จุดพลังเทคโนโลยีสร้างมิติใหม่ให้อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยยุคดิจิทัล


ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าปลุกวิสัยทัศน์ด้าน Digital Transformation แก่ผู้นำองค์กรขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมสำคัญของไทยอย่างต่อเนื่อง จับมือ สถาบันวิทยสิริเมธี หรือ VISTEC เปิดการอบรมหลักสูตร “MISSION X” The Boot Camp of Advanced Corporate Transformation รุ่นที่ 5 เจาะกลุ่มอุตสาหกรรมรับเหมาและวัสดุก่อสร้าง มุ่งเน้นการบ่มเพาะวิสัยทัศน์สำหรับผู้นำองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เร่งยกระดับศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมไทยด้วยการเปลี่ยนผ่านทางด้านดิจิทัล สร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดฝ่าวิกฤติและความท้าทายรอบด้าน อัดแน่นด้วยเนื้อหาจากวิทยากรชั้นนำทางด้านเทคโนโลยีที่สำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย พร้อมด้วยกรณีศึกษาจากซีอีโอต้นแบบระดับประเทศ และการให้คำปรึกษาพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญแบบตัวต่อตัวสำหรับการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลขององค์กรเพื่อการใช้งานจริง โดยมี ดร. ไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธี นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานหลักสูตร Mission X นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล อธิการบดี สถาบันวิทยสิริเมธี ร่วมพิธีเปิดหลักสูตร เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่

ดร. ไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธี กล่าวว่า ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทในการดำเนินชีวิต ธุรกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ Digital Transformation เป็นทางเลือกสำคัญที่องค์กรขนาดใหญ่จะต้องให้ความสำคัญ การพัฒนา Digital Transformation ในทุกวันนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด และผลของการพัฒนาดังกล่าวทำให้ต้นทุนทางเทคโนโลยีถูกลง ดังนั้นคนที่ทำธุรกิจที่ผนวกเทคโนโลยีได้ก่อนจึงมีความได้เปรียบ องค์กรยุคใหม่จึงต้องมีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงการให้ความสำคัญในการเป็นเจ้าของข้อมูล (Data) และรู้จักการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ตอบความต้องการของลูกค้าอันจะมีผลต่อการแข่งขันและสร้างโอกาสการเติบโตได้ต่อเนื่องในยุคดิจิทัล สำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั้น ปัจจุบันเราเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วในโลก เช่น การสร้างบ้านด้วยเทคโนโลยี 3D Printing หรือการใช้ Drone Survey สำรวจไซต์งานจากนอกสถานที่ ลดต้นทุน ลดแรงงานได้อย่างมหาศาล ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ทำธุรกิจนี้จึงต้องตื่นตัวเปิดรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและปรับความคิดให้เท่าทันกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง ต่อยอดการพัฒนาขีดความสามารถให้กับทุกกระบวนการทำงานในโครงการ สร้างการเติบโตให้องค์กร ผลลัพธ์ที่ดีต่อลูกค้า รวมไปถึงคู่ค้าและซัพพลายเชนทั้งระบบ โดยเชื่อมั่นว่าหลักสูตร Mission X จะนำพาทุกท่านสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ และเสริมศักยภาพในการสร้างความยืดหยุ่นให้ธุรกิจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน”

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานหลักสูตร “Mission X” The Boot Camp of Advanced Corporate Transformation กล่าวว่า “การวางกลยุทธ์ธุรกิจระยะยาวนั้นผู้ประกอบองค์กรควรมุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องเมกะเทรนด์ที่กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างให้แก่เศรษฐกิจโลกอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ หากประเทศไทยสามารถสร้างโอกาสขึ้นมาได้ จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงได้ หรือแม้กระทั่งสงครามทางการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีนมาสู่ประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลที่เป็นบวกให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ โครงการ Mission X รุ่นที่ 5 นี้ ต้องการเน้นย้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยได้จับตาเกี่ยวกับเทรนด์ต่างๆ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อสามารถวางโรดแมปการทำ Digital Transformation ให้องค์กรได้อย่างครอบคลุม รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญเข้ามาพัฒนาเพื่อดึงศักยภาพองค์กร โดยเฉพาะการบริหารจัดการต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่จะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลได้”

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ “เป้าหมายสำคัญของการปรับองค์กรขนาดใหญ่ในยุคปัจจุบัน คือ ทำอย่างไรองค์กรจะยังยืนหยัดอยู่ได้ในโลกที่เต็มไปด้วยธุรกิจ Startup ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่ง Digital Disruption ที่สร้างความกังวลต่อผู้ประกอบการ แต่หากมองอีกนัยหนึ่ง นี่คือโอกาสผลักดันการเติบโตอย่างก้าวกระโดดให้กับธุรกิจ และองค์กรขนาดใหญ่สามารถปรับตัวเองได้เพียงเข้าใจในแนวคิดการปรับใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์สูงสุด แต่การทำ Digital Transformation ในองค์กรขนาดใหญ่นั้นไม่ใช่เพียงแต่การนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการดำเนินงานแต่เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงการสร้าง Digital Mindset ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดขึ้นในทุกระดับ ธนาคารไทยพาณิชย์ และ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) มีความเชื่อมั่นร่วมกันในพลังแห่งเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ได้ร่วมดำเนินโครงการ “MISSION X” หลักสูตรลับคมวิสัยทัศน์ทางด้านดิจิทัลสำหรับผู้นำองค์กรธุรกิจแถวหน้าของประเทศ ได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 5 มีผู้เข้าร่วมหลักสูตรรวมแล้วกว่า 120 บริษัท และมีเม็ดเงินลงทุนเพื่อ Digital Transformation ตลอดโครงการแล้วกว่า 1,800 ล้านบาท ในครั้งนี้มุ่งเน้นการปลูกวิสัยทัศน์ทางดิจิทัลให้แก่กลุ่มผู้นำองค์กรขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมผู้รับเหมาและวัสดุก่อสร้างชั้นนำของประเทศ ซึ่งเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption แม้ในเมืองไทยอาจจะยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ในระยะยาวเรามองเห็นแนวโน้มของผลกระทบที่รวดเร็วและรุนแรง จากปัจจัยต่างๆ ทั้งทางด้านโครงสร้างประชากรที่อาจทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในอนาคต ค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้ต้องรีบปรับตัวให้พร้อมรับมือกับความท้าทายนี้แต่เนิ่นๆ เพื่อรักษาความแข็งแกร่งให้องค์กรและสร้างการเติบโตที่ต่อเนื่องและยั่งยืนในยุคแห่งความผันผวน”

กรุงเทพฯ: บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 ของปี 2565 จำนวน 10,309 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลของการขยายตัวของฐานรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและการตั้งเงินสำรองที่ลดลง ในขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองมีจำนวน 22,815 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับเก้าเดือนแรกของปี 2565 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจำนวน 30,403 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในไตรมาส 3 ของปี 2565 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 27,714 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิพร้อมกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะที่สินเชื่อโดยรวมขยายตัว 3.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

รายได้ค่าธรรมเนียมและอื่นๆ มีจำนวน 11,752 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 0.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้น 6.5% จากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบและการฟื้นตัวของกิจกรรมทางธุรกิจในวงกว้าง ในขณะที่รายได้จากการลงทุนและการค้าปรับตัวลดลง 81.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางสภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 16,942 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ ยังคงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ดีที่ 42.6% ในไตรมาส 3 ของปี 2565

บริษัทฯ ได้ตั้งเงินสำรองในไตรมาส 3 ของปี 2565 จำนวน 7,750 ล้านบาท ลดลง 22.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับสูงที่ 163.8%

คุณภาพของสินเชื่อโดยรวมปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 อยู่ที่ 3.34% ปรับตัวลดลงจาก 3.58% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 และเงินกองทุนตามกฎหมายยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.5%

