“การเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย” เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามปกติ นับตั้งแต่ยุโรปเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) และแพร่ขยายองค์ความรู้สมัยใหม่ไปทั่วทั้งโลก นำมาสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม จนมาถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไร แต่สิ่งที่ยังคงยืนหยัดและสะท้อนถึงธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็คือ การปรับตัวผ่านกระบวนการเรียนรู้

ท่ามกลางพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กำลังก่อตัวโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้สนทนากับ 3 คนรุ่นใหม่ ผู้เชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์โดยไม่มีที่สิ้นสุด

สาวอักษรเยอรมันกับบทบาท Data Engineer

พิชญา จรูญพงษ์ศักดิ์ หรือ อนิก ผู้เติบโตในครอบครัวที่พ่อและแม่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำให้เธอมีความฝัน ตั้งเป้า และมุ่งมั่นเดินไปข้างหน้าสู่เส้นทางแม่พิมพ์ของชาติตั้งแต่เด็ก โดยเธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท สาขาวิชาภาษาเยอรมัน จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนวันหนึ่งเธอพิชิตฝันได้สำเร็จ รับหน้าที่ครูในโรงเรียนมัธยมและอาจารย์สอนคอร์สภาษาเยอรมันสำหรับบุคคลทั่วไป ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

การคลุกคลีกับ “ดนตรีคลาสสิก” ของเธอในช่วงปฐมวัย เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พิชญาสนใจศึกษาภาษาเยอรมัน แต่แล้วความสนใจนั้นก็ขยายวงสู่ความก้าวหน้าในวิทยาการ จนพบว่าเยอรมนีเป็นชนชาติที่มีระบบการจัดการองค์ความรู้ที่เป็นเลิศผ่านระเบียบวิธีคิดเชิง “โครงสร้าง” ทำให้คนรุ่นหลังสามารถสืบค้นองค์ความรู้ย้อนหลังได้นับร้อยปีผ่านห้องสมุด ทั้งยังเห็นลักษณะทางสังคมแต่ละยุคผ่านความนิยมของการใช้คำอีกด้วย

แต่แล้ววันหนึ่ง พิชญารู้สึกว่าโลกของเธอเริ่ม “แคบลง” ทุกวันๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการคลุกคลีกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานาน ในทางกลับกัน เพื่อนในวัยเรียนที่เติบโตมาด้วยกันมีโอกาสไปเผชิญโลกที่แตกต่างหลากหลาย บ้างก็บริหารทรัพยากรบุคคล บ้างก็ทำสายการตลาด บ้างก็ไปเป็นทูต ถึงแม้พวกเธอจะไม่ได้ศึกษาสาขานั้นๆ โดยตรงก็ตาม

ทันใดนั้น เธอจึงตัดสินใจหยุดเครื่องจักรในสายอาชีพครูชั่วครู่ เพื่อขอไปเปิดประสบการณ์ ขยายขอบเขตการเรียนรู้ เพื่อพิสูจน์ศักยภาพของตัวเธอเอง และที่นั่นก็คือ โครงการ True Next Gen ปี 2564 ที่เปิดกว้างให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรโดยไม่จำกัดสาขาที่เรียน พร้อมให้โอกาสในการสับเปลี่ยนหมุนเวียนภาระหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

หน่วยงานแรกที่พิชญาเข้าไปดูแลคือ งานของสภาดิจิทัล ทำให้ได้เรียนรู้การจัดการเชิงนโยบาย ทั้งยังกระตุ้นความสนใจด้านดาต้าแก่เธออีกด้วย และงานที่ 2 ก็คือ งานพัฒนา VLEARN Platform มีโอกาสได้ผลิตคลาสเรียนออนไลน์ งานการตลาด รวมถึงการทำแอปอีกด้วย  และหน่วยสุดท้ายคือ Digitalization Center ที่ทำให้เธอได้สัมผัสกับเรื่องดาต้าอย่างจัง

ในเวลาเดียวกัน ทรูก็ได้เปิดรับสมัครโครงการ Data Science Immersive ซึ่งพิชญารีบร่อนใบสมัครคว้าโอกาสไว้ เพราะเธอมองว่า การมีทักษะเทคนิคเฉพาะด้านแบบนี้จะช่วยผลักดันศักยภาพตัวเองได้ไกลยิ่งขึ้น

ในวันแรกที่เข้าเรียน พิชญาสารภาพว่า เธอฟังไม่รู้เรื่องเลย แต่ก็พยายามจับหลักให้ทัน เพราะเวลาไหลไปเร็วมาก การเรียนการสอนในทุกๆ วันเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด เมื่อจบวัน ก็ต้องกลับไปทำการบ้านที่เป็นโค้ดดิ้ง

พิชญาบอกว่า พื้นฐานทางภาษาศาสตร์อักษรศาสตร์ที่ติดตัวมา ช่วยให้เธอมีทักษะการจับแพทเทิร์นเพื่อเห็นโครงสร้างของฐานข้อมูล คล้ายคลึงกับตอนทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ในหัวข้อ “ภาษาเยอรมันอย่างง่าย” ซึ่งเป็นการศึกษาหารูปแบบ/โครงสร้างทางภาษา เพื่อให้ผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถอ่านและเข้าใจได้ โดยเฉพาะกับเอกสารทางราชการ

อย่างไรก็ตาม แม้ภาษามนุษย์และภาษาคอมจะมีสิ่งที่คล้ายคลึงกันในแง่โครงสร้าง ขณะเดียวกันก็มีจุดที่แตกต่างกันอย่างมหาศาล โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมรรถนะและการใช้พลังงานในการรับ-ส่งข้อมูล

“ภาษาคอมคนละเรื่องกับภาษามนุษย์ ภาษาคอมก็คือภาษาที่ใช้สื่อสารกับฮาร์ดแวร์ แต่ในความต่างก็มีความเหมือน นั่นคือ การจัดเรียงภาษาที่ซับซ้อนให้เป็นโครงสร้าง เห็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น” พิชญา อธิบาย พร้อมเสริมว่า data practitioner ที่ดีควรมีทักษะ abstract thinking มองส่วนประกอบแบบองค์รวม

ภายหลังการเข้าคอร์สอย่างเข้มข้น พิชญามีโอกาสลงสนามจริงกับทีมพัฒนาซอฟแวร์ของแอป MorDee ตั้งแต่การพัฒนาซอฟแวร์ จนปัจจุบัน ทำหน้าที่เป็น data engineer วางระบบการเดินทางของดาต้าเพื่อให้ยูสเซอร์นำไปใช้ประโยชน์ได้สะดวกขึ้น

หนุ่มเศรษฐศาสตร์ผู้กระโจนสู่เส้นทางศาสตร์แห่งดาต้า

เส้นทางชีวิตเปรียบได้กับการเล่นรถไฟเหาะ มีสมหวังมีผิดหวัง พร้อมเจอสิ่งที่ไม่คาดคิดได้ตลอด เช่นเดียวกับ เรื่องราวของ เฉลิมชนม์ วงศ์โสภา หรือ อิม เด็กหนุ่มผู้ถือใบปริญญาด้านเศรษฐศาสตร์ถึง 2 ใบ แต่แล้วก็ตกหลุมและหลงใหลให้กับความน่าสนใจของดาต้า

เฉลิมชนม์ร่ำเรียนเรื่อย ๆ ไปตามระบบ แต่ก็ยังหาอาชีพในฝันไม่ได้ จนเมื่อเข้าสู่หัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องตัดสินใจ เขาจึงเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ โดยหวังว่าจะเข้าทำงานในหน่วยงานราชการอย่างกระทรวงการคลัง หรือสภาพัฒน์ แต่เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ความรู้สึก “ไม่มั่นใจ” กับการเข้าสู่สนามแห่งมืออาชีพของเขากลับดังขึ้น เกรงว่าตนเองจะไม่สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับการทำงานจริงได้ เฉลิมชนม์จึงตัดสินใจเรียนต่อระดับปริญญาโทในสาขาเดียวกันทันที

