×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

สตาร์ทอัพไทยเจ๋ง ลีฟคลีน เทคโนโลยี จับมือบริษัทเกาหลีพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฆ่าเชื้อแบบแห้ง ซีทัช (Z-Touch)  นวัตกรรมแผ่นป้องกันและกำจัดเชื้อไวรัสโควิด-19 ติดตั้งบริเวณจุดสัมผัสร่วม

นำร่องครั้งแรกที่คลองเปรมประชากร พร้อมเตรียมเดินหน้าโครงการต่อเนื่อง ที่คลองแสนแสบและแม่น้ำท่าจีน

กรุงเทพฯ/ 2 มีนาคม 2563 – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ส์ จำกัด ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลก ครองอันดับ 5 ของบริษัทที่ทุ่มงบประมาณในด้านการวิจัยและพัฒนามากที่สุดของโลก ตามข้อมูลของ 2019 EU Industrial R&D Investment Scoreboard ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง ซึ่งการศึกษานี้จัดทำโดยคณะกรรมาธิการยุโรป

หัวเว่ยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทที่ทุ่มเทเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละปีบริษัทจะทุ่มรายได้จากยอดขายราวร้อยละ 10 – 15 ไปกับงานด้าน R&D โดยเฉพาะ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทได้ใช้งบราว 70,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 2.2 ล้านล้านบาท) ไปในด้านวิจัยและพัฒนา และได้เริ่มดำเนินการวิจัยเทคโนโลยี 5G ตั้งแต่ปี 2552 ด้วยการลงทุนงบกว่า 4,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ราว 12.7 หมื่นล้านบาท)

ในขณะที่ทั่วโลกเริ่มเปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ มร. เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย ได้เปิดเผยเมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า บริษัทได้เริ่มศึกษาพัฒนาเทคโนโลยี 6G แล้ว ซึ่งจะมอบความเร็วที่สูงกว่า 5G ถึง 100 เท่า “ความจริงแล้วเราพัฒนา 5G และ 6G ไปพร้อม ๆ กัน โดยเราเริ่มงานวิจัย ด้าน 6G มานานแล้ว” มร. เหริน กล่าว “แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่เฟสแรก ๆ และเราก็คิดว่าการใช้งาน 6G เชิงพาณิชย์ยังต้องรอไปอีกประมาณ 10 ปี” เขาอธิบาย

ปัจจุบันหัวเว่ยเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี 5G ร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกเพื่อมอบบริการที่ครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น บริษัทเปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าได้ลงนามในสัญญา 5G เชิงพาณิชย์ไปแล้วกว่า 90 ฉบับทั่ว

สร้างนวัตกรรมอุทิศต่อสังคม : “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคพยาธิเส้นด้ายในคนแบบรวดเร็ว ช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิต” ณ ห้องประชุมสารสิน ตึกสิริคุณากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดนวัตกรรม “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับและชุดทดสอบโรคพยาธิเส้นด้ายแบบรวดเร็ว” ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะนักเทคนิคการแพทย์ ที่จะนำชุดทดสอบโรคฯ ดังกล่าวไปใช้ใน รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจน นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นำไปใช้ประโยชน์

การคิดค้นครั้งนี้ มีที่มาจากในแต่ละปีโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นปัญหาคร่าชีวิตคนไทยโดยเฉพาะชาวอีสานอัตราสูงสุดของโลก มีประชากรอีสานที่เสียชีวิตจากมะเร็งท่อน้ำดี ปีละกว่าสองหมื่นคน จำนวนกว่า 6 ล้านคน ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จากการบริโภคอาหารโดยเฉพาะก้อยปลาที่มีระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ การติดพยาธิซ้ำหลายครั้งร่วมกับปัจจัยก่อมะเร็งอื่น ทำให้เกิดการอักเสบของท่อน้ำดีจนเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี ที่ผ่านมารัฐต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาพยาบาลจำนวนมาก ในขั้นตอนการตรวจคัดกรองเพื่อติดตามหาผู้ติดเชื้อพยาธิ โดยการตรวจอุจจาระ ต้องใช้บุคลากรนักปรสิตที่น่าเชื่อถือและใช้เวลานานต้องการ และในรายที่ติดเชื้อเรื้อรังไม่สามารถตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระได้ นอกจากนี้การตรวจคัดกรองด้วยอัลตร้าซาวน์ตับในบุคคลกลุ่มเสี่ยงก็มีค่าใช้จ่ายสูง

Image preview

 

ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับในคนนี้ ผลิตด้วยมาตรฐาน ISO 13485 ถือเป็น นวัตกรรมชุดทดสอบแบบรวดเร็วที่ทันสมัยชุดแรกของโลก ใช้วินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับทั้งชนิดโอพิสทอร์คิส วิเวอรินี่ ที่พบในคนไทย และชนิดคลอนอร์คิส ไซเนนสิส ที่พบในจีน เกาหลี และเวียดนาม ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “แลทเทอรัลโฟลว์” (Lateral flow) คล้ายชุดตรวจการตั้งครรภ์ ที่ใช้ตรวจหาแอนติบอดีในน้ำเลือด (ซีรั่ม) ของคน ซึ่งใช้งานง่าย สะดวก อ่านผลด้วยตาเปล่า ณ จุดทดสอบ ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง บุคลากรในห้องปฏิบัติการทั่วไปสามารถใช้ชุดทดสอบได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

Page 4 of 6
X

Right Click

No right click