จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือสศอ. ซึ่งมีบทบาทในการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต หุ่นยนต์ เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถภาคการผลิต คลอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร ภาคการบริการ ขณะเดียวกันเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปพร้อมกันด้วย
เช่นเดียวกับมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของสศอ. ที่กำลังจะเริ่มขึ้นในเร็วๆนี้ โดยหลังจากที่ ครม.อนุมัติงบลงทุน เพื่อดำเนินการโครงการนี้ในลักษณะของการจับมือกับสถาบันหลักทั้งรัฐและเอกชนโดยร่วมกันพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือ
นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการ สศอ. เปิดเผยถึงมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบหลักการมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลักในการติดตามการดำเนินงานให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่
ส่วนที่ 1 ข้าราชการที่จะสนับสนุนผู้ที่จะนำระบบออโตเมชัน หรือ หุ่นยนต์ ไปใช้ในกระบวนการผลิต
ส่วนที่ 2 ผลิต
ส่วนที่ 3 สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และมีมาตรการเพิ่มเติม คือ มาตรการสนับสนุนโดยให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากร มาตรการของ BOI ที่สนับสนุนการจัดตั้งหรือเพิ่มผู้ผลิต สนับสนุนด้านเทคนิคต่าง ๆ บุคลากรและเทคโนโลยี
อีกทั้งปีนี้ได้ร่วมมือสถาบันต่าง ๆ พัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มูลค่าลงทุนกว่า 12,000 ล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย ถือว่าอยู่ในระดับต้น ๆ ของอาเซียน แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องปรับปรุงให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกระบวนการผลิต