×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2562 (NSTDA Annual Conference: NAC2019) ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจแห่งอนาคตไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Moving Towards Thailand’s Future Economy with Science, Technology and Innovation)” ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 15 ระหว่างวันที่ 25 - 28 มีนาคม 2562 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี  โดยภายในงานมีการแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบ กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน และการสัมมนาที่น่าสนใจจากผู้ทรงคุณวุฒิและอบรมเชิงปฏิบัติการ มุ่งเน้นนำเสนอความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อสนองตอบยุทธศาสตร์ของประเทศที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้าน วทน. การวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่ นำมาพัฒนาขีดความสามารถด้าน วทน. ของประเทศ พร้อมทั้งยกระดับศักยภาพ และสร้างความมั่นคง ยั่งยืนต่อไป

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กราบบังคมทูลรายงานตอนหนึ่งว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเป้าหมายในการวิจัยและพัฒนาด้าน วทน. และพัฒนากลไกการส่งมอบ เพื่อผลักดันงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์  ตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0 มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมา สวทช. ดำเนินงานร่วมกับพันธมิตรภาครัฐ การศึกษา และเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ส่งมอบผลงานวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคมใน 5 ประเด็นมุ่งเน้น ได้แก่ 1. สารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่และนวัตกรรมอาหาร   2. ระบบขนส่งสมัยใหม่ 3. การสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทย 4. เคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพ และ 5. นวัตกรรมเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้สร้างมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นเงินมากกว่า 45,000 ล้านบาท หรือประมาณ 7 เท่าของค่าใช้จ่ายของ สวทช. ได้ผลงานที่เป็นองค์ความรู้ ได้แก่ สิ่งตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 546 เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญาที่ขอจด 383 คำขอ และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคการผลิตและบริการ  261 รายการ หน่วยงานรับมอบ 335 หน่วยงาน นอกจากนั้น สวทช. ได้สร้างเสริมขีดความสามารถเกษตรชุมชน โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกร 6,700 คน จาก 264 ชุมชน ใน 35  จังหวัด ครอบคลุมเทคโนโลยีหลัก 36 เรื่อง เช่น การแปรรูปมันสำปะหลัง ข้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง การใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ และการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อลดการใช้สารเคมี เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อาชีพวิจัย ในรูปแบบการให้ทุนการศึกษาและการพัฒนาระบบนักวิจัยพี่เลี้ยง โดยมีนักวิจัย สวทช. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ในการทำโครงงานวิจัยตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงบัณฑิตศึกษาในประเทศ จำนวน 790 ทุน นอกจากนี้ สวทช.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการบริหารจัดการโครงการที่มีความสำคัญและการลงทุนสูงมากของประเทศ เช่น การจัดตั้งเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EECi ซึ่งมีความก้าวหน้าในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาแผนที่นำทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในเขต EECi ตามลำดับ

สำหรับการประชุมวิชาการประจำปีครั้งนี้ สวทช. หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของประเทศ ผ่านการทำงานของ 4 ศูนย์เทคโนโลยีแห่งชาติ และสนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs สตาร์ทอัพ เกษตรกร และอุตสาหกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถด้าน วทน. ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในปีนี้เน้นการวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จากยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ประเทศโดยมีเป้าหมายยกระดับศักยภาพของประเทศไปสู่ประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจแนวใหม่ 6 ด้าน ได้แก่ 1. เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งเน้นใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นจุดแข็งของประเทศเป็นตัวขับเคลื่อน 2. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มุ่งเน้นใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งมาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง 3. เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งเน้นประหยัดพลังงาน ลดความเสี่ยงที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย ตอบสนองการพัฒนาที่ยั่งยืน 4.  เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy) เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ โดยใช้เวลาน้อยลง 5. เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (Sharing Economy)เป็นรูปแบบเศรษฐกิจที่ใช้พื้นฐานแนวคิดความร่วมมือและแบ่งปัน ทำให้เกิดรูปแบบสินค้าและบริการใหม่ สร้างรายได้แบบพึ่งพากัน และ 6. เศรษฐกิจผู้สูงวัย (Silver Economy) เป็นระบบที่นำความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้

