รายงาน Quarterly Global Outlook ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ของธนาคารยูโอบี เผย 10 ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศในอาเซียนสามารถรับมือความผันผวนของตลาดในอนาคต

ปี 2565 ถูกรุมเร้าด้วยผลกระทบต่อเนื่องจากโควิด-19 ความขัดแย้งทางทหารระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน การหยุดชะงักของอุปทานในกลุ่มพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราเงินเฟ้อสูงในรอบหลายทศวรรษทั่วโลก การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยเฟดและธนาคารกลางอื่นๆ และการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถต้านทานความผันผวนของตลาดการเงินในปี 2565ไว้ได้

รายงานของยูโอบี ได้สรุป 10 ปัจจัยสำคัญที่สะท้อนความยืดหยุ่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการรับมือกับความผันผวนของตลาดตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการรับมือกับความผันผวนของตลาดในอนาคตด้วยเช่นกัน

1. เศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 2-3 ของปี 2565 จากการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยมาเลเซียมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในอาเซียนในไตรมาส 3 ปี 2565

2. ผลผลิตของประเทศในอาเซียน (ยกเว้นประเทศไทย) กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิดแล้ว จากอุปสงค์การส่งออกและการเปิดเศรษฐกิจใหม่ที่กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ

3. การค้าในอาเซียนยังแข็งแกร่ง โดยในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ผู้ส่งออกและภาคการผลิตในอาเซียนเป็นผู้ได้ประโยชน์หลัก แต่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าอุปสงค์ทั่วโลกคาดว่าจะอ่อนตัวลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและกิจกรรมทางธุรกิจ

4. การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว การยกเลิกข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และการเปิดเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ในอาเซียนอีกครั้งตั้งแต่กลางปี 2565 ทำให้อาเซียนฟื้นตัวเร็วขึ้นจากกระแสนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและตลาดภาคบริการที่ดีดตัวขึ้น ปัจจัยเหล่านี้คาดว่าจะเป็นเสาหลักสำหรับเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2566 และเมื่อจีนผ่อนคลายนโยบายปลอดโควิดและเปิดพรมแดนอีกครั้งจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนให้การท่องเที่ยวในอาเซียนฟื้นตัว

5. อัตราเงินเฟ้อในอาเซียนโดยทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วในปี 2565 ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

6. การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน สัดส่วนการนำเข้าของสหรัฐฯ จากอาเซียนโดยเฉพาะเวียดนามเพิ่มขึ้น ในขณะที่การนำเข้าของสหรัฐฯ จากจีนลดลงหลังจากปี 2559 ซึ่งโดยรวมจะส่งผลดีต่ออาเซียนในฐานะศูนย์กลางการผลิตและการส่งออก

7. จากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานส่งผลให้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอาเซียนเพิ่มขึ้น 44% ในปี 2564 ทำสถิติสูงสุดที่ 175.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอาเซียนมี FDI ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐฯ และจีน

8. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่สะสมเพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ทำให้มีเกราะป้องกันมากขึ้นจากความผันผวนของตลาดการเงิน

9. ความสามารถในการชำระค่านำเข้าเป็นอีกปัจจัยที่สะท้อนความแข็งแกร่ง โดยประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีเงินสำรองเพียงพอสำหรับการชำระค่านำเข้า 3 เดือน

10. ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเงินสำรอง

เศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตช้าลงในปี 2566

นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารยูโอบี สิงคโปร์ เผยว่า “แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้นช่วยให้ตลาดอาเซียนสามารถต้านทานความผันผวนของตลาดการเงินในปี 2565 ได้ แต่คาดว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ท้าทายและมีความไม่แน่นอนจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ภาวะการเงินที่ตึงตัว ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ตึงเครียดมากขึ้น และความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงปัจจัยเสริมอื่นๆ เนื่องจากเศรษฐกิจของอาเซียนมุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลักตลอดจนเป็นแหล่งรองรับเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เราจึงไม่สามารถเพิกเฉยต่อปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้”

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเหล่านี้อาจถูกลดทอนลงบ้างจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมภายในประเทศ การผ่อนคลายข้อจำกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปิดการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม การเดินทาง ที่พัก และอื่นๆ ภายในประเทศ และเมื่อจีนเปิดพรมแดนอีกครั้งจะช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม

“โดยรวมแล้วเราคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของ GDP ทั่วโลกจะลดลงในปี 2566 โดยตลาดที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และอังกฤษ มีอัตราการเติบโตที่ลดลงทั้งปี ในขณะที่ประเทศเศรษฐกิจหลักในอาเซียน (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และ เวียดนาม) คาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงต่ำกว่า 5% ในปี 2566 จากที่สูงกว่า 6% ในปี 2565” นายเอ็นริโก้ กล่าวปิดท้าย

