พร้อมจัดงานประชุมวิชาการด้านไอซีที (ICT Academy Instructor Conference) เป็น ครั้งแรกเพื่อรับรองและเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัยพันธมิตรกับหัวเว่ย และความร่วมมือในโครงการริเริ่มต่าง ๆ เพื่อบ่มเพาะนักศึกษาที่มีศักยภาพ ภายในงานซึ่งมีการถ่ายทอดสด ได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหารหัวเว่ย และทีมนักศึกษาไทยที่ชนะการแข่งขัน ตลอดจนผู้แทนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และมหาวิทยาลัยพันธมิตรของหัวเว่ยเข้าร่วมด้วย
การแข่งขันในปีนี้แบ่งเป็นสองประเภท คือ คลาวด์ และเครือข่าย โดยมีนักศึกษารวม 18 คน 6 ทีมที่ได้รับรางวัล หลังจากการแข่งขันในรอบต่าง ๆ พร้อมกิจกรรมเสริมการเรียนรู้อันหลากหลาย ทีมจากคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังก็คว้าชัยในการแข่งขันประเภทคลาวด์ โดยมีทีมจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเดียวกัน ครองตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับอันดับหนึ่ง และทีมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครองตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับสองของประเภทคลาวด์
สำหรับประเภทเครือข่าย ทีมจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคว้าชัยชนะเลิศไปเช่นเดียวกัน โดยมีทีมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง และทีมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ซึ่งทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ยังได้รับประสบการณ์ที่เพิ่มพูนทักษะทางเทคนิคให้กับผู้เข้าร่วมการแข่งขัน อีกด้วย
ในงานนี้ หัวเว่ยยังได้มอบทุนการศึกษาและรางวัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท รวมไปถึงอุปกรณ์อันทันสมัยเพื่อประโยชน์ในการศึกษาของนักศึกษา และได้รับโอกาสพิเศษเข้าฝึกงานกับหัวเว่ยให้แก่ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันอีกด้วยซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์ตรงทางด้านอุตสาหกรรม และผลักดันให้นักศึกษาแสวงหาโอกาสต่อยอดอีกมากมายในยุคดิจิทัล นอกจากนี้ หัวเว่ยยังร่วมกับคณาจารย์ทางวิชาการด้านไอซีทีในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อแนะแนวทางแก่นิสิตนักศึกษาในการประกอบอาชีพอย่างประสบความสำเร็จ รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสาร การจัดงาน การฝึกอบรม และการแข่งขันต่าง ๆ ในอนาคต
นายเจย์ เฉิน ประธานคณะกรรมการหัวเว่ย ประเทศไทย ได้กล่าวในงานว่า “ในประเทศไทย มีคำกล่าวว่า ‘บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น’ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดริเริ่มพัฒนาทักษะบุคลากรของหัวเว่ย ผมเชื่อมั่นว่า ด้วยความพยายามร่วมกัน เราสามารถช่วยอุดช่องว่างและสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับความสำคัญในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับการศึกษาและพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพควบคู่กันไป”
นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมและศูนย์วิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย (Startup Thailand Center) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการขาดแคลนบุคลากร รวมไปถึงผู้ประกอบการนวัตกรรมที่มีทักษะในประเทศไทย ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติจึงต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะและความรู้ทางดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับคนรุ่นต่อไป เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมที่จะช่วยสร้างและส่งต่อด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หัวเว่ย ซึ่งเป็นพันธมิตรภาคเอกชนที่สำคัญก็ได้สนับสนุนการสร้างสรรค์สรรพกำลังด้านบุคลากรที่มีทักษะทางไอซีทีอย่างต่อเนื่อง และเราก็ได้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการและบุคลากรที่มีศักยภาพด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ”
