September 19, 2024

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) หรือเอไอ เป็นคำพูดติดปากของใครหลายๆ คนที่งานจัดแสดงเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย​ Mobile World Congress 2024 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ขณะที่ประเด็นเสวนาในปีก่อนนั้นมุ่งเน้นไปที่เรื่อง 5G เป็นหลัก สาระสำคัญของงานในปีนี้ (ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26 – 29 กุมภาพันธ์) กลับอัดแน่นไปด้วยหัวข้อเสวนาและความเคลื่อนไหวสำคัญเกี่ยวกับเอไอ ทำให้ดูเหมือนว่าเส้นแบ่งระหว่างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและโทรคมนาคมนั้นกำลังค่อยๆ จางลงเรื่อยๆ

ในงานผมได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้นำจากภาครัฐและตัวแทนภาคอุตสาหกรรมหลายท่าน ก่อนจะเดินทางกลับมายังประเทศไทยด้วยความเชื่อมั่นว่าเอไอจะเป็นประตูแห่งโอกาสสำหรับเราทุกคนในการรับมือกับความท้าทายทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ และนี่คือสามประเด็นที่ผมมองว่าเราควรให้ความสำคัญ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพของเอไอและก้าวไปแข่งขันอย่างทัดเทียมบนเวทีโลก

จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์

ท่ามกลางกระแสร้อนแรงของเอไอ บ่อยครั้งเราได้ยินข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์และการใช้งานเอไออย่างมีความรับผิดชอบ ขณะเดียวกัน เริ่มมีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องถึงมาตรการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ให้มีความโปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งบริษัท Microsoft ได้ใช้เวทีโมบายล์ เวิลด์ คองเกรสในปีนี้ ในการประกาศแนวทางปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ พร้อมชูความร่วมมือกับสตาร์ทอัพสัญชาติฝรั่งเศส Mistral ในฐานะพันธมิตรหลักด้านเอไอรายที่สองถัดจาก OpenAI นับเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงโมเดลปัญญาประดิษฐ์ของไมโครซอฟท์ได้เป็นวงกว้างยิ่งขึ้น

ทรู คอร์ปอเรชั่น เป็นองค์กรไทยขนาดใหญ่แห่งแรกที่มีการประกาศใช้จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการด้านธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Committee) ซึ่งจะทำหน้าที่ตรวจสอบโครงการด้านเอไอสำคัญๆ ของทรูทั้งหมด ความพยายามเหล่านี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมการใช้งานเอไออย่างมีความรับผิดชอบ พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าของเราว่าทรูนั้นเคารพต่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยเราเดินหน้าทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์นั้นกลายเป็นบรรทัดฐานของประเทศไทย

อีกประเด็นหนึ่งซึ่งยึดโยงกับเรื่องจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์และมีความร้อนแรงไม่แพ้กัน ก็คือประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศ ในวันที่สามของงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ได้เปิดเผยรายงาน Net Zero Report ซึ่งระบุว่าอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโครงข่ายของผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกนั้นลดลง 6% ในระหว่างปี 2562 ถึงปี 2565 แม้ว่าการใช้งานอินเตอร์เน็ตจะเติบโตกว่า 2 เท่าก็ตาม อย่างไรก็ดี การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเอไอก็นำไปสู่คำถามที่ว่า ความต้องการใช้พลังงานมหาศาลของเอไอในการประมวลผลจะทำให้ความพยายามทั้งหมดที่ผ่านมานี้สูญเปล่าหรือไม่

ในด้านดี เทคโนโลยีเอไอมีศักยภาพช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อันถือเป็นอีกวาระเร่งด่วนสำหรับประเทศไทย บนเวทีโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ผมในฐานะตัวแทนของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้บอกเล่าเกี่ยวกับโซลูชันเอไอที่เราพัฒนาขึ้นเองภายในองค์กรเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานในโครงข่ายของเรา ที่ผ่านมา โซลูชันดังกล่าวทำให้เราสามารถลดการใช้พลังงานในโครงข่ายลง 15% นี่นับเป็นอีกก้าวสำคัญสำหรับทรู ภายใต้เจตนารมณ์ในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน​ภายในปี 2573

ความเร็วอาจไม่สำคัญเท่าความพร้อม

ท่ามกลางกระแสความตื่นเต้นเรื่องเอไอ ถึงเวลาที่ผู้นำอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องย้อนกลับมาประเมินถึงความพร้อมและเร่งจัดการกับความท้าทายด้านดิจิทัลภายในองค์กร เช่น การยกระดับทักษะดิจิทัลของพนักงาน การนำข้อมูล (data) มาร่วมขับเคลื่อนการตัดสินใจของผู้บริหารในระดับ C-suite การดึงดูดและรักษาบุคลากรดิจิทัล (digital talent) ไว้ ไปจนถึงการสร้างความแข็งแกร่งของกลไกการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

