กรุงเทพฯ/ 15 ธันวาคม 2566 – นักเทคโนโลยีไทยโชว์ผลงานนวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ “งานวิจัยนวัตกรรมการรักษามะเร็ง” คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น 2566 และ “งานวิจัยเทคโนโลยีฐานในการสังเคราะห์ยา” และ “งานวิจัยวัสดุดูดซับโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม” คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2566 ในงาน Outstanding Technologist Awards and TechInno Forum 2023 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งนอกจากการแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลต่าง ๆ แล้ว ยังมีส่วนของงานสัมมนา TechInno Forum 2023 ภายใต้หัวข้อ “Healthy Living” ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญมากมายหลายด้านมาร่วมแบ่งปันเทรนด์และองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงาน Outstanding Technologist Awards and TechInno Forum 2023 ในหัวข้อ “Healthy Living” เพื่อเป็นแพลตฟอร์มแบ่งปันความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญและนักเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก รวมทั้งเชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทย ซึ่งผ่านเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่นและรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2566 โดยงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนการจัดงานจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และเอสซีจี

 

ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และประธานกลุ่มบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า “การจัดงานในปีนี้มุ่งเน้นต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้งานจริง เราจึงจัด TechInno Mart ให้นักวิจัยจากไทยและต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ได้มาจัดแสดงผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ เพื่อนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยเหล่านี้ไปต่อยอดพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป”

มอบรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีมอบรางวัลและร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายและผู้ชนะรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้

รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

1. ศาสตราจารย์ นพ. สุรเดช หงส์อิง, รองศาสตราจารย์ นพ. อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงาน: การค้นพบและวิจัยการพัฒนานวัตกรรมการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดที่ผ่านการแปลงพันธุกรรมตัวรับแอนติเจนจำเพาะ chimeric antigen receptors T-cell (CAR-T) ด้วยเทคโนโลยีเซลล์และยีนบำบัด

 

รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 2 รางวัล ได้แก่

1. ดร. ภก. นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์ สังกัดศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ผลงาน: การวิจัยเทคโนโลยีฐานในการสังเคราะห์ยา

2. ผศ. ดร. กนกวรรณ กองพัฒน์พาณิชย์ สังกัดสำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี ผลงาน: วิจัยโครงข่ายโลหะอินทรีย์เพื่อใช้เป็นวัสดุดูดซับโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

โดยนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะเข้ารับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 49 ในวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

 

ในโอกาสนี้ รศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบช่อดอกไม้ พร้อมกล่าวแสดงความยินดีแก่ทุกท่านที่ได้รับรางวัลว่า “ในนามของมูลนิธิฯ ผมขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลทุกท่าน และขอขอบคุณที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานอย่างต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ ผลงานของทุกท่านจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาในวงการนี้ต่อไป รางวัลนี้ไม่เพียงเชิดชูเทคโนโลยีไทยที่ประสบความสำเร็จ และยังช่วยผลักดันความสามารถทางวิชาการของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึง TMA ที่ให้การสนับสนุน สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงนักวิจัยและธุรกิจ ให้สามารถนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเหล่านี้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป”

ภายในงานยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยที่ประสบความสำเร็จจากทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มานำเสนอผลงานและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อต่อยอดการค้นพบ จับคู่ธุรกิจและพัฒนาเพื่อประโยชน์ของคนในวงกว้างอีกด้วย อาทิ Breathology เครื่องเป่าวัดระดับน้ำตาลในเลือด, Biomede สตาร์ทอัพจากฝรั่งเศส ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำให้ดินที่ใช้ในการ

เพาะปลูกพืชที่ปนเปื้อนสารโลหะหนัก กลับมาสะอาดและมีคุณภาพดี, BlueTree เป็นบริษัทระดับโลกที่ทำการผลิตน้ำตาลทดแทนรสชาติเยี่ยม เพื่อลดการใช้น้ำตาลจากธรรมชาติในเครื่องดื่ม, Genfosis ให้บริการ Preventive Healthcare Solution โดยทดสอบวิเคราะห์จาก DNA เพื่อทราบถึงความเสี่ยง โอกาสในการเกิดโรค และแนวทางในการทำ Preventive Healthcare ไม่ให้เกิดโรค เป็นต้น

