กลุ่มยูโอบีเดินหน้าตอกย้ำความเป็นผู้นำในการร่วมผลักดันแนวคิด ESG ในมิติของการเงิน การลงทุน จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “Sustainability at UOB”  นำโดยผู้บริหารระดับสูงของ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) นางสาวรัชดา ตั้งหะรัฐ กรรมการผู้จัดการอาวุโส สายพัฒนาธุรกิจ (ที่ 2 จากขวา) ทีมผู้เชี่ยวชาญการลงทุนอย่างยั่งยืนทั้งจากสำนักงานใหญ่สิงคโปร์ และไทย ได้แก่ มร.วิคเตอร์ วง, (ที่ 1 จากขวา), Head of Sustainability Office ดร.ณรงค์เดช เถกิงเกียรติ (ที่ 1 จากซ้าย) ผู้อำนวยการการลงทุนอย่างยั่งยืน สายการลงทุน พร้อมด้วย มร. เชา วง ยวน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืน ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย (ที่ 2 จากซ้าย) ที่มาร่วมให้ความรู้และอัปเดตภาพรวมของความยั่งยืนในมิติของการเงินรวมถึงอุตสาหกรรมที่สำคัญในไทย และการผนวกปัจจัยความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสร้างโอกาสการลงทุน โดยงานสัมมนาจัดขึ้นที่ โรงแรม วอลดอร์ฟ แอสโทเรีย กรุงเทพ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

รายได้ที่สูงเป็นประวัติการณ์ได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายแฟรนไชส์ในภูมิภาคและการเติบโตของรายได้รวมที่แข็งแกร่ง

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยกระดับโครงการ UOB My Digital Space (MDS) มอบการศึกษาที่มีคุณภาพแก่นักเรียนขาดโอกาสกว่า 4,000 คน ขยายจาก 3 โรงเรียนสู่ 6 โรงเรียนใน 6 จังหวัดได้แก่กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี ขอนแก่น ชลบุรี พะเยา และลำปาง โครงการ UOB MDS เป็นโครงการหลักที่สนับสนุนด้านการศึกษาของกลุ่มธนาคารยูโอบี มีแผนดำเนินโครงการในระยะยาวเพื่อลดช่องว่างทางการศึกษาของเด็กที่ขาดโอกาสให้เข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือให้พวกเขาสามารถประสบความสำเร็จได้ในโลกดิจิทัล และพร้อมที่จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของอาเซียนไปด้วยกัน โดยนอกเหนือจากการมอบห้องคอมพิวเตอร์และเครื่องมือการเรียนรู้ดิจิทัลวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โครงการ UOB MDS ได้ขยายไปสู่ความรู้ทางการเงินและการแนะแนวอาชีพ นับเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของยูโอบี ในการพัฒนาส่งเสริมเด็กและเยาวชนในอาเซียนให้พร้อมสำหรับเติบโตไปในอนาคต

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “เพราะเทคโนโลยีได้กำหนดอนาคตแห่งการเรียนรู้ โครงการ UOB My Digital Space จึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเด็กนักเรียนที่ขาดโอกาสให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ด้วยการผสานเทคโนโลยีเข้ากับการศึกษา ที่จะช่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้เด็กพร้อมสำหรับอนาคต อาทิ การคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และความรู้ทางดิจิทัล พร้อมปลูกฝังความรู้ทางการเงินที่เริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของเราที่จะดูแลเคียงข้างชุมชนเพื่อพัฒนาผู้คนในอาเซียน ตอกย้ำบทบาทที่สำคัญของสถาบันการเงิน นับเป็นกลยุทธ์สำคัญการดำเนินงานของเราเพื่อให้แน่ใจว่าเยาวชนในวันนี้จะสามารถเติบโตได้ในระบบเศรษฐกิจอนาคต”

การขยายขอบเขตของโครงการ MDS นับเป็นการดำเนินงานที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านการศึกษาในเวลาที่เหมาะสม ดังเช่นที่ปรากฏจากผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA ปี 2565 ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พร้อมชี้ให้เห็นว่าการริเริ่มการเรียนรู้แบบดิจิทัลหรือ e-learning ให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของทรัพยากรด้านดิจิทัล การมีเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคที่เหมาะสม และความพร้อมใช้งานของแพลตฟอร์มการเรียนรู้

นางสาวกนกวรรณ โชว์ศรี ผู้อำนวยการโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ กล่าวว่า “ปีนี้ โครงการ UOB My Digital Space ได้บูรณาการองค์ประกอบการเรียนรู้สำคัญเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนอีก 2 วิชาได้แก่หลักสูตรการเงินออนไลน์เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีสุขภาพทางการเงินที่ดี และเครื่องมือการแนะแนวอาชีพ เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาตั้งเป้าหมายของตนเองให้เหมาะสมกับความสามารถและคุณค่าของชีวิตได้ ด้วยเครื่องมือดิจิทัลทั้งหมดนี้ทั้งในด้านวิชาการและทักษะชีวิต นักเรียนสามารถเข้าไปเรียนรู้บนระบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา

นอกจากเครื่องมือดิจิทัลแล้ว โครงการ MDS ยังมุ่งเสริมศักยภาพให้กับครูผู้สอนเพิ่มเติมในสาขาที่มีความต้องการสูงด้วยวิธีการสอนที่ทันสมัย นายประวิทย์ สิงห์เรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จังหวัดกาญจนบุรี ยืนยันถึงผลกระทบในการเปลียนแปลงของโครงการ โดยสังเกตเห็นการพัฒนาที่ดีขึ้นเป็นสำคัญในการมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพของนักเรียน อันเป็นผลมาจากทรัพยากรการเรียนรู้ดิจิทัลที่นักเรียนสามารถเข้าถึง