ทั้งนี้ การประชุม NAC2019 เริ่มขึ้นในวันที่ 25 - 28 มีนาคม 2562 โดยมีกิจกรรมหลัก คือ การสัมมนาวิชาการเป็นเวทีนำเสนอความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวม  49  หัวข้อ การแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช.และพันธมิตร ได้จัดโซนนิทรรศการเป็น 6 โซน ได้แก่ โซนเทิด พระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ และโครงการตามพระราชดำริ  โซนพัฒนาเด็กและเยาวชน  โซนสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร โซนงานวิจัยและพัฒนา โซนความร่วมมือภาคเอกชนและต่างประเทศ แและโซนผลิตภัณฑ์จากชุมชนเครือข่ายสวทช. การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบของ สวทช. และบริษัทผู้เช่า รวม 24 ห้องปฏิบัติการ และกิจกรรมสำหรับครูและเยาวชนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โครงการมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม หรือ Fabrication Lab เพื่อพัฒนาความเป็นนวัตกรสู่เด็กและเยาวชนไทย และโครงการ Coding at School Powered by KidBright รวม 11 กิจกรรม

นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กราบบังคมทูลรายงานและเบิกผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลตามประเภทต่างๆ ในกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการวิจัยที่ สวทช. ให้การสนับสนุนและส่งเสริม เพื่อให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ที่จะนำทรัพยากรต่างๆ มาประยุกต์ให้เกิดนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ตลอดจนอาศัยการเชื่อมโยงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปกับระบบการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยแก่เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไป ผ่านในหลากหลายกิจกรรมทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก เพื่อสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความตระหนัก รวมไปถึงสร้างให้เกิดนวัตกรรมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระจายความรู้ออกสู่สังคมไทยให้ทั่วถึงและเท่าเทียม 

สำหรับในปี 2561 สวทช. ดำเนินโครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการวิจัยที่สำคัญ 3  โครงการ ได้แก่ โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2561 จำนวน 2 รางวัล โครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 (National Software Contest: NSC2019) จำนวน 6 รางวัล และโครงการการแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 (The 11th Thailand Robot Design Contest: RDC 2018) จำนวน 1 รางวัล

จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสเปิดการประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจแห่งอนาคตไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม(Moving Towards Thailand’s Future Economy with Science, Technology and Innovation) และเสด็จพระราชดำเนินทรงตัดแถบแพรเปิดนิทรรศการ และทอดพระเนตรนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย และนิทรรศการผลงานวิจัย อาทิ การแสดงผลงานวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีความสําคัญต่อประเทศ มีมูลค่าการลงทุนสูง มีการใช้แรงงานจํานวนมาก และมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาสูงที่สุดเทียบกับอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ของประเทศ โดยจัดแสดงในรูปแบบของ BCG Café & restaurant เทคโนโลยีและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน โครงความร่วมมืองานวิจัยทางด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) เพื่อความยั่งยืน ระหว่าง สถาบัน Forschungszentrum Jülich สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ สวทช. ไฮโดรเจลกักเก็บโปรตีนสำหรับอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์น้ำ นาโนวัคซีนเทคโนโลยีดูดซึมทางเหงือกต้านโรคในปลา TPMAP : ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า โครงการสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน ต้นแบบอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบค่าความถูกต้องและแม่นยำของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม สานพลังเทคโนโลยียางพารา สานชุมชน สานอุตสาหกรรม น้ำยางพาราข้นชนิดใหม่ ParaFIT สำหรับการผลิตหมอนและที่นอนยางพาราโดยเฉพาะ ความร่วมมือและสื่อการเรียนรู้ Fabrication Lab โดยมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง สนุกกับเครื่องมือ/อุปกรณ์ Fabrication Lab โครงงานวิทยาศาสตร์ Smart Farm, Smart Energy, Smart Industry เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกร โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร และสมาคมระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะไทย เป็นต้น