Inspiring the Future of Healthy Living

ในส่วนของงานสัมมนา TechInno Forum 2023 ภายใต้หัวข้อ “Healthy Living” เริ่มต้นด้วยการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “เมกะเทรนด์” โดยคุณอนุชา มาจำปา Country Head ประจำประเทศไทย บริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (ไทยแลนด์) จำกัด ที่กล่าวถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมไปถึงภาวะวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Permacrisis) ทำให้เกิดผลกระทบ 4 ประการ คือ 1) คนคิดมากขึ้นเมื่อจะใช้จ่ายเงินแต่ละครั้ง 2) ให้ความสำคัญกับสินค้าที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน 3) ให้การสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นมากขึ้น และ 4) ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น ทำให้เกิดเมกะเทรนด์ ดังต่อไปนี้ เมกะเทรนด์ที่ 1 Traditional to Future Family พบว่าขนาดของครอบครัวลดลง เมกะเทรนด์ที่ 2 Pensioner Boom พบว่ามีแนวโน้มสัดส่วนผู้เกษียณอายุมากยิ่งขึ้น เมกะเทรนด์ที่ 3 Sustainable Living พบว่าคนพยายามสรรหาแนวทางในการลดผลกระทบเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม เมกะเทรนด์ที่ 4 Preventative Health Models คือปรับก่อนป่วย การกินอาหารที่ดี ออกกำลังกาย อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เมกะเทรนด์ที่ 5 Personalized Nutrition มีการตรวจว่าขาดสารอาหารอะไร มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอะไร เพื่อจัดเตรียมยาสำหรับแต่ละคนโดยเฉพาะ และเมกะเทรนด์ที่ 6 Mental Health เรื่องของสุขภาพจิตมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ทางด้านคุณอริยะ พนมยงค์ Co-CEO บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) และ CEO & Founder บริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่นนอล จำกัด ได้บรรยายถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี และเน้นย้ำว่าไลฟ์สไตล์เป็นสิ่งสำคัญ และกล่าวอธิบายถึงเทคโนโลยีด้านสุขภาพว่า ความท้าทายในเรื่องนวัตกรรมและการทรานส์ฟอร์เมชั่น จำเป็นต้องให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง คือ 1) Users First, Not you first ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานเป็นลำดับแรก 2) Being a Platform ต้องเป็นแพลตฟอร์ม Universal เหมือน Google, Line, Facebook ไม่ยึดติดกับชื่อของโรงพยาบาล 3) Fixing the Obvious ต้องแก้ไขสิ่งที่จำเป็นและเห็นได้ชัดว่าเป็นปัญหา

ในการบรรยายหัวข้อ Food for Life: Innovation for Health and Environment ดร. อัลลัน ลิม (Dr. Allan Lim) Head of Open Innovation บริษัท ศูนย์วิจัยและพัฒนา เนสท์เล่ จำกัด สิงคโปร์ ได้กล่าวถึงความท้าทายสำคัญที่เกิดขึ้นด้านอาหารคือ จะทำอย่างไรให้มีอาหารเพียงพอกับการบริโภคของประชากร 10 พันล้านคนทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2050 โดยเนสท์เล่พยายามสร้าง Sustainable foods ให้เกิดขึ้นตาม Net Zero Roadmap ของเนสท์เล่ ที่ครอบคุลมตั้งแต่ต้นน้ำ (Sourcing) ไปจนถึงกลางน้ำ การผลิตและบรรจุ (Manufacturing และ Packaging) ถึงขั้นสุดท้ายคือผู้บริโภค

