September 08, 2024

SCGP เสริมธุรกิจด้วยกลยุทธ์ ESG เพื่อขับเคลื่อนองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Megatrends) ชูการรับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) การพัฒนา Private declaration Label เพื่อระบุปริมาณ CFP บนผลิตภัณฑ์ พร้อม “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ช่วยคำนวณปริมาณปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างรวดเร็ว เสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ช่วยจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 ของลูกค้า เพิ่มโอกาสธุรกิจและเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทย ตั้งเป้าขอการรับรอง CFP ในกลุ่มสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย 100% ภายในปี 2027

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยี รวมถึงสภาพภูมิอากาศ  SCGP ได้ทรานส์ฟอร์มธุรกิจในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมกับการสร้างความยืดหยุ่น เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาพนักงานให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการตรงใจลูกค้า และอีกหนึ่งการทรานส์ฟอร์มที่ SCGP ให้ความสำคัญ คือ Sustainability Transformation” หรือการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยแนวคิด Inclusive Green Growth ที่เพิ่มการมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์คุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

SCGP ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 โดยมีแผนการลดก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการต่าง ๆ ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน การพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนการสนับสนุนคู่ค้าและลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อร่วมลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

SCGP ยังเล็งเห็นว่า การผลิตบรรจุภัณฑ์ของบริษัทถือเป็น Scope 3 ของลูกค้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้ทุ่มเทความพยายามและร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ในการพัฒนาแนวทางและวิธีการ เพื่อขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมศักยภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้า ทำให้ล่าสุด SCGP ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เป็นผลสำเร็จ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์พลาสติก จำนวน 128 ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์กระดาษ

นอกจากนี้ SCGP ยังได้พัฒนา ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่ออกโดย SCGP (Private Declaration Label) เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบรรจุภัณฑ์ และได้พัฒนา “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ของผลิตภัณฑ์ ที่แม่นยำ ง่าย และรวดเร็ว เพื่อเป็นโซลูชันให้กับลูกค้า สามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย พร้อมกับเอกสารรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าเพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่มีการบังคับใช้มากขึ้นในหลายประเทศ สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการขาย การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้ลูกค้าส่งออกกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นับเป็นการช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย

“SCGP เดินหน้าการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG มุ่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างความร่วมมือกับผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปพร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Inclusive Green Growth) รวมถึงการศึกษาและติดตามสถานการณ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับกับมาตรการใหม่ (New Regulations) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันที่จะมาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน” นายวิชาญ กล่าว 

แลนด์มาร์กใหม่ของคนรักบ้าน ตอบทุกไลฟ์สไตล์ตกแต่ง หนุนบริษัทแม่เติบโต 2 เท่า

เอสซีจี ร่วมแบ่งปันมุมมองบนเวที Techsauce Global Summit 2024 ชี้ประเด็น เราจะอยู่กันอย่างไร? หากอุณหภูมิโลกพุ่งสูงเกินกว่าจุดที่จะแก้ไขและอยู่ได้ โจทย์ความยั่งยืนวันนี้จึงต้องเร่งทั้งลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ฟื้นฟูธรรมชาติ และดูแลสังคม โดยใช้เทคโนโลยีและความร่วมมือเป็นกุญแจสำคัญ  

นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ร่วมแบ่งปันมุมมองบนเวทีเสวนา The World after Sustainability: What's the Next Global Agenda ในงาน Techsauce Global Summit 2024 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 ต่อสถานการณ์โลกเดือดในปัจจุบัน ที่อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มจะสูงถึง 2 องศาเซลเซียส และอาจเพิ่มขึ้นแตะ 2.5-3 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นจุดพลิกผันของโลกที่ทำให้ธรรมชาติเปลี่ยนไป เปลี่ยนผืนป่าสู่ทะเลทราย เมื่อถึงจุดนั้น สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมจะได้รับผลกระทบเกินกว่าจะเยียวยา ทุกคนต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอดในโลกที่ไม่เหมือนเดิม ความท้าทายนี้ทำให้การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม สังคม มีความสำคัญมากขึ้น และต้องทำควบคู่ไปกับการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

“เอสซีจีตั้งเป้าทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ Net Zero 2050 ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อไปถึงเป้าหมายในอีก 26 ปีข้างหน้า แต่สถานการณ์โลกเดือดที่ผ่านมาเป็นตัวบอกว่าต้องเร่งมือเพิ่มขึ้น ทั้งการลดและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อม โดยมีเทคโนโลยีและความร่วมมือเป็นกุญแจสำคัญ

นายธรรมศักดิ์ ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวเดินเรื่องในการฟื้นฟูธรรมชาติ “ระบบนิเวศทางท้องทะเลได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ทำให้ทรัพยากรและความอุดมสมบูรณ์ของปะการังเสื่อมโทรม เอสซีจีจึงนำเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution มาสร้างสรรค์ ‘บ้านปะการัง’ ที่มีความคล้ายกับปะการังจริง กลมกลืนกับธรรมชาติ มีประสิทธิภาพในการลงเกาะและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนปะการัง ผลิตจากปูนซีเมนต์รักษ์โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล แข็งแรง ทนทาน มุ่งฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์กลับสู่ท้องทะเลไทย

ขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ช่วยให้โลกค้นพบความเป็นไปได้ของนวัตกรรมลดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ล้ำหน้ายิ่งขึ้น และเอสซีจีเร่งเดินหน้าพัฒนา เช่น SCGC (เอสซีจีซี) ร่วมกับ Avantium ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านเคมีทดแทน (Renewable Chemistry) จากประเทศเนเธอร์แลนด์ นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาผลิต ‘พอลิเมอร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นลบ’ ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต รวมถึงสามารถย่อยสลายได้ทั้งในสภาวะธรรมชาติและในทะเล นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับ Braskem ผู้นำพลาสติกชีวภาพระดับโลก จากประเทศบราซิล ใช้จุดเด่นของประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองเกษตรกรรม นำผลิตผลจากภาคเกษตรมาพัฒนาเป็น ‘พลาสติกชีวภาพ’ พลาสติกรักษ์โลกที่ผลิตคาร์บอนเป็นลบ (Negative Carbon Footprint) สามารถรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป”