พร้อมทั้งได้เสด็จเยี่ยมชมโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สวทช. ภายใต้โครงการพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ หรือ BIG ROCK ของรัฐบาล ซึ่งโรงงานผลิตพืชเป็นเทคโนโลยีการปลูกพืชในระบบปิดหรือกึ่งปิด ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างสมบูรณ์ เช่น ช่วงคลื่นแสง ความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชื้น แร่ธาตุต่างๆ รวมถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้แสงจากหลอดไฟ LED สีต่างๆ เช่น สีแดงใช้เร่งดอก สีน้ำเงินบำรุงใบพืช ทดแทนแสงอาทิตย์จากธรรมชาติ อีกทั้งยังมีระบบกรองอากาศทำให้ปราศจากเชื้อโรคและแมลง ไม่ต้องใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช และนักปรับปรุงพันธุ์พืชยังใช้องค์ความรู้ในการคำนวณและออกแบบการให้ความเข้มข้นของสารอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัยของพืชด้วย ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตเร็วช่วยร่นระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ผลผลิตที่ได้มีความสะอาดปลอดภัย ไม่มีสารตกค้าง คุณภาพดีและมีราคาสูงกว่าตลาดทั่วไปประมาณ 1.3 เท่า ซึ่งขณะนี้โรงงานผลิตพืช (Plant Factory) สวทช. สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นแห่งแรกของประเทศไทยบนพื้นที่ 1,200 ตารางเมตร ในอาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี และได้เริ่มทดลองปลูกพืชสมุนไพร เช่น ใบบัวบก ฟ้าทะลายโจร รวมถึงพืชชนิดอื่นๆ เพื่อนำมาสกัดเป็นสารสำคัญมูลค่าสูงและนำไปพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในอาหารเสริม เวชสำอางเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่พืชสมุนไพรในประเทศ

นอกจากนี้แล้วยังมีกิจกรรมพิเศษเปิดบ้าน สวทช. (NSTDA Open house) การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยและหน่วยงานทดสอบมาตรฐานต่างๆ ของ สวทช. ซึ่งจะผู้เยี่ยมชมจะได้พบกับอุปกรณ์และเครื่องมือในการวิจัยที่ทันสมัยระดับโลก โดย สวทช. และประชาคมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ร่วมเปิดบ้านต้อนรับนักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม และนักลงทุนที่สนใจ ได้เยี่ยมชมเทคโนโลยีจากศักยภาพของบุคลากรวิจัยและห้องปฏิบัติการ สวทช. ตลอดจนนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ธุรกิจจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ พร้อมคำแนะนำบริการและมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนของ สวทช. ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพและสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้โดยง่าย

ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2562 (NAC2019) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 28 มีนาคม 2562 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ผู้สนใจสามารถร่วมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-564-8000 หรือ www.nstda.or.th/nac

หลายๆ คนเคยตั้งคำถามว่าทำไมบริษัทใน Silicon Valley ไม่ว่าจะเป็น Apple, Google, Facebook, และ Amazon ถึงได้มีการสร้างนวัตกรรมให้กับโลกจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องของเทคโนโลยี แต่จริงๆ แล้วการพัฒนานวัตกรรมของบริษัทเหล่านี้ เป็นการพัฒนากระบวนการคิด และเป็นการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งผลให้เกิดการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร หนึ่งในเครื่องมือที่บริษัทที่สร้างนวัตกรรมใช้คือ DesignThinking

รองศาสตราจารย์ พ.ต.ต.ดร.ดนุวศิน เจริญ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Design Thinking คือกระบวนการคิดการแก้ปัญหา และการออกแบบสินค้าหรือกระบวนการที่ต้องมีการทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ต้องเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และสร้างความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากคนหลายๆ มุมมองมาสร้างเป็นไอเดีย แนวทางการแก้ไขปัญหา และนำเอาแนวทางต่างๆ มาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้ โดยที่ Design Thinking มีทั้งสิ้นด้วยกัน 5 ขั้นตอนคือ