ทั้งนี้ การวิจัยพัฒนา (R&D) ของเนสท์เล่ ให้ความสำคัญใน 5 แพลตฟอร์มหลัก ได้แก่ 1) แนวโน้มอาหารใหม่ (New Food Trends) 2) อาหารว่างเพื่อสุขภาพ (Healthy Snacking) 3) การมีชีวิตยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี (Healthy Aging) 4) สารอาหารที่สามารถจ่ายได้ (Affordable Nutrition) และ 5) บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน (Sustainable Packaging) โดยการสำรวจผู้บริโภคของเนสท์เล่ เน้นการค้นพบ เช่น การทำ Social Listening เพื่อการ Track Sentiment และ Perception ของผู้บริโภคต่อ Ingredients รวมถึงมีการทำ Open Innovation ทำ R&D Accelerator ที่สามารถเร่งกระบวนการวิจัยและการผลิตภายใน 6 เดือน โดยเชื่อว่า “Test and Learn” คือแนวทางที่ควรปฏิบัติ รวมถึงร่วมมือกับบริษัทในท้องถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับเส้นทางแห่งนวัตกรรมนี้ร่วมกันได้

นอกจากนี้ ในงานยังได้มีการนำเสนอเรื่อง TechInno for Healthy Living โดยคุณวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องมาตรฐานอากาศ ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการใช้ชีวิตของคนไทย ทำให้เอสซีจีได้พัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพอากาศออกมาช่วยลดปัญหา เช่น เทคโนโลยี Air Filter ซึ่งเป็นอุปกรณ์กรองอากาศคุณภาพสูงที่ใช้ในอาคาร, ระบบไอออนกำจัด

เชื้อโรค (Ion Technology) ที่มีขึ้นมาในช่วงโควิด 19, เทคโนโลยีการหมุนเวียนอากาศ กรองฝุ่น PM 2.5 ลดกลิ่น และป้องกันเชื้อโรค เป็นต้น

ในส่วนของดร. สืบสกุล โทนแจ้ง ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรม บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ได้บรรยายถึงแนวโน้มเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านเฮลธ์แคร์ว่า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อแนวโน้มเทคโนโลยีด้านเฮลธ์แคร์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น โลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ ทั้งผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นและการอพยพข้ามถิ่นฐาน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ต้องมีการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาใช้ทำ Preventive care ให้แก่ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาทางไกล การเชื่อมต่ออุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ของโรงพยาบาลเข้าด้วยกัน การนำ AI and Machine Learning มาใช้เพื่อประเมินอาการ AR/VR/MR การนำเทคโนโลยีภาพเสมือนมาใช้ในระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทำให้วางแนวทางการรักษาได้รวดเร็วมากขึ้น Blockchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทางการแพทย์ส่วนบุคคล และการทำ Big Data & Predictive Analytics ให้สามารถคาดการณ์อาการของคนไข้ในอนาคตที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้ทำ Preventive cares ได้

ท่ามกลางกระแสรักษ์โลก ที่ทุกภาคส่วนในสังคมกำลังมุ่งมั่นเดินหน้าไปสู่การสร้าง “สังคมคาร์บอนต่ำ” มีหลายธุรกิจชั้นนำระดับโลกที่พัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นจริงแล้ว และนำมาแบ่งปันแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมาร่วมก้าวไปพร้อมกัน ในงาน ESG Symposium 2023: ร่วม เร่ง เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ 

ขนส่งและเดินทางด้วย “รถประหยัดพลังงาน (Green Logistic)”

ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคของความเป็นกลางทางคาร์บอน และมีความต้องการที่ต้องเปลี่ยนยานยนต์ทุกคันเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ BEV และพลังงานสะอาด ซึ่งในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของภาครัฐ

มร.ฮิโรกิ นาคาจิม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนไม่ใช่สิ่งที่บริษัทเดียวจะทำได้โดยลำพัง จึงได้มีการริเริ่มความร่วมมือกับระหว่างบริษัทรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศญี่ปุ่นและได้ก่อตั้งบริษัทภายใต้ชื่อ “Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPT” เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้รถที่มีเทคโนโลยีหลากหลาย รวมถึงรถจากพลังงานสะอาด และรถที่มีคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการขนส่ง โดยได้ขยายความร่วมมือดังกล่าวมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับโลก “Detroit of Asia” สำหรับรถยนต์เชิงพาณิชย์

 

