการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้ออกตราสารหนี้ ผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนรายใหญ่ ธนาคารมีองค์ความรู้ มีความสามารถในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีความเชี่ยวชาญ และสามารถนำเสนอวิธีการระดมทุนด้วยการกู้ยืม (debt financing) รวมถึงโซลูชันในการระดมทุนต่างๆที่มีประสิทธิภาพ พร้อมตอบสนองต่อความต้องการในการระดมทุนของลูกค้า เรายืนหยัดที่จะสนับสนุนการให้บริการและโซลูชันทางการเงินที่มีคุณภาพสูง ควบคู่ไปกับการสร้างสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นกับลูกค้า เพื่อผลักดันให้ลูกค้าของเราเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จและเป็นไปตามแผนการเติบโตในอนาคต”
จากผลงานในปี 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยคว้า 4 รางวัลอันทรงเกียรติจากองค์กรในตลาดทุนระดับประเทศ และนิตยสารทางเงินชั้นนำระดับนานาชาติจากบทบาทอันโดดเด่นในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้แต่เพียงรายเดียวสำหรับการออกหุ้นกู้ขนาดใหญ่ 2 รายการ ได้แก่
นอกจากนี้ยูโอบีได้รับรางวัลจาการนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในด้านตราสารหนี้รวมอีก 3 รางวัล ประกอบด้วย Best New Bond – Thailand จากนิตยสารThe Asset กับ Best Inaugural Bond Deal in Southeast Asia และ Best Local Currency Bond Deal of the Year in Thailand จากนิตยสาร The Alpha Southeast Asia จากการเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ร่วมของบริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ที่มีมูลค่าการเสนอขายรวม 15,000 ล้านบาท และ Best Bond Deal for Retail Investor in Southeast Asia จากนิตยสาร The Alpha Southeast Asia จากการเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ร่วมของบริษัทเอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ที่มีมูลค่าการเสนอขายรวม 31,500 ล้านบาท
มุ่งสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ในทุกอุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ Sustainability Innovation หรือ SIP ประจำปี 2024 จัดโดย ยูโอบี ฟินแล็บ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ของไทยในทุกภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการนำความยั่งยืนมาสู่ธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่กว้างขวางของยูโอบี ฟินแล็บ (UOB FinLab) ซึ่งประกอบด้วยพันธมิตรจากภาครัฐ เอกชน ผู้ให้คำปรึกษา และ SMEs
โครงการ SIP ประกอบด้วย 3 โมดูลหลัก ซึ่งจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม ได้แก่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), PwC ประเทศไทย,องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โครงการยั่งยืนนิยม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 29 และ 30 พฤษภาคม 2567 ที่กรุงเทพฯ โดยประกอบด้วยเวิร์กชอปและมาสเตอร์คลาสที่ออกแบบมาสำหรับ SMEs ไทยที่ผ่านการคัดเลือกมากกว่า 200 ราย ซึ่ง SMEs ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้และข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านความยั่งยืน เครื่องมือวัดผล ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance - ESG) แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว
จากรายงาน UOB Business Outlook Study 20241 พบว่า การนำแนวทางปฏิบัติ ESG มาใช้ในประเทศไทยนับเป็น 1 ใน 5 ลำดับความสำคัญทางธุรกิจที่องค์กรให้ความสำคัญอย่างมากในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประมาณ 3 ใน 10 ระบุว่า จำเป็นต้องมีการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นในส่วนของการเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงคำแนะนำสำหรับการปรับใช้มาตรฐาน ESG และแนวทางปฏิบัติในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
นายบัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ปัญหาโลกร้อนส่งผลให้องค์กรต่างๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจและการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน จากผลสำรวจ UOB Business Outlook Study พบว่าโดยทั่วไปแล้วองค์กรธุรกิจในไทยมองว่าการปรับใช้แนวทางความยั่งยืนคือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับองค์กร (ร้อยละ 56) ช่วยดึงดูดนักลงทุน (ร้อยละ 50) และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในการทำงานร่วมกับองค์กรขนาดใหญ่ (ร้อยละ 42)
“SMEs ตระหนักมากขึ้นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว โครงการ SIP รวบรวมพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนที่สามารถช่วยเหลือ SMEs ไทยในทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อเริ่มต้นปรับใช้แนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยองค์ความรู้เฉพาะทาง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะสามารถประเมินความพร้อมของธุรกิจตน สำหรับการพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือด้านความยั่งยืนของทางธนาคารที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยเครื่องมือนี้จะแนะนำแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มธุรกิจต่างๆ”
ทางด้านนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO กล่าวว่า “ปัจจุบันความยั่งยืนกลายเป็นความจำเป็นของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ หลังนโยบายทั้งไทยและต่างประเทศมุ่งเป้าจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่ามีหลายๆ บริษัทได้ตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero มากขึ้น แต่ไม่มีความรู้ที่แน่ชัดว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน ทาง TGO จะเข้ามาช่วย เสริมโครงการ SIP ในจุดนี้ได้ ด้วยการสนับสนุน SMEs ทั้งในเรื่องของแพลตฟอร์มการขอขึ้นทะเบียนกับ TGO ตลอดการให้คำปรึกษาและข้อแนะนำต่างๆ ที่จะช่วยสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ SMEs สามารถรุกตลาดคาร์บอนเครดิตต้องทำยังไง ทั้งเป็นหน่วยงานกลางให้ความรู้และช่วยในการประเมินก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจ”