นายประวิทย์ สิงห์เรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จังหวัดกาญจนบุรี หนึ่งในโรงเรียนใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนห้องเรียนรู้ดิจิทัล UOB My Digital Space กล่าวว่า “ก่อนหน้าที่เราจะได้รับการสนับสนุนจากโครงการ UOB My Digital Space นักเรียนต้องใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันด้วยทางโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ขอขอบคุณทางธนาคารยูโอบี ประเทศไทยที่ได้มอบห้องเรียนรู้ดิจิทัลให้กับทางโรงเรียน ซึ่งไม่เพียงแต่เด็กนักเรียนจะได้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และวิชาเรียนดิจิทัลแล้ว นักเรียนยังได้เรียนกับครูรุ่นใหม่จาก Teach for Thailand อีกด้วย ซึ่งเราได้เห็นผลลัพธ์เชิงบวกที่เกิดขึ้นจากนักเรียนของเรา ที่พวกเขาต่างสนุกกับการเรียนรู้ในชั้นเรียนและมีผลการเรียนที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันยังสนับสนุนครูของเราในการเตรียมการสอนในชั้นเรียนได้ดีมีประสิทธิภาพขึ้น”

ดันเงินบาทแข็งแกร่ง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อแผ่วลง  

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการ ผนึกกำลังสร้างโอกาสทางธุรกิจ ชักจูงการลงทุนในไทยและอาเซียน

บันทึกข้อตกลงนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ในการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจใน ประเทศไทยพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการขยายการลงทุนไปต่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น

ผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนในประเทศไทย หรือผู้ประกอบการไทยที่ต้องการจะไปลงทุนในต่างประเทศ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของธุรกิจ และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายระดับภูมิภาคของธนาคารเพื่อเชื่อมต่อกับหน่วยงานภาครัฐ สมาคมอุตสาหกรรม และบริการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการขยายธุรกิจทั่วภูมิภาคเอเชีย  ซึ่งบีโอไอพร้อมที่จะทำงานร่วมกับธนาคารยูโอบีในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น งานจับคู่ธุรกิจ นิทรรศการด้านการค้าการลงทุน และงานสัมมนาเพื่อชักจูงการลงทุน

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า “ปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน โดยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทชั้นนำจากต่างประเทศเดินหน้าเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมสำคัญ ภาพที่เห็นได้ชัดเจนคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม - กันยายน 2566) มีจำนวน 910 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49 คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 398,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 โดยเป็นการลงทุนจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ

การเติบโตของการลงทุนในประเทศไทยนี้ สอดรับกับการประกาศยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ของบีโอไอในปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะมีการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ แล้ว ยังรวมถึงการปรับเพิ่มบทบาทของบีโอไอในการชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศเชิงรุก ผ่านการทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตร รวมถึงสำนักงานบีโอไอที่ตั้งอยู่ใน 16 ประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน และอีก 3 แห่งที่จะจัดตั้งเพิ่มเติมในปีนี้ ได้แก่ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย นครเฉิงตู ประเทศจีน และประเทศสิงคโปร์ 

“การผนึกกำลังระหว่างบีโอไอกับธนาคารยูโอบีครั้งนี้ จะช่วยยกระดับความร่วมมือระหว่างกันในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ โดยส่งเสริมการลงทุน 2 ทาง ทั้งการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย และการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพให้ออกไปแสวงหาโอกาสและขยายตลาด

ในต่างประเทศ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจให้แก่นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ และสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้ขยายธุรกิจเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมระดับโลก เพื่อตอบโจทย์การเป็นฐานการผลิตสำคัญในภูมิภาค” นายนฤตม์ กล่าว

 

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยมีศักยภาพในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรม ซัพพลายเชน และแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว ด้วยเครือข่ายของธนาคารยูโอบีที่เข้มแข็งครอบคลุมทั่วภูมิภาค และยังมีหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของธนาคารทั้ง 10 แห่งทั่วเอเชีย เราพร้อมที่จะให้การสนับสนุนธุรกิจทั้งสำหรับบริษัทต่างชาติที่สนใจจะมาตั้งฐานการผลิตในไทย และช่วยเหลือบริษัทไทยที่สนใจไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านโดยธนาคารจะร่วมมือกับบีโอไอในการเชื่อมโยงภาคธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมในประเทศไทยและเพิ่มโอกาสในการค้าข้ามพรมแดนทั่วภูมิภาค”

ตั้งแต่ที่ธนาคารยูโอบีได้จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในปี 2554 ธนาคารได้สนับสนุนธุรกิจกว่า 4,200 บริษัทในการขยายธุรกิจในภูมิภาค ซึ่งมี 370 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และนับตั้งแต่ปี 2562 หน่วยงานนี้ได้ช่วยให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทย รวมมูลค่ากว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐและการจ้างงานอีกกว่า 18,000 ตำแหน่งทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ช่วยเหลือธุรกิจไทยอีกกว่า 210 บริษัทในการออกไปลงทุนในประเทศต่าง ๆ อาเซียน โดยมี สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนามเป็นจุดหมายหลัก

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click