นอกจากนี้ มร.นาคาจิม่ายังได้เปิดเผยถึงความร่วมมือที่บริษัท CJPT มีความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และเอสซีจี เพื่อผลักดันให้ไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมรักษ์โลก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ทั้งการผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากชีวมวล และอาหารเหลือทิ้ง รวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ด้านการใช้ข้อมูล (Big Data) และโครงสร้างพื้นฐานด้านการโทรคมนาคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ และด้านการเดินทาง โดยการนำเสนอยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ได้แก่ รถพลังงานไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) รวมถึงยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับด้านพลังงาน ลูกค้า รวมทั้งรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้งาน

โดยในความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บริษัท CJPT ได้ร่วมมือในการผลิตพลังงานไฮโดรเจนที่มาจากพลังงานไบโอก๊าซ หรือ “ก๊าซชีวภาพ” ซึ่งหมักโดยใช้มูลไก่จากฟาร์มของ CP และนำไปใช้ในภาคขนส่ง ซึ่งเป็นการนำของเสียจากการผลิตภาคการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า และใช้ประโยชน์ให้เป็นพลังงานสะอาดสำหรับรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) ซึ่งถือเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดโลกร้อนได้ด้วย

ส่วนกรณีศึกษาในประเทศญี่ปุ่น มร.นาคาจิม่าเล่าว่า

กรณีแรกคือ CJPT ได้ริเริ่มให้มีการใช้ “ไฮโดรเจน” ในเมืองฟุกุชิมะ ในรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ซึ่งใช้เป็นร้านสะดวกซื้อและการขนส่ง สำหรับประชากรกว่า 300,000 คน โดยสามารถขยายไปสู่เมืองอื่น ๆ ได้ในอนาคต

กรณีที่สองคือ ในกรุงโตเกียว ที่ CJPT ร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ในการส่งเสริมการสร้างสถานีชาร์จสำหรับรถ BEV และไฮโดรเจนสำหรับรถ FCEVs เพื่อขยายการใช้รถยนต์พลังงานสะอาด ขณะเดียวกันกระจายการใช้พลังงาน

เร่งเครื่อง “พลังงานสะอาด”

จากการที่ภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้พลังงานความร้อนในการผลิต แต่ในยุคที่ทั่วโลกเริ่มปรับตัวมาใช้พลังงานสะอาดแทน จอห์น โอดอนเนลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Rondo Energy กล่าวว่า ถึงแม้การเปลี่ยนผ่านนี้ถือเป็น “โจทย์ยาก” แต่สามารถเป็นไปได้

โอดอนเนลล์ อธิบายว่า ไทยเป็นตลาดสำคัญของบริษัทในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานพลังงานใหญ่ระดับโลกเพื่อนำไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งบริษัทกำลังทำงานกับเอสซีจีเพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมในไทยใช้พลังงานสะอาดและต้นทุนต่ำ ที่สำคัญ “เมื่อรักษ์โลกแล้ว ต้องทำเงินได้ด้วย”

“การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานนั้นแม้เป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นโอกาสเช่นกัน เพราะปัจจัยพื้นฐานในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว” โอดอนเนลล์กล่าว “แหล่งพลังงานสะอาดทั้งจากแสงแดดและลมขณะนี้ถือว่าต้นทุนต่ำมาก ๆ อยู่ที่ใครจะกล้าลงทุนหรือไม่”

อีกทั้งยังเป็นโอกาสครั้งใหญ่สุดแห่งยุค “ขณะนี้พลังงานสะอาดกำลังขับเคลื่อนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม และจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกใน 50 ปีข้างหน้า”

โอดอนเนลล์ เปิดเผยด้วยว่า บริษัทได้ร่วมกับเอสซีจีในการผลิตอิฐแบบพิเศษที่เก็บความร้อนได้กว่า 1,500 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ความร้อนซึ่งสามารถแปลงพลังงานสะอาดจาก “ลม” และ “แสงแดด” ให้เป็นพลังงานความร้อนที่สามารถใช้ได้ในภาคอุตสาหกรรม

ขณะเดียวกัน เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมและแสงแดดสูง และต้นทุนพลังงานสะอาดกำลังมีต้นทุนที่ถูกลงเรื่อย ๆ จนขณะนี้มีต้นทุนถูกกว่าพลังงานฟอสซิล ดังนั้น พลังงานเหล่านี้จึงสามารถตอบโจทย์การใช้พลังงานความร้อนในภาคอุตสาหกรรมได้

