×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

จรวดนำวิถี "Made in Thailand ”

August 28, 2017 5472

การคิดค้นนวัตกรรม “จรวดนำวิถี”  Made in Thailand งานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) " สทป."หรือ “DTI” ที่เริ่มแนวคิดจากการเป็นอาวุธ

และนำมาพัฒนาต่อยอดประยุกต์ให้เกิดประโยชน์กับ “จรวดสำรวจทางวิทยาศาสตร์” ในระบบควบคุมอัตโนมัติของอากาศยานไร้คนขับ หรือหุ่นยนต์ 

พลเอก สมพงศ์ มุกดาสกุล 	สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ( คนกลาง)อย่างไรก็ตามตามแผนแม่บทการวิจัยพัฒนาจรวดนำวิถี ของสปท.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กระทวงกลาโหมจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการศึกษา ค้นคว้าวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ป้องกันประเทศ โดยมีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูง   และเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพ ในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนนั้น  จะมีการพัฒนาระบบอาวุธจากง่ายไปสู่ยาก โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาจรวดหลายลำกล้องไม่นำวิถี ไปสู่จรวดหลายลำกล้องนำวิถี และพัฒนาอาวุธนำวิถีแบบอื่นๆที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ นำไปสู่ก้าวที่สำคัญต่อไป คือ  การพัฒนาทรัพยากรบุคลากรให้มีองค์ความรู้ และประสบการณ์ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ  

พลอากาศตรี เจษฎา คีรีรัฐนิคม รองผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมา โครงการวิจัยและพัฒนานี้ ได้กำหนดทิศทางหรือเป้าหมายการดำเนินการของโครงการ เพื่อความมั่นคงของชาติ คือ เป็นอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยที่มีศักยภาพในระบบควบคุมการเคลื่อนที่เข้าสู่เป้าหมายในการป้องปรามสูง และมีความได้เปรียบ จากความสามารถในการเลือกเป้าหมายที่สำคัญได้อย่างแม่นยำ และใช้เพียงจำนวนน้อยก็สามารถลดทอนขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้ามได้เป็นอย่างมาก รวมทั้งยังลดโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียต่อประชาชนข้างเคียงลงด้วย 

ที่สำคัญเป็นการลดค่าใช้จ่ายการนำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ประเทศไทยต้องหันมาให้ความสำคัญกับการคิดค้นเทคโนโลยี “ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์” ให้มีความทันสมัย ซึ่งปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ คือการที่ต้องมีการวิจัยและพัฒนาในด้านนี้ให้เข้มแข็ง

ไม่เพียงใช้ในกิจการทางทหารเท่านั้น ในปัจจุบัน สทป. ยังนำโครงการวิจัยนี้มาประยุกต์ใช้ในนวัตกรรมด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ใช้กับจรวดสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ใช้ในระบบควบคุมอัตโนมัติของอากาศยานไร้คนขับ หรือหุ่นยนต์ เป็นต้น

ที่ผ่านมาการดำเนินงานในโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดนำวิถีของสปท. มีอยู่หลายโครงการ ได้แก่ โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถี DTI-1G ซึ่งรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ นำมาต่อยอดพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถีระยะยิง 80 กิโลเมตร (D11A)

รวมถึงการพัฒนาโดยการสะสมเทคโนโลยีของ สทป. ในโครงการพัฒนาจรวดสมรรถนะสูงขนาด 112 มิลลิเมตร DTI-2  ซึ่งจะมีการติดตั้งระบบนำวิถีต่อไป

สำหรับความคืบหน้าของระบบนำวิถี ที่สปท.ดำเนินการพัฒนาในปัจจุบัน คือ ระบบนำวิถีแบบ GPS/INS คือ การใช้ข้อมูลจากระบบดาวเทียมกำหนดตำแหน่ง (Global Navigation Satellite System) ร่วมกับระบบนำร่องที่อาศัยความเฉื่อย (Inertial Navigation System) เพื่อนำจรวดไปสู่พิกัดเป้าหมาย

นับว่าโครงการวิจัยฯนี้ ได้พัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยขยายผลจากจุดเริ่มต้นตามแผนแม่บทการวิจัยพัฒนาจรวดนำวิถีเมื่อหลายปีก่อน ที่มีการวิจัยและพัฒนาในระดับองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว  และเมื่อมาถึงวันนี้การวิจัยได้ยกระดับไปสู่การวิจัยที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

เช่นเดียวกับการระดมความรู้จากนักวิชาการ จากการสัมมนาเรื่อง  “ การวิจัยเทคโนโลยีระบบอาวุธนำวิถีด้วย GPS และ INS” เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ในการวิจัยและพัฒนาระบบนำวิถีของจรวด ระหว่างสทป. สถาบันการศึกษาหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเร่งให้เกิดความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว มั่นคงและยั่งยืน รวมไปถึงเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และแนวความคิด ในการวิจัยและพัฒนาระบบนำวิถีของจรวดระหว่างนักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ

โดยคาดถึงประโยชน์ที่จะได้รับเพื่อให้หน่วยงานในภาคการศึกษา และหน่วยงานวิจัยต่างๆ ได้ทราบถึงศักยภาพการวิจัยและพัฒนา ของสปท. ในเชิงวิชาการ เพื่อให้เกิดการระดมความคิดจากหลายภาคส่วนที่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยผู้ใช้ และเป็นแนวทางในการร่วมวิจัยพัฒนาของสปท.ด้านเทคโนโลยีอาวุธนำวิถีในอนาคต เพื่อใช้ในการผลิตยุทโธปกรณ์ตามความต้องการของเหล่าทัพ และยกระดับสู่อุตสาหกรรมการผลิต เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองด้านยุทโธปกรณ์ต่อไป ได้อย่างแท้จริง

X

Right Click

No right click