ส่วนทางด้านนายปิติพัฒน์ มงคลอริยนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคเอ็มพี คอร์ปอเรชัน ที่ทำธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างแบบครบวงจรที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการภาครัฐและภาคเอกชนอย่างครบวงจร กล่าวว่า “หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการกับทาง UOB FinLab เราเห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจน นอกจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง ระบบปฏิบัติการหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังได้นำแนวคิดเรื่องความยั่งยืนไปปรับใช้ในธุรกิจและคู่ค้าของธุรกิจของเราด้วย การขยาย
โครงการ SIP ในปีนี้ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม นับว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับสู่ความยั่งยืน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน เพราะจะได้เรียนรู้ตั้งแต่ความจำเป็น กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง การประเมินการปล่อยคาร์บอนของธุรกิจ การทำโมเดลธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงโอกาสเข้าถึงเครือข่ายธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น”
นอกจากโครงการ SIP แล้ว ยูโอบี ฟินแล็บ ยังจัดทำโครงการสำหรับสตาร์ทอัพและบริษัทผู้ให้บริการโซลูชันเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือกรีนเทค ที่ชื่อว่า GreenTech Accelerator (GTA) 2024 ระยะเวลา 6 เดือนอีกด้วย โครงการ GTA จะช่วยให้ผู้ให้บริการโซลูชันกลุ่มกรีนเทคได้พัฒนาโซลูชันเพื่อสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจาก SMEs ในอาเซียน และกรีนเทคผู้ชนะจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนาโครงการนำร่องในการแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของยูโอบี ฟินแล็บ ในการขับเคลื่อนโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน โครงการ GTA 2024 จะสนับสนุนเงินทุนสูงถึง 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับเทคโนโลยีสีเขียว หรือกรีนเทค (Greentech) เพื่อนำร่องนวัตกรรมโซลูชันที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้งานได้จริงสำหรับธุรกิจต่างๆ
โครงการ SIP เปิดรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจจากทุกภาคธุรกิจที่ต้องการปรับใช้แนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน SMEs ที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 25 พฤษภาคม 2567 ที่ www.facebook.com/uob.th หรือ https://thefinlab.com/th/thailand
ซีพี แอ็กซ์ตร้า” ผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก เตรียมเสนอขายหุ้นกู้จำนวน 4 รุ่น อายุ 1 ปี 6 เดือน ถึงอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นระหว่าง 3.00-3.95% ต่อปี โดยเสนอขายเป็นครั้งแรกให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 8 แห่ง และช่องทางทรู มันนี่ วอลเล็ต คาดว่าจะเสนอขายในระหว่างวันที่ 8 และ 11-12 กันยายน 2566 เผยจุดเด่นหุ้นกู้ นอกจากจะออกและเสนอขายโดยบริษัทที่เป็นผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ที่มีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคเอเชียแล้ว หุ้นกู้ยังได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “บวก” (Positive) จากทริสเรทติ้ง สะท้อนความแข็งแกร่งของธุรกิจและผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างมีศักยภาพ โดยผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมกว่า 2.41 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.17 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนที่แสวงหาหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ มีโอกาสเติบโต ภายใต้ความเสี่ยงของหุ้นกู้เพียงระดับ 3
นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจค้าส่งแม็คโครและประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจสายงานบัญชีและการเงิน บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” (Makro) และธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบริหารพื้นที่เช่าในศูนย์การค้าภายใต้ชื่อ “โลตัส” (Lotus’s) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมออกและเสนอขายหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย หุ้นกู้รุ่นอายุ 1 ปี 6 เดือน รุ่นอายุ 3 ปี รุ่นอายุ 5 ปี และรุ่นอายุ 7 ปี กำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 3.00-3.95% ต่อปี ซึ่งจะแจ้งอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนอีกครั้ง โดยจะเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารยูโอบี และ บล.เกียรตินาคินภัทร รวมถึงเสนอขายผ่านช่องทาง ทรูมันนี่ วอลเล็ต คาดว่าจะเสนอขายได้ในระหว่างวันที่ 8 และ 11-12 กันยายน 2566
ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ “A+” เช่นเดียวกับอันดับความน่าเชื่อถือองค์กรที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “บวก” (Positive) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 สะท้อนสถานะของบริษัทฯ ในการเป็นบริษัทย่อยหลัก (Core Subsidiary) ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL) และการเป็นผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ด้วยความแข็งแกร่งของผลการดำเนินงานที่ฐานรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 (มกราคม-มิถุนายน 2566) บริษัทฯ มีรายได้รวม 241,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,746 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากธุรกิจค้าส่งแม็คโคร 130,875 ล้านบาท และธุรกิจค้าปลีกโลตัส 110,959 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 3,682 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (Core Net Profit) ที่ไม่รวมรายการพิเศษในครึ่งแรกของปี 2566 อยู่ที่ 3,781 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
