สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค 2022 ผู้จัดงาน APEC CEO Summit 2022 ได้ออกแถลงการณ์ในนามภาคเอกชนที่มีความภูมิใจสำหรับการรับหน้าที่การเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งสำคัญ ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ด้วย APEC CEO Summit 2022 นับเป็นเวทีคู่ขนานกับเวทีประชุมของภาคนโยบายหรือประชุมเอเปค 2022

อย่างคู่ขนานกันที่เวทีของภาคเอกชน ได้มีการจัดการเจรจา อภิปราย และแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระหว่างผู้นำทางธุรกิจ ตลอดจนผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ผู้กำหนดนโยบาย และนักวิชาการต่างๆ ในประเด็นทางธุรกิจที่ภูมิภาคกำลังเผชิญ โดยนับเป็นความพยายามอันมุ่งมั่นของเอเปคในการส่งเสริมการเจรจาและความร่วมมือภาครัฐ และภาคเอกชน

ทั้งนี้ การประชุม APEC CEO Summit 2022  มีความมุ่งเน้นการขับเคลื่อนทางด้านการค้า การลงทุน สังคม และเศรษฐกิจภายใต้แนวทาง "Embrace Engage Enable" ที่เน้นการเปิดโอกาส การสอดประสานความร่วมมือ และการผลักดันสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในชุมชนเอเชียแปซิฟิก โดยนอกจากความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน เวทีนี้ยังนับเป็นความร่วมมือกับภาครัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นที่เราชุมชนเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญ และนอกจากนี้ ยังนับเป็นเวทีต่อการเตรียมความพร้อมของมิติใหม่ทางการค้า การลงทุน และทางสังคม เพื่อให้ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก สามารถขับเคลื่อนไปยังอนาคตข้างหน้าได้อย่างมีพลวัตและยั่งยืน

สำหรับเวทีการสนทนาของการประชุม APEC CEO Summit 2022 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 นี้ ได้มีวาระการประชุมที่สำคัญ อันได้แก่

ประเด็นที่ 1: ผู้นำเขตเศรษฐกิจและผู้นำทางธุรกิจเห็นพ้องกันว่าจำเป็นต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เพื่อส่งมอบการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมสำหรับอนาคต

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว หรือ BCG ซึ่งประเทศไทยได้นำมาเป็นวาระแห่งชาติและเป็นยุทธศาสตร์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาดใหญ่

สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวในคำปราศรัยที่เตรียมไว้ว่า การเปิดกว้างเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความก้าวหน้า ในขณะที่การขัดขวางห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นในเอเชียแปซิฟิก จะขัดขวางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จีนมุ่งมั่นที่จะ 'ส่งเสริมการสร้างชุมชนเอเชียแปซิฟิกที่มีอนาคตร่วมกัน'

นายจอห์น เดนตัน เลขาธิการสภาหอการค้านานาชาติ กล่าวว่า การหลอมรวมภาคธุรกิจเข้ากับการกำหนดนโยบายเป็นจุดแข็งที่สำคัญของเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก และความร่วมมือนี้มีความจำเป็นในอนาคต ด้วยเป็นภูมิภาคที่สร้างความยืดหยุ่นด้านห่วงโซ่อุปทาน ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านของพลังงานและคาร์บอน และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน

นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สะท้อนความรู้สึกดังกล่าว โดยกล่าวว่า การดำเนินการและความร่วมมือร่วมกันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากความไม่เท่าเทียมกันที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำเศรษฐกิจไปสู่การพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน และให้ความสำคัญกับ 'การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม'

ศาสตราจารย์เคล้าส์ ชวาป ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารสภาเศรษฐกิจโลก เรียกร้องให้บริษัทต่าง ๆ โอบรับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิทัล การคิดเชิงกลยุทธ์ และแนวคิดเรื่องเงินทุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างความไว้วางใจจากสาธารณะ

ประเด็นที่ 2: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความครอบคลุม และความยั่งยืน จะเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้กำหนดนโยบายและบริษัทต่างๆ

นายเหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีเวียดนาม กล่าวว่า การลงทุนทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และการดูแลสุขภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถูกกำหนดให้เป็นตัวขับเคลื่อนกระแสการลงทุนจากต่างประเทศในอนาคต

นายแฟร์ดินันด์ โรมูอัลเดซ มาร์โคส จูเนีย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เห็นพ้องต้องกันว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สุขภาพ และความมั่นคงทางอาหารเป็นความท้าทายสำคัญที่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญ และเรียกการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศว่าเป็น 'ความท้าทายที่กดดันที่สุดต่อความอยู่รอดในยุคสมัยของเรา’

นายโรเบิร์ต มอริทซ์ ประธานบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส (PwC) กล่าวว่า ความยืดหยุ่น ความยั่งยืน และความคล่องตัว จะมีความสำคัญต่อการเติบโตในอนาคต เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากสาธารณชน ผู้ประกอบการธุรกิจต้องมีความสามารถในการกำหนดแนวทางและดำเนินงานเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต

นายกาบริเอล โบริก ประธานาธิบดีสาธารณรัฐชิลี กล่าวว่าการปฏิรูปสังคมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจัดการกับความไม่เท่าเทียมและสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม

นางดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา รองประธานาธิบดีคนที่ 1 สาธารณรัฐเปรู ได้เห็นด้วยต่อประเด็นก่อนนี้ โดยเสริมว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นมีสามมิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกล่าวว่าความท้าทาย คือการตอบสนองความต้องการในปัจจุบันโดยไม่ประนีประนอมกับอนาคต

จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ กล่าวว่า การเติบโตจำเป็นต้องมีความครอบคลุม และไม่ทิ้งกลุ่มผู้ด้อยโอกาสไว้เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ธุรกิจขนาดเล็ก หรือชนพื้นเมือง เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดในช่วงการระบาดของโควิด-19

 

 

เอสซีจี จัดแสดงนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บนเวทีผู้นำโลก APEC 2022 Thailand โชว์ศักยภาพ พร้อมเชื่อมโยงทุกภาคส่วน ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ปรับตัวรับมือความท้าทายโลก ด้วยโซลูชันเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด และนวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีนเพื่อผลิตพลาสติกชีวภาพ ชูโครงการฝึกอาชีพ สร้างรายได้มั่นคง ลดสังคมเหลื่อมล้ำ พร้อมเปิดตัวผลงานชะลอม APEC 2022 Thailand จากนวัตกรรม CPAC 3D Printing หนึ่งเดียวในโลก สานต่อแนวทาง BCG

นายนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจี มีความตั้งใจนำความเชี่ยวชาญของเรา มาผสานศักยภาพกับทุกภาคส่วน เพื่อทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงโอกาสใหม่ ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ที