ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือ “The Lost Skills”

ไม่มีใครปฏิเสธได้จริง ๆ ว่าในช่วง 3 – 4 ปีมานี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก แนวคิด ทัศนคติ กระแสสังคม พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทักษะอาชีพที่เรียกได้ว่าเคยเป็นงานนอกกระแสกลับบูมอย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็น ไรเดอร์ส่งอาหาร, TikToker, ขายของออนไลน์, นักเล่นหุ้น, นักเขียนนิยายออนไลน์ ฯลฯ หรือหลายคนก็ยังคงเกาะตำแหน่งเหนียวแน่นไม่ไปไหน ด้วยค่าตอบแทนเท่าเดิม ชีวิตแบบเดิม ทว่าต้องทนกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่แย่ลงเรื่อย ๆ ซึ่งเราก็จะได้เห็นว่าท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ มีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จกับการใช้ชีวิตอย่างมาก คนที่แค่พออยู่พอกิน ไปจนถึงด้านกลับก็คือคนที่ไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นชิ้นเป็นอันจากการพยายามเอาชีวิตรอดในโลกยุคใหม่นี้เลย และกำลังเอาตัวรอดไปในแต่ละวันอย่างยากลำบากเจียนตาย

อะไรคือความแตกต่างระหว่างคนแต่ละประเภท

ในคนทั้งสามรูปแบบที่กล่าวไปข้างต้น แม้จะมีเรื่องดวงเข้ามาเกี่ยวทำให้แต่ละคนมีระดับความสำเร็จที่ต่างกันไป ถึงอย่างนั้น การมี ‘Soft Skills’ ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งเช่นกัน โดยงานวิจัยจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด, มูลนิธิคาร์เนกี และศูนย์วิจัยสแตนฟอร์ด ระบุว่า 85% ของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดจากการมี Soft Skills ที่ดี โดยหากขาด Soft Skills ไปก็จะทำให้มาตรฐานการทำงานลดลง ประสิทธิภาพในการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ลดลง และยังส่งผลกระทบต่อการผลิตบุคลากรใหม่ ๆ ในวงกว้างอีกด้วย

ภายในงาน SOFT SKILLS BOOTCAMP ครั้งที่ 1 “Work Life Enhance” มี Session หนึ่งที่ชื่อว่า The Lost Skills” ซึ่งมี ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือ “The Lost Skills” พาสำรวจทักษะชีวิตที่ใครหลายคนอาจหลงลืมหรือทำหล่นหายไปเสียแล้ว เป็นกุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่การอยู่รอด และการประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่

เข้าใจว่าการเรียนไม่รู้จบ

ท่ามกลาง Soft Skills นับพันที่ล่องลอยอยู่ตามโลกอินเทอร์เน็ตและหนังสือคู่มือพัฒนาตัวเอง ทักษะแรกที่ ศ.ดร.นภดลเลือกจะแนะนำกลับเป็นเรื่องเบสิค ไม่ต้องมีชื่อจำยากหวือหวาอย่าง “ทักษะการเรียนรู้” โดยได้ให้เหตุผลว่าในยุคสมัยที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็วเกินกว่าใครจะคาดคิด เรื่องที่เราเคยสอนเคยเรียนกันในคลาสทุกวันนี้ ปีหน้าอาจล้าสมัยไปเสียแล้ว ฉะนั้นทักษะที่จะซึมซับเรื่องราวใหม่ ๆ เข้ามาเติมเต็มสมองอยู่ตลอดเวลาจึงสำคัญ โดยการฝึกตัวเองให้รักการเรียนรู้ โดยหัวใจสำคัญคือการที่เราต้องรู้ว่า เรียนไปแล้วได้อะไร ความรู้ชุดนี้ใช้ประโยชน์ได้จริงไหม เพื่อทำให้การเรียนอะไรสักอย่างมีความหมาย

เลือกโฟกัสบางเรื่อง เพราะยากที่จะเก่งทุกเรื่องในเวลาเดียวกัน

ในโลกนี้มีความรู้อยู่มากมายหลายศาสตร์ ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยคิดว่าการได้มีคามรู้ติดหัวไว้ยิ่งมากยิ่งดี ดังคำกล่าว ‘Why Choose? When You Can Have Them All’ อยากเก่ง อยากได้ความรู้อะไรก็เลือกช็อปปิ้งแบบบุฟเฟต์จาก Google ไปเลยสิ ทว่าระดับความจำและศักยภาพในการทำความเข้าใจของมนุษย์ก็มีจำกัด หากเทียบกับองค์ความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่รอบตัวในตอนนี้ เราจึงต้องมี “ทักษะการเลือก” เพื่อคัดกรองสิ่งที่ควรต้องเรียน และนำมาจัดลำดับความสำคัญเพื่อไม่ให้ตัวเอง Overload จนเกินไปจะดีกว่า