“การเติบโตในครึ่งปีแรกของปี 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเดินหน้าขยายสาขาและเพิ่มประสิทธิภาพแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ รวมถึงการผสานช่องทางการขายออนไลน์และสาขาอย่างไร้รอยต่อ พร้อมกันนี้ บริษัทฯ
ยังมีเป้าหมายในการเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งในระดับภูมิภาคเอเชีย รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ (Omni channel) ภายใต้การดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักบรรษัทภิบาล เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งเชื่อว่าด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้จะทำให้หุ้นกู้ของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนที่แสวงหาหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ ภายใต้ความเสี่ยงของหุ้นกู้เพียงระดับ 3 (ต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 1 สูงสุดระดับ 8) และธุรกิจมีศักยภาพในการเติบโตสูง” นางเสาวลักษณ์กล่าว
ทั้งนี้ ธุรกิจของ บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจค้าส่ง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” (Makro) ในประเทศไทยและอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการมืออาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ร้านค้าปลีกรายย่อย กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และจัดเลี้ยง (HoReCa) ตลอดจนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและสถาบันต่างๆ ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้าภายใต้ชื่อ “โลตัส” (Lotus’s) ในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยบริษัทฯ มุ่งที่จะเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งอาหารสดและสินค้าอุปโภคบริโภคในระดับภูมิภาคในเอเชีย และขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ ด้วยช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ (Omni channel) นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพของร้านค้า ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และการปรับโฉมร้านค้าแบบไฮบริดซึ่งดึงจุดเด่นของ 2 กลุ่มธุรกิจค้าส่งค้าปลีกแบบไร้รอยต่อ เพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
นอกจากนี้ บมจ. ซีพี แอ็กซ์ตร้า ยังได้รับคัดเลือกให้ติดอันดับบริษัทด้านความยั่งยืน โดยเข้าเป็นสมาชิกของดัชนี S&P Global The Sustainability Yearbook 2023 ในกลุ่ม Food & Staples Retailing ซึ่งเป็นดัชนีชั้นนำของโลกที่ใช้วัดผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตอกย้ำการเป็นบริษัทที่มุ่งสร้างการเติบโตไปพร้อมกับคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท (IOD) ในระดับ 5 ดาวหรือ “ดีเลิศ” (Excellent CG Score) ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 อีกด้วย
ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับ สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้ซีพี แอ็กซ์ตร้า สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อผ่านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ดังต่อไปนี้
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 1333 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Bualuang mBanking สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)* โทร. 02-888-8888 กด 819 หรือจองซื้อผ่านเว็บไซต์ K-My Invest (www.kasikornbank.com/kmyinvest) สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โทร. 1572 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Krungsri Mobile App (“KMA”) สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)** โทร. 02-777-6784 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น SCB EASY สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1111 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Krungthai NEXT สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา
ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โทร. 02-285-1555
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โทร.02-626-7777 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น CIMB Thai Digital Banking สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา
บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)*** โทร. 02-165-5555 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Dime! สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา
* ซึ่งรวมถึง บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
** ซึ่งรวมถึง บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
***ซึ่งรวมถึงธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถจองซื้อหุ้นกู้ “ซีพี แอ็กซ์ตร้า” ผ่านแอปพลิเคชันทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้อีกด้วย โดยสามารถดาวน์โหลดแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้ที่ App Store และ Play Store ดูรายละเอียดวิธีการสมัครแอปฯ และวิธีการจองซื้อได้ที่ www.truemoney.com หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 1240 กด 6
สิงหา 2566