×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

เชื่อป่ะ? ว่าดัชนีชี้วัดความเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ใช่ว่าจะดูได้จากแค่ตัวเลข GDP แต่ยังมีอีกดัชนีที่ใช้วัดความมั่งคั่งของเศรษฐกิจได้ คือ ปริมาณการดูดดื่มความหวาน หรืออัตราการบริโภคน้ำตาลนั่นเอง เข้าทำนองว่าเมื่อฐานะเริ่มขยับยกระดับดีขึ้น แบบว่า “มีอันจะกิน“ หรือ “อยู่ดี กินดี“ ก็มักจะมีอัตราการบริโภคน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะอาหารและเครื่องดื่มในประเทศเศรษฐกิจเติบโต มักผ่านกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการปรุงเสริมเพิ่มรสด้วยน้ำตาลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

 

น้ำตาล นอกจากจะแทนรสชาติของความหวาน ยังแทนคุณค่าของความสุขและสนุกสนาน ผ่านอาหารและเครื่องดื่มนานาชนิด แต่ความสุขเมื่อมากระจุกจนล้นเหลือ กลายเป็นความล้นเกินของน้ำตาลในร่างกาย เป็นปัญหาของโรคภัยที่ติดตามมา ไม่ต้องดูอื่นไกล ประเทศไทยของเราเอง อ้างอิงข้อมูลของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยล่าสุด ปรากฏว่าคนไทย 88 คนจาก 100 คนมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และ ค่ารักษาพยาบาลในกลุ่มโรคเบาหวาน ไขมันอุดตัน และการบริโภคเกิน ต้องใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาล สูงถึง 2% ของจีดีพี ในปีที่ผ่านมา

 

สังคมไทยในวันนี้ที่เริ่มขยับเข้าสู่ สังคม ส.ว. หรือ สังคมสูงวัย (Aging society) อาหารและเครื่องดื่มในตลาด เริ่มมีกระแสการขยับปรับสูตรเพื่อตอบโจทย์เรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น เช่น อาหารออร์แกนิก, เครื่องดื่มสุขภาพ, ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่อุดมไปด้วยสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และอื่นๆ

 

อย่างไรก็ดี นางเอกในฉากของอาหารและเครื่องดื่มทุกวันนี้ น้ำตาลและความหวาน คือตัวละครที่ไม่อาจจะขาดไปได้ “น้ำตาลที่ปลอดภัย” และต้องไร้ซึ่งโอกาสก่อโรคภัยที่จะติดตามมา คือ หนึ่งในนวัตกรรมความหวานซึ่งเริ่มเป็นที่ต้องการและจำเป็น 

 

 

 

Rare Sugar หนึ่งในนวัตกรรมความหวานที่เป็นการผลิตน้ำตาลจากพืช ผัก และผลไม้ที่ให้ความหวานโดยไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด สรรค์สร้างมาสำหรับคนสูงวัย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตลอดจนถึงสาวๆ ที่ระมัดระวังเรื่องการกินน้ำตาล กรณีตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ที่มีนวัตกรรมล้ำๆ อยู่มากหลาย ก็มีสถาบันวิจัยและพัฒนาโครงการ Rare sugar มาหลายสิบปี เช่น Kagawa rare sugar project เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา ที่ค้นคว้าและพัฒนาเพื่อผลิตน้ำตาลที่ปลอดภัย ซึ่งบางโครงการวิจัย Rare sugar ของญี่ปุ่นเคยมีความร่วมมือกับ นักวิจัยของไทยในอดีต เช่น กับคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ด้วง พุธศุกร์ ในโครงการวิจัยน้ำตาลจากหญ้าหวาน เป็นต้น 

 

ผลิตภัณฑ์น้ำตาลสุขภาพของคนไทย “ยังเห็นกันในรูปแบบแนวบ้านๆ”  และยังน้อยที่มีการใช้นวัตกรรมและความรู้ด้านการวิจัย และไบโอเทคโนโลยีเข้าไปพัฒนา เพื่อยกระดับมาตรฐานและอธิบายคุณค่าของสรรพคุณอย่างเป็นสถิติเพื่อการยอมรับ ทั้งที่ไทยเรามีวัตถุดิบตั้งต้นของผลไม้และพืชผัก ที่สามารถนำมาใช้ในการสกัดและผลิต rare sugar ได้หลายชนิด เช่น มะพร้าว ผลตาล หญ้าหวาน และอื่นๆ