หมั่นสร้างทักษะที่ไม่มีใครแทนที่ได้

ยุคนี้เป็นยุคที่น่ากลัวสำหรับคนเก่ง เพราะไม่ว่าทักษะใดก็มีวี่แววว่าจะโดนปัญญาประดิษฐ์กับหุ่นยนต์เข้ามาแย่งงานได้ทุกเมื่อ ทั้งงานสายบัญชี, พิสูจน์อักษร, งานออกแบบ ไปจนถึงงานสายความคิดสร้างสรรค์อย่าง Creative Content หรือนักเขียนบทความ ก็มีข่าวว่ามีเอไอที่สามารถผลิตผลงานลักษณะนี้แทนมนุษย์ได้เช่นกัน ฉะนั้นการรับมือที่ดีที่สุดคือการ Up-Skill & Re-Skill อยู่เสมอ เพื่อสร้าง “ทักษะที่ไม่มีใครมาแทนได้” ให้เกิดขึ้นในตนเอง

ศ.ดร.นภดลได้ทิ้งท้ายว่าจากที่กล่าวมาทั้งหมดอาจไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้เลย หากคนเราขาดความเชื่อที่ว่า ตนนั้น ‘เรียนรู้และฝึกฝนได้’ ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญเช่นกัน ศ.ดร.นภดลเคยนิยามตัวเองว่าเป็น Introvert คนหนึ่ง คือไม่ชอบที่จะพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ ไม่ได้กล้าแสดงออก แต่ก็พัฒนาตัวเองจนกลายมาเป็นอาจารย์และนักจัดพอดแคสต์ในทุกวันนี้ได้ จากความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปันความรู้และเรื่องราวดี ๆ ที่ตนได้พบเจอมากให้กับคนอื่น อะไรก็ตามที่เราเคยไม่เก่ง ไม่เคยทำได้มาก่อน หากได้ลองเปิดโอกาสเพื่อฝึกฝนตนเองดูก็อาจพัฒนาจนกลายเป็นทักษะที่มีประโยชน์ต่อตัวเองและโลกใบนี้ก็เป็นได้

ในโลกยุคใหม่ที่รูปแบบการเรียนรู้และความต้องการของตลาดแรงงานเปลี่ยนไป อีกทั้งผู้คนมีการตั้งคำถามถึงความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมมือกับ SkillLane ปรับตัวรับมืออนาคตด้วย TUXSA หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ ที่ช่วยให้ธรรมศาสตร์กลับสู่การเป็น “ตลาดวิชายุคดิจิทัล” ที่ตอบโจทย์โลกสมัยใหม่ โดยเป็นปีที่ 4 แห่งความสำเร็จด้วยจำนวนผู้เรียนมากกว่า 16,000 คน รวมถึงมีนักศึกษาเรียนจบเป็นมหาบัณฑิตแล้วในปี พ.ศ.2565 นี้

ในปัจจุบัน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ทั้งไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อยู่แค่ในห้องเรียนและอาจไม่จำเป็นต้องเรียนในมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกัน สถานการณ์ของตลาดแรงงานก็เปลี่ยนไป ผลวิจัยระบุว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า งานทั่วโลกจะหายไป 85 ล้านตำแหน่ง และจะเกิดงานใหม่กว่า 97 ล้านตำแหน่ง ส่งผลให้ตลาดแรงงานยุคใหม่อาจเกิดปรากฏการณ์คนจำนวนมากไม่มีงานทำ และงานเกิดใหม่จำนวนมากไม่มีคนที่ทักษะเหมาะสมมาทำได้ กระแสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามสำคัญคือ “มหาวิทยาลัยยังจำเป็นอยู่หรือไม่” และ “หากมหาวิทยาลัยจะอยู่รอดต่อไป ควรปรับตัวและมีบทบาทอย่างไร”

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยได้ตอบคำถามเหล่านี้ผ่านการปรับตัวเพื่อตอบโจทย์อนาคต โดยร่วมกับ SkillLane แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ของไทย ได้เปิดตัว TUXSA หลักสูตรปริญญาโทในรูปแบบออนไลน์ที่ส่งมอบทักษะแห่งอนาคตให้แก่คนไทย หลักสูตรปริญญาโทนี้ทั้งตอบโจทย์การเรียนรู้ของผู้เรียนยุคใหม่และตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคตไปพร้อมกัน