ด้านนายโภไคย ศรีรัตโนภาส ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกิจการพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะและบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีต่อประเทศไทยว่า “ในการที่เราจะสร้างอีโคซิสเต็มด้านนวัตกรรมดิจิทัล สิ่งสำคัญประการแรกคือการดึงความชำนาญเฉพาะด้านของแต่ละมหาวิทยาลัยรวมถึงนิสิตนักศึกษาในสถาบันนั้น ๆ ออกมาต่อยอดความร่วมมือกับภาคเอกชนด้านงานวิจัย สิ่งสำคัญประการที่สองคือการสนับสนุนด้านงบประมาณจากภาคเอกชน รวมถึงการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ การให้เรียนรู้ปัญหาและกลยุทธ์ในการเดินหน้าสู่ความสำเร็จในโลกธุรกิจ และสิ่งสำคัญประการที่สามคือการสร้างระบบการเรียนรู้ ที่ช่วยส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาเลือกทำโครงการหรือเรียนรู้หลักสูตรต่าง ๆ ได้ตามต้องการ สามสิ่งที่กล่าวมานี้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเร่งเสริมสร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในประเทศไทยให้เกิดขึ้นได้อย่างเร็วและแข็งแกร่งขึ้น”
ในปี 2565 หัวเว่ย ประเทศไทย ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) จัดทำเอกสารแม่บท (white paper) เรื่องการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัลแห่งชาติของประเทศไทย (Thailand’s National Digital Talent Development) ซึ่งระบุถึงความท้าทายหลัก 11 ข้อ และข้อเสนอแนะด้านนโยบาย 5 ข้อ ตามเอกสารดังกล่าว เศรษฐกิจดิจิทัลจะเพิ่มสัดส่วนเป็นร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย (GDP) ภายในปี 2570 หัวเว่ยจึงได้ขยายขอบเขตการแข่งขันปีนี้ และเพิ่มทุนการศึกษาให้แก่ทีมผู้ชนะ เพื่อให้สอดรับกับคำมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านไอซีทีในไทย
ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้มีการฝึกอบรมบุคลากรที่มีศักยภาพทางดิจิทัลสำเร็จหลักสูตรกว่า 70,000 คนในประเทศไทย นับเป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ทำให้ได้รับรางวัล Prime Minister Award ด้าน “สุดยอดองค์กรดีเด่นด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” (Best Contributor in Human Capital Development) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ตามกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพทางดิจิทัลปี 2566 หัวเว่ยได้กำหนดเสาหลักการพัฒนาศักยภาพทางดิจิทัลสามประการสำคัญ ได้แก่ ภาวะผู้นำ (Leadership), องค์ความรู้และทักษะ (Knowledge and Skills), และวิชาชีพและอาชีพ (Profession and Vocation) ในพิธีมอบรางวัลนี้ หัวเว่ยและพันธมิตรยังได้แถลงเกี่ยวกับโครงการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพอีกหลายโครงการสำหรับประเทศไทย ทั้งที่อยู่ระหว่างดำเนินการและโครงการในอนาคต ซึ่งจะช่วยต่อยอดยุทธศาสตร์ใหม่เหล่านี้ในการยกระดับแรงงานดิจิทัลในอนาคตของประเทศไทยให้สูงขึ้น
การแข่งขัน ICT Competition เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2558 ในฐานะโครงการความร่วมมือริเริ่มภายใต้ Huawei ICT Academy ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับองค์กร (school-enterprise project) ที่หัวเว่ยจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการเสริมทัพบุคลากรที่มีทักษะด้านไอซีทีด้วยผู้ประกอบวิชาชีพที่มีคุณภาพระดับสูง ผ่านความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ 37 แห่งในประเทศไทย ในการประชุม Instructor Conference นี้ หัวเว่ยได้กล่าวย้ำถึงความจำเป็นในการแสวงหาความร่วมมือเพิ่มเติมระหว่างภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และนักวิชาการเพื่อวาง แนวทางการฝึกอบรมทักษะทางดิจิทัลให้สอดคล้องกับความจำเป็นภาคอุตสาหกรรม และสร้างบุคลากรที่มีทักษะรองรับอย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้ หัวเว่ยยังเชิญชวนให้มหาวิทยาลัยอื่นเข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างระบบนิเวศบุคลากรที่มีศักยภาพแข็งแกร่งไว้รองรับความต้องการในยุคดิจิทัลในประเทศไทยต่อไป