เทเลนอร์ ในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมระดับโลกซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศนอร์เวย์ และเป็นผู้ถือหุ้นร่วมของทรู คอร์ปอเรชั่น ได้จัดเวทีเสวนาร่วมกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมจากภูมิภาคเอเชียจำนวนสามราย ซึ่งล้วนเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในประเทศของตน โดย ยาซีร์ อัซมาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Grameenphone (บังกลาเทศ) อิดดัม นาวาวี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Celcom Digi (มาเลเซีย) และตัวผมเอง ได้ร่วมกันหารือถึงความจำเป็นเร่งด่วนขององค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียในการจัดการกับความท้าทายด้านดิจิทัล ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีเอไอมาใช้งานในองค์กร

ที่ทรู คอร์ปอเรชั่น เรามีแผนสร้างบุคลากรของเราจำนวน 2,400 คนให้เป็น digital citizen ภายในปี 2567 โดยหัวใจความสำเร็จของเราคือการตั้งเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้จริง เช่น การนำระบบออโตเมชันมาใช้กับงานพื้นฐานประจำวันที่มีกฎชัดเจนให้ได้ 100% ภายในปี 2570 และเพื่อติดปีกธุรกิจไทยให้เติบโตสู่ยุคเอไออย่างแข็งแกร่ง ทรูยังได้สร้างระบบนิเวศโซลูชันและบริการเพื่อรองรับการใช้งานเอไอ นับตั้งแต่ Open API ไปจนถึงแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูล และหลักสูตรด้านดิจิทัลจาก True Digital Academy

จากสถานีฐานสู่ดาต้าเซ็นเตอร์

ในยามที่ประเด็นสนทนาหลักในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส นั้นแปรเปลี่ยนจากเรื่อง 5G ไปสู่ปัญญาประดิษฐ์​ ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานเอง ดูเหมือนว่าสีสันของงานในปีนี้จะไม่ได้อยู่ที่อุปกรณ์ส่งสัญญาณ 5G รุ่นล่าสุดที่ถูกนำไปติดตั้งบนสถานีฐานอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของด้าตาเซ็นเตอร์ (data center) ​และความสามารถในการประมวลผล

ประจวบเหมาะกับที่เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ได้ร่วมหารือกับผู้บริหารบริษัท Huawei เกี่ยวกับการลงทุนในคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ อีกทั้งก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลไทยได้ประกาศความร่วมมือขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัท Google และไมโครซอฟท์

แต่การก้าวไปเป็นศูนย์กลางด้านปัญญาประดิษฐ์และดาต้าเซ็นเตอร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นยังคงเป็นหนทางอีกยาวไกลสำหรับประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (K-Research) คาดว่าการลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยจะมีมูลค่ากว่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างปี 2567 – 2570 แต่ยังเป็นรองมาเลเซียที่จะมีมูลค่าการลงทุนสูงกว่าไทยราว 3 เท่า โดยหนึ่งในอุปสรรคสำคัญคือการขาดแคลนแหล่งพลังงานสะอาด

ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่าปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเป็นตัวเร่งสำคัญที่นำไปสู่การทลายเส้นแบ่งระหว่างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยี เมื่อไม่นานมานี้ เทเลนอร์ได้ประกาศพันธมิตรกับ NVIDIA เพื่อร่วมลงทุนประมาณ 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงสร้างพื้นฐาน อันจะทำให้เทเลนอร์สามารถเข้าถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เอไอสำหรับธุรกิจที่ทันสมัยที่สุดของเอ็นวิเดีย โดยมีเป้าหมายคือการสร้าง use case ปัญญาประดิษฐ์ในประเทศนอร์เวย์เป็นที่แรก ก่อนจะขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ ใน ภูมิภาคนอร์ดิก

ที่ทรู เราเชื่อเช่นเดียวกันว่าโครงข่ายอัจฉริยะนั้นเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ใช้งานเครือข่ายที่เหนือกว่าสำหรับลูกค้าของเรา โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เราได้เปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ (Business and Network Intelligence Center: BNIC) พร้อมปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความเชื่อมั่นเครือข่าย 5G, 4G และอินเทอร์เน็ตบ้าน และส่งมอบบริการวอยซ์และดาต้าความเร็วสูง สำหรับลูกค้าจำนวนกว่า 50 ล้านคนทั่วประเทศของเรา นอกจากนั้นแล้ว โครงข่ายอัจฉริยะยังจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเราอีกด้วย

ประเด็นเสวนาหลักของงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ในไปนี้ ทำให้เราเห็นถึงศักยภาพของเอไอในการส่งมอบเทคโนโลยีที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น ซึ่งทรูนั้นมีเจตนารมณ์ในการนำศักยภาพของเอไอมาสร้างสรรค์โซลูชันสำหรับสังคมไทย ให้พร้อมรับมือกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล ช่องว่างด้านทักษะ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเติบโตและก้าวไปแข่งขันได้อย่างสง่างามบนเวทีโลก