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ธรรมศาสตร์มีอายุ 88 ปี เก่าแก่และมีความขลัง แต่ความขลังนี้อาจทำให้ไม่ทันโลก เราจึงต้องกลับไปเป็น 18 ใหม่อีกครั้ง โดยเราจะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี แต่หลักการทำงานของเราคือ อะไรที่ไม่เชี่ยวชาญอย่าลงทุน ให้หาพันธมิตรที่เก่งในเรื่องนี้แทน นั่นคือเหตุผลที่เราจับมือกับสตาร์ทอัปด้าน Education Technology สร้าง TUXSA ปริญญาโทออนไลน์ที่เป็นโปรแกรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่

7 จุดเด่นของหลักสูตร TUXSA  คือ

● เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ที่ต้องการจากที่ไหน เมื่อไรก็ได้

● เลือกเรียนเฉพาะวิชาที่สนใจได้

● ถ้าเลือกเรียนทั้งหลักสูตรเพื่อรับใบปริญญา จะได้รับวุฒิปริญญาโทที่มีศักดิ์และสิทธิ์เท่าปริญญาโทปกติ

● วางแผนค่าใช้จ่ายในการเรียนได้

● ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

● เนื้อหาหลักสูตรพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียน

● เรียนพร้อมทำงานได้ ไม่เสียโอกาสทางการงาน

ปัจจุบัน TUXSA เปิดสอนอยู่ทั้งหมด 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation (M.B.A. Business Innovation) ที่ผ่านการรับทราบหลักสูตรจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลักสูตรปริญญาโท Data Science for Digital Business Transformation (M.S. Digital Business Transformation)

และในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งครบรอบ 4 ปีของการก่อตั้ง TUXSA หลักสูตรปริญญาโทนี้ฉลองความสำเร็จด้วยจำนวนผู้เรียนมากกว่า 16,000 คน และมีนักศึกษาจบการศึกษาเป็นมหาบัณฑิตแล้ว ความสำเร็จของ TUXSA สะท้อนถึงการปรับตัวไปในทิศทางที่ถูกต้องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งรูปแบบการเรียนและเนื้อหา โดยมีปริญญาสนับสนุนว่าผู้เรียนผ่านการรับรองจากสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ตอนธรรมศาสตร์เกิดขึ้นมา เราเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ทุกคนเข้าถึงได้ พอเราเปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยปิด จำนวนที่นั่งก็จำกัด คนจะเข้าสู่ธรรมศาสตร์ต้องผ่านการคัดเลือกมากมาย การเปิดปริญญาโทออนไลน์ที่ชื่อ TUXSA ของเราคือการ Back to the Future ทำให้ธรรมศาสตร์กลับไปสู่จุดตั้งต้นเดิมของความเป็นตลาดวิชา แต่เทคโนโลยีทำให้เราก้าวผ่านข้อจำกัดของจำนวนที่นั่ง เวลา สถานที่ และค่าใช้จ่าย ทำให้เราตอบโจทย์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ให้กับคนในทุกเจนเนอเรชัน

สำหรับผู้ที่สนใจ ดูรายละเอียด TUXSA ได้ที่ www.skilllane.com/tuxsa

เสริมภูมิทางการเงินแก่นักสังคมสงเคราะห์และเครือข่ายทั่วประเทศ

คณะพาณิชย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์ ส่ง “ธรรมศาสตร์โมเดล”  คว้ารางวัล Silver Award ด้าน "Best Lifelong Learning Initiative 2021" จาก Association of MBAs (AMBA) องค์กรรับรองคุณภาพระดับสากลจากสหราชอาณาจักร สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา และ Business Graduates Association (BGA) องค์กรรับรองคุณภาพระดับสากลของ Business School จากสหราชอาณาจักร  

ม.ธรรมศาสตร์เป็นสถาบันการศึกษาเพียงที่เดียวในไทยและอาเซียนที่ติด 1 ใน 6 ของผู้ท้าชิงรอบสุดท้าย คณะฯ ได้แสดงให้คณะกรรมการเห็นถึงการพลิกโฉมนวัตกรรมการเรียนการสอนที่แผ่ขยายประสิทธิผลไปมากกว่าเพียงแค่นักศึกษา แต่รวมไปถึงในระดับคณะ องค์กร และชุมชนภายนอก ช่วยส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ชุมชน เพื่อยกระดับอาชีพและคุณภาพชีวิตภายใต้แนวคิดของธรรมศาสตร์โมเดล และสิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เราได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้ชนะรางวัล Best Lifelong Learning Initiative ประจำปี 2021

ศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เปิดเผยว่า คณะพาณิชย์ฯ ส่งเสริมให้นักศึกษาและบัณฑิตนำความรู้ออกไปพัฒนา ขับเคลื่อนสังคมโลก หล่อเลี้ยงธุรกิจในทุกแขนง รวมไปถึงการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน เพื่อสร้าง impact ให้กับสังคมโลกอย่างทั่วถึงและยั่งยืน   ดังนั้นเราจึงได้จับมือกับธนาคารออมสิน และสมาคมเพื่อนชุมชน จังหวัดระยอง ร่วมกันสร้าง“ธรรมศาสตร์โมเดล” ขึ้นมาเพื่อเป็นแม่แบบและแนวทางในการยกระดับชีวิตของวิสาหกิจชุมชน โดยหัวใจสำคัญของโมเดลนี้คือการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยั่งยืน แม้นักศึกษาจะจบโครงการไปแล้วชุมชนก็ยังต้องสามารถเลี้ยงตัวเองต่อไปได้  ปัจจุบัน เราได้ส่งนักศึกษาลงชุมชนมามากกว่า 170 โครงการแล้ว

“ผมภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ คณะพาณิชย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์เป็นคณะแรกและคณะเดียวในไทยและภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ  Silver Award ด้าน "Best Lifelong Learning Initiative 2021" จาก Association of MBAs (AMBA) องค์กรรับรองคุณภาพระดับสากลจากสหราชอาณาจักร สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา และ Business Graduates Association (BGA) องค์กรรับรองคุณภาพระดับสากลจากสหราชอาณาจักร  ซึ่งเราได้รับการคัดเลือก ได้แสดงให้เห็นถึงการพลิกโฉมนวัตกรรมการเรียนการสอนที่แผ่ขยายประสิทธิผลไปมากกว่าเพียงแค่นักศึกษา แต่รวมไปถึงในระดับคณะ องค์กร และชุมชนภายนอกอีกด้วย” คณบดีกล่าว พร้อมเพิ่มเติมว่า

ตัว “ธรรมศาสตร์โมเดล” มีหัวใจหลัก 3 อย่าง ด้วยกัน หากปราศจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 3 สิ่งนี้ ก็จะทำให้การพัฒนาชุมชนสะดุด ไม่ราบรื่น  ธรรมศาสตร์โมเดล เป็นหนึ่งในวิชาของโครงการ IBMP หรือหลักสูตร 5 ปี เราจะให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มีความรู้ทักษะทางด้านธุรกิจและการบัญชีในระดับหนึ่งแล้วไปลงชุมชน โดยมีคณาจารย์เป็นที่ปรึกษาโครงการ  ส่วนนี้เองคือหัวใจส่วนแรก หรือก็คือทักษะความรู้จากนักศึกษาคณะพาณิชย์ นักศึกษาจะได้นำความรู้ในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง ลงมือแก้ปัญหาจริง โดยมีชุมชนเป็นโจทย์ที่ท้าทายของพวกเขา

หัวใจที่สองก็คือชุมชน หรือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น กล่าวคือทักษะและความชำนาญในด้านอาชีพ ตัวขุมชนเอง   ก็ต้องมีทักษะเชิงปฏิบัติที่พร้อมและทันสมัย ที่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างประสบผลสำเร็จเช่นกัน

และส่วนสุดท้าย ภาคอุตสาหกรรม คือการที่องค์กรภาคอุตสาหกรรมที่เป็นพันธมิตรกับคณะพาณิชย์ฯ จะได้นำความชำนาญและประสบการณ์ตรงในสายงานมาเผยแพร่และพัฒนาอาชีพให้กับชุมชน

 

โครงการที่เราส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลคือ วิสาหกิจชุมชนคลองน้ำหู ผ้าหมักน้ำนมข้าว จ.ระยอง โดยสินค้าของชุมชนเริ่มต้นจากผ้าไทยหมักน้ำนมข้าว และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในระยะเวลา 6 เดือนที่นักศึกษาได้ลงชุมชน นักศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ การตลาด ด้านบัญชีและช่องทางการจัดจำหน่าย นักศึกษาได้เข้าไปสร้างแบรนด์และแตกไลน์ผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยและกระเป๋าผ้าที่มีดีไซน์ที่ทันสมัยขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าที่อายุน้อยลง รวมถึงสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายทางออนไลน์ และสอนชุมชนให้คำนวณต้นทุนและวางระบบบัญชี ที่น่าชื่นชมมาก ๆ ก็คือ ชุมชนได้มีการส่งหน้ากากผ้าไปขายที่เยอรมนี และฝรั่งเศส โดยถือว่าเป็นครั้งแรกของชุมชนที่มีการส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click