ความร่วมมือเป็นอีกหนึ่งเครื่องเร่งสำคัญที่จะทำให้เราและโลกอยู่รอด นายธรรมศักดิ์ เล่าว่า “เอสซีจีเริ่มพัฒนานวัตกรรมกรีน ‘ปูนคาร์บอนต่ำ’ เมื่อหลายปีที่แล้ว ในเวลานั้นไม่มีใครเชื่อว่าจะทำสำเร็จ เพราะการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ธุรกิจ ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเดียวกัน ลูกค้า และการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ แต่ผลลัพธ์จากการพัฒนาครั้งนี้ สะท้อนได้อย่างชัดเจนจากสัดส่วนการใช้ปูนคาร์บอนต่ำของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 70 ในปี 2566 และยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากไม่มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ความตั้งใจนี้คงไม่มีวันเป็นไปได้”

อย่างไรก็ตาม กรรมการผู้จัดการใหญ่ยังเน้นย้ำว่า ท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน กลุ่มคนตัวเล็กจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เราจำเป็นต้องช่วยเหลือกันซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทุกคนเปลี่ยนผ่านไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน

“เอสซีจีพร้อมเป็นส่วนหนึ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพื่อส่งต่อโลกที่ยั่งยืนน่าอยู่ถึงคนทุกรุ่นและความร่วมมือของทุกภาคส่วนจะทำให้โลกนี้ดีขึ้นได้อีกมาก เพราะความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องของใครคนหนึ่ง ถ้าหากทำเพียงลำพัง อุณหภูมิโลกก็จะยังสูงเกินกว่าทุกคนจะรับไหว เวลานั้นไม่ว่าใครก็จะได้รับผลกระทบและต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอด”

Techsauce Global Summit 2024 งานประชุมสุดยอดด้านเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ธีม ‘The World of Tomorrow With AI’ โดยมีผู้นำทั้งในและต่างประเทศ นักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญสายเทคโนโลยีจากหลากหลายสาขา รวมกว่า 350 ท่าน มาร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ ความรู้ และประสบการณ์ ระหว่างวันที่ 7 – 9 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ 

สยามคูโบต้า โดยนายจูนจิ โอตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วย นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส และนายได วาตานาเบ้ Director and Executive Vice President คูโบต้าคอร์ปอเรชั่น ญี่ปุ่น ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ในภาคการเกษตร กับ นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ และนางจันทิดา สาริกะภูติ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินและการลงทุน เอสซีจี เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนของธุรกิจและภาคเกษตรกรรมไทย ผ่าน 3 โซลูชัน Green Energy ศึกษาการใช้เทคโนโลยีระดับสูงและพลังงานทางเลือกในกระบวนการผลิต Green Innovative Product พัฒนานวัตกรรมสินค้าและโซลูชันการทำเกษตร และ Green Farming พัฒนาโซลูชันการเพาะปลูกไปจนถึงการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมไทยสู่เกษตรคาร์บอนต่ำ เพิ่มการเข้าถึงทรัพยากรและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน ตลอดจนลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้จาก Agri Waste เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น

นายปรเมศวร์ นิสากรเสน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง เอสซีจี (ที่ 2 จากซ้าย) นายพิศาล สัญญะเดชากุล Corporate Innovation Director (ซ้ายสุด) , และ Origgin Ventures CEO บริษัท Origgin Ventures (ที่ 2 จากขวา), Mr. Clarence Tan, Origgin Ventures Director และ Ms. Lum Yi Chyi (ขวาสุด)เพื่อสร้างความร่วมมือในการนำนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา มาสร้างโอกาสทางธุรกิจเชิงพาณิชย์ ประกอบไปด้วย  1. Licensing-out (Tech Outsourcing) และการสร้างสรรค์ธุรกิจร่วม (Venture Co-Creation) ซึ่งจะช่วยผลักดันนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาของเอสซีจี เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างโอกาสในการสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่  2. Licensing-in (Tech Insourcing) การคัดสรรนวัตกรรมจากเครือข่ายระดับภูมิภาคที่กว้างขวางของ Origgin Ventures เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมให้กับเอสซีจี

งานดังกล่าวได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงจากสององค์กรร่วมงาน  ทั้งนี้  ดร. สุวิทย์ คุณกิตติ Chairman Origgin Ventures Thailand กล่าวถึงความสำคัญของการผสานพลังจากสององค์กรชั้นนำในครั้งนี้ว่า “Origgin Ventures เป็นบริษัทระดับนานาชาติที่มีสาขาในเอเชีย อาทิ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และจีน มีความมุ่งมั่นในการสร้างความร่วมมือในรูปแบบของ Venture Co-Creation ซึ่งเป็นการสร้างและพัฒนาธุรกิจใหม่ โดยร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ”

ดร. ชวลิต กมลสถิตกุล, Head of IP Management, Corporate Innovation Office เอสซีจี กล่าวเสริมว่า “เอสซีจี มีโปรแกรม IPWealth สำหรับการทำ Licensing-out และวางแผนในการสร้าง License Ecosystem เพื่อเพิ่มความสามารถในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาเข้าสู่ตลาดใหม่ และเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งทาง Origgin Ventures มีเครือข่ายระดับภูมิภาคที่กว้างขวาง ซึ่งทำให้งานดังกล่าวประสบความสำเร็จ”

X

Right Click

No right click