December 24, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10972

SingularityU Thailand Summit 2018 กระตุกต่อมคิดผู้บริหารไทย

June 19, 2018 2844

Singularity University SU คือองค์กรที่มุ่งดำเนินการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นในปี พ. ศ. 2551 โดย เรย์ เคิร์ซเวล และ ปีเตอร์ ดิอาแมนทิส พร้อมเป็นพันธมิตรร่วมกับองค์กรชั้นนำต่างๆ เช่น Google, Deloitte, Genentech และ UNICEF สำนักงานใหญ่อยู่ที่ NASA Research Park ใน Silicon Valley

SU คือชุมชนการเรียนรู้ทางด้านนวัตกรรมระดับโลกซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีผลกระทบอย่างก้าวกระโดด เพื่อรับมือกับปัญหาและความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก และเพื่อสร้างอนาคตอันอุดมสมบูรณ์สำหรับมนุษย์ทุกคน

งาน SingularityU Thailand Summit 2018 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายนคือหนึ่งในกิจกรรมและโครงการที่ริเริ่มโดย บริษัท เอกซ์โพเนนเชียล วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด องค์กรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันศักยภาพของประเทศไทยสู่การเติบโตและก้าวข้ามรูปแบบระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมในปัจจุบัน โดยงานสัมมนาฯ ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการกระตุ้นให้สังคมเกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับอิทธิพลของนวัตกรรมที่มีต่อศักยภาพการทำงาน แรงงาน อุตสาหกรรม และนโยบายสาธารณะ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในวงกว้างด้วยการเปลี่ยนแปลงทางความคิดพื้นฐาน ซึ่งผลกระทบโดยรวมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสามารถเปลี่ยนโฉมทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตประจำวันของมนุษย์

งานนี้เป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้บริหารทั้งจากทางภาครัฐและผู้นำจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อร่วมรับฟังผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดเกี่ยวกับความสำเร็จและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเนื้อหา เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อนาคตของวงการแพทย์ยุคดิจิทัล อนาคตของอุตสาหกรรมพลังงาน ความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ (Cybersecurity) บล็อกเชน

เหตุที่งาน SingularityU Thailand Summit ได้รับความสนใจจากผู้บริหารจำนวนมาก เพราะว่างานเช่นนี้เกิดขึ้นทั่วโลก ในอดีตผู้สนใจจะต้องบินไปเข้าร่วมในต่างประเทศ เมื่อมีการจัดงานในประเทศไทยจึงเป็นโอกาสที่จะได้รับฟังแนวทางใหม่ๆ ในการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว

งานวันแรกหัวข้อหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจผู้ฟังได้มากคือเรื่องบล็อกเชน ที่มี Mandy Simpson จาก Singularity University มาบรรยายถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนที่จุดกำเนิดจากการสร้างบิตคอยน์ โดยซาโตชิ นากาโมโต เมื่อปี 2008 ที่มาช่วยทำให้การรับส่งเงินจากบุคคลสู่บุคคลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์น่าเชื่อถือมากขึ้น แม้จะยังมีจุดด้อยเรื่องการใช้พลังงานที่สูง และระยะเวลาที่ยาวนานในการทำธุรกรรม

แต่เทคโนโลยีบล็อกเชนที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับบิตคอยน์ก็สามารถนำมาใช้งานได้อีกหลายหลายรูปแบบ Simpson ยกตัวอย่าง เช่นในแวดวงการเงิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ริเริ่มนำเอาบล็อกเชนมาใช้กับแพลตฟอร์มการลงทุนใหม่ของตลาด ธนาคารหลายแห่งพร้อมจะใช้บล็อกเชนเพื่อทำสัญญาดิจิทัล

กับระบบโลจิสติกส์ ก็สามารถนำมาใช้งานในการติดตามและควบคุมการขนส่งต่างๆ ได้ รวมถึงมีการนำบล็อกเชนมาใช้เพื่อติดตามอาหารเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารที่รับประทานว่าจะไม่มีการปนเปื้อน

บล็อกเชนยังช่วยให้การซื้อขายสินค้าที่น่าสงสัยเช่น เพชรที่บางครั้งมีปัญหาการใช้แรงงานทาส หรือเป็นเพชรที่มาจากแหล่งที่มีปัญหา ก็สามารถใช้บล็อกเชนติดตามที่มาที่ไปของเพชรแต่ละเม็ดได้

และอีกเรื่องคือการทำสัญญาอัจฉริยะ ที่ช่วยทำให้การบังคับใช้สัญญาเป็นไปตามที่กำหนดโดยอัตโนมัติโดยบล็อกเชน

Simpson บอกว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเหมือนกับอินเทอร์เน็ตในยุคแรก ยังมีหนทางอีกยาวไกลสำหรับเทคโนโลยีนี้ เพราะเทคโนโลยีนี้เป็นหนทางใหม่ในการสร้างความน่าเชื่อถือ พร้อมกับแนะนำผู้ที่สนใจจะใช้งานเทคโนโลยีนี้ว่า ควรเริ่มจากมองหาผู้ที่ใช้งานเทคโนโลยีนี้อยู่แล้วหรือเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการที่มีอยู่ก่อน

นี่คือตัวอย่างหนึ่งของเนื้อหาในงานที่เกิดขึ้น

ดร.จอห์น เลสลี่ มิลลาร์ จาก บริษัท เอกซ์โพเนนเชียล วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กล่าวว่า “SingularityU Thailand Summit ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นงานนำร่องชิ้นแรกของเรา ได้ดึงดูดผู้นำด้านนวัตกรรมในภูมิภาคเข้าสู่การพูดคุยเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคของเราในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด แม้ว่าสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย อาจยังไม่ได้อยู่ในฐานะผู้นำของโลกด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม แต่การมอบเครื่องมือและการสร้างความตระหนักรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดจะสามารถเป็นตัวจุดประกายนวัตกรรมใหม่ๆ และชุมชนนักคิดที่จะสามารถขยายตัวไปทั่วภูมิภาคได้ นอกจากนี้ ในฐานะศูนย์กลางของเทคโนโลยีประยุกต์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีศักยภาพในการร่วมพัฒนาความยั่งยืนในระดับโลก แต่ก้าวแรกที่สำคัญ ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากงานสัมมนาฯ ในครั้งนี้คือ การจุดประกายการพูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของการเติบโตแบบก้าวกระโดดภายในภูมิภาค โดยจากงานสัมมนาฯ คาดว่า เราจะได้เห็นอนาคตที่เหล่าผู้นำจะได้รวมกลุ่มกันสร้างการเติบโต ทั้งในภาคส่วนของตนและกับส่วนอื่นๆ ร่วมกัน”

X

Right Click

No right click