จุดอ่อนที่สำคัญของการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการภาวะวิกฤต ได้แก่
- ขาดการวางบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนในภาวะวิกฤต (มีความทับซ้อนและสับสนระหว่างสำนักงานใหญ่กับสำนักงานท้องถิ่น) นำไปสู่การตอบสนองต่อสถานกาณ์วิกฤตที่ไม่มีประสิทธิภาพ
- ตอบสนองล่าช้า (ทั้งในส่วนสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานท้องถิ่น)
- กลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะวิกฤต ไม่ครอบคลุมเหตุการณ์ความปลอดภัยรองลงมาเช่น เหตุการณ์ที่เกิดจากภัยธรรมชาติ โรคระบาด ฯลฯ
- ไม่มีแผนการบรรเทาที่ชัดเจน ทำให้องค์กรติดอยู่ใน 'สภาวะวิกฤต' ไม่สามารถเดินหน้าสู่การฟื้นฟูได้
นพ. จามร เงินชารี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ประเทศไทย กล่าวว่า “กระบวนการจัดการภาวะวิกฤตที่แข็งแกร่งเป็นหัวใจสำคัญของความสามารถในการฟื้นตัวของธุรกิจ หลายองค์กรไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งตอกย้ำให้เห็นถึงข้อจำกัดในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภาวะวิกฤต ที่อาจทำให้พนักงานและทรัพย์สินขององค์กรตกอยู่ในความเสี่ยง และในขณะเดียวกันก็ยังคงสร้างความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ
“ในขณะที่เราเริ่มก้าวออกจากสถานการณ์โรคระบาด องค์กรควรเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ทบทวนแนวทางในการบริหารจัดการภาวะวิกฤตที่มีอยู่และปรับเปลี่ยนแผนการรับมือให้เหมาะสม กระบวนการนี้ควรได้รับความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ โดยให้มีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนเบื้องต้น ไปจนถึงการให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดในขณะที่เกิดสถานการณ์”
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ได้เปิดตัว Crisis Management Gap Analysis Solution เพื่อช่วยองค์กรต่าง ๆ จัดการปัญหาการเตรียมพร้อมในการบริหารจัดการภาวะวิกฤต ผ่านการให้คำแนะนำและปรึกษา การวิเคราะห์นี้ช่วยให้องค์กรมีความเป็นกลาง จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยวิเคราะห์โครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการภาวะวิกฤตที่องค์กรใช้อยู่ในปัจจุบัน และเปรียบเทียบสถานะปัจจุบันกับแนวทางในอุดมคติ
การวิเคราะห์พัฒนาขึ้นโดยการประเมินทางเทคนิค วิเคราะห์จากเอกสารและทบทวนกระบวนการที่มีอยู่โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้องค์กรสามารถ
- สร้าง / ปรับปรุงความยืดหยุ่นขององค์กร: การคาดการณ์และการลดความเสี่ยงของพนักงาน
- ลดผลกระทบของภาวะวิกฤตต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ
- สนับสนุนความเป็นผู้นำ (ในภาวะวิกฤต): ส่งเสริมให้ผู้นำมีอำนาจตัดสินใจบนความช่วยเหลือและเทคนิคที่เหมาะสม
- แสดงความมุ่งมั่นต่อหน้าที่ในการดูแลพนักงาน (Duty of Care)
กรณีศึกษา: ปัจจุบันบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ใช้โซลูชั่นวิเคราะห์ช่องโหว่นี้ ประเมินประสิทธิภาพของการบริหารจัดการความเสี่ยงตามวัตถุประสงค์ของบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 และกระบวนการโดยรวมที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจขององค์กร