 

กรณีน้ำตาลสกัดจากหญ้าหวาน ในปัจจุบันที่มีการจำหน่ายในร้านค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ด้วยขนาดของตลาดที่ยังสดใหม่และต่อต้นทุนการผลิต ราคาของน้ำตาลหญ้าหวานที่ตั้งขายทุกวันนี้ เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละกว่า 1,000 บาท เมื่อเทียบกับราคาและขนาดของแพ็กเกจจิง ต้องถือว่ายังเป็นราคาที่สูงอยู่มากกับการบริโภคในขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดีเมื่อตลาดของความต้องการเริ่มจะเติบโต ย่อมหมายถึงโอกาสของการซัพพลายที่น่าจะโตติดตามไปด้วย และนั่นน่าจะเป็นสีสันอันหลากหลายของ “ความหวานที่ปลอดภัย” และคาดหวังว่าจะเป็นโอกาสใหม่ๆ สำหรับเกษตรกรและ SMAEs ของไทยในอนาคต

 

 เรื่อง : กองบรรณาธิการ 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคนี้ เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพนั้นมาแรงแซงทางโค้งจริงๆ

เนื่องในโอกาสที่วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจะครบรอบ 16 ปีในเดือนมีนาคม 2560 นี้ อาจารย์ภัทรดา รุ่งเรือง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ที่ดูแลการบริหารงาน การเงิน ประชาสัมพันธ์ และตลาดต่างประเทศ โดยดำรงตำแหน่งนี้มานานกว่า 3 ปีให้สัมภาษณ์ถึงวิสัยทัศน์และเป้าหมายการขับเคลื่อนวิทยาลัยซึ่งเป็นเพชรเม็ดงามของบางนาและบางพลีในอนาคตว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องวิชาการและกิจกรรมนักศึกษา มีการบริการชุมชนในเขตพื้นที่บางนา และบางพลี นอกจากนี้ยังเน้นการสืบสานศิลปวัฒนธรรม และเมื่อพูดถึงการแข่งขันต่างๆ นักศึกษาที่นี่ก็มีรางวัลจากการประกวดต่างๆ มากมาย” 

 อาจารย์ภัทรดา แจกแจงรายละเอียดเพิ่มเติมว่า  “เป้าหมายของเราภายใน 3-5 ปีนับจากนี้คือ จะเปลี่ยนผ่านจากวิสัยทัศน์เก่าที่ีเราใช้มานานกว่า 15 ปีตั้งแต่ก่อตั้งวิทยาลัย ไปสู่สถาบันการศึกษาหรือเป็นองค์กรที่ผลิตนักปฏิบัติมืออาชีพสู่ตลาดแรงงานไทย (Create Professional Practitioner Graduate) ภายใต้ปรัชญา คุณวุฒิ คุณธรรม คุณค่า เช่นเดิม โดยเรามีแผนยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้นักศึกษาตอบโจทย์ตลาดแรงงานอย่างมืออาชีพ ให้เขาทำงานแบบผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติในทุกๆ สาขาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยเน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning ซึ่งจะมุ่งเน้นนักศึกษาให้เรียนรู้ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปฏิบัติได้อย่างช่ำชอง เป็นแนวทางการเรียนรู้จากปัญหา จากประสบการณ์การทำงานที่เกิดขึ้นจริง แล้วนำมาเป็น Case Discussion กันในห้องเรียน โดยปัจจุบันหลักสูตรปริญญาโทของเรามีเปิดสอน 2 หลักสูตรคือ M.B.A. และ M.Sc. (Logistics & Supply Chain Management)”  