“นวัตกรรมแบตเตอรี่เก็บความร้อนจากพลังงานสะอาดสำหรับภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่” โอดอนเนลล์ระบุ

“ไบโอพลาสติก” ลดคาร์บอน

ในขณะนี้ จำนวนประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความต้องการใช้ทรัพยากรโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากบราซิล บริษัท Braskem จึงได้ริเริ่มนำประโยชน์ที่ได้จากการผลิตเอทานอลจากอ้อย มาผลิตเป็น “ไบโอพลาสติก” ที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

โรเจอร์ มาร์คิโอนี ผู้อำนวยการเอเชีย ฝ่ายโอเลฟินส์และโพลีโอเลฟินส์ บริษัท Braskem กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทสามารถผลิตไบโอพลาสติกจากอ้อยซึ่งสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก สอดรับกับความต้องการพลาสติกชีวภาพในตลาด

ล่าสุด จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่กับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล ซึ่งมีกำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปี ภายใต้แบรนด์ I’m green™ (แอมกรีน) และยังสามารถนำไปผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ดูแลบ้าน ของเล่น เครื่องใช้ในบ้าน ถุงพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Mechanical recycling และ Advanced recycling เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผสมผสานความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพของ Braskem เข้ากับความเชี่ยวชาญของ SCGC ในด้านการผลิตพอลิเอทิลีน รวมทั้งศักยภาพของ SCGC ที่เป็นผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาคโดยโรงงานของบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทย และถือเป็นโรงงานผลิต I’m green™ แห่งแรกนอกประเทศบราซิล

จากกรณีตัวอย่างนวัตกรรมคาร์บอนต่ำจากหลากหลายธุรกิจทั่วโลกข้างต้น จะเห็นได้ว่า ขณะนี้ โลกกำลังมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และสามารถเกิดขึ้นจริงได้หากทุกคนร่วมมือกัน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดผลกระทบต่อโลกยังเป็นอีกหนึ่ง “ทางรอด” ท่ามกลางภาวะโลกเดือดในปัจจุบันด้วย

 CIS 2023 - Corporate Innovation Summit  งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบลงมือทำที่ครั้งใหญ่ในเอเชีย จัดโดย RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค

RISE เผยถึงธีมหลักของการจัดงานปีนี้ คือ “Accelerating Growth While Saving The World” ที่ต้องการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจและประเทศไทย รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสร้างความเติบโตทางธุรกิจแบบ ก้าวกระโดด และการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลักของ RISE ในการขับเคลื่อน 1% GDP ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโลกให้ได้ 1%

ในปีนี้ RISE มุ่งขยายความสำเร็จจากงานในปีก่อนๆ โดยมีผู้บริหารระดับสูงและเจ้าของธุรกิจเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน สปีกเกอร์ระดับโลกมากกว่า 100 คน และเวิร์คช็อปมากกว่า 60 หัวข้อ รวมไปถึง โชว์เคสสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงกว่า 60 บริษัทจากทั่วโลก

ทั้งนี้ สปีกเกอร์ซึ่งถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของงาน CIS 2023 คือ

- Chris Cowart, Managing Director จาก Nomura-SRI Innovation Center ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้าง Siri ใน iPhone, อดีต Associate Partner ของ IDEO บริษัทที่ปรึกษาด้านการดีไซน์ระดับโลกที่อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมเม้าส์คอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก

- Lake Dai ศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน AI จาก Carnegie Mellon University ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ด้าน AI ของโลกและเจ้าของ #RealAIusecases ผู้วิเคราะห์ผลกระทบของ AI ต่อกลยุทธ์ธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมและนำเสนอหนทางรอดของมวลมนุษยชาติ

- Christopher Mowry, CEO, Type One Energy, บริษัทพลังงานสะอาดแรกของโลก ที่มีแผนนำเอานิวเคลียร์ฟิวชั่นมาให้บริการกับผู้บริโภค โดยได้รับเงินให้เปล่าจากกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ และได้รับเงินลงทุนจาก Breakthrough Energy Ventures ของ Bill Gates

