September 19, 2024

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน (SEAMEO SEPS) และ Yunus Thailand ประกาศความสำเร็จโครงการ Waste Hero Education ในงาน ‘2024 Waste Hero Excellence Announcement’ ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของอินโดรามา เวนเจอร์ส ในกรุงเทพฯ  ความร่วมมือในครั้งนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมการศึกษาด้านการจัดการขยะอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในหมู่ครู นักเรียน และชุมชน 

โครงการ Waste Hero Education ได้เปิดตัวแคมเปญร่วมกันในปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทรัพยากรการศึกษา Waste Hero ให้แก่โรงเรียนและครูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นไปที่ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และเมียนมาร์ โครงการนี้ได้มีส่วนร่วมกับนักการศึกษาจำนวนกว่า 1,700 คน ผ่านกิจกรรมริเริ่มต่างๆ ซึ่งรวมถึงการฝึกอบรมครูแกนนำ Waste Hero Master จำนวน 10 ครั้ง การประกวดรางวัล Waste Hero ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการสัมมนาผ่านออนไลน์ที่สร้างพลังบวก จำนวน 3 ครั้ง 

ด้วยการสะท้อนผลกระทบที่สำคัญจากการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment หรือ SROI) ในประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ แสดงให้เห็นว่า ทุกๆ ดอลลาร์ที่ใช้ไปสามารถสร้างมูลค่าทางสังคมได้เกือบห้าเท่า ตอกย้ำถึงอิทธิพลเชิงบวกของโครงการต่อชุมชน นอกจากนี้ การแข่งขันโรงเรียน Waste Hero ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะ ได้มีโรงเรียนจากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอื่นๆ เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 53 โรงเรียน โดยมี 5 โรงเรียน ที่ได้รับรางวัลสำหรับความสำเร็จที่โดดเด่นในการนำทรัพยากรการศึกษา Waste Hero มาใช้ในหลักสูตร กิจกรรม และนโยบายของโรงเรียน นอกจากนี้ โรงเรียนเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงการลดขยะลงอย่างมีนัยสำคัญ การสร้างรายได้จากการรีไซเคิล และการมีส่วนร่วมของชุมชน 

โรงเรียนที่ได้รับรางวัลทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียน Dorokha ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศภูฏาน โรงเรียน SDN Hegarmanah Jatinangor Sumedang ในประเทศอินโดนีเซีย โรงเรียน La Salle Sentul ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศมาเลเซีย โรงเรียน San Luis National ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศฟิลิปปินส์ และโรงเรียนบ้านคำเม็กหนองนางฟ้า จังหวัดยโสธร ในประเทศไทย 

นางสุจิตรา โลเฮีย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ และประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “เรายินดีฉลองความสำเร็จของโครงการ Waste Hero ร่วมกับพันธมิตรที่ทรงคุณค่าของเรา SEAMEO SEPS และขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนที่มีความพยายามอย่างยอดเยี่ยมทุกแห่ง สำหรับอินโดรามา เวนเจอร์ส เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยการส่งเสริมทรัพยากรการศึกษาและการมีส่วนร่วมของโรงเรียน โดยความร่วมมือครั้งนี้จะส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีความสามารถในการจัดการขยะอย่างรับผิดชอบและปกป้องโลกของเรา” 

นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอว่าด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน (SEAMEO SEPS) กล่าวว่า “SEAMEO SEPS มีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับทรัพยากรการศึกษา Waste Hero ในกลุ่มคุณครูและนักเรียน เราฝึกอบรมครูในการนำวัสดุเหล่านี้ไปใช้ในห้องเรียน และจัดการแข่งขันเพื่อแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เราภูมิใจกับการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกที่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้สร้างขึ้น และหวังว่าจะได้ร่วมมือกับอินโดรามา เวนเจอร์ส ในการส่งเสริมการจัดการขยะและเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านโครงการในอนาคตต่อไป” 

ความสำเร็จเหล่านี้จะเป็นไปไม่ได้เลย หากปราศจากพันธมิตรเชิงกลยุทธ์หลักของโครงการฯ ซึ่งรวมถึงกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย และ Yunus Thailand ที่ให้การสนับสนุนและทุ่มเทอย่างไม่ลดละ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการให้ก้าวไปข้างหน้า 

ดร. พิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย ได้กล่าวแสดงความยินดีและชื่นชมต่อความสำเร็จของโครงการ “นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เห็นความสำเร็จอันโดดเด่นของโครงการ Waste Hero Education โครงการนี้ได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ปลูกฝังให้พวกเขามีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความยั่งยืนที่ขยายออกไปนอกห้องเรียน เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่สดใสและยั่งยืนยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทยและคนรุ่นต่อไป” 

นายคาลัม แมคเคนซี่ กรรมการผู้จัดการ Yunus Thailand กล่าวว่า “โครงการ Waste Hero ไม่ได้เพียงแค่สร้างความรู้ในการจัดการขยะให้เป็นศูนย์เท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นการปลูกฝังคุณค่าให้เยาวชนตระหนักถึงบทบาทของพวกเขาในฐานะพลเมืองโลกที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เราอยู่ เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้เยาวชนว่าพวกเขาสามารถเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลง แม้จะเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็มีความหมาย และเมื่อรวมกันแล้วสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับโลกได้ ที่สำคัญคือ โครงการนี้ช่วยส่งเสริมความรู้และทักษะที่เป็นรูปธรรมให้เยาวชนสามารถจัดการขยะให้เหลือศูนย์ได้อย่างถูกต้อง ทั้งในโรงเรียน ที่บ้าน และในชุมชนของพวกเขา โดยสรุปแล้ว โครงการนี้คือการสร้างผู้พิทักษ์ขยะ หรือที่เราเรียกว่า Waste Heroes นั่นเอง” 