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ธุรกิจของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ยังคงขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ควบคู่กับการสนับสนุนการฟื้นตัวของลูกค้าในกลุ่มต่างๆ ในขณะเดียวกันการจัดตั้งธุรกิจใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ยานแม่” มีความก้าวหน้าหลายประการ อาทิ การบุกตลาดธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ของบริษัท ออโต้ เอกซ์ ภายใต้แบรนด์ “เงินไชโย” ที่สามารถขยายฐานลูกค้าและสินเชื่อมากกว่า 3,000 ล้านบาท ภายในไตรมาสเดียว บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ ได้เปิดตัวซูเปอร์แอป ด้านการลงทุนแห่งแรกของไทยที่รวบรวมการซื้อขายสินทรัพย์ดั้งเดิมและสินทรัพย์ดิจิทัลไว้ในแพลตฟอร์มเดียว อีกทั้งแพลตฟอร์มโรบินฮู้ดได้ผันตัวไปเป็นซูเปอร์แอป อย่างเต็มรูปแบบโดยเพิ่มบริการจองที่พักและกิจกรรมท่องเที่ยว (Online Travel Agent) บริการสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้า (Mart Service) และบริการรับ-ส่งของ (Express Service) ตลอดจนได้รับใบอนุญาตแพลตฟอร์มบริการเรียกรถแล้ว และในไตรมาสนี้ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ ได้รับเงินปันผลพิเศษจากธนาคารเพื่อใช้ดำเนินงานตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อนำพาองค์กรก้าวสู่การเป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินชั้นนำในระดับภูมิภาคต่อไป”

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนทุนการศึกษาและทุนวิจัยแก่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารเทศ (IST) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ประจำปี 2565 รวมเป็นเงิน 30 ล้านบาท แบ่งเป็น ทุนการศึกษาให้แก่นิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จำนวน 10 ทุน เป็นเงิน 20 ล้านบาท และทุนสนับสนุนการพัฒนางานวิจัย สำหรับความร่วมมือระหว่างสำนักวิชาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นเงิน 10 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นรูปแบบใหม่และก้าวสู่มาตรฐานชั้นนำระดับโลก สร้างบุคลากรให้เป็นผู้นำด้านงานวิจัยทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีอัตโนมัติขั้นสูง สร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมนานาประเทศได้ ตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ VISTEC ในการเป็น World-class frontier research institute โดยมี ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร (กลาง) นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธี เป็นประธานในพิธี และคุณกฤษณ์ จันทโนทก (ที่ 6 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ มอบให้แก่ ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล (ที่ 4 จากซ้าย) อธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่

การสนับสนุนทุนการศึกษาและทุนโครงงานวิจัยแก่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารเทศ (IST) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เป็นโครงการต่อเนื่อง ภายหลังจากที่ธนาคารฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการจัดตั้งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ที่จังหวัดระยองมาตั้งแต่ปี 2559 โดยสนับสนุนงบประมาณเป็นจำนวนเงิน 450 ล้านบาท ในระหว่างปี 2560-2564 (ระยะที่ 1) ในการจัดตั้งสำนักวิชา ทุนการศึกษา และความร่วมมือในการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ด้วยตระหนักดีว่าการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเป็นพลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนอนาคตและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวแก่ประเทศไทย ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น เน้นการวิจัยที่จะทำให้เป็นผู้รู้จริง และรู้จักแก้ไขปัญหา รวมถึงสร้างแนวคิด องค์ความรู้ และนวัตกรรม ต่าง ๆ และในครั้งนี้ได้สนับสนุนทุนการศึกษาและทุนวิจัย ในระยะที่ 2 ระหว่างปี 2565-2569 รวมเป็นเงิน 150 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายปีละ 30 ล้านบาท

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สำนักวิชาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณชนในปี 2564 กว่า 40 ผลงาน ซึ่งล้วนเป็นผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและมวลมนุษยชาติ

ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายย่อย

สปป.ลาวกำลังเผชิญวิกฤตเงินกีบอ่อนค่ารุนแรง พร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้น ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2022 ค่าเงินกีบอ่อนค่าทะลุระดับ 15,000 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงถึง 57% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และ 44% เมื่อเทียบกับเงินบาท นับจากเดือนกันยายน 2021 เป็นต้นมา และอ่อนค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค การอ่อนค่าของเงินกีบตามภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้น ประกอบกับการเร่งตัวของราคาน้ำมันและสินค้าต่าง ๆ จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และปัญหาอุปทานคอขวดโลกที่สปป.ลาวจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าในสัดส่วนสูง ได้ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสปป.ลาวเร่งตัวขึ้น เกิดปัญหาการขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ และปัญหาการขาดแคลนสินค้าโดยเฉพาะน้ำมันเป็นวงกว้าง

X

Right Click

No right click