บทความนี้เขียนโดย ชารัด เมห์โรทรา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อเร็วๆ นี้คุณชารัดได้เข้าร่วมงาน Mobile World Congress 2024 ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2569 การโจมตีแบบ Deepfakes ที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์กับเทคโนโลยีระบุตัวตนบนใบหน้าหรือ Face Biometrics เป็นเหตุให้องค์กรประมาณ 30% มองว่าโซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนจะไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไปหากนำมาใช้แบบเอกเทศ

มร. อากิฟ ข่าน รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีจุดเปลี่ยนสำคัญด้าน AI เกิดขึ้นหลายประการ นั่นทำให้เกิดการสร้างภาพสังเคราะห์ขึ้นได้ โดยภาพใบหน้าคนจริง ๆ ที่สร้างขึ้นปลอม ๆ เหล่านี้ หรือที่เรียกว่า Deepfakes นั้น เปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำมาใช้เพื่อทำลายระบบการพิสูจน์ทราบตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์หรือทำให้ระบบใช้การได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาก็คือ องค์กรต่าง ๆ อาจเริ่มตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของโซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตน เนื่องจากไม่สามารถบอกได้ว่าใบหน้าบุคคลที่ได้รับการยืนยันนั้นเป็นบุคคลที่มีชีวิตจริงหรือเป็นของปลอมกันแน่”

กระบวนการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนโดยใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์บนใบหน้าในวันนี้อาศัยการตรวจจับการโจมตีหลอก หรือ Presentation Attack Detection (PAD) เพื่อประเมินการมีชีวิตอยู่จริงของผู้ใช้ “มาตรฐานและกระบวนการทดสอบในปัจจุบันเพื่อกำหนดและประเมินกลไกของการตรวจจับการโจมตีหลอกนั้นไม่ครอบคลุมการโจมตีผ่านดิจิทัลหรือ Digital Injection Attacks ที่มาจาก Deepfakes ที่สร้างโดย AI ที่สามารถพัฒนาขึ้นได้แล้ววันนี้” มร. ข่าน กล่าวเพิ่มเติม

ผลการวิจัยการ์ทเนอร์ชี้ว่าการโจมตีแบบ Presentation Attack ที่เป็นการปลอมแปลงข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพของบุคคลเป็นการโจมตีที่พบบ่อยที่สุด ทว่าการโจมตีแบบ Injection Attack ที่เป็นการแทรกโค้ดลงในโปรแกรมหรือแบบสอบถาม หรือมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมคำสั่งผ่านระยะไกล ในปี 2566 มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 200% ดังนั้นเพื่อป้องกันการโจมตีดังกล่าวองค์กรจะต้องใช้การตรวจจับการโจมตีแบบ Injection Attack Detection (IAD) และการตรวจสอบภาพ หรือ Image Inspection ร่วมด้วย

ใช้การตรวจจับแบบ IAD และเครื่องมือตรวจสอบรูปภาพร่วมกันเพื่อลดภัยคุกคามจาก Deepfake

เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถปกป้องตนเองจากภัยคุกคาม Deepfakes ที่พัฒนาขึ้นโดย AI และมีความสามารถเหนือกว่าเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุตัวตนบนใบหน้า ผู้บริหาร CISO และผู้นำจัดการความเสี่ยงต้องเลือกผู้ขายที่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าพวกเขามีความสามารถ มีแผนการจัดการที่เหนือกว่าคุณภาพมาตรฐาน รวมถึงมีระบบมอนิเตอร์ จัดหมวด และกำหนดปริมาณของภัยคุกคามเกิดใหม่นี้

“องค์กรควรเริ่มกำหนดบรรทัดฐานการควบคุมขั้นต่ำด้วยการทำงานร่วมกับผู้ขายที่มีการลงทุนโดยเฉพาะในด้านการลดผลกระทบจากภัยคุกคาม Deepfake ล่าสุด โดยใช้การตรวจจับการโจมตีแบบ Injection Attack Detection (IAD) ควบคู่ไปกับระบบการตรวจสอบภาพ Image Inspection” มร. ข่าน กล่าวเพิ่มเติม

เมื่อกำหนดกลยุทธ์และบรรทัดฐานการควบคุมพื้นฐานแล้ว ผู้บริหาร CISO และผู้นำทีมการจัดการความเสี่ยงจะต้องรวบรวมความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติมและตระหนักถึงสัญญาณที่เป็นภัย อาทิ การระบุการใช้งานอุปกรณ์และการวิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสการตรวจจับการโจมตีในกระบวนการยืนยันตัวตน

นอกจากนี้ ผู้นำด้านความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงยังมีบทบาทรับผิดชอบในด้านข้อมูลส่วนบุคคลและการจัดการการเข้าถึงควรมีขั้นตอนดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงการโจมตีแบบ Deepfake ที่ขับเคลื่อนจาก AI โดยเลือกเทคโนโลยีที่สามารถพิสูจน์ความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงได้หรือนำมาตรการเพิ่มเติมมาใช้เพื่อป้องกันการเข้ายึดบัญชีใช้งาน