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สานต่อบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ส่งต่อคุณค่าขยะอินทรีย์อบแห้งกว่า 10,000 กิโลกรัม สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การส่งมอบขยะอินทรีย์อบแห้งในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทางศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สส. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการขยะ ตั้งแต่ต้นทางด้วยการนำขยะอินทรีย์อบแห้งภายในพื้นที่ของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ผ่านกระบวนการแปรรูปแล้วนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับวิสาหกิจชุมชน เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

 

ม.ร.ว.สวัสดิวุฒิ สวัสดิวัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จํากัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กล่าวว่า “ศูนย์ฯ สิริกิติ์ มีความยินดีที่ได้สานต่อข้อตกลงร่วมกับ สส. ในการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการขยะอาหารจากการจัดอิเวนต์ โดยการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้สร้างคุณค่าให้กับเศษอาหาร โดยนำกลับมาหมุนเวียน ทำเป็นขยะอินทรีย์อบแห้ง ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งต่อสู่ชุมชนในการนำไปเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ ทำเป็นปุ๋ยสำหรับปลูกต้นไม้ และพืชผัก และยังสร้างรายได้ให้กับชุมชนควบคู่ไปกับการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก อันเนื่องมาจากขยะ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมต่อไป

“ระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้นำขยะอาหารมาแปรรูปด้วยการอบแห้ง เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับวิสาหกิจชุมชน ซึ่งศูนย์ฯ สิริกิติ์สามารถส่งต่อขยะอบแห้งให้กับสส. และวิสาหกิจชุมชนกว่า 10,000 กิโลกรัม ทำให้เกิดการหมุนเวียน และลดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนนำไปสู่การไม่มีของเสีย เป็นการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับวิสาหกิจชุมชน รวมถึงยังช่วยลดขยะอาหารของศูนย์ฯ สิริกิติ์ได้ถึง 55,797 กิโลกรัม เทียบเท่าการปลูกต้นไม้มากกว่า 15,686 ต้นต่อปี และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 141,174 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (kgCO2e/yr)”

ปัญญา วรเพชรายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ทางกรมฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายขององค์กรสหประชาชาติที่กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ว่าด้วยเรื่องของขยะอาหารที่ขอให้แต่ละประเทศร่วมกันลดปริมาณขยะอาหารลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่กรมฯ และศูนย์ฯ สิริกิติ์ได้ดำเนินความร่วมมือสอดรับกับนโยบายของ UN ในการลดขยะอาหารเพื่อลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ในฐานะผู้นำอิเวนต์ด้านความยั่งยืน ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าสู่การเป็นสถานที่จัดงานที่คำนึงถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม และพร้อมผลักดันธุรกิจอิเวนต์ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ม.ร.ว. สวัสดิวุฒิ สวัสดิวัตน์ (ซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และนายปัญญา วรเพชรายุทธ (ขวา) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สานต่อบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ลงพื้นที่ส่งต่อคุณค่าขยะอินทรีย์อบแห้งกว่า 10,000 กิโลกรัม สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจอิเวนต์ไทยให้เติบโต อย่างยั่งยืน ณ ออแกนิสต้า ฟาร์ม จ.ปทุมธานี

จับมือภาครัฐและโรงเรียนลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนการจัดการขยะ เพิ่มปริมาณการรีไซเคิล เน้นให้เยาวชนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร(KKP) โดยนายทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หนึ่งในทีมที่ปรึกษาของเยาวชนผู้แทนประเทศไทย (Educator) ในเวทีการประชุม APEC Voices of the Future 2022 (APEC VOTF 2022) พร้อมด้วยนางสาวนภัสสร พิศิษฏพงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้แทนเยาวชนของประเทศไทย เข้าร่วมงานเสวนา Bangkok Goals on BCG Economy: Post-APEC2022 Multistakeholder Forum ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศเพื่อผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินการตามเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG Economy) ตามแนวทางการรับไม้ต่อจากเอเปคสู่การปฏิบัติจริง โดยภายในงานได้มีการเชิญผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และเยาวชน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และมีนายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคของไทยเข้าร่วมการเสวนา ณ โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565

ผลจากการเสวนา Bangkok Goals on BCG Economy: Post-APEC2022 Multistakeholder Forum จะถูกนำไปจัดเตรียมสำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการดำเนินการ ประเมินและทบทวนผลการดำเนินการ ทั้งภายในประเทศและในกรอบเอเปค

ทั้งนี้ เป้าหมายกรุงเทพฯ ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 โดยเหล่าผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ที่มาร่วมงานประชุม APEC 2022 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG Economy) ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่ การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืน และการลดและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเอกสารฉบับแรกในประวัติศาสตร์ของเอเปคที่วางบรรทัดฐานและระบุเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจภูมิภาคในระยะยาว

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click