December 23, 2024

กรมชลประทาน ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าจ้างแรงงานชลประทานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปี 2566 จัดสรรงบกว่า 5.33 พันล้านบาท มีเป้าหมายจ้างแรงงาน 8.6 หมื่นคน พร้อมเชิญชวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ หวังสร้างรายได้ทดแทนและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วประเทศ

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำ (กทม.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมี นายประยูร เย็นใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านจัดสรรน้ำ) และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพฯ

โครงการชลประทานเชียงใหม่ ต่อยอดงานวิจัยการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว ชวนชาวนาเปลี่ยนวิธีการทำนา หวังลดต้นทุนการผลิต และช่วยประหยัดน้ำจากการทำนาได้มากกว่าร้อยละ 30 - 40 ทั้งยังเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับชาวนา ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MoC) ระหว่างกรมชลประทานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น ว่าด้วยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ด้วยระบบเรดาร์ Solid-State Polarimetric X-band ซึ่งมีนายโนซากิ มาซาโตชิ อธิบดีกรมวิทยุ สำนักงานสื่อสารโทรคมนาคม กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ลงนามฝ่ายญี่ปุ่น โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา นายโฮโซโนะ เคสุเกะ เลขานุการเอกด้านดิจิทัล สารสนเทศ เทคโนโลยีการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย นายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การลงนาม MoC ในวันนี้ เป็นการริเริ่มความร่วมมือระหว่างกรมชลประทานกับกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือกันกำหนดแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี-สระบุรี ด้วยระบบเรดาร์ Solid-State Polarimetric X-band ด้วยการปรับปรุงการบริหารจัดการอุทกภัยและการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อาทิ การหาความสัมพันธ์ของน้ำฝน-น้ำท่า การประเมินปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำฯ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและทันต่อสถานการณ์ ตอบสนองต่อภารกิจของกรมชลประทาน รวมทั้งสนับสนุนให้กรมชลประทานนำระบบดังกล่าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแผนการป้องกันภัยพิบัติของประเทศไทยต่อไปในอนาคต

สำหรับระบบเรดาร์ X-Band จะมีการส่งข้อมูลเป็นระบบ Real time มีความละเอียดสูงในการประเมินปริมาณฝน ส่งสัญญาณด้วยระบบ Dual polarization ส่งคลื่นออกไปได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน สามารถเพิ่มศักยภาพในการวัดปริมาณฝนได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ใช้ประเมินปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทันต่อเหตุการณ์ ปัจจุบัน สถานีตรวจวัดอากาศดังกล่าวได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จกว่า 80% โดยรอการติดตั้งเรดาร์ตรวจอากาศซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมใช้งานภายในฤดูฝนปี 2565 นี้

กรมชลประทานขานรับนโยบาย “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” แก้ปัญหาภัยแล้ง เปิดตัวโครงการ “ประหยัดน้ำ ทางรอดต้านแล้ง” รณรงค์คนไทยประหยัดน้ำ เตรียมพร้อมก่อนภาวะวิกฤติภัยแล้ง ชูแนวคิด “ประหยัดน้ำ=บริจาคน้ำ” นำเสนอผ่านเพลงและมิวสิควิดีโอ โดยศิลปินชั้นนำของเมืองไทย “ว่าน ธนกฤต” และ “เปาวลี พรพิมล” พร้อมเดินหน้าชู 8 มาตรการเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้งปี 2564/65

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click