- Michelle Khoo, Center Leader of Center of the Edgte จาก Deloitte SG ที่เป็นบริษัทให้คำปรึกษาแนวหน้าที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโลกจากโอกาสทางธุรกิจและเทคโนโลยี

- 2 ผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก เช่น Jackie Wang, Country Director, Google Thailand และ แพร ดำรงค์มงคลกุล Country Director ประจำ Meta Thailand

CIS 2023 จะดำเนินไปภายใต้ 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ Corporate Innovation, Sustainability, Deep Technology, People Transformation และ Future of Investment ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความเคลื่อนไหวของโลกที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเลชั้นนำระดับโลก เปิดบ้านต้อนรับกลุ่มนักธุรกิจ Food Tech Startup 12 ราย จากประเทศอิสราเอล และคณะทำงานจากสถานฑูตอิสราเอล เข้าเยี่ยมชม ศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน หรือ Global Innovation Center (GIC) เพื่อดูงานด้านการวิจัยและพัฒนาด้านอาหารแบบยั่งยืนและหลากหลายภายใต้กลยุทธ์ SeaChange®2030 พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมอาหารจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมี ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการ และนายธวัช สุธาสินีนนท์ รองผู้อำนวยการ ดร.คริสโตเฟอร์ ออแรนด์ หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมแบบเปิดไทยยูเนี่ยนและคณะกรรมการโครงการ สเปซ-เอฟ ให้การต้อนรับ ณ อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์

· เผยพอร์ตโฟลิโอ 5G ล้ำสมัย พร้อมสาธิตเทคโนโลยีล่าสุดมากมายในงาน Ericsson Imagine Live Thailand 2023

· อีริคสันเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทยผ่านเทคโนโลยี 5G

· อีริคสันนำความเชี่ยวชาญระดับโลกและความเป็นผู้นำเทคโนโลยี มาสนับสนุนลูกค้าในประเทศไทยก้าวสู่ผู้นำ 5G ระดับแถวหน้า

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) เปิดงาน Imagine Live Thailand 2023 นำยูสเคสและนวัตกรรมเทคโนโลยี 5G ขั้นสูง ที่เปิดตัวในงาน Mobile World Congress ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ มาจัดแสดงในประเทศไทย โดยมีเทคโนโลยีและโซลูชันไฮไลท์ล่าสุด ประกอบด้วย โซลูชันสื่อสารวิทยุประหยัดพลังงาน (Energy Efficient Radio Solutions), การสื่อสารผ่านโฮโลแกรม (Holographic Communications), เทคโนโลยี Digital Twin และระบบเครือข่ายอัตโนมัติ (Network Automation) รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมากมายที่นำมาจัดแสดงไว้ภายในงาน

หนึ่งในไฮไลท์ที่นำมาจัดแสดง คือ ผลิตภัณฑ์ Radio 4466 ที่สามารถรองรับย่านความถี่ 1800MHz, 2100MHz และ 2300MHz ที่มีในประเทศไทย โดยผลิตภัณฑ์นี้เป็น Triple-Band Radio 4466 รุ่นล่าสุดของอีริคสัน ที่มีความสามารถเสริมศักยภาพการให้บริการ 4G และ 5G ข้ามย่านความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยผลิตภัณฑ์เดียวแก่ผู้ให้บริการไทย และยังช่วยประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน รวมถึงจำนวนสถานีฐาน ซึ่ง Radio 4466 ยังอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Ericsson Radio Access Network ที่สามารถจัดการความท้าทายในการติดตั้งสถานีฐานพร้อมช่วยประหยัดพลังงานเป็นอย่างมาก

ในฐานะพันธมิตรที่เชื่อถือได้ในประเทศไทย อีริคสันมุ่งนำเสนอความเชี่ยวชาญระดับโลกและความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนลูกค้าในประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ผู้นำ 5G ชั้นแนวหน้า มร.อิกอร์ มอเรล ประธาน บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “การสร้างเครือข่าย 5G ประสิทธิภาพสูงและเน้นการประหยัดพลังงานเป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์สำคัญของเราที่ต้องการสร้างเครือข่ายในอนาคตที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืน ด้วยพอร์ตโฟลิโอการใช้ 5G ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานของอีริคสัน เรากำลังจัดการกับหนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของเรา นั่นคือการลดการใช้พลังงานของเครือข่ายและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะที่การใช้งาน 5G มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เป้าหมายของเราคือการไปสู่อนาคตคาร์บอนต่ำพร้อมกับการเร่งประสบการณ์ 5G” อีริคสันลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาปีละประมาณ 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 18% ของยอดขาย

