ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย รายงานผลการศึกษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอาเซียน (ASEAN Consumer Sentiment Study – ACSS)[1] ประจำปี 2566 สะท้อนความรู้สึกของผู้บริโภคต่อสภาวะเศรษฐกิจของไทย พร้อมสำรวจแนวโน้มการนำบริการธนาคารดิจิทัลมาใช้ โดยรายงานการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคคนไทยยังคงเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็มีความระมัดระวังและปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัว

  • ทัศนคติโดยรวมของผู้บริโภคในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางบวก
  • ร้อยละ 72 ของผู้ตอบแบบสำรวจ แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่อาจเกิดขึ้นในอีก 6-12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระมัดระวังกว่าเดิม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเงิน โดยเลือกกันเงินสำหรับการออมและการลงทุนมากขึ้น
  • การใช้ธนาคารดิจิทัลและช่องทางการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือและอีวอลเล็ตเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคพร้อมที่จะแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวเพื่อรับข้อเสนอบริการเฉพาะบุคคลจากธนาคาร

นายยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “รายงาน ACSS ที่จัดทำขึ้นโดยธนาคารยูโอบีฉบับนี้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญสำหรับทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจเพื่อให้เข้าใจถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ธนาคารมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ทุกคนประสบความสำเร็จทางการเงินท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน โดยใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศของการบริการธนาคารดิจิทัลที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเปิดรับโอกาสทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน”  

รายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study (ACSS) เป็นรายงานศึกษาเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก 5 ประเทศในอาเซียน ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย ไทย และ เวียดนาม เป็นประจำทุกปี รายงานปีที่ 4 ฉบับล่าสุดได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 โดยในประเทศไทยเป็นการสำรวจคำตอบของผู้บริโภค 600 คนจากหลายกลุ่มประชากร 

ความกังวลทางการเงินส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทยใช้จ่ายอย่างรัดกุมและวางแผนการลงทุน

ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 57 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สูงขึ้นร้อยละ 14 เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และความกังวลเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เกี่ยวกับการออมที่ลดลง

นอกจากนี้ รายงานยังระบุแนวโน้มที่น่าสนใจของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุน Gen Z เป็นกลุ่มที่ระมัดระวังที่สุด โดยร้อยละ 41 มีแผนออมเงินมากขึ้นในปีนี้ ในขณะที่ Gen Y มุ่งเน้นการลงทุนมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น

ความกังวลทางการเงิน ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทยรัดกุมกับค่าใช้จ่ายและการลงทุนมากขึ้น ร้อยละ 57 ติดตามค่าใช้จ่ายของตนผ่านแพลตฟอร์มธนาคารดิจิทัล ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นให้ความสนใจกับเครื่องมือทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ อีกทั้งยังกระจายการลงทุนไปยังกลุ่มสินทรัพย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เครื่องมือทางการเงิน เช่น  แผนประกัน อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

จากผลสำรวจ ธนาคารยูโอบีจึงเน้นถึงความสำคัญของการวางแผนความมั่งคั่งในระยะยาว อย่างรอบคอบและมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

“การวางแผนความมั่งคั่งที่เหมาะกับระดับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล และการเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินด้านความยั่งยืนเข้าไปเป็นกลยุทธ์การลงทุนจะช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยืนยาวให้แก่ผู้บริโภคได้” นายยุทธชัยกล่าว

ผู้บริโภคไทยใช้บริการธนาคารดิจิทัลมากที่สุด

ประเทศไทยมีผู้ใช้บริการธนาคารดิจิทัลมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน ในปีที่ผ่านมาร้อยละ 61 ใช้แอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค วิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ อีวอลเล็ตและการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ด รายงานยังพบว่ากว่า 4 ใน 5 ของผู้บริโภคชาวไทยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการลงทุนและการจัดการความมั่งคั่ง โดย Gen Y เป็นกลุ่มที่ใช้บริการด้านการลงทุนมากที่สุด

นอกจากการเปิดรับบริการธนาคารดิจิทัล ผู้บริโภคยังพร้อมแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวกับธนาคารเพื่อรับบริการเฉพาะบุคคลมากขึ้นร้อยละ 89 ของผู้สำรวจเลือกที่จะแบ่งปันข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร มากกว่าแอปพลิเคชันแบบอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของผู้บริโภค ในการเปิดรับข้อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่คัดสรรเฉพาะจากธนาคาร

นายยุทธชัยกล่าวเสริมว่า “ยูโอบีมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเรื่องการธนาคารแบบเฉพาะบุคคล (Personalised Banking) ผ่านแอปพลิเคชัน UOB TMRW ที่ขับเคลื่อนด้วย AI วิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน ทำให้เข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง และสามารถช่วยให้บริหารจัดการเงินในแบบที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ ธนาคารกำลังพัฒนาแอปพิเคชัน UOB TMRW เพิ่มเติม เพื่อให้คำปรึกษาวางแผนด้านการลงทุนอัตโนมัติแบบเฉพาะบุคคล ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าบริหารจัดการการเงินได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากรายงานฉบับนี้”


[1] รายงานประจำปี 2566 จัดทำขึ้นในเดือนมิถุนายน สำรวจคำตอบจากผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 600 คน อายุ 18-65 ปี ในกลุ่มชนชั้นกลาง (Mass) (รายได้ <50,000 บาท) กลุ่มชนชั้นกลางผู้มั่งคั่ง (Mass Affluent) (รายได้ 50,000 - 199,000 บาท) และกลุ่มมั่งคั่ง (Affluent) (รายได้ ≥200,000 บาท)

 

เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จับมือร่วมกับ อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ประเทศไทย แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ระดับโลก และเพย์โอเนียร์ ผู้ให้บริการรับจ่ายเงินระหว่างประเทศชั้นนำของประเทศจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “Global E-Commerce Expo : โอกาสบุกตลาดอีคอมเมิร์ซในต่างประเทศ สำหรับ SME ไทย” เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่และให้คำแนะนำผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่กำลังพิจารณาเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซระดับโลกผ่านทาง Amazon.com

รายงาน UOB Business Outlook Study 2023 (SME& Large Enterprises)[1] พบว่า ร้อยละ 93 ของธุรกิจไทยสนใจที่จะนำดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สนับสนุนการค้าข้ามพรมแดนมาใช้เพื่อขยายธุรกิจไปต่างประเทศ และร้อยละ 34 ใช้อีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มสำหรับสรรหาวัตถุดิบและผู้ขาย [2]งานสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีไทยที่มองหาโอกาสในการขยายฐานลูกค้าออนไลน์และเพิ่มช่องทางใหม่ในการสร้างรายได้ ผู้เข้าร่วมกว่า 150 คน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดอีคอมเมิร์ซจากอดีต ปัจจุบัน และที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต วิธีการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมมาขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ช การจัดการโลจิสติกส์ข้ามพรมแดน และการสนับสนุนทางการเงินของธนาคารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจในการบุกตลาดการซื้อขายสินค้าออนไลน์ระดับโลก

นางสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Business Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “การขยายธุรกิจไปต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซระดับโลกอย่างอเมซอน จะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงตลาดโลกได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น งานสัมมนาที่ธนาคารจัดขึ้นร่วมกับ อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง และ เพยโอเนียร์ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของธนาคารที่ต้องการมอบความรู้และการสนับสนุนทางการเงินสำหรับลูกค้าเอสเอ็มอีที่สนใจขยายธุรกิจไปตลาดต่างประเทศ สอดคล้องกับกลยุทธ์หลักของธนาคารที่ต้องการเชื่อมโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ธนาคารเชื่อมั่นว่าลูกค้าที่เข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้จะหันมาสนใจทำธุรกิจบนตลาดอีคอมเมิรช์เพื่อขยายฐานลูกค้าในต่างประเทศ และช่วยสนับสนุนให้สินค้าไทยสามารถส่งออกไปขายในตลาดโลกได้มากขึ้น” 

นายธเธียร์ อนุจรพันธ์ หัวหน้าทีมอเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ประเทศไทย กล่าวว่า “ มีโอกาสมากมายบนตลาดอีคอมเมิรซ์ระดับโลกที่ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ของตนเองให้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลก ทางอเมซอนพร้อมสร้างความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับสถาบันการเงินชั้นนำอย่างธนาคารยูโอบี เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ธุรกิจในประเทศไทยในการแข่งขันระดับโลก เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ขายสินค้าที่สนใจสร้างฟุตพรินท์ทางธุรกิจในระดับสากลบนตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ของอเมซอนที่เข้าถึงผู้ซื้อกว่า 300 ล้านรายทั่วโลก”