“เศรษฐศาสตร์​ถือเป็นสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับหลายศาสตร์ทั้ง คณิต สถิต สังคมศาตร์ ซึ่งผู้เรียนต้องรู้จักการประยุกต์พลิกแพลง และนี่คือสเน่ห์ของเศรษฐศาสตร์” เฉลิมชนม์ อธิบาย

ระหว่างนั้้น เขาก็เริ่มร้อนวิชา ต้องการหาวิธีใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในสนามจริง จึงได้ไปสมัครงานที่บริษัทวิจัยในตำแหน่ง data analyst และนั่นจึงนำพาให้เขาเข้าใจการทำงานของดาต้าและหลักสถิติมากขึ้น

“เมื่อต้องทำงานจริง การวิเคราะห์ข้อมูลก็เปรียบได้กับการต่อจิ๊กซอว์ เราต้องค่อยๆ ปะติดปะต่อ ภายหลังที่ต่อจนได้ภาพที่สมบูรณ์ เมื่อนั้นเราก็จะเห็นคำตอบที่อยู่ในข้อมูลเหล่านั้นเอง” เฉลิมชนม์ กล่าวพร้อมเล่าต่อว่า ที่เดียวกันนี้เอง ทำให้เขารู้จักกับอาชีพ data scientist พลันเมื่อเห็นวิธีคิดและการทำงานเพื่อพยากรณ์แนวโน้มแล้ว ยิ่งกระตุ้นต่อมความสนใจของเขา จนหาคอร์สสั้นๆ ลงเรียนเอง

หลังจากตรากตรำกับการเรียนและงานวิจัยเป็นเวลา 2 ปีเต็ม เฉลิมชนม์ก็คว้าดีกรีปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์มาได้ พร้อมกับบทบาทและองค์กรเป็น Business Intelligence Analyst รับผิดชอบงานพัฒนา dashboard เพื่อแสดงผลข้อมูล ที่ธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง แม้จะพอคลุกคลีกับงานดาต้ามาบ้าง แต่เมื่อระบบโปรแกรมที่ใช้ต่างกัน เฉลิมชนม์จึงต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่

ความพยายามอยู่ที่ใด ความสำเร็จอยู่ที่นั่นฉันนั้น เขาใช้เวลาช่วงเช้าก่อนเข้างาน เพื่อเรียนลงลึกเกี่ยวกับโปรแกรมนั้น โดยเขารับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ด้วยเหตุผลว่าตรงจุดและสนุก จนสามารถใช้โปรแกรมได้อย่างชำนาญการ แต่กระนั้น เฉลิมชนม์ยังคงมีความรู้สึก “ค้างคา” เพราะความใคร่รู้ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง อย่างการเข้าใจถึงที่มาข้อมูลที่ต้องอาศัยทักษะเทคนิคอื่นๆ

ในเวลาเดียวกัน เฉลิมชนม์เห็นข้อความประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการ Digital Science Immersive โดย ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อให้โอกาสกับผู้ที่สนใจด้านดาต้าได้มีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาตัวเอง พร้อมเข้าสู่สนามดาต้าอย่างมืออาชีพ แน่นอนว่าเขารีบยื่นใบสมัครทันที พร้อมกับเป็น 1 ใน 6 คนที่ได้รับทุนเรียนฟรี

สำหรับคอร์ส Data Science Immersive ดำเนินการสอนโดย General Assembly สถาบันการศึกษา ผู้บุกเบิกแนวทางการเปลี่ยนสายอาชีพสู่สายเทคและดิจิทัล จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งคอร์สเรียนดังกล่าวกินเวลาทั้งสิ้น 3 เดือนเต็ม ตั้งแต่เช้าถึงเย็น เหมือนกลับไปเรียนมัธยมฯ ใหม่

เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้ความค้างคาในใจเริ่มจางลง พร้อมกับความฝันที่ชัดขึ้นกับเป้าหมายการทำหน้าที่ data scientist ด้วยเวลาเพียง 3 เดือน เฉลิมชนม์ประเมินความสามารถด้านดาต้าของตัวเองพัฒนาขึ้นถึง 80-90% ซึ่งนอกจากความรักดาต้าเป็นทุนเดิมแล้ว วิธีการสอนและความใส่ใจของอาจารย์จาก General Assembly ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียน

การเรียนการสอนของ General Assembly มีความต่างจากระบบการสอนแบบไทยอย่างมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดคึอ ความรักในงานของอาจารย์ที่เราสัมผัสได้ ทุกเช้าจะมีการรีวิวเนื้อหา ปรับคอร์สตามสภาวะการเรียนรู้ และยังะคอยเช็คอุณหภูมิของห้องตลอดเวลา อันไหนง่ายไป ยากไป ถ้าเครียดก็จะใส่มุกตลก ให้บรรยากาศการเรียนสนุกขึ้น

“ที่สำคัญ ยังมีเซสชั่นที่เปิดพื้นที่ให้ทุกคนในคอร์สได้ถกเถียงและอภิปรายถึงประเด็นที่เกิดขึ้นนอกตำราอย่างสร้างสรรค์ การมองข้อมูลที่ต่างมุม รวมถึงจริยธรรมด้านดาต้าที่ต้องคำนึงถึงอย่างแรก”

ปัจจุบัน เฉลิมชนม์ทำงานในตำแหน่ง data scientist สายงาน People & Organization Strategy, and Analytics ของทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งถือเป็นตำแหน่งใหม่และเป็นกำลังสำคัญของกลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กับภารกิจเปลี่ยนองค์กรสู่ AI-First Organization ที่ตั้งเป้าไว้

จากเส้นทางดนตรี สู่นักสื่อสารด้วยดาต้า

หากใครได้ดูรายการประกวดร้องเพลงยุคบุกเบิก The Star ค้นฟ้าคว้าดาว อาจคุ้นๆ เห็นเธอคนนี้ผ่านตามาบ้าง ภัควลัญชณ์ โชติพิชชานันช์ หรือ ดิ๊ง เพราะเธอเป็นหนึ่งในผู้เข้าประกวดรอบ 20 คนสุดท้ายของรุ่น 4 สะพานอีกเส้นที่สานฝันอาชีพนักร้อง นักแต่งเพลงในวัยเด็ก เธอมุ่งมั่นกับมันอย่างมาก ถึงขั้นศึกษาเต็มเวลาในระดับปริญญาตรี คณะดุริยางคศาสตร์ สาขาดนตรีเชิงพาณิชย์ ม.ศิลปากร

ความฝันย่อมเป็นเพียงความฝันหากไม่ลงมือทำ แต่นั่นไม่ใช่ภัควลัญชณ์ เพราะเธอมุ่งมั่นคว้าฝันด้วยการฝึกฝนทั้งร้องเพลงทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งการฝึกตัวเองอย่างนี้ตั้งแต่เด็กช่วยบ่มเพาะให้เธอกลายเป็นคนมีวินัย จนกระทั่งอายุ 18 ปี เธอได้เป็นครูสอนร้องเพลงตามที่ฝันไว้ที่สถาบันดนตรีมีฟ้า ซึ่งเป็นโรงเรียนดนตรีในเครือ GMM Grammy และเป็นผู้สอนระดับขั้นสูง (KCI Advance Instructor) ของสถาบัน KPN Music Academy

แต่เมื่อทำงานสอนครบ 8 ปี ภัควลัญชณ์รู้สึกถึงจุด “อิ่มตัว” เธอจึงมองหาความท้าทายใหม่ๆ ขณะนั้นเธอพึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการตลาด จาก NIDA และนั่นจึงเป็นจุดหักเห เบนเข็มพาเธอเข้าสู่การทำงานในองค์กรเป็นครั้งแรกในชีวิต โดยเริ่มจากงานที่ศูนย์บริการลูกค้า จากนั้นจึงย้ายสู่สายงานสื่อสารองค์กร ทำหน้าดูแลงานสื่อสารภายในองค์กร