เมื่อถามถึงคุณลักษณะของนักศึกษาที่จะมาร่วมเป็นสมาชิกครอบครัว M.B.A. และ M.Sc. ที่วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อาจารย์ภัทรดาบอกว่า “สำหรับ M.B.A. อยากได้นักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ประกอบการ เพื่อปั้นฝันของเขาให้เป็นจริง รวมถึงคนที่อยากเรียนและแสวงหาความรู้เพื่อนำกลับไปใช้ในการทำงานจริงๆ นอกจากนี้ก็ยังต้องการนักศึกษาต่างชาติมากชึ้น เช่นเดียวกับการเปิดรับคณาจารย์ต่างชาติมากชึ้น ส่วน M.Sc. ด้านโลจิสติกส์ จะมุ่งเน้นนักศึกษาซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานในสายนี้อยู่แล้ว หรือมีเป้าหมายที่จะทำงานในสายนี้ ปัจจุบันเรามีทั้งนักศึกษาที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตการทำงาน และนักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำงานมานานแล้ว พวกเขาได้นำกรณีศึกษาส่วนตัวมาตีแตกกันในห้องเรียน แล้วนำไปทดลองใช้ในที่ทำงาน โดยที่ไม่ต้องรอเรียนจบ ตั้งแต่คลาสแรกที่เรียนก็จะได้ประโยชน์ที่นำไปใช้ได้จริงๆ ซึ่งการที่เรานำปัญหาที่เขาประสบพบเจอในที่ทำงานมาใช้ในการเรียนการสอน จะทำให้นักศึกษารู้สึกอินและต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงนั้นให้ได้ ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ นักศึกษาก็จะได้โซลูชันหรือแนวทางการแก้ปัญหาเยอะแยะมากมาย ผ่านการระดมความคิดของนักศึกษาด้วยกันเอง และคำแนะนำจากอาจารย์ การเรียน M.B.A. และ M.Sc. ที่วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจึงไมใช่เรียนจากเฉพาะกรณีศึกษายอดนิยม แต่กลับนำไปใช้แก้ปัญหาจริงไม่ได้” 

จากยุทธศาสตร์ที่แน่วแน่ จึงทำให้วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ต้องเตรียมพร้อมในทุกด้าน สำหรับบุคลากรโดยเฉพาะคณาจารย์ก็เช่นกัน จะมีการเพิ่มคุณสมบัติที่เข้มข้นมากขึ้น ไม่เพียงแต่มีคุณวุฒิทางการศึกษาอันเป็นเลิศเท่านั้น หากแต่ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานที่เชี่ยวชาญด้วยทั้งอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ 

สิ่งที่จะทำให้เป้าหมายในการที่จะหล่อหลอมให้บัณฑิตและมหาบัณฑิตของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกเป็น Pro-fessional Practitioner ได้นั้น อาจารย์ภัทรดาบอกว่า จะต้องทำให้นักศึกษามี Mindset ของ MIT ซึ่งประกอบด้วย Management, Innovation และ Technology  

 “เราจะสร้างบรรยากาศและสิ่ง-แวดล้อมที่อุดมไปด้วยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เช่น มีจำนวนห้องปฏิบัติการมากขึ้น มีการทำ MOU กับองค์กรทางด้านวิชาชีพต่างๆ มากขึ้น จากปัจจุบันที่ทำอยู่แล้วในด้านบัญชี เทคโนโลยีสารสนเทศ และโลจิสติกส์ที่ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งเรามีศูนย์ทดสอบพัฒนาฝีมือแรงงานด้านโลจิสติกส์ รวมถึง TQPI มาตรฐานเอกชน และระบบ Network cisco นอกจากนี้ ในอนาคตยังจะเพิ่มศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานในส่วนของภาษา การตลาด โรงแรม และค้าปลีก ด้วย”

“นอกจากนี้เรายังตั้งเป้าเป็น Education 4.0 เพื่อตอบโจทย์และเชื่อมโยงกับ Thailand 4.0 ของรัฐบาลด้วย เพราะเราเป็นหน่วยงานที่ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเปี่ยมด้วยคุณภาพให้กับประเทศชาติ ถ้าเราผลิตบุคลากรที่ไม่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ก็จะเกิดการสูญเปล่า แต่ถ้านักศึกษาของเราที่จบออกไปเป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติมืออาชีพ คิดได้และทำได้ ก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต” 