 สำหรับไฮไลต์สำคัญของงาน Intel Innovation 2023 วันที่สอง นายเกร็ก ลาเวนเดอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอินเทล ได้แบ่งปันข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับปรัชญาการทำงานของระบบนิเวศแบบเปิดของอินเทลที่ออกแบบมาเพื่อชุมชนนักพัฒนาโดยเฉพาะ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสมากมายที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถมอบให้ได้

เหล่านักพัฒนาต่างกระตือรือร้นที่จะใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานโซลูชั่นสำหรับลูกค้าและเอดจ์ไปยังดาต้าเซ็นเตอร์และระบบคลาวด์ในวงกว้าง โดยอินเทลมุ่งมั่นที่จะจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ด้วยแนวทางการเร่งซิลิคอนที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการที่เปิดกว้าง ทางเลือกใหม่ ๆ ความไว้วางใจ และความปลอดภัยเป็นสำคัญ ด้วยการส่งมอบเครื่องมือที่พัฒนาประสิทธิภาพของการใช้ AI อย่างปลอดภัย และช่วยลดต้นทุนในการบำรุงรักษาและปรับขนาดโซลูชั่นเหล่านั้น อินเทลได้ช่วยติดอาวุธให้เหล่านักพัฒนาขยายขุมพลัง AI ไปสู่ทุกที่ทั่วโลก

นายเกร็กกล่าวว่า “ชุมชนนักพัฒนาเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทุกคนควรสามารถเข้าถึง AI ได้อย่างง่ายดายและได้ใช้งาน AI ที่เชื่อถือได้ หากนักพัฒนาถูกจำกัดในการเลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ก็จะเป็นการจำกัดการเข้าถึงยูสเคสจำนวนมากในการนำ AI ไปใช้ทั่วโลกไปด้วย อีกทั้งยังจำกัดการเปลี่ยนแปลงสำคัญต่อสังคมที่นักพัฒนาเหล่านี้สามารถช่วยโลกได้”

 

การใช้งาน AI ที่ง่ายขึ้น มาพร้อมกับความไว้วางใจและความปลอดภัย

ประเด็นสำคัญของงาน Intel Innovation 2023 วันที่สอง นายเกร็กยังได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของอินเทลในการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร ได้แก่ Intel® Transparent Supply Chain สำหรับการตรวจสอบความสมบูรณ์ของฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์ และรับรองการประมวลผลที่เป็นความลับเพื่อช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญในหน่วยความจำ โดยปัจจุบัน อินเทลกำลังขยายการรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม และการปกป้องข้อมูลด้วยเครื่องมือและบริการใหม่ ๆ มากมาย รวมถึงความพร้อมใช้งานของการบริการการรับรองความปลอดภัย

นวัตกรรมบริการใหม่ล่าสุดนี้เป็นผลิตภัณฑ์แรกในไลน์อัพซอฟต์แวร์และบริการด้านความปลอดภัยของอินเทลที่เรียกว่า Intel® Trust Authority หรือหน่วยงานด้านความไว้วางใจของอินเทล ที่จะช่วยตรวจสอบและประเมินการทำงานของระบบ Trusted Execution Environment (TEE) การบังคับใช้นโยบาย และบันทึกการตรวจสอบของอินเทลอย่างเป็นอิสระและครอบคลุม โดยสามารถใช้ได้ทุกที่ที่มีการใช้งานการประมวลผลที่ป้องกันความลับของอินเทล รวมถึงมัลติคลาวด์ ไฮบริด ระบบภายในองค์กร และเอดจ์ โดย Intel® Trust Authority จะกลายเป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการใช้งาน AI ที่เป็นความลับ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของการประมวลผลในสภาพแวดล้อมที่เป็นความลับ ที่ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนได้รับการประมวลผลในแอปพลิเคชันแบบแมชชีนเลิร์นนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุมานบนโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® ทั้งรุ่นปัจจุบันและอนาคต

 

AI เป็นพลังสำคัญของนวัตกรรมที่มียูสเคสการใช้งานในทั่วทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ การเงิน ไปจนถึงอีคอมเมิร์ซและการเกษตร

นายเกร็ก กล่าวว่า “กลยุทธ์ซอฟต์แวร์ AI ของเราก่อตั้งขึ้นบนระบบนิเวศแบบเปิดและการเร่งความเร็วในการประมวลผลแบบเปิดเพื่อที่จะสามารถขยายขุมพลัง AI ไปยังทุกที่ เรารู้ดีว่ามีโอกาสมากมายที่จะขยายขนาดของนวัตกรรม และเรากำลังผลักดันขอบเขตความเป็นไปได้ให้นักพัฒนา AI ได้สร้างสรรค์ผลงานของพวกเขาได้อย่างเต็มที่”

ระบบนิเวศแบบเปิด เปิดโอกาสสู่ทางเลือกใหม่เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุด

องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกต่างใช้ AI เพื่อเร่งการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ พลิกโฉมธุรกิจ และพัฒนาบริการเพื่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การใช้โซลูชั่น AI ในทางปฏิบัติยังถูกจำกัดด้วยความท้าทายมากมายที่องค์กรธุรกิจยังไม่สามารถรับมือได้โดยง่าย เพราะยังขาดความเชี่ยวชาญภายในองค์กรและทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการจัดการการใช้งาน AI ที่เหมาะสม (เช่น การเตรียมข้อมูลและโมเดลการจำลองข้อมูล) ตลอดจนแพลตฟอร์มกรรมสิทธิ์ที่มีราคาสูงและใช้เวลานานหากต้องซ่อมบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

อินเทลมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนระบบนิเวศแบบเปิดที่สามารถใช้งานกับสถาปัตยกรรมได้หลากหลายและง่ายดายมากขึ้น ในที่นี้รวมถึงการร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ Unified Acceleration Foundation (UXL) ของมูลนิธิลินุกซ์ สมาคมที่ประกอบด้วยองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรมนี้ พร้อมเดินหน้าส่งมอบระบบนิเวศซอฟต์แวร์เร่งความเร็วแบบเปิดเพื่อลดความซับซ้อนในการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการใช้งานข้ามแพลตฟอร์ม โครงการ UXL นั้นเป็นวิวัฒนาการของโครงการริเริ่มอย่าง oneAPI ที่เป็นโมเดลการเขียนโปรแกรมของอินเทลที่ช่วยให้เขียนโค้ดเพียงครั้งเดียวและสามารถใช้งานกับสถาปัตยกรรมการประมวลผลหลายประเภท อาทิเช่น CPU, GPU, FPGA และชิปเร่งความเร็ว อินเทลเตรียมที่จะส่งมอบข้อมูลของ oneAPI ให้แก่โครงการ UXL Foundation เพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาข้ามแพลตฟอร์มในสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย

ยิ่งไปกว่านั้น อินเทลยังร่วมมือกับผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ชั้นนำอย่าง Red Hat, Canonical และ SUSE เพื่อนำเสนอซอฟต์แวร์ระดับองค์กรที่ได้รับการปรับให้เหมาะสม เพื่อช่วยรับประกันประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับสถาปัตยกรรมอินเทลรุ่นล่าสุด ภายในงาน Intel Innovation นายเกร็กยังได้ร่วมกับนายกุนนาร์ เฮลเล็กสัน รองประธานและผู้จัดการทั่วไปสำหรับธุรกิจ Red Hat Enterprise Linux ประกาศขยายความร่วมมือที่อินเทลเตรียมให้การสนับสนุนระบบนิเวศ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ตั้งแต่เริ่มต้นโดยใช้ CentOS Stream และอินเทลยังคงสนับสนุน AI ตลอดจนเครื่องมือและกรอบการทำงานของแมชชีนเลิร์นนิ่ง รวมถึง PyTorch และ TensorFlow อย่างต่อเนื่อง  เพื่อช่วยให้นักพัฒนาปรับขนาดประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย Intel Granulate เตรียมเพิ่ม Auto Pilot สำหรับการกำหนดสิทธิ์ทรัพยากรพ็อด Kubernetes ซึ่งเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพความจุที่จะให้คำแนะนำการจัดการความจุแบบอัตโนมัติและต่อเนื่องสำหรับผู้ใช้ Kubernetes ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถลดต้นทุนสำคัญสอดคล้องกับมาตรชี้วัดประสิทธิภาพด้านต้นทุนสำหรับสภาพแวดล้อมการจัดการแพ็คเกจซอฟต์แวร์แบบ Containerization นอกจากนี้ Intel Granulate ยังเพิ่มความสามารถในการประสานการทำงานอัตโนมัติสำหรับเวิร์กโหลด Databricks ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโดยเฉลี่ย 30% และลดเวลาในการประมวลผล 23% โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโค้ด1  ในขณะที่ทั่วโลกพึ่งพา AI มากขึ้นในการแก้ปัญหาขนาดใหญ่และซับซ้อน และส่งมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจที่แท้จริง เราต่างต้องการการปกป้องโมเดล AI ไปจนถึงข้อมูลและแพลตฟอร์มที่พวกเขาเรียกใช้เพิ่มมากขึ้นจากการดัดแปลง การหลอกเอาข้อมูล และการโจรกรรมข้อมูล การเข้ารหัสแบบ Fully homomorphic encryption (FHE) ช่วยคำนวณการประมวลผลได้โดยตรงกับข้อมูลที่เข้ารหัส แม้ว่าการใช้งานจริงจะถูกจำกัดด้วยความซับซ้อนและโอเวอร์เฮดในการคำนวณก็ตาม