นายเจริญ หิรัญตระกูล  Country Lead บริษัท เพย์โอเนียร์ ประเทศไทย กล่าวว่า “บริษัทรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมสนับสนุนโซลูชันทางการเงินสำหรับธุรกิจการซื้อขายสินค้าข้ามพรมแดนที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบจ่ายเงินของเพย์โอเนียร์จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจในการจัดการธุรกรรมทางการเงินและลดขั้นตอนในการรับชำระเงิน โดยผู้ขายสินค้าบนอเมซอนสามารถเลือกรับเงินเข้าบัญชีจากผู้ซื้อทั่วโลกเป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินต่างประเทศได้โดยทันที และสามารถโอนเงินจากบัญชีเพย์โอเนียร์เป็นสกุลเงินท้องถิ่น เข้าไปยังบัญชีเงินฝากจากทางธนาคารยูโอบีได้ทันที”


[1] ที่มา ผลสำรวจยูโอบีเผย ธุรกิจ 3 ใน 4 เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวในปีนี้

[2] ทีมา UOB Business Outlook Study 2023 ผู้ตอบ: ธุรกิจเอสเอ็มอีและองค์กรขนาดใหญ่จากภาคอุตสาหกรรมหลักในประเทศไทย N=530

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยเดินหน้าสนับสนุนสินเชื่อทางการเงิน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตสีเขียวให้แก่ภูมิภาคอาเซียน ธนาคารพร้อมสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินภายใต้กรอบแนวคิดเพื่อความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรมในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission)

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารยูโอบี ได้เข้าร่วมงาน ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย (Future Mobility Asia) และ “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์จี เอเชีย” (Future Energy Asia) ประจำปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและนำเสนอโซลูชันทางการเงินของธนาคาร ที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนให้แก่ภูมิภาค ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงในอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายที่เข้าร่วมงานในปีนี้

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ ธนาคารยูโอบียึดมั่นในแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมผนึกความร่วมมือกับทุกภาคส่วนผ่านโครงการเพื่อความยั่งยืนที่หลากหลายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น ยูโอบีในฐานะธนาคารที่ตอบโจทย์ครบในหนึ่งเดียวเพื่อเข้าถึงโอกาสเติบโตทางธุรกิจทั่วอาเซียน ยืนยันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินที่พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ยั่งยืน และเพื่อสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม ปัจจุบันสภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับพวกเราทุกคน ธนาคารพร้อมนำเสนอกรอบแนวคิดและโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสให้แก่บริษัทในทุกภาคอุตสาหกรรมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน”

รายงานการศึกษาขององค์การสหประชาชาติพบว่าภาคธุรกิจพลังงานเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 3 ใน 4 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีการปล่อยทั่วโลก1 ธุรกิจพลังงานจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนเพิ่มขึ้น แทนที่การใช้พลังงานจากก๊าซ ถ่านหิน และน้ำมัน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

ยูโอบีย้ำถึงบทบาทของธนาคารในการจัดสรรเงินในการลงทุนเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น ซึ่งรายงานการศึกษาของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency: IRENA) พบว่าต้องมีการจัดสรรเงินลงทุนรวมกว่า 57 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐให้แก่ธุรกิจพลังงานไปจนถึงปี 2573 เพื่อจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)2 โดยเงินลงทุนประมาณร้อยละ 57 มาจากการปล่อยกู้และการระดมทุนโดยสถาบันการเงิน อีกร้อยละ 25 มาจากเงินลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (private equity markets) และส่วนที่เหลือมาจากเงินลงทุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาต่างๆ และเงินลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (public equity markets)