ช่วงปี 2560 เป็นยุคที่โซเชียลมีเดียเริ่มบูม คอนเทนท์บนฟีดมีความหลากหลายมากขึ้น แต่ที่เตะตาภัควลัญชณ์อย่างมากเลยคือ “อินโฟกราฟิก” และ “วิดีโอสั้น (short-form video)” เพราะเนื้อหาที่ย่อยมาแล้ว ดูปราดเดียวก็เข้าใจ เธอในบทบาทนักสื่อสารจึงอยากสร้างสรรค์ให้ได้บ้าง และนั่นถือเป็นจุดสตาร์ท เพื่อพัฒนา hard skill โดยหาคอร์สเรียนโปรแกรมออกแบบและตัดต่อวิดีโอด้วยตัวเอง จนสามารถทำกราฟิก-ตัดต่อวิดีโอเล่าเรื่องเองได้ เรียกได้ว่า “กระหายใคร่รู้กับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ภัควลัญชณ์เดินทางเข้าสู่โลกดาต้าก็คือ การที่หัวหน้างาน (อรอุมา วัฒนะสุข ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ที่ทรู) ได้จัดอบรม Data Storytelling ให้สมาชิกในทีมได้อัปสกิลให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้งานสื่อสารด้วยดาต้าเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมได้อย่างแท้จริง และนั่นจึงไปกระตุกความสนใจการเล่าเรื่องด้วยดาต้าที่มุ่งเน้นให้คนมีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องที่เล่าได้ด้วยเทคนิค Scrollytelling ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในสื่อชั้นนำของโลก เธอจึงหาคอร์สเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาสื่อรูปแบบดังกล่าวเพิ่มเติม และพบว่าต้องอาศัยความเข้าใจภาษาโค้ดดิ้ง เช่น SQL, R ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและทำ data visualization และอีกกลุ่มที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ Interactive ได้อย่างภาษา HTML, CSS และ Java script

ระหว่างทาง เธอได้รับความไว้วางใจให้เป็น project manager ดูแลรับผิดชอบโครงการต่างๆ ซึ่งล้วนนำมาซึ่งการรีสกิลและอัพสกิลใหม่ๆ เช่น ความเข้าใจใน UX/UI การทำ prototype เว็บไซต์และแอป จากการดูแล corporate website การทำงานเชิงวิชาการจากฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนที่ (Mobility Data) เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองรอง เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของ Generative AI ที่เธอเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจถึงพื้นฐานแนวคิดการพัฒนา และการนำไปใช้

“ถ้าจะเป็น ‘มนุษย์เป็ด’ ในที่ทำงาน ก็ต้องเป็นเป็ดพรีเมียม (Multipotentialite) เรียนรู้ให้กว้าง ไว และไม่หยุดยั้งตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เพราะทักษะที่หลากหลายนั้น จะทำให้เราเห็นภาพรวมของงาน และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง” ภัควลัญชณ์ กล่าว

ปัจจุบัน ภัควลัญชณ์ รับหน้าที่ดูแลงานสื่อสารผ่านดาต้าและช่องทางดิจิทัล ภายใต้หน่วยงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ ที่ทรู คอร์ปอเรชั่น

เธอเปรียบการพัฒนาตัวเองกับการฝึกของนักดนตรีว่า “เป้าหมายของนักดนตรีคือ ขยายขีดความสามารถตัวเอง เช่นเดียวกับการอัปสกิลที่ต่างต้องเริ่มที่การมี growth mindset แล้วตามด้วยการฝึกฝน เตรียมตัวเองให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน การมีบุคคลต้นแบบหรือโค้ชที่ดีก็จะช่วยให้นักดนตรีพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด เช่นเดียวกับการอัปสกิลที่เราควรมี mentor ที่ดี เพื่อชี้แนะแนวทางและให้การสนับสนุน เราก็จะพิชิตเป้าหมายได้อย่างแน่นอน”

จากเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงตัวเองของ 3 ตัวอย่างข้างต้น เราพบคุณลักษณะร่วมที่สำคัญ 4 ประการ คือ

  1. รู้จักตัวเอง โดยเฉพาะ “จิตใจ”
  2. เชื่อมั่นในศักยภาพตัวเองว่ายังพัฒนาต่อไปได้
  3. ลงมือทำ ฝึกฝนอย่างมีวินัยจนชำนาญ
  4. ทบทวนตัวเองบ่อย เพื่อตกผลึกความคิด แก้ไขจุดผิดพลาด และเดินก้าวหน้าอย่างมั่นคง

 

“การเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย” เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามปกติ นับตั้งแต่ยุโรปเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) และแพร่ขยายองค์ความรู้สมัยใหม่ไปทั่วทั้งโลก นำมาสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม จนมาถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไร แต่สิ่งที่ยังคงยืนหยัดและสะท้อนถึงธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็คือ การปรับตัวผ่านกระบวนการเรียนรู้

ท่ามกลางพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กำลังก่อตัวโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้สนทนากับ 3 คนรุ่นใหม่ ผู้เชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์โดยไม่มีที่สิ้นสุด

สาวอักษรเยอรมันกับบทบาท Data Engineer
พิชญา จรูญพงษ์ศักดิ์ หรือ อนิก ผู้เติบโตในครอบครัวที่พ่อและแม่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำให้เธอมีความฝัน ตั้งเป้า และมุ่งมั่นเดินไปข้างหน้าสู่เส้นทางแม่พิมพ์ของชาติตั้งแต่เด็ก โดยเธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท สาขาวิชาภาษาเยอรมัน จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนวันหนึ่งเธอพิชิตฝันได้สำเร็จ รับหน้าที่ครูในโรงเรียนมัธยมและอาจารย์สอนคอร์สภาษาเยอรมันสำหรับบุคคลทั่วไป ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

การคลุกคลีกับ “ดนตรีคลาสสิก” ของเธอในช่วงปฐมวัย เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พิชญาสนใจศึกษาภาษาเยอรมัน แต่แล้วความสนใจนั้นก็ขยายวงสู่ความก้าวหน้าในวิทยาการ จนพบว่าเยอรมนีเป็นชนชาติที่มีระบบการจัดการองค์ความรู้ที่เป็นเลิศผ่านระเบียบวิธีคิดเชิง “โครงสร้าง” ทำให้คนรุ่นหลังสามารถสืบค้นองค์ความรู้ย้อนหลังได้นับร้อยปีผ่านห้องสมุด ทั้งยังเห็นลักษณะทางสังคมแต่ละยุคผ่านความนิยมของการใช้คำอีกด้วย

แต่แล้ววันหนึ่ง พิชญารู้สึกว่าโลกของเธอเริ่ม “แคบลง” ทุกวันๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการคลุกคลีกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานาน ในทางกลับกัน เพื่อนในวัยเรียนที่เติบโตมาด้วยกันมีโอกาสไปเผชิญโลกที่แตกต่างหลากหลาย บ้างก็บริหารทรัพยากรบุคคล บ้างก็ทำสายการตลาด บ้างก็ไปเป็นทูต ถึงแม้พวกเธอจะไม่ได้ศึกษาสาขานั้นๆ โดยตรงก็ตาม

ทันใดนั้น เธอจึงตัดสินใจหยุดเครื่องจักรในสายอาชีพครูชั่วครู่ เพื่อขอไปเปิดประสบการณ์ ขยายขอบเขตการเรียนรู้ เพื่อพิสูจน์ศักยภาพของตัวเธอเอง และที่นั่นก็คือ โครงการ True Next Gen ปี 2564 ที่เปิดกว้างให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรโดยไม่จำกัดสาขาที่เรียน พร้อมให้โอกาสในการสับเปลี่ยนหมุนเวียนภาระหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

หน่วยงานแรกที่พิชญาเข้าไปดูแลคือ งานของสภาดิจิทัล ทำให้ได้เรียนรู้การจัดการเชิงนโยบาย ทั้งยังกระตุ้นความสนใจด้านดาต้าแก่เธออีกด้วย และงานที่ 2 ก็คือ งานพัฒนา VLEARN Platform มีโอกาสได้ผลิตคลาสเรียนออนไลน์ งานการตลาด รวมถึงการทำแอปอีกด้วย และหน่วยสุดท้ายคือ Digitalization Center ที่ทำให้เธอได้สัมผัสกับเรื่องดาต้าอย่างจัง