นอกจากนี้ อินเทลยังเผยถึงแผนการที่จะพัฒนาตัวเร่งวงจรรวมเฉพาะแอปพลิเคชัน (ASIC) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านประสิทธิภาพล้านเท่าที่เกี่ยวข้องกับแนวทาง FHE แบบซอฟต์แวร์เท่านั้น นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดตัวชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เข้ารหัสเวอร์ชันเบต้า ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัย นักพัฒนา และชุมชนผู้ใช้ได้เรียนรู้และทดลองใช้การเข้ารหัส FHE ซึ่งจะเปิดตัวในปลายปีนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Intel® Developer Cloud ซึ่งเปิดให้ใช้งานทั่วไปตามที่ประกาศเมื่อวานนี้ และยังรวมถึงชุดอินเทอร์เฟซที่ทำงานร่วมกันได้เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ FHE เครื่องมือการแปล และเครื่องจำลองตัวอย่างของตัวเร่งฮาร์ดแวร์ด้วย

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย ร่วมจับมือกันในโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัล “Super AI Engineer Season 2” รอบตัดสิน

พร้อมประกาศผู้ชนะจากโครงการ ส่งมอบรางวัลเป็นคลาวด์เครดิตมูลค่า 150,000 บาท และต่อยอดความร่วมมือสู่ปีที่ 3 เพื่อความต่อเนื่องของแนวคิดการส่งเสริมอีโคซิสเต็มของนักพัฒนาไทย เพื่อบ่มเพาะบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และรองรับการก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของประเทศไทย

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงพิธีประกาศผู้ชนะในโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัล “Super AI Engineer Season 2” ครั้งนี้ว่า “ในนามของบริษัทหัวเว่ย ผมต้องขอขอบคุณพาร์ทเนอร์จากภาคการศึกษา รวมถึงสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย ที่ได้ให้เกียรติหัวเว่ยในการเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศไทย โดยหัวเว่ยได้สนับสนุนใน 2 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญในระดับโลก เพื่อช่วยยกระดับความสามารถและให้คำปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้แก่บุคลากรไทย อีกด้านคือเราได้สนับสนุนบริการหัวเว่ยคลาวด์ของเราให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโครงการฝึกอบรม เนื่องจากเทคโนโลยีคลาวด์มีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้พัฒนา AI และคลาวด์ของหัวเว่ยก็มีประสิทธิภาพสูงและมีมาตรฐานระดับโลก สามารถใช้ทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วยค่าความหน่วง

เขากล่าวเสริมว่าการพัฒนาเทคโนโลยี AI เปรียบเสมือนการทดลองสร้างไอเดีย โดยเทคโนโลยีคลาวด์ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีค่า OPEX (ค่าใช้จ่ายที่จ่ายแล้วจ่ายเลยในครั้งเดียว) ที่ต่ำ ช่วยให้การทดลองสร้าง AI ในแต่ละครั้งมีต้นทุนต่ำ หากการทดลองประสบความสำเร็จก็จะสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่หากไอเดียดังกล่าวมีผลลัพธ์ที่ไม่สามารถไป ต่อได้ ต้นทุนที่เสียไปในการทดลองก็ค่อนข้างน้อย โดยทุกวันนี้ เทคโนโลยีถือเป็นพื้นฐานในทุกๆ ด้าน เทคโนโลยีคลาวด์ และ AI มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะรองรับการนำไปพัฒนาต่อยอด โดยในแต่ละปี หัวเว่ยจัดงบประมาณการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเอาไว้เป็นจำนวนมาก โดยมีมูลค่าสูงถึง 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาบุคลากร โดยหัวเว่ยพร้อมที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนของประเทศไทยผ่านการสนับสนุนบุคลากรไทยให้นำไอเดียเหล่านี้มาต่อยอด เพื่อสร้างให้เกิดตัวอย่างการใช้งานที่ประสบความสำเร็จในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม Super AI Engineer ถือเป็นหนึ่งในพลังสำคัญและตรงกับพันธกิจของหัวเว่ยที่ต้องการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งภูมิภาค

นายเทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายก สมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการ Super AI Engineer Season 2 ว่า “ในฐานะตัวแทนของสมาคม ผมต้องขอขอบคุณทางหัวเว่ยที่ช่วยสนับสนุนคลาวด์เซอร์วิสให้ผู้เข้าอบรมในการใช้ทำโจทย์ของโครงการทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ เทคโนโลยีคลาวด์ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับโครงการฝึกอบรมด้าน AI เพราะการประมวลผล AI ใช้ทรัพยากรมหาศาล จำเป็นต้องพึ่งการทำงานบนคลาวด์ เพื่อให้น้องๆ ในโครงการทำงานได้อย่างราบรื่น ที่สำคัญเทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยยังใช้งานง่าย ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้เร็วมาก ทั้งยังมีค่าความหน่วง (Latency) ต่ำ ซึ่งถือว่าจำเป็นอย่างมากสำหรับการประยุกต์ใช้งานในภาคสาธารณสุขและภาคอุตสาหกรรมการผลิต นอกจากนี้ การสนับสนุนหัวเว่ยเครดิตของบริการหัวเว่ย คลาวด์ มูลค่า 2.2 ล้านบาทให้แก่โครงการ และรางวัลแก่ผู้ชนะเป็นคลาวด์เครดิตมูลค่า 150,000 บาทยังช่วยทำให้พวกเขาสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้ทันที และช่วยประหยัดต้นทุนได้