 

ยูโอบี ประเทศไทย และโครงการร้อยพลังการศึกษา ร่วมสร้างอนาคตเด็กไทยด้วยทักษะการเงิน ผ่านหลักสูตรการเงินออนไลน์ UOB Money 101 Teen Edition วัยรุ่นเก่งการเงิน

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัว “ยูโอบี พลาซา กรุงเทพ” สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ตอกย้ำความมุ่งมั่นระยะยาวในการให้บริการลูกค้า พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ และชุมชนในประเทศไทย

สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของ ยูโอบี ประเทศไทย ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจบนถนนสุขุมวิท โดยเป็นอาคาร 30 ชั้น ที่มีพื้นที่มากกว่า 27,000 ตารางเมตร เป็นสำนักงานที่มีพนักงานประมาณ 2,000 คน นอกจากนี้ยังเป็นอาคารสีเขียวที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยซึ่งช่วยลดผลกระทบโดยรวมต่อสิ่งแวดล้อม ยูโอบี ประเทศไทย เป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับสองในเครือของกลุ่มธนาคาร ยูโอบี และเป็นธนาคารต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย โดยมีพนักงานเกือบ 10,000 คนในประเทศ

นาย วี อี เชียง ประธานกรรมการ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และรองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญมากสำหรับยูโอบี ตั้งแต่ปี 2542 เราได้ช่วยเหลือเพิ่มความมั่งคั่งกับให้ลูกค้าและช่วยให้องค์กรธุรกิจในประเทศไทยขยายการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง”

วันนี้เรายังเป็นธนาคารเดียวจากสิงคโปร์ที่มีการดำเนินธุรกิจด้านการธนาคารอย่างเต็มรูปแบบในประเทศ การลงทุนใน “ยูโอบี พลาซา กรุงเทพ” ถือเป็นตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อประเทศไทย จากการผสมผสานความเชี่ยวชาญของเราทั้งในระดับภูมิภาคและในตลาดท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของยูโอบี เราพร้อมที่จะสนับสนุนลูกค้าในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในระดับภูมิภาค ตลอดจนขยายธุรกิจของพวกเขาในภูมิภาคอาเซียนที่เปี่ยมไปด้วยพลวัตนี้

ภายในงานเปิดสำนักงานแห่งใหม่ของ ยูโอบี  นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศไทย นายกัน กิมหยง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ และนายเควิน ชุก เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยมีลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจมากกว่า 200 รายเข้าร่วมงานเลี้ยงต้อนรับ

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ปีนี้นับเป็นก้าวสำคัญของยูโอบีที่ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาแล้ว 23 ปี และเรากำลังขยายธุรกิจให้เติบโตผ่านการลงทุนต่างๆ ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อกิจการธนาคารลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในประเทศไทยที่เสร็จสมบูรณ์แล้วตามกฎหมายในวันที่ 1 พฤศจิกายน และการเปิดตัว ยูโอบี พลาซา กรุงเทพฯ

“ในขณะที่เรากำลังวางรากฐานทางธุรกิจใหม่พร้อมๆไปกับการเสริมความแข็งแกร่งของฐานธุรกิจในประเทศไทย ยูโอบี ตอกย้ำจุดยืนของเราในฐานะธนาคารชั้นนำในประเทศไทยที่พร้อมนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่เหมาะกับความต้องการของลูกค้า และด้านความยั่งยืน เพื่อสนับสนุนลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัลและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ด้วยความเชี่ยวชาญและเครือข่ายที่แข็งแกร่งของธนาคาร เราพร้อมแล้วที่จะช่วยลูกค้าของเราเชื่อมต่อและขยายโอกาสทางธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน”

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เป็นธนาคารจากสิงคโปร์ที่ดำเนินการด้านการธนาคารเต็มรูปแบบในประเทศไทย นอกเหนือไปจากนั้น นับตั้งแต่ปี 2542 ธนาคารยังได้จัดกิจกรรมเพื่อคืนสู่สังคมมากมาย รวมถึงงานประกวดจิตรกรรมยูโอบี หรือ UOB Painting of the Year เพื่อส่งเสริมศิลปินไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับภูมิภาคมาต่อเนื่องทุกปี ซึ่งในปีนี้ศิลปินจากประเทศไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ยูโอบีประกาศคำมั่นที่ท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 หรือปีพ.ศ. 2593

เปิดตัวแคมเปญการสื่อสารแบรนด์ทั่วภูมิภาคและเตรียมปรับโฉมยูนิฟอร์มใหม่

Page 6 of 8
X

Right Click

No right click