ในเวลาเดียวกัน ทรูก็ได้เปิดรับสมัครโครงการ Data Science Immersive ซึ่งพิชญารีบร่อนใบสมัครคว้าโอกาสไว้ เพราะเธอมองว่า การมีทักษะเทคนิคเฉพาะด้านแบบนี้จะช่วยผลักดันศักยภาพตัวเองได้ไกลยิ่งขึ้น

ในวันแรกที่เข้าเรียน พิชญาสารภาพว่า เธอฟังไม่รู้เรื่องเลย แต่ก็พยายามจับหลักให้ทัน เพราะเวลาไหลไปเร็วมาก การเรียนการสอนในทุกๆ วันเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด เมื่อจบวัน ก็ต้องกลับไปทำการบ้านที่เป็นโค้ดดิ้ง

พิชญาบอกว่า พื้นฐานทางภาษาศาสตร์อักษรศาสตร์ที่ติดตัวมา ช่วยให้เธอมีทักษะการจับแพทเทิร์นเพื่อเห็นโครงสร้างของฐานข้อมูล คล้ายคลึงกับตอนทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ในหัวข้อ “ภาษาเยอรมันอย่างง่าย” ซึ่งเป็นการศึกษาหารูปแบบ/โครงสร้างทางภาษา เพื่อให้ผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถอ่านและเข้าใจได้ โดยเฉพาะกับเอกสารทางราชการ

อย่างไรก็ตาม แม้ภาษามนุษย์และภาษาคอมจะมีสิ่งที่คล้ายคลึงกันในแง่โครงสร้าง ขณะเดียวกันก็มีจุดที่แตกต่างกันอย่างมหาศาล โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมรรถนะและการใช้พลังงานในการรับ-ส่งข้อมูล

“ภาษาคอมคนละเรื่องกับภาษามนุษย์ ภาษาคอมก็คือภาษาที่ใช้สื่อสารกับฮาร์ดแวร์ แต่ในความต่างก็มีความเหมือน นั่นคือ การจัดเรียงภาษาที่ซับซ้อนให้เป็นโครงสร้าง เห็นภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น” พิชญา อธิบาย พร้อมเสริมว่า data practitioner ที่ดีควรมีทักษะ abstract thinking มองส่วนประกอบแบบองค์รวม

ภายหลังการเข้าคอร์สอย่างเข้มข้น พิชญามีโอกาสลงสนามจริงกับทีมพัฒนาซอฟแวร์ของแอป MorDee ตั้งแต่การพัฒนาซอฟแวร์ จนปัจจุบัน ทำหน้าที่เป็น data engineer วางระบบการเดินทางของดาต้าเพื่อให้ยูสเซอร์นำไปใช้ประโยชน์ได้สะดวกขึ้น

หนุ่มเศรษฐศาสตร์ผู้กระโจนสู่เส้นทางศาสตร์แห่งดาต้า
เส้นทางชีวิตเปรียบได้กับการเล่นรถไฟเหาะ มีสมหวังมีผิดหวัง พร้อมเจอสิ่งที่ไม่คาดคิดได้ตลอด เช่นเดียวกับ เรื่องราวของ เฉลิมชนม์ วงศ์โสภา หรือ อิม เด็กหนุ่มผู้ถือใบปริญญาด้านเศรษฐศาสตร์ถึง 2 ใบ แต่แล้วก็ตกหลุมและหลงใหลให้กับความน่าสนใจของดาต้า

เฉลิมชนม์ร่ำเรียนเรื่อย ๆ ไปตามระบบ แต่ก็ยังหาอาชีพในฝันไม่ได้ จนเมื่อเข้าสู่หัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องตัดสินใจ เขาจึงเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ โดยหวังว่าจะเข้าทำงานในหน่วยงานราชการอย่างกระทรวงการคลัง หรือสภาพัฒน์ แต่เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ความรู้สึก “ไม่มั่นใจ” กับการเข้าสู่สนามแห่งมืออาชีพของเขากลับดังขึ้น เกรงว่าตนเองจะไม่สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับการทำงานจริงได้ เฉลิมชนม์จึงตัดสินใจเรียนต่อระดับปริญญาโทในสาขาเดียวกันทันที

“เศรษฐศาสตร์​ถือเป็นสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับหลายศาสตร์ทั้ง คณิต สถิต สังคมศาตร์ ซึ่งผู้เรียนต้องรู้จักการประยุกต์พลิกแพลง และนี่คือสเน่ห์ของเศรษฐศาสตร์” เฉลิมชนม์ อธิบาย

ระหว่างนั้้น เขาก็เริ่มร้อนวิชา ต้องการหาวิธีใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในสนามจริง จึงได้ไปสมัครงานที่บริษัทวิจัยในตำแหน่ง data analyst และนั่นจึงนำพาให้เขาเข้าใจการทำงานของดาต้าและหลักสถิติมากขึ้น

“เมื่อต้องทำงานจริง การวิเคราะห์ข้อมูลก็เปรียบได้กับการต่อจิ๊กซอว์ เราต้องค่อยๆ ปะติดปะต่อ ภายหลังที่ต่อจนได้ภาพที่สมบูรณ์ เมื่อนั้นเราก็จะเห็นคำตอบที่อยู่ในข้อมูลเหล่านั้นเอง” เฉลิมชนม์ กล่าวพร้อมเล่าต่อว่า ที่เดียวกันนี้เอง ทำให้เขารู้จักกับอาชีพ data scientist พลันเมื่อเห็นวิธีคิดและการทำงานเพื่อพยากรณ์แนวโน้มแล้ว ยิ่งกระตุ้นต่อมความสนใจของเขา จนหาคอร์สสั้นๆ ลงเรียนเอง

หลังจากตรากตรำกับการเรียนและงานวิจัยเป็นเวลา 2 ปีเต็ม เฉลิมชนม์ก็คว้าดีกรีปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์มาได้ พร้อมกับบทบาทและองค์กรเป็น Business Intelligence Analyst รับผิดชอบงานพัฒนา dashboard เพื่อแสดงผลข้อมูล ที่ธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง แม้จะพอคลุกคลีกับงานดาต้ามาบ้าง แต่เมื่อระบบโปรแกรมที่ใช้ต่างกัน เฉลิมชนม์จึงต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่

ความพยายามอยู่ที่ใด ความสำเร็จอยู่ที่นั่นฉันนั้น เขาใช้เวลาช่วงเช้าก่อนเข้างาน เพื่อเรียนลงลึกเกี่ยวกับโปรแกรมนั้น โดยเขารับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ด้วยเหตุผลว่าตรงจุดและสนุก จนสามารถใช้โปรแกรมได้อย่างชำนาญการ แต่กระนั้น เฉลิมชนม์ยังคงมีความรู้สึก “ค้างคา” เพราะความใคร่รู้ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง อย่างการเข้าใจถึงที่มาข้อมูลที่ต้องอาศัยทักษะเทคนิคอื่นๆ

ในเวลาเดียวกัน เฉลิมชนม์เห็นข้อความประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการ Digital Science Immersive โดย ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อให้โอกาสกับผู้ที่สนใจด้านดาต้าได้มีโอกาสฝึกฝนและพัฒนาตัวเอง พร้อมเข้าสู่สนามดาต้าอย่างมืออาชีพ แน่นอนว่าเขารีบยื่นใบสมัครทันที พร้อมกับเป็น 1 ใน 6 คนที่ได้รับทุนเรียนฟรี

สำหรับคอร์ส Data Science Immersive ดำเนินการสอนโดย General Assembly สถาบันการศึกษา ผู้บุกเบิกแนวทางการเปลี่ยนสายอาชีพสู่สายเทคและดิจิทัล จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งคอร์สเรียนดังกล่าวกินเวลาทั้งสิ้น 3 เดือนเต็ม ตั้งแต่เช้าถึงเย็น เหมือนกลับไปเรียนมัธยมฯ ใหม่

เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้ความค้างคาในใจเริ่มจางลง พร้อมกับความฝันที่ชัดขึ้นกับเป้าหมายการทำหน้าที่ data scientist ด้วยเวลาเพียง 3 เดือน เฉลิมชนม์ประเมินความสามารถด้านดาต้าของตัวเองพัฒนาขึ้นถึง 80-90% ซึ่งนอกจากความรักดาต้าเป็นทุนเดิมแล้ว วิธีการสอนและความใส่ใจของอาจารย์จาก General Assembly ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียน

การเรียนการสอนของ General Assembly มีความต่างจากระบบการสอนแบบไทยอย่างมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดคึอ ความรักในงานของอาจารย์ที่เราสัมผัสได้ ทุกเช้าจะมีการรีวิวเนื้อหา ปรับคอร์สตามสภาวะการเรียนรู้ และยังะคอยเช็คอุณหภูมิของห้องตลอดเวลา อันไหนง่ายไป ยากไป ถ้าเครียดก็จะใส่มุกตลก ให้บรรยากาศการเรียนสนุกขึ้น

“ที่สำคัญ ยังมีเซสชั่นที่เปิดพื้นที่ให้ทุกคนในคอร์สได้ถกเถียงและอภิปรายถึงประเด็นที่เกิดขึ้นนอกตำราอย่างสร้างสรรค์ การมองข้อมูลที่ต่างมุม รวมถึงจริยธรรมด้านดาต้าที่ต้องคำนึงถึงอย่างแรก”

ปัจจุบัน เฉลิมชนม์ทำงานในตำแหน่ง data scientist สายงาน People & Organization Strategy, and Analytics ของทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งถือเป็นตำแหน่งใหม่และเป็นกำลังสำคัญของกลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กับภารกิจเปลี่ยนองค์กรสู่ AI-First Organization ที่ตั้งเป้าไว้

จากเส้นทางดนตรี สู่นักสื่อสารด้วยดาต้า
หากใครได้ดูรายการประกวดร้องเพลงยุคบุกเบิก The Star ค้นฟ้าคว้าดาว อาจคุ้นๆ เห็นเธอคนนี้ผ่านตามาบ้าง ภัควลัญชณ์ โชติพิชชานันช์ หรือ ดิ๊ง เพราะเธอเป็นหนึ่งในผู้เข้าประกวดรอบ 20 คนสุดท้ายของรุ่น 4 สะพานอีกเส้นที่สานฝันอาชีพนักร้อง นักแต่งเพลงในวัยเด็ก เธอมุ่งมั่นกับมันอย่างมาก ถึงขั้นศึกษาเต็มเวลาในระดับปริญญาตรี คณะดุริยางคศาสตร์ สาขาดนตรีเชิงพาณิชย์ ม.ศิลปากร

ความฝันย่อมเป็นเพียงความฝันหากไม่ลงมือทำ แต่นั่นไม่ใช่ภัควลัญชณ์ เพราะเธอมุ่งมั่นคว้าฝันด้วยการฝึกฝนทั้งร้องเพลงทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งการฝึกตัวเองอย่างนี้ตั้งแต่เด็กช่วยบ่มเพาะให้เธอกลายเป็นคนมีวินัย จนกระทั่งอายุ 18 ปี เธอได้เป็นครูสอนร้องเพลงตามที่ฝันไว้ที่สถาบันดนตรีมีฟ้า ซึ่งเป็นโรงเรียนดนตรีในเครือ GMM Grammy และเป็นผู้สอนระดับขั้นสูง (KCI Advance Instructor) ของสถาบัน KPN Music Academy

แต่เมื่อทำงานสอนครบ 8 ปี ภัควลัญชณ์รู้สึกถึงจุด “อิ่มตัว” เธอจึงมองหาความท้าทายใหม่ๆ ขณะนั้นเธอพึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการตลาด จาก NIDA และนั่นจึงเป็นจุดหักเห เบนเข็มพาเธอเข้าสู่การทำงานในองค์กรเป็นครั้งแรกในชีวิต โดยเริ่มจากงานที่ศูนย์บริการลูกค้า จากนั้นจึงย้ายสู่สายงานสื่อสารองค์กร ทำหน้าดูแลงานสื่อสารภายในองค์กร

ช่วงปี 2560 เป็นยุคที่โซเชียลมีเดียเริ่มบูม คอนเทนท์บนฟีดมีความหลากหลายมากขึ้น แต่ที่เตะตาภัควลัญชณ์อย่างมากเลยคือ “อินโฟกราฟิก” และ “วิดีโอสั้น (short-form video)” เพราะเนื้อหาที่ย่อยมาแล้ว ดูปราดเดียวก็เข้าใจ เธอในบทบาทนักสื่อสารจึงอยากสร้างสรรค์ให้ได้บ้าง และนั่นถือเป็นจุดสตาร์ท เพื่อพัฒนา hard skill โดยหาคอร์สเรียนโปรแกรมออกแบบและตัดต่อวิดีโอด้วยตัวเอง จนสามารถทำกราฟิก-ตัดต่อวิดีโอเล่าเรื่องเองได้ เรียกได้ว่า “กระหายใคร่รู้กับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ภัควลัญชณ์เดินทางเข้าสู่โลกดาต้าก็คือ การที่หัวหน้างาน (อรอุมา วัฒนะสุข ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าสายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ที่ทรู) ได้จัดอบรม Data Storytelling ให้สมาชิกในทีมได้อัปสกิลให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้งานสื่อสารด้วยดาต้าเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมได้อย่างแท้จริง และนั่นจึงไปกระตุกความสนใจการเล่าเรื่องด้วยดาต้าที่มุ่งเน้นให้คนมีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องที่เล่าได้ด้วยเทคนิค Scrollytelling ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในสื่อชั้นนำของโลก เธอจึงหาคอร์สเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาสื่อรูปแบบดังกล่าวเพิ่มเติม และพบว่าต้องอาศัยความเข้าใจภาษาโค้ดดิ้ง เช่น SQL, R ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและทำ data visualization และอีกกลุ่มที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ Interactive ได้อย่างภาษา HTML, CSS และ Java script

ระหว่างทาง เธอได้รับความไว้วางใจให้เป็น project manager ดูแลรับผิดชอบโครงการต่างๆ ซึ่งล้วนนำมาซึ่งการรีสกิลและอัพสกิลใหม่ๆ เช่น ความเข้าใจใน UX/UI การทำ prototype เว็บไซต์และแอป จากการดูแล corporate website การทำงานเชิงวิชาการจากฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนที่ (Mobility Data) เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองรอง เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของ Generative AI ที่เธอเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจถึงพื้นฐานแนวคิดการพัฒนา และการนำไปใช้

“ถ้าจะเป็น ‘มนุษย์เป็ด’ ในที่ทำงาน ก็ต้องเป็นเป็ดพรีเมียม (Multipotentialite) เรียนรู้ให้กว้าง ไว และไม่หยุดยั้งตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เพราะทักษะที่หลากหลายนั้น จะทำให้เราเห็นภาพรวมของงาน และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง” ภัควลัญชณ์ กล่าว

ปัจจุบัน ภัควลัญชณ์ รับหน้าที่ดูแลงานสื่อสารผ่านดาต้าและช่องทางดิจิทัล ภายใต้หน่วยงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ ที่ทรู คอร์ปอเรชั่น

เธอเปรียบการพัฒนาตัวเองกับการฝึกของนักดนตรีว่า “เป้าหมายของนักดนตรีคือ ขยายขีดความสามารถตัวเอง เช่นเดียวกับการอัปสกิลที่ต่างต้องเริ่มที่การมี growth mindset แล้วตามด้วยการฝึกฝน เตรียมตัวเองให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน การมีบุคคลต้นแบบหรือโค้ชที่ดีก็จะช่วยให้นักดนตรีพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด เช่นเดียวกับการอัปสกิลที่เราควรมี mentor ที่ดี เพื่อชี้แนะแนวทางและให้การสนับสนุน เราก็จะพิชิตเป้าหมายได้อย่างแน่นอน”