ทั้งนี้  อุปนายก สมาคมปัญญาประดิษฐ์ ฯ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทางสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการหารือกับหัวเว่ยเพื่อต่อยอดความร่วมมือสำหรับโครงการฝึกอบรม Super AI Engineer ปีที่ 3 โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครผู้เข้าฝึกอบรมในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งทางสมาคมจะต่อยอดการสนับสนุนทางด้านบุคลากรและองค์ความรู้จากหัวเว่ย เพื่อให้ช่วยฝึกอบรมด้านการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในระดับโลกให้แก่บุคลากรด้านไอทีในประเทศไทย โดยปัจจุบัน บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI ในประเทศไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แม้จะมีการเติบโตในกลุ่มสาขา Data Science ในอุตสาหกรรมการเงิน ด้าน Image Processing และด้าน NLP สำหรับการพัฒนาแชทบอท แต่บุคลากรด้านนี้ก็ยังถือว่ามีจำนวนน้อย

สำหรับผู้ชนะเลิศในโครงการ Super AI Engineer Season 2 ได้แก่นายพรระติชัย ไวโรจนะพุทธะ ซีอีโอของสตาร์ทอัพ Indezy โดยโครงการที่ชนะการประกวดคือการออกแบบระบบ AI ของหุ่นยนต์ส่งสินค้าสำหรับคอยเติมสินค้าที่ขาด บนชั้นวางจำหน่ายสินค้าในร้าน True Shop โดยเขายังให้ข้อมูลว่าเทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยมีจุดแข็งในด้านความเร็วและ ความง่ายในการใช้งานที่เหนือกว่าบริการคลาวด์ของแบรนด์อื่นๆ เขายังกล่าวขอบคุณหัวเว่ยที่ช่วยสนับสนุนให้คอมมูนิตี้

เทคโนโลยี Machine learning และ AI ในประเทศไทยให้ก้าวไปได้ไกลขึ้น ทำให้อีโคซิสเต็มของคอมมูนิตี้แข็งแกร่งขึ้น และทำให้นักพัฒนาในไทยมีแรงบันดาลใจที่จะออกมาตามหาความฝันต่อไป

โครงการฝึกอบรม Super AI Engineer มีจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมเป็นจำนวน 2,500 คนในปีแรก และในปีนี้ (ซีซั่น 2) มีจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมและแข่งขันทั้งหมด 5,700 คน ซึ่งหลังจากการประกาศรับสมัคร ผู้เข้าร่วมโครงการจะถูกคัดเลือกเหลือเพียง 200 คน จากนั้นจะเหลือ 10 คนเพื่อแข่งขันแบบเรียลลิตี้ และค้นหาผู้ชนะการแข่งขัน 1 คนสุดท้าย โดยค่ายการอบรมแรกเป็นการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ ค่ายที่สองเป็นการฝึกอบรมนอกสถานที่ซึ่งจะมีโจทย์มาให้ทำไม่ซ้ำกันทุกสัปดาห์ จากทางสมาคมและบริษัทเอกชน ส่วนค่ายการฝึกอบรมที่สามจะเป็นการส่งตัวแทนเข้าไปปฏิบัติงานในบริษัทเอกชนเพื่อ สั่งสมประสบการณ์การทำงานในสถานการณ์จริง

จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในฐานะชมรมหุ่นยนต์ของ ปตท.สผ.

แต่ด้วย Passion และความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ ส่งผลให้ในวันนี้ ‘เออาร์วี’ เติบโตขึ้นมาก ทั้งขนาดธุรกิจ และผลประกอบการ นับจากวันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็น บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี โดยพัฒนาและเสริมสร้างความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ นับแต่ปี 2561 และได้สร้างผลงานไว้หลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็น การจัดแสดงโดรนแปรอักษรเป็นเจ้าแรกของอาเซียน การร่วมพัฒนา “Nautilus” หุ่นซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซใต้ทะเลสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก รวมถึงได้พัฒนา “Horrus: Fully Automated Drone Solution” โดรนขับเคลื่อนตนเองแบบอิสระเต็มรูปแบบตัวแรกหนึ่งเดียวของประเทศไทย ทำให้ เออาร์วี ได้รับความไว้วางใจจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาเป็นทั้งพันธมิตรและลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งในและต่างประเทศ