1.Empathize คือการเรียนรู้ความต้องการ และลักษณะพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายโดยต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง ผ่านการสังเกตพฤติกรรมการสัมภาษณ์เพื่อให้เข้าใจปัญหาของกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง ต้องสามารถนำตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานะของผู้ใช้ ต้องมีความเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมาย ชอบอะไรไม่ชอบอะไร เป้าหมายเค้าคืออะไร อะไรคือปัญหาที่เค้าประสบอยู่ ช่วง Empathize นั้นมีความสำคัญมาก เพราะจะนำไปสู่การระบุปัญหาจากมุมมองของผู้ใช้ หรือกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการเข้าไป
ช่วยในการแก้ปัญหา


2.Define คือ การระบุถึงปัญหาสำคัญและกำหนดสมมุติฐานเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังรวมถึงการตีกรอบปัญหา ขั้นตอนนี้จะทำให้เราเข้าใจความต้องการของคนหรือผู้ใช้ถึงสาเหตุของปัญหาจริงๆ ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตรงจุดและเกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน โดยขั้นตอนนี้เราต้องระบุให้ได้ถึง Root Cause หรือสาเหตุของปัญหา ถ้าสามารถแก้ที่สาเหตุได้ปัญหาก็จะหมดไป นั่นคือ ขั้นตอนนี้คือการนำข้อมูลที่เราเก็บมาจากกลุ่มเป้าหมายมาทำการวิเคราะห์ และดูว่ามี Pattern หรือ Meaning อะไรบ้างที่สามารถใช้
อธิบายปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายต้องการแก้ไข


3.Ideation คือการระดมสมอง (Brainstorming) เพื่อหา Idea ในการแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมๆ กับการเลือก Idea ที่ดีที่สุดมาใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาเป็น Solution สำหรับแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้คือการเปิดรับในทุก Idea โดยเน้นไปที่ปริมาณของ Idea ที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ การระดมสมองเน้นไปที่ What โดยยังไม่ต้องสนใจ How หลังจากได้ Idea ที่มากพอขั้นตอนต่อไปคือการตัดสินใจเลือก Idea ที่ดีที่สุดมาทำการพัฒนาการตัดสินใจสามารถทำได้โดยการให้ทีมงานทำการ Vote ให้กับ Idea ที่คิดว่าน่าจะแก้ปัญหา และตอบโจทย์ของกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด


4.Prototype คือการนำ Idea ที่เลือกมามาทำการจัดทำ ต้นแบบ (Prototype) โดยเน้นการจัดทำต้นแบบที่มีต้นทุนต่ำและทำได้ในเวลาอันสั้น สาเหตุที่ Design Thinking ต้องมีการจัดทำ Prototype เพราะต้องการให้ Idea นำไปสู่สิ่งที่จับต้องได้ (Tangible) ผู้ใช้สามารถเห็น และสัมผัสได้ การใช้ Prototype ทำให้ผู้ใช้ได้เห็นภาพของ Product ถึงแม้ว่า Prototype ยังไม่สมบูรณ์แต่สามารถเป็นเครื่องมือที่ผู้ใช้สามารถให้ Feedback นำไปพัฒนาต่อยอดได้ อีกสาเหตุที่ใน Design Thinking ต้องมีการใช้ Prototype เพราะผู้ใช้อาจไม่รู้ว่าเขาต้องการอะไร แต่เมื่อได้เห็นต้นแบบแล้วจึงสามารถนึกออกว่าตนเองต้องการอะไร หรือที่เรียกว่า IKIWISI (I Know It When I See It)


5.Test คือการนำต้นแบบ (Prototypes) ไปทำการทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย นำ Prototype ให้กลุ่มเป้าหมายใช้จริง และนำเอา Feedback มาทำการปรับปรุง Prototype เพื่อนำผลตอบรับที่ได้กลับไปปรับปรุง