สำหรับภาคขนส่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมยานยนต์พลังงานสะอาดในอนาคตเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ ยูโอบีมองว่าแนวโน้มการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกจะเติบโตถึงร้อยละ 18 ภายในปี 2566 และจะมากถึงร้อยละ 35 ภายในปี 2573 โดยเฉพาะในอาเซียนที่ยอดจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในหลายประเทศมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 จากนโยบายของรัฐบาลที่เกื้อหนุนต่ออุตสาหกรรมและโมเดลรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในประเทศไทย และประเทศอินโดนิเซียที่รัฐบาลกำหนดให้การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นนโยบายเศรษฐกิจหลักเพื่อส่งเสริมให้ค่ายผู้ผลิตให้ย้ายฐานการผลิต

ธนาคารยูโอบีพร้อมสนับสนุนโซลูชันทางเงินแบบครบวงจรภายใต้โครงการยู-ไดรฟ์ (U-drive) เพื่อเชื่อมต่อไปยังทุกภาคส่วนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ บริษัทผลิตรถยนต์ บริษัทผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนรถยนต์(OEMs) ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ผู้ประกอบการสถานีชาร์จแบตเตอรี่ ไปจนถึงผู้บริโภค ให้สามารถนำระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน

นอกจากนี้ธนาคารได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ล้ำสมัยให้ตอบสนองต่อความต้องการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดของภูมิภาค เช่น สินเชื่อทางการเงินเพื่ออนุรักษ์พลังงานสำหรับอาคารและที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการยู-เอนเนอร์จี (U-Energy) ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร หรือส่งเสริมความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม

โครงการยู-โซลาร์ (U-Solar) โซลูชันทางการเงินแบบครบวงจรที่สนับสนุนทุกภาคส่วน ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปให้เปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มากขึ้น ความสำเร็จของโครงการในประเทศไทย สิงค์โปร์ อินโดนิเซีย และมาเลเซียช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนและเร่งให้การพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในอาเซียนเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน โครงการยู-โซลาร์ของสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 186,000 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (tCO2e) ทั่วภูมิภาคอาเซียน

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เชิญชวนศิลปินมืออาชีพและศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566

เวทีการประกวดงานจิตรกรรมเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ต่อยอดสู่การประกวดระดับภูมิภาค โดยมุ่งสนับสนุนชุมชนศิลปินและศิลปินรุ่นเยาว์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในเวทีศิลปะระดับภูมิภาค และปีนี้ยูโอบีได้ขยายการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเวทีการประกวดจิตรกรรมที่ทรงเกียรติที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่เวียดนามเป็นประเทศที่ห้า

สำหรับงานเปิดตัวในวันนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้จัดให้มีการเสวนาแบ่งปันประสบการณ์ เกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสของศิลปินไทยในการมุ่งสู่เส้นทางการเป็นศิลปินในเวทีศิลปะระดับสากล พร้อมบอกเล่าปัจจัยสำคัญที่เอื้อประโยชน์แก่ศิลปินในการเติบโตและประสบความสำเร็จในแวดวงศิลปินระดับโลก อันได้แก่ การสร้าง อัตลักษณ์ทางศิลปะ เทคนิค ความหลงใหล และความมุ่งมั่นอันแรงกล้า นอกจากนี้ งานเสวนายังแบ่งปันวิธีที่ศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นจะเรียนรู้จากข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์ของศิลปินอาชีพและผู้เชี่ยวชาญในวงการศิลปะ ซึ่งจะช่วยชี้แนะให้ประสบความสำเร็จในวงการศิลปะที่แข่งขันสูง การเสวนาครั้งนี้นำโดย อาจารย์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม) ปี 2563 และรองอธิบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ประธานคณะกรรมการตัดสิน การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประเทศไทย คุณชมรวี สุขโสม ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2565 และ คุณนริศรา เพียรวิมังสา ศิลปินชื่อก้องผู้สร้างสรรค์ผลงานสีอะคริลิกและผ้า ที่มีประสบการณ์เข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนักในประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอเมริกา

การออกแบบโลโก้การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14

การออกแบบโลโก้การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประจำปี 2566 ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงาน ดิสโทเปีย ของคุณชมรวี สุขโสม ศิลปินไทยผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2565 รูปทรงกลมที่กำลังเปลี่ยนแปลงรูปร่างสื่อถึงโลกของเราที่พัฒนาและปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ตามวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งสอดคล้องกับคำมั่นสัญญาในระยะยาวของธนาคารที่จะไม่หยุดพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคและอยู่เคียงข้างชุมชน