ทรู ดิจิทัล พาร์ค ศูนย์กลางเทคและสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดย นายฐนสรณ์ ใจดี (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการใหญ่ เดินหน้าสนับสนุนสตาร์ทอัพ Climate Tech เร่งสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมาย Net Zero เพื่อโลกที่ยั่งยืน ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จำกัด โดย ดร.ศกยง พัฒนเวคิน (ที่ 2 จากขวา)  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยกระดับบริการพื้นที่จัดอีเวนต์ของทรู ดิจิทัล พาร์ค ด้วย Carbon Neutral Events Service บริการเสริมที่จะช่วยให้ทุกงานอีเวนต์ กลายเป็นงานที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ครั้งแรกในประเทศไทยของพื้นที่จัดอีเวนต์ที่ผนวกบริการครบวงจรเพื่อช่วยให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการจัดงานอีเวนต์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Event) สนับสนุนผู้จัดกิจกรรมและงานสัมมนาต่างๆ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการกู้วิกฤตโลกเดือด ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ได้รับการส่งเสริมจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดย นายรองเพชร บุญช่วยดี (ซ้ายสุด) รองผู้อำนวยการ ร่วมด้วยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) โดย นางอรชร ว่องพรรณงาม (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ของประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านการจัดงานอย่างยั่งยืนในเวทีระดับนานาชาติ และก้าวเป็น Mice Destination ของอาเซียน

นายฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค กล่าวว่า “ทรู ดิจิทัล พาร์ค มุ่งต่อยอดภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพ ด้วยความแข็งแกร่งของระบบนิเวศสมบูรณ์แบบครบวงจรสำหรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการเทค ล่าสุดจับมือกับ VEKIN สตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่มีการพัฒนานวัตกรรมความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นำ Climate Technology ยกระดับการให้บริการพื้นที่จัด Event ด้วย Carbon Neutral Events Service นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยของพื้นที่จัดอีเวนต์ที่ผนวกบริการครบวงจรเพื่อช่วยให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการจัดงานอีเวนต์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Event) ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ เติมเต็มความตั้งใจของ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ในการสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพ  พร้อมสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ เพื่อโลกที่ยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยในการรองรับการจัดอีเวนต์แบบ Carbon Neutral Event ที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทั่วโลก

เราตระหนักดีว่า การจัดงานอีเวนต์เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการใช้พลังงานไฟฟ้าในการจัดงาน การพักแรม การเดินทาง ตลอดจนการใช้พลังงานในการปรุงอาหาร และสิ่งเหลือทิ้งจากการจัดงาน เป็นต้น Carbon Neutral Events Service สามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ และผู้จัดกิจกรรม เกิดความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการจัดงานทั้งหมด รวมถึงมีการชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา เพื่อให้ผลรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์”  

ดร.ศกยง พัฒนเวคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า VEKIN มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง (Deep Technology) สร้างสรรค์แนวทางใหม่ เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมาย Net Zero ให้เกิดขึ้นจริง เริ่มจากการสร้างกระบวนการรับรู้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบอัตโนมัติ สร้างช่องทางให้ทุกภาคส่วนมีร่วมเพื่อลดการปลดปล่อย และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบริการ Carbon Neutral Events Service จากความร่วมมือกับ ทรู ดิจิทัล พาร์ค จะช่วยให้การจัดงานอีเว้นท์ ไม่ว่าจะเป็นงานประชุม อบรม สัมมนา และกิจกรรมอื่นๆ สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้ โดยอำนวยความสะดวกให้องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ สามารถจัดงานแบบ Carbon Neutral Event ได้อย่างครบวงจร นอกจากนี้ VEKIN ยังร่วมมือกับทรู ดิจิทัล พาร์ค ในการแนะนำแนวทางการจัดงานอีเวนต์ ที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน ตลอดจนให้ความรู้และบริการด้านความยั่งยืนแก่องค์กรต่างๆ ในระบบนิเวศของทรู ดิจิทัล พาร์ค ด้วย

เปลี่ยนทุกงานอีเวนต์ ให้กลายเป็นงานที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม

TDPK Carbon Neutral Events Service ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้จัดงานและเจ้าของงานสามารถจัดงานแบบ Carbon Neutral Event ได้อย่างง่ายดาย ผ่านแพลตฟอร์มการคำนวณการปล่อยและการชดเชยคาร์บอนจากการจัดงานจนคาร์บอนเป็นกลาง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา และลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการประสานงานกับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดงาน รวมถึงการจัดทำเอกสารและประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ  อีกทั้งยังมั่นใจได้ว่าจะได้รับการรับรอง Carbon Neutral Event อย่างแน่นอน  ตอบสนองนโยบายด้านความยั่งยืนขององค์กร และเสริมสร้างภาพลักษณ์การเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยครอบคลุมบริการต่างๆ ดังนี้

  • บริการให้คำปรึกษาและให้บริการเครื่องมือในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ที่เกิดจากการจัดงาน
  • คำนวณค่าใช้จ่ายในการชดเชย บริการจัดหาและดำเนินการซื้อคาร์บอนเครดิต เพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
  • ประมวลผลข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจก และรายงานแบบเรียลไทม์ผ่านแดชบอร์ด
  • รับรองการเป็น Carbon Neutral Event จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.

ทั้งนี้ หน่วยงานและองค์กร หรือ ผู้จัดกิจกรรมต่างๆที่ทรู ดิจิทัล พาร์ค สามารถมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ เพื่อโลกที่ยั่งยืน ผ่านบริการ Carbon Neutral Events Service ได้ง่ายๆ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.truedigitalpark.com

ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมสนับสนุนวิสัยทัศน์รัฐบาลในการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Hub) ผ่านการนำเสนอนวัตกรรมดิจิทัลของทรูที่ร่วมเติมเต็มชีวิตอัจฉริยะในบ้านให้เป็น Smart Life รวมทั้งแนะนำบริการด้านสุขภาพสำหรับวิถีชีวิตดิจิทัลผ่านแอปหมอดี  โดยร่วมจัดแสดงเป็นนิทรรศการในงานอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "Digital Korat: The Future Starts now - โคราช มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต" ณ ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  พร้อมด้วยนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมชมบูธทรู คอร์ปอเรชั่น โดยมี นายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล หัวหน้าสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ และนายอรรถ อรุณรัตนพงษ์ หัวหน้าสายงานบริหารจัดการระดับภูมิภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 1 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำชมนวัตกรรมดิจิทัลที่ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อนำเสนอศักยภาพในฐานะบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย ที่มุ่งยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลโซลูชันอัจฉริยะ True Smart Living โดยผสานระบบนิเวศดิจิทัลครบวงจรของกลุ่มทรู และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย เชื่อมโยงผ่านเทคโนโลยีสื่อสารล้ำสมัยและเครือข่ายอัจฉริยะทรู 5G ช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย และความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตภายในที่พักอาศัยให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น รวมทั้งแอปพลิเคชัน "หมอดี" ที่นำเทคโนโลยีร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตและการสาธารณสุข เพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนสู่นโยบาย "IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง" ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมระดับโลกและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืนภายในงานอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "Digital Korat: The Future Starts now - โคราช มหานครดิจิทัลแห่งอนาคต"

ชูแอปพลิเคชัน "หมอดี" (MorDee) พร้อม Smart Living Tech

  • แอปพลิเคชัน "หมอดี" (MorDee) นำเสนอบริการด้านสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ที่ใช้เทคโนโลยี Cloud และ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาบริการ ครอบคลุมการดูแลสุขภาพโดยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญกว่า 500 คนจาก 20 สาขาเฉพาะทาง พร้อมฟังก์ชันการนัดหมาย ปรึกษาแพทย์ ส่งยาถึงบ้าน และเคลมประกันโดยไม่ต้องสำรองจ่าย
  • Smart Living Tech ทรูนำเสนอโซลูชันบ้านอัจฉริยะที่ใช้อุปกรณ์ IoT และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ดูแลสุขภาพ และยกระดับความปลอดภัยภายในบ้าน โดยสามารถควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน อุปกรณ์ที่นำมาจัดแสดงประกอบด้วย Water leak sensor, IR remote control, Door & Window Sensor, Zigbee Mini Hub, Smart CCTV, Smoke Sensor, Smart Light Bulb, Smart Plug, Smart outdoor Camera และ Smart Baby Camera

การสนับสนุนครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทยในการร่วมขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลของรัฐบาล และการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นต้นแบบมหานครดิจิทัลแห่งอนาคต สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลระดับภูมิภาค

ความคาดหวังในอาชีพและการทำงานของคนรุ่นใหม่กำลังเปลี่ยนไป การสำรวจของ Deloitte ระบุว่า คน Gen Z (61%) และมิลเลนเนียล (58%) เชื่อว่าพวกเขามีพลังในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในองค์กรของตนได้

ปารมิตา ประพฤติธรรม จากสายงาน Channel Strategy & Transformation ตัวแทนพนักงานรุ่นใหม่วัย Gen Z ของทรู ที่ผ่านโปรแกรม True Next Gen สร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้ามาช่วยเร่งขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็น Telco-Tech Company เธอได้แบ่งปันมุมมอง ความมุ่งมั่น และการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้จริง

นอกจากนี้เธอได้ชวน Sandip Shivaji Landge จากสายงาน S&D Strategy and Performance Management เพื่อนร่วมงานต่างเจเนอเรชั่นที่ผ่านประสบการณ์ทำงานท่ามกลางความหลากหลายมาถึง 15 ปี ใน 3 ประเทศที่มีความแตกต่างอย่างอินเดีย เมียนมา และไทย โดยร่วมแบ่งปันเคล็ดลับการทำงานในสภาพแวดล้อมและผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมกับการสร้างมิตรภาพและการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในชีวิตการทำงานอีกด้วย

จากการทำกิจกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ สู่ความฝันทางการเมือง

 

“เรามีความฝันชัดเจนว่า อยากทำงานด้านการเมือง โดยได้แรงบันดาลใจจากการเลือกประธานนักเรียนตอนประถมปลาย ได้เห็นว่าการเป็นผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนได้แม้ในเวลานั้นจะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ก็ตาม ประกอบกับเมื่อเข้ามหาวิทยาลัยมีโอกาสได้ทำกิจกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการทำชุมนุมบัญชีที่มีกิจกรรมส่งเสริมให้เพื่อนๆ เข้าใจทางเลือกอาชีพนอกสาขาวิชาเรียน หรือการไปสร้าง Business Model ให้หมู่บ้านใน จ.สุรินทร์ ทำให้ชาวบ้านมีช่องทางหารายได้มากขึ้นจริงและยั่งยืน จากกิจกรรมเหล่านี้ทำให้เราอยากสร้าง Impact ที่ใหญ่ขึ้น และตอกย้ำแรงบันดาลใจที่อยากเข้าสู่การเมืองมากขึ้นไปอีกด้วย นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ว่า ทักษะการสื่อสารกับคนที่หลากหลายเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งเราต้องสะสมทักษะนี้ไว้ให้มากที่สุด”

จุดเปลี่ยนสู่การค้นหาตัวเอง และกล้าเสี่ยงกับทางที่เลือก

“ตอนอยู่ปี 2 เราเริ่มรู้สึกว่าไม่ได้อยากทำงานตรงสายการบัญชี (Accounting) ที่กำลังเรียนอยู่ แต่เรามีความสนใจด้านธุรกิจที่กว้างกว่านั้น และยังอยากสำรวจความชอบของตัวเองให้แน่ใจ เราได้ปรึกษากับรุ่นพี่ รวมถึงผู้ใหญ่หลายท่านว่าเราควรเลือกทำงานอะไรดี รวมถึงถามเรื่องแนวคิดในการดำเนินชีวิตด้วย เราเก็บข้อมูลจากมุมมองที่หลากหลาย พร้อมกับพาตัวเองไปฝึกงานในหลายตำแหน่งงานและหลายแวดวง ทั้ง สตาร์ทอัพ HR Consultant ไปจนถึงการบัญชี และทำกิจกรรมแข่งขันเคสธุรกิจต่างๆ ด้วย”

“เราเข้าใจดีว่า ถ้าทำงานในสายการบัญชี จะมีงานที่มั่นคงไปตลอดชีวิต แต่เราไม่อยากเสียเวลากับงานที่รู้ว่าไม่ใช่ และอยากใช้ช่วงชีวิตที่ยังตื่นตัวกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ และมี Passion เต็มเปี่ยมไปค้นหาสิ่งที่ชอบ แม้จะรู้ว่ามีความเสี่ยงเยอะกว่า หรือสุดท้ายอาจหาตัวเองไม่เจอเลยก็ได้ แต่เมื่อได้ไตร่ตรองจนตกตะกอนแล้ว สุดท้ายเราขอลองเสี่ยงดูดีกว่า”

ประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายในโปรแกรม True Next Gen

 

“พอเรียนจบเราได้ผ่านการทดสอบเข้ามาในโปรแกรม True Next Gen ซึ่งตอบโจทย์เรามาก เพราะเปิดโอกาสให้ได้ทำงานหลายตำแหน่งหลายสาขา ได้เรียนรู้หลายอย่าง ประกอบกับทรู ที่กำลังมุ่งสู่การเป็น Telco-Tech Company น่าจะมีการสร้างนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งเราอยากเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงนั้น ในเวลา 1 ปีครึ่ง เราได้ทำงานถึง 3 สายงาน ตั้งแต่งาน Retail Operations ของ True Shop สาขาต่างๆ งาน Financial Strategy ที่ MorDee และงาน Channel Profitability Analysis กับทีม Finance ทุกงานเราได้ลงมือทำจริง ทำให้ Learning Curve สูงมาก ทั้งการทำงานกับผู้คนและตัวเนื้องานต่างๆ เอง”

“พอจบโปรแกรมก็ได้ทำงานในสาย Channel Strategy & Transformation โดยสานต่องานโปรเจกต์ Channel Profitability ที่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงการบริหารจัดการ ที่นำ Performance ของแต่ละ Channel การขายของบริษัทมาวิเคราะห์แยกย่อยให้เห็นความสามารถในการทำกำไรแท้จริงของแต่ละช่องทางการขาย ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมข้อมูลยิบย่อยของภาพเล็ก มาสู่การวิเคราะห์เป็นภาพใหญ่ ผลลัพธ์ที่ออกมาทำให้แต่ละช่องทางการขายนำไปสร้างกลยุทธ์ที่แก้ไขปัญหาหรือริเริ่มสิ่งใหม่ในการทำกำไรมากขึ้น งานนี้ได้ทั้งความรู้และได้ทำงานร่วมกับคนเยอะมากจากหลากหลายฝ่าย ตอนนี้ก็ใกล้สำเร็จแล้ว”

การทำงานท่ามกลางความหลากหลายไม่มีสูตรสำเร็จ

“การที่เราอายุน้อย เราพยายามหาโอกาสสร้างสัมพันธ์กับพี่ๆ ทุกคน โดยไม่ใช่แค่เรื่องงานเท่านั้น เราลองหาว่าจะคุยเรื่องไหนที่มีความสนใจร่วมกันบ้าง และพยายามหาโอกาสมานั่งทำงานและใช้เวลาร่วมกันแบบ Face to Face เสมอ ที่ผ่านมาเราเคยใช้การสื่อสารหรือวิธีการทำงานแบบเดียวกันที่คิดว่าใช้ได้กับทุกคน แต่สุดท้ายได้เรียนรู้ว่า แต่ละคนมุมมองแตกต่าง มี Mindset หรือการมองโลกคนละแบบ ดังนั้นการสื่อสารหรือทำงานกับแต่ละคนจึงไม่มีสูตรสำเร็จในแบบเดียว เราต้องเข้าใจแต่ละคน ไปพร้อมกับการหาวิธีที่เราก็ไม่เสียความเป็นตัวเองด้วย”

 