ทั้งห้ากระบวนการนี้ไม่ได้เป็นลักษณะ Linear หรือจากจุดเริ่มต้นไปสิ้นสุด แต่สามารถจัดทำเป็นวงรอบ (Iteration) ที่ในแต่ละวงรอบมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีการนำ Feedback จากผูใช้ไปทำการปรับปรุงพัฒนา Product จนกระทั่ง Release นำออกมาให้ผู้ใช้ได้ใช้ ยิ่งผมเรียนรู้เกี่ยวกับ Design Thinking มากเท่าไหร่ ผมเห็นว่าควรเรียกว่า “Design Doing” เพราะไม่ได้เป็นแค่การคิดอย่างเดียว แต่ต้องมีการจัดทำ (Doing) อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำ Prototypes การนำ Prototype ไปทดสอบ การนำเอา Feedback มาปรับปรุง Prototype อย่างต่อเนื่องDesign Thinking ไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือ แต่เป็น Mindset ตัวอย่างของ Mindset ที่ใช้ใน Design Thinking มีดังต่อไปนี้

Low Tech, High Touch
วิธีการในการแก้ปัญหาของ Design Thinking เน้นไปในการใช้เครื่องมือในลักษณะ Low Tech, High Touch ยกตัวอย่าง เช่น Whiteboard และ Post-it Notes และการทำ Prototype ที่อาศัยเครื่องมือง่ายๆ ไม่ซับซ้อนเช่นการสร้าง Prototype จากกระดาษ
(Paper Prototype) ผมคิดว่าสาเหตุที่เลือกใช้เครื่องมือเหล่านี้แทนที่จะใช้เครื่องมือที่ซับซ้อน เช่น Application Software ก็เพราะเครื่องมือ เช่น กระดาษ, Post-it Notes, และ Whiteboard เป็นอะไรที่ผู้ใช้และคนทั่วไปสามารถจับต้องได้ และสามารถมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็นและ Feedback ได้ดีกว่าเครื่องมือที่ซับซ้อน นอกจากนั้นยังมีต้นทุนต่ำ?และสามารถพัฒนาได้ในเวลาที่รวดเร็ว

“Yes, and...” Mindset
มีคำเพียงแค่สองคำที่สามารถใช้ในการทำลายความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) หรือ นวัตกรรม (Innovation) ได้อย่างสิ้นเชิงคือคำว่า “Yes, but” หรือถ้าเป็นภาษาไทยคือ “ได้ แต่ว่า….” หรือถ้าพูดตรงๆ คือ “ไม่ได้” มีหลายความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่ไม่สามารถเกิดขึ้นเพราะถูกสกัดด้วยสองคำนี้ สาเหตุเพราะอะไร ก็เพราะว่าคนเรามีอัตตา ที่มองที่ความเห็นของเราเป็นหลัก รวมถึงมี Fixed Mindset ที่มองไปที่ “ข้อจำกัด” แทนที่จะเป็น “โอกาส” เวลาที่ฟังความเห็นหรือ Idea ของคนอื่นเราจะมองจากข้อจำกัด
เป็นหลัก ซึ่งทัศนคตินั้นส่งผลต่อการปิดกั้น Idea และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ

ใน Design Thinking โดยเฉพาะช่วงของ Ideation ที่เราต้องมีการระดมความคิดเห็น (Brainstorm) มีกฎที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามคือไม่ว่าใครนำเสนอ Idea อะไรก็ตาม ถึงแม้ว่า Idea นั้นๆ จะดูว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่ฉลาดในสายตาเรา ทุกคนต้องพูดว่า “Yes, and…” หรือ “ใช่ เพราะว่า” “ได้ เพราะว่า….” ซึ่งวิธีการนี้ส่งผลให้เกิด Idea จำนวนมากและหลากหลายในหลายๆ ครั้งนำไปสู่การคิดนอกกรอบ นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้ทุกคนเข้ามา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องกังวลว่า Idea จะถูกปฏิเสธ ผมมองว่าสาเหตุที่ในสังคมไทยเราไม่มีความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะว่าในการประชุมเวลาที่คนเสนอ Idea อะไรมาเราจะมองด้วยข้อจำกัดส่งผลให้ไม่มีใครต้องการเสนอ Idea อะไรใหม่ๆ หรือคิดนอกกรอบ เพราะกลัวการถูกปฏิเสธครั้งหน้าเราลองเปลี่ยนแนวคิดที่มองว่าทุก Idea สามารถเป็นไปได้ มองที่โอกาสเป็นหลักมันอาจนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ

Fail Fast
Design Thinking มองว่าความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ และเรา สามารถเรียนรู้จากความล้มเหลวนั้นๆ ได้นำเอาบทเรียนที่ได้จากความล้มเหลวมาพัฒนา อย่างไรก็ตาม Design Thinking มองว่าถ้าเรา จะล้มเหลวเราควรล้มเหลวให้เร็วที่สุด (Fail Fast) ดังนั้น Design Thinking จะใช้วิธีการในการแก้ปัญหาแบบ “ลงมือทำ” หรือ “Just Do It” แทนที่จะต้องใช้เวลาไปกับการวางแผนอย่างยาวนาน Mindset นี้ตรงข้ามกับบริษัทส่วนใหญ่ที่ต้องมีการขั้นตอนวางแผนใช้เวลานานกว่าที่จะออกสินค้าออกมา ขณะที่ Design Thinking มองว่าเราควรรีบพัฒนาสินค้า ออกมาให้ผู้ใช้ได้ใช้อย่างรวดเร็วเพื่อสามารถนำ Feedback ที่เราได้เรียนรู้จากลูกค้านำไปปรับปรุงสินค้า Culture ของ Design Thinking นั้นสนับสนุนให้คนสามารถทำผิดพลาดได้ส่งผลให้ทีมงานสามารถทดลอง Idea ใหม่โดยไม่ต้องกังวล แนวคิดนี้ตรงข้ามกับบริษัทในรูปแบบดั้งเดิมที่ลงโทษความผิดพลาด ส่งผลให้ทีมงานต้อง Play Safe โดยไม่คิดนอกกรอบ ไม่ทดลอง Idea ใหม่ๆ เพราะกลัวว่าจะได้รับผลกระทบต่อข้อผิดพลาดนั้น สุดท้ายความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมก็ไม่สามารถเกิดได้ในองค์กรเหล่านั้น

ผมหวังว่าผู้บริหารที่ได้อ่านบทความนี้จะเกิดแรงบันดาลใจในการนำเอาแนวคิดและกระบวนการของ Design Thinking ไปใช้ในองค์กรของท่าน และพยายามเปิดใจให้กว้างต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่แน่ว่า บริษัทของท่านอาจพัฒนานวัตกรรมที่เข้าไปเปลี่ยนแปลงโลกก็ได้

 

บทความโดย      รศ.พ.ต.ต ดร. ดนุวสิน  เจริญ  คณะบริหารธุรกิจ  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

 

 

 

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเมื่อนำมาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ในการบริหารจัดการทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ในช่วงเวลาที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงบนโลกอย่างน่าตื่นเต้น

ศูนย์สร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (IDE Center by UTCC) เดินหน้าบ่มเพาะสตาร์ทอัพ เปิดโครงการ IDE Accelerator ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้หลักการดำเนินธุรกิจ 24 ขั้นตอนของการเป็นผู้ประกอบการ (24 Steps of Disciplined Entrepreneurship) จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) หรือ MIT สหรัฐอเมริกา พร้อมสนับสนุนทุนสร้างธุรกิจกว่า 2 ล้านบาท ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม เสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว

นับเป็นอีกก้าวของการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยในการพัฒนาองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ มาสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบรับไทยแลนด์ 4.0   ซึ่งล่าสุด นวัตกรรม Healthy Hub หรือ เครื่องจ่ายยาอัตโนมัตินี้เป็น 1 ใน 5 ทีมจากประเทศไทย ได้รับรางวัลจากงานประกวดนวัตกรรมที่ใช้ระบบอัตโนมัติสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ "Delta Cup 2017" ที่เมืองหวู่เจียง ประเทศจีน ซึ่งจัดโดย เดลต้า อีเลคโทรนิคส์

Page 5 of 6
X

Right Click

No right click