ขณะเดียวกันเพื่อรองรับอนาคตที่สดใสของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ปัจจุบันจึงมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร ดังนี้ คณะวิทยาการจัดการและการบัญชี คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน คณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังแยกปริญญาโทออกมาเป็น บัณฑิตวิทยาลัย เพื่อการบริหารงานที่คล่องตัวและชัดเจน

ในอนาคตวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจะเพิ่มหลักสูตรปริญญาโท M.B.A. ในสาขาต่างๆ มากขึ้น เช่น การพัฒนาองค์กร, การบริหารอสังหาริมทรัพย์, การตลาดดิจิทัล รวมถึงการสร้างศูนย์วิชาชีพสำหรับทุกสาขาวิชา  เพื่อตอบสนองความต้องการ Professional Certificate ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น เพื่อสร้างแรงงานให้เป็นผู้เชี่ยวชาญมีทักษะวิชาชีพที่ตรงตามมาตรฐานและความต้องการของตลาด เช่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งร่วมมือกับซิสโก้และไมโครติกส์สร้างศูนย์อบรม 

การขับเคลื่อนทั้งองคาพยพอย่างจริงจังนี้ ก็เพื่อเตรียมการยกวิทยฐานะจากวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในอนาคต ปัจจุบันมี 2 วิทยาเขต คือ บางนาและบางพลี ซึ่งที่บางพลีเปิดสอนปริญญาตรี 2 คณะ คือ คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน มีการเปิดสอนสาขาการจัดการโลจิสติกส์, การจัดการขนส่งทางอากาศ และในอนาคตมีแผนที่จะเปิดสาขาการซ่อมบำรุงอากาศยาน ด้วยข้อได้เปรียบในด้านโลเกชันของวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือแหลมฉบัง, สนามบินอู่ตะเภา และสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ อีกทั้งเทรนด์ของอุตสาหกรรมการบินมาแรงมาก ซึ่งแนวทางของสถาบันอื่นอาจจะผลิตบุคลากรในเชิงพาณิชย์การบินหรือธุรกิจการบิน แต่ที่วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจะเน้นด้านการดูแลรักษา (Aircraft Maintainance) และการบริหารจัดการการขนส่งสินค้า (Air Cargo Management)

“เราขยายหลักสูตรต่างๆ เหล่านี้ อย่างมั่นใจ เพราะในแง่ของแฟซิลิตีที่บางพลี เรามีพื้นที่ 88 ไร่ มีแผนแม่บทที่จะสร้างโรงประลองซ่อมบำรุงอากาศยาน ให้นักศึกษาได้ทดลองซ่อมเครื่องยนต์กลไกต่างๆ จริงๆ ส่วนห้องปฏิบัติการโลจิสติกส์ก็จะมีห้องจำลองคลังสินค้าที่วิทยาเขตบางนา เพื่อให้นักศึกษาเรียนทฤษฎีให้ช่ำชองและเชี่ยวชาญในการปฏิบัติอย่างแท้จริง และก่อนนักศึกษาจะเรียนจบ เราจะเน้นให้นักศึกษาทำสหกิจศึกษาในระยะเวลา 4-5 เดือน โดยเรามีการทำสัญญากับบริษัทชั้นนำต่างๆ เมื่อนักศึกษาทำสหกิจศึกษามาเสร็จแล้ว เราก็วางแผนให้นักศึกษาก้าวสู่ตลาดแรงงานได้ทันที” อาจารย์ภัทรดากล่าวปิดท้ายอย่างมั่นใจ 

ในอนาคตอันใกล้นี้เราจะเห็นโฉมหน้าและอนาคตที่สดใสอันสมบูรณ์แบบของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าตั้งแต่วันนี้ 

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรต่างๆ ของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกได้ที่ 

www.southeast.ac.th

โทร. 02 744 7356-65 ต่อ 220, 227 แฟกซ์ 02 398 1356

อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Page 3 of 3
X

Right Click

No right click