ล่าสุดปีนี้ 2022 ‘เออาร์วี’ เติบโตขึ้นอีกขั้นพร้อมกับรางวัลการันตีความสำเร็จ ในฐานะ ”องค์กรนวัตกรรมดีเด่น” ประเภทองค์กรเอกชนขนาดกลาง จากเวทีรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติที่จัดขึ้นโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติให้กับองค์กรไทยที่ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นนวัตกรรมอันโดดเด่นและเกิดคุณค่าที่ชัดเจนต่อประเทศชาติ  ซึ่งในปีนี้ มีผลงานส่งเข้าร่วมประกวดในรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ รวมทั้งสิ้น 504 ผลงาน ใน 5 สาขา ซึ่ง ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป เออาร์วี และนายสินธู ศตวิริยะ หัวหน้ากลุ่มงานธุรกิจ เออาร์วี เป็นตัวแทนเข้ารับมอบรางวัล ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 สร้างความภาคภูมิใจให้คณะผู้บริหารและพนักงานทุกคนเป็นอย่างยิ่ง ต่อ รางวัลการันตีความเป็นองค์กรนวัตกรรม No.1 ในวงการ Tech Company 2565

ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า “วงการ Tech & Startup ของไทยในวันนี้มีแนวโน้มการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน มีองค์กรนวัตกรรมเปี่ยมศักยภาพมากมายที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาตอบโจทย์ เพื่อแก้ไขปัญหาของธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ทำให้แต่ละองค์กร มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพของตนเองเพื่อยกระดับศักยภาพให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก ซึ่งเออาร์วี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ วันนี้องค์กรของเรามีการเติบโตขึ้นอย่างมาก ทั้งในด้านของจำนวนบุคลากร ผลประกอบการ และยังมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจทั้งสำหรับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้บรรลุวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลองค์กรนวัตกรรมดีเด่นแห่งชาติ ในด้านดำเนินงานนวัตกรรมภายในองค์กรตามโมเดลการพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร (IOM) 8 มิติของ NIA1 จึงสามารถคว้ารางวัลแห่งความภาคภูมิใจนี้มาได้ในที่สุด

ให้ความสำคัญกับ ‘คน’ เพื่อผลงานที่ดีที่สุด

ดร.ธนา กล่าวเพิ่มเติมว่า “เออาร์วี ต้องการผลักดันให้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหา และช่วยให้ชีวิตประจำวันของทุกคนง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งภารกิจนี้จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เลยหากขาดทีมงานที่เข้มแข็งและมีศักยภาพ ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญ และสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาทักษะต่าง ๆ เพื่อใช้ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามอุดมการณ์และเป้าหมาย โดยปัจจุบัน เออาร์วี เป็นแหล่งรวมของคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีจากทั่วโลกมากกว่า 400 คนนอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและสร้างวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่ได้คือ DNA ที่เป็นอัตลักษณ์ของพนักงานที่มีคุณค่าและเหมาะกับองค์กรของเราอย่างแท้จริง”

โมเดลธุรกิจเพื่อการพัฒนาบริษัทอย่างมั่นคงและยั่งยืน

เออาร์วีมีจุดมุ่งหมายในการสร้างธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดดในทุกมิติ โดยแสดงจุดยืนในการเป็น Venture Builder ตั้งแต่ขั้นการระดมความคิด ไปจนถึงขั้นการขยายขอบเขตธุรกิจ โดยจะมีการประเมินความพร้อมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ความเป็นไปได้ของโครงการ รูปแบบและโอกาสของตลาดที่สอดรับกับโครงการนั้น ตลอดจนประเมินความเหมาะสมด้านทรัพยากร เงินลงทุนและแรงงานคน ปัจจุบัน เออาร์วี มี 4 บริษัทภายใต้การกำกับดูแล ที่สามารถให้บริการด้านเทคโนโลยีครอบคลุมในหลากหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ ROVULA (ธุรกิจให้บริการสำรวจ ตรวจสอบและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานใต้น้ำอย่างครบวงจร) SKYLLER (ธุรกิจแพลตฟอร์มประมวลและแสดงผลข้อมูลการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานอย่างครบวงจร) VARUNA (ธุรกิจที่พัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร และป่าไม้อัจฉริยะอย่างครบวงจร) และ CARIVA (ธุรกิจที่รวบรวมพันธมิตรผู้นำเทคโนโลยีโครงข่ายข้อมูลสุขภาพ)

สิ่งที่เออาร์วีให้คุณค่า และผลักดันให้เป็นหนึ่งในค่านิยมขององค์กรเสมอมา คือการตระหนักถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน เราดำเนินธุรกิจสอดคล้องตามนโยบาย SDG 13 Climate Action เพื่อก่อให้ประโยชน์ทั้งในแง่เชิงธุรกิจ และยังสามารถช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับโลกของเราอีกด้วย  ผมมองว่าในการพัฒนาทุกระดับคีย์เวิร์ดสำคัญคือ “ความร่วมมือ” หรือ “Collaboration” เพื่อบูรณาการการทำงาน และองค์ความรู้ของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน นอกจากนั้น เออาร์วี ยังคงแสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพสูง เพื่อร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นและนวัตกรรมต่อไปในอนาคต เพื่อสร้างประโยชน์ในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก” ดร.ธนา กล่าวสรุป

Page 2 of 4
X

Right Click

No right click