ประเทศไทยคือผู้นำคลื่น 5G อย่างชัดเจน จากการคาดการณ์ของอีริคสันระบุ ช่วงสิ้นปี 2565 พบว่า 5G ครอบคลุมมากกว่า 85% ของประชากรทั้งหมด ขณะที่ปริมาณการใช้ข้อมูลต่อการสมัครสมาชิกในประเทศไทยคาดว่าภายในปี 2568 จะเติบโตเพิ่มเป็นเกือบ 80 กิกะไบต์ต่อเดือน เพิ่มจาก 32.7 กิกะไบต์

ต่อเดือน ในปี 2565 และคาดว่าในปี 2571 จะเพิ่มขึ้น 3 เท่า โดยคาดว่า 5G จะสามารถรองรับความต้องการประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของเครือข่ายได้

“ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความไดนามิกสูง และมีผู้บริโภคที่เข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศและใช้งานมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ด้วยอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม 4.0 ในประเทศตามเป้าหมาย Digital Thailand ของรัฐบาล ทำให้การเชื่อมต่อต้องมีความมั่นใจได้ ปลอดภัยและแข็งแกร่ง โดยความซับซ้อนที่เครือข่ายจำเป็นต้องจัดการทำให้เกิดความต้องการใหม่ ๆ ในการดำเนินงานของเครือข่าย การดึงศักยภาพจากเทคโนโลยี อย่างเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) มาปรับใช้จะช่วยผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในประเทศไทยสามารถจัดการความซับซ้อนของเครือข่ายที่กำลังเติบโตได้ ตามที่เราเห็นการพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ ๆ บนเครือข่าย 5G” มร.อิกอร์ กล่าวเพิ่มเติม

แนวทาง Zero-Touch Operation กำลังกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยของอนาคตการดำเนินงานบนเครือข่ายที่ต้องมีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง Zero-Touch ช่วยผู้ให้บริการสามารถจัดการเครือข่ายโดยใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อน คาดการณ์ล่วงหน้าและดำเนินการแบบเชิงรุกได้มากขึ้น โดยระบบเครือข่ายอัตโนมัติยังช่วยลดกิจกรรมที่ต้องดำเนินการด้วยตนเองลง และทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีความคล่องตัวในการทำธุรกิจมากขึ้น

ในฐานะหนึ่งในผู้นำด้านไอซีทีระดับโลก อีริคสันกำลังใช้ศักยภาพจากบริการบรอดแบนด์มือถือขั้นสูง เทคโนโลยี Fixed Wireless Access (FWA) และเทคโนโลยี 5G มารองรับการเติบโตโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศไทย “เรากำลังใช้ศักยภาพทั้งในด้านความเชี่ยวชาญระดับโลกและความเป็นผู้นำเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนลูกค้าในประเทศไทย ก้าวไปเป็นผู้นำแถวหน้า 5G ผ่านความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรมและพันธมิตรของเราในประเทศไทย และเรายังมุ่งมั่นเร่งสร้างนวัตกรรมและระบบนิเวศ 5G ที่แข็งแกร่งในประเทศไทย” มร.อิกอร์ กล่าวเพิ่ม

อีริคสัน เปิดให้บริการเครือข่าย 5G ไปแล้วจำนวน 152 เครือข่าย ใน 65 ประเทศ บริษัทฯ ยังได้รับการจัดอันดับเป็นผู้นำอันดับ 1 ในรายงาน Frost Radar™ 5G Network Infrastructure Market 2023 เป็นปีที่สามติดต่อกัน แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ 5G Radio Access Networks (RAN), Transport networks, และ Core Networks

Page 2 of 6
X

Right Click

No right click