December 25, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

‘โชวห่วย-ไฮบริด’Omni-Channel ทางรอดธุรกิจของคนตัวเล็ก

September 28, 2017 3639

กระทรวงพาณิชย์ เปิดโครงการเสริมสร้างศักยภาพร้านค้าชุมชนไทยสู่ โชวห่วย-ไฮบริด เสริมพื้นฐานการทำธุรกิจให้ร้านค้าชุมชน ภายในปีนี้คาดผลิตร้านโชวห่วย-ไฮบริดได้ถึง 100 ร้านค้าทั่วประเทศ ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ Omni-Channel ดึงออฟไลน์และออนไลน์ดูดลูกค้า และช่วยให้เกิดศูนย์กลาง (Hub) กระจายสินค้าในร้านและผลิตภัณฑ์ชุมชนไปสู่มือผู้บริโภคด้วย Platform ของไปรษณีย์ไทย และผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตของ DEPA

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า โครงการ “เสริมสร้างศักยภาพร้านค้าชุมชนไทยสู่ โชวห่วย-ไฮบริด” เป็นโครงการสำคัญที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมอย่างจริงจังเพื่อผลักดันเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) ของไทยผ่านร้านค้าชุมชนให้สามารถเผชิญความท้าทายต่อการแข่งขันที่รุนแรงทั้งสถานการณ์การตลาดในประเทศและต่างประเทศผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องติดอาวุธทางความคิด มีการวางแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการร้านค้าสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ร้านค้าชุมชนมีโอกาสเติบโตและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจของตนเองและครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจในท้องถิ่นด้วย

 “แนวทางการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการฯ เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาลและเอกชนได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA), บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านแลชุมชนเมืองแห่งชาติ ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจในท้องถิ่นเพื่อนำมากำหนดแนวทางการส่งเสริมของกระทรวงพาณิชย์พบว่า ร้านค้าชุมชนไทยมักจะพบกับอุปสรรคสำคัญในการทำธุรกิจ 3 ด้านคือ 1) ด้านการตลาด การขายสินค้าที่ไม่ตรงใจผู้บริโภค ภาพลักษณ์การจัดร้านที่ไม่สวยงามมีระเบียบ 2) ด้านโลจิสติกส์/สินค้าคงคลัง ไม่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี และ 3) ด้านข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ไม่มีการจัดทำรายงานข้อมูลทางการเงิน หรือสินค้าคงเหลือ ทำให้ไม่มีข้อมูลเพียงพอเพื่อนำมาวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจได้

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 

โครงการฯ นี้จึงมุ่งขจัดอุปสรรคและตอบโจทย์การสร้างความเติบโตให้ร้านค้าชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยใช้การตลาดยุคใหม่อย่าง ‘Omni-Channel’ เข้ามาช่วยบริหารธุรกิจได้อย่าง  มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีที่เป็นเครื่องมือทางการตลาดให้ร้านค้าชุมชนสามารถเข้าถึงลูกค้าจากทุกช่องทาง

ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะลงพื้นที่ทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ (เชียงใหม่, กรุงเทพฯ, อุดรธานี และสงขลา) เพื่อให้ความรู้ทางวิชาการแก่ร้านค้าชุมชนและด้านปฏิบัติในการลงมือปรับภาพลักษณ์ (Workshop) ณ ร้านค้าจริง โดยมีร้านค้าที่เข้าร่วมจำนวนแล้วจำนวน 200 ร้านค้า จากนั้นกรมฯ จะคัดเลือกร้านค้าที่มีความพร้อมจำนวน 100 ร้านค้าเพื่อให้คำปรึกษาในเชิงลึก และพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็นร้านโชวห่วย-ไฮบริด ซึ่งตั้งเป้าหมายเบื้องต้นไว้ที่จำนวนไม่น้อยกว่า 50-100 ร้านค้าภายในปี 2560 นี้”

รมช. กล่าวในท้ายที่สุด “สำหรับร้านโชวห่วย-ไฮบริด จะทำหน้าที่เป็น Hub หรือจุดรวบรวมคำสั่งซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภค/ผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่น การชำระเงินผ่านทางระบบออนไลน์ของผู้บริโภคในชุมชนและระบบการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ โดยการดำเนินงานจะเป็นความร่วมมือของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ที่จะดำเนินการติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในหมู่บ้าน และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่ขณะนี้กำลังพัฒนา Platform การซื้อ-ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่สามารถนำมาปรับใช้กับร้านค้าโชวห่วยและร้านค้าชุมชน ประกอบกับเสริมความรู้ให้กับร้านค้าชุมชนด้านบริหารจัดการเครือข่ายโลจิสติกส์ของสินค้าตั้งแต่ต้นทาง จนกระทั่งถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นจุดแข็งของไปรษณีย์ไทยที่จะมาช่วยให้ร้านค้าชุมชนสามารถจำหน่ายและกระจายสินค้าได้ครอบคลุมทั่วประเทศ

เชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะช่วยพลิกโฉมและเชื่อมโยงร้านค้าชุมชนหรือร้านโชวห่วยในท้องถิ่นให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ด้วยเทคโนโลยี สร้างผู้ประกอบธุรกิจหรือธุรกิจของ คนตัวเล็กๆ ให้มีความเข้มแข็งสะท้อนความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่สำคัญร้านค้าชุมชนจะสามารถอยู่ร่วมกับร้านค้าสมัยใหม่ (Modern Trade) ได้รวมถึงปรับตัวให้ดำเนินธุรกิจบนช่องทางออฟไลน์และออนไลน์อย่างยั่งยืน”

Last modified on Thursday, 28 September 2017 06:10
X

Right Click

No right click