“ข้อดีของการที่เราเป็นเจเนอเรชั่นใหม่คือ เรามีมุมมองที่แปลกใหม่ มีความกระตือรือร้น และมาพร้อมรอยยิ้มเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งต่อไปยังคนรอบข้าง พี่ๆ เคยบอกว่าการที่เราเข้ามาในทีมทำให้ทุกคนสดใสขึ้น ลดความเครียดได้ และเสริมความสัมพันธ์ในทีมได้ สำหรับเราที่เป็นเด็ก ก็ไม่มีอีโก้อะไร ไม่มีอะไรจะเสียที่เราจะเสนอสิ่งใหม่ หรือแม้แต่ถามหรือขอเรียนรู้งานจากทุกคนได้”

มีความสบายใจในทุกด้าน เพื่อทำงานในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดของตัวเอง

“ชีวิตคนเราทุกวันนี้มีความวุ่นวายในหลายด้านมากๆ การที่เราจะมีสมาธิในการทำงาน ทุ่มเทงานได้เต็มที่เต็มความสามารถ มาจากการที่ไม่ต้องกังวลเรื่องอื่นๆ ในชีวิตมากนัก ยิ่งวัยทำงานก็จะมีทั้งเรื่องลูก พ่อแม่ที่อายุมากขึ้น หรือแม้แต่ความเจ็บป่วยของตัวเอง สวัสดิการต่างๆ ที่บริษัทจัดให้จึงมีความสำคัญอย่างมาก ถ้าบริษัทมีสวัสดิการที่รองรับปัญหาชีวิตนอกการทำงานของพนักงานได้ มองกว้างไปกว่าเรื่องงาน คิดว่าตรงนี้ก็ช่วยให้ทุกคนทำงานได้เต็มที่ เต็มศักยภาพมากที่สุดได้”

 

พูดคุยเรื่องการทำงานกับเพื่อนร่วมงานต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม และต่างเจเนอเรชั่น

ปารมิตา: “ในทีมที่เราทำงาน มีความหลากหลายในแทบทุกด้าน อย่างคุณ Sandip ก็เป็นเพื่อนร่วมงานที่มีความแตกต่างจากเรา เขาให้คำแนะนำดีๆ หลายอย่างจากความเชี่ยวชาญ รวมถึงมีประสบการณ์ทำงานในหลายประเทศมาก่อน”

Sandip: “ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ผมทำงาน 3 ประเทศในสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาก เริ่มจากการทำงานกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ใน 5 รัฐของอินเดีย ที่แต่ละรัฐก็มีความแตกต่างทั้งภาษาและวัฒนธรรมอยู่แล้ว ต้องปรับตัวใหม่ทุกอย่าง ต่อมาก็ย้ายไปทำงานที่เมียนมาซึ่งมีวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างมากเช่นกัน ผมเริ่มต้นบุกเบิกกับคนที่ไม่มีพื้นฐานงานด้านโทรคมนาคมมาก่อน ความท้าทายที่เพิ่มมาคือสอนให้พวกเขาเข้าใจธุรกิจไปด้วย และปัจจุบันผมทำงานประเทศไทยได้ 2 ปีครึ่งแล้ว ที่ผ่านมามีเดินทางไปทำงานที่นอร์เวย์บ้าง ทั้งหมดนี้เป็นการเดินทางที่ท้าทาย ได้พบเจอผู้คนที่แตกต่าง เรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งสนุกและตื่นเต้น”

ปารมิตา: “สำหรับเราช่วงแรกที่ทำงานกับคนต่างชาติ ก็รู้สึกว่ามีอุปสรรคเรื่องภาษาบ้าง แต่ก็สัมผัสได้ว่า เขาไม่เคยโฟกัสเรื่องแกรมมาร์ถูกหรือผิด เขากลับพยายามที่จะเข้าใจเรา ช่วยเรา ทั้งที่พวกเขาก็มีตำแหน่งที่สูงมาก หรือมีประสบการณ์ทำงานเยอะกว่าเรามาก เขายังอยากเรียนรู้และเข้าใจเรา อย่างคุณ Sandip ก็ให้คำแนะนำที่ดีมาก ดังนั้นเราก็กล้าที่จะพูดคุย ส่วนเรื่องวิธีการทำงาน เรารู้สึกว่าถ้ามีอะไรก็บอกตรงๆ เขาก็ช่วยจัดให้เลย”

 

Sandip: “ผมคิดว่าช่วงแรกๆ เพื่อนร่วมงานคนไทยหลายคนก็คล้ายกับปารมิตา คือยังไม่เปิดใจพูดคุยกัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอุปสรรคด้านภาษาและความแตกต่าง แต่ผมพยายามสร้างมิตรภาพ ให้ทุกคนมองว่าผมเป็นเพื่อน ไม่สร้างแรงกดดันเพิ่มเติมว่าผมเป็นชาวต่างชาติ ที่จะกลายเป็นข้อจำกัดและระยะห่างได้ สิ่งสำคัญคือการทำตัวผสานเข้ากับวัฒนธรรมไทย ทำเหมือนกับที่ทุกคนทำ พร้อมไปกับทำความรู้จักกัน ให้ทุกคนมั่นใจว่าทุกอย่างไม่ใช่อุปสรรค ถึงพูดภาษาอังกฤษสื่อสารไม่คล่อง เราก็เรียนรู้ภาษาท่าทางได้ และแสดงว่าผมเปิดใจกว้างให้กับทุกคนสามารถเข้ามาคุยกันได้ทุกเมื่อ”

“และเคล็ดลับหนึ่งของผมคือ การมีช่วงเวลาพักและดื่มกาแฟด้วยกัน เพื่อให้มีโอกาสที่จะพูดคุยเรื่องต่างๆ นอกเหนือจากงาน ผมเชื่อว่า ถ้าให้เวลาพักสักนิด จะทำให้คุณใกล้ชิด เข้าใจกันและกันมากขึ้น และแสดงออกได้ดีขึ้น ส่งผลให้งานดีขึ้นเช่นกัน”

ปารมิตา: “เคล็ดลับนี้ของคุณ Sandip เราได้นำไปใช้กับเพื่อนร่วมงานไทย และพบว่ามันได้ผลดีมากด้วยเหมือนกัน การที่เขามีมิตรภาพที่ดี ทำให้เราไม่ปิดกั้นตัวเองที่จะพูดคุย ที่ผ่านมาเราได้ขอคำแนะนำ ความคิดเห็นเกี่ยวกับงาน มุมมองการใช้ชีวิต และทักษะความรู้ทางธุรกิจจากคุณ Sandip เสมอ รวมถึงเรียนรู้วิธีการทำงานกับความหลากหลายต่างๆ ด้วย”

Sandip: “ปารมิตาเป็นเพื่อนร่วมงานที่อายุน้อยที่สุดในทีม แต่เธอสามารถเข้าใจความต้องการของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และปรับตัวให้เข้ากับทีมได้ดี ผมยกย่องคนที่แสดงความสนใจและทำความเข้าใจกับงานอย่างลึกซึ้ง ผมรู้สึกว่าคนรุ่นใหม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำความเข้าใจและทำสิ่งที่แปลกใหม่ พวกเขาไม่ยึดติดกับแนวทางเดิมๆ พยายามเป้าหมายและวิธีที่แตกต่างออกไป ผมก็เชื่อเช่นกันว่า ถ้าไม่คิดต่างก็ยังคงได้ผลลัพธ์เดิมๆ ดังนั้นแม้จะมีความแตกต่างของวัย แต่เราเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีที่สุดต่อกัน”

 

Lesson Learned: การทำงานท่ามกลางความหลากหลายด้านวัย เชื้อชาติ และวัฒนธรรม

· Building Relationships: สร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน หาโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยน เรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากเรื่องการทำงาน

· Adaptability and Learning: การเปิดใจเรียนรู้รับฟังความที่หลากหลาย และปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ช่วยให้ทำงานได้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

· Effective Communication: รับฟังและเข้าใจมุมมองของผู้อื่น พร้อมสื่อสารเข้าใจง่าย ชัดเจน รวมถึงพยายามสื่อสารแบบ Face to Face เพื่อเพิ่มความเข้าใจจากบริบทและท่าทาง จะช่วยให้ทำงานร่วมกันได้ราบรื่น

Page 1 of 13
X

Right Click

No right click