นางสาวธรรัตน โอฬารหาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปีนี้ ยูโอบีมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ขยายการจัดการประกวดจิตรกรรมยูโอบีนี้ไปสู่ประเทศเวียดนาม ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นได้ค้นพบความหลงใหลที่มีต่องานศิลปะ เพราะเราเชื่อว่าศิลปะช่วยยกระดับจิตใจและเชื่อมโยงชุมชนต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยทางธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ประสบความสำเร็จในการเฟ้นหา ฟูมฟัก และสนับสนุนศิลปินผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์และความสามารถในประเทศไทยมาเป็นเวลานานกว่า 1 ทศวรรษ ผ่านการประกวดจิตรกรรมยูโอบีประจำปีและโครงการส่งเสริมศิลปะสู่ชุมชนต่างๆ ดิฉันรู้สึกดีใจที่ได้เห็นศิลปินรุ่นพี่ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความสามารถและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ละคน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่เพื่อนศิลปิน และเพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของธนาคารในการสร้างอนาคตของอาเซียน”

เชิญชวนศิลปินส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 พร้อมเงินรางวัลสำหรับประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นที่เพิ่มขึ้น

ในฐานะผู้อุปถัมภ์ศิลปะชั้นนำในเอเชีย การประกวดจิตรกรรมยูโอบีประสบความสำเร็จในการเฟ้นหาศิลปินอาชีพและศิลปะใหม่หรือสมัครเล่นจากประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาค การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 เปิดรับผลงานศิลปะของผู้มีสัญชาติไทยและผู้มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทยผ่านระบบดิจิทัล www.uob.co.th/poy ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม ถึง 15 สิงหาคม 2566

พิธีประกาศและมอบรางวัลการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 จะจัดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ผลงานชนะเลิศจากประเทศไทยจะได้รับสิทธิเข้าแข่งขันในระดับภูมิภาคร่วมกับผลงานชนะเลิศจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม เพื่อชิงเงินรางวัลอีก 13,000 เหรียญสิงคโปร์ นอกเหนือจากเงินรางวัลระดับประเทศ นอกจากนี้ ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับประเทศยังมีโอกาสได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินในพำนัก ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นระยะเวลา 1 เดือนอีกด้วย พิธีประกาศและมอบรางวัลการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะจัดขึ้นที่โรงละครวิคตอเรีย ประเทศสิงคโปร์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566

นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นในภูมิภาคในการไล่ตามความฝันในแวดวงศิลปะ ยูโอบีจึงเพิ่มเงินรางวัลสำหรับประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นจะได้รับเงินรางวัลเพิ่มเป็น 125,000 บาท

ส่งเสริมศิลปะสู่ชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่ศิลปินรุ่นเยาว์

เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินไทยเติบโตและประสบความสำเร็จในแวดวงศิลปะระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมศิลปะสู่ชุมชนต่างๆ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้เตรียมจัดทำคลิปวิดีโอเพื่อให้ความรู้ โดยมีศิลปินรุ่นพี่ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบี อาทิ คุณปานพรรณ ยอดมณี คุณธิดารัตน์ จันทเชื้อ และคุณชมรวี สุขโสม มาร่วมแบ่งปันเทคนิค กระบวนการคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และทัศนคติที่จำเป็นในการผลักดันผลงานให้เป็นที่รู้จักในเวทีศิลปะระดับสากล ผู้สนใจสามารถชมวิดีโอแบ่งปันความรู้ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป ผ่าน www.facebook.com/uob.th และ www.uob.co.th/uobandart

นอกจากนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จะจัดเดินสายกิจกรรม “โรดโชว์ศิลปะ” ไปตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 20 แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเฟ้นหาศิลปินไทยรุ่นใหม่จากทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนศิลปะท้องถิ่นและนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะได้แลกเปลี่ยนมุมมองด้านศิลปะและรับแรงบันดาลใจจากศิลปินอาชีพและศิลปินรุ่นพี่ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีที่ประสบความสำเร็จในแวดวงศิลปะต่างประเทศ

Page 4 of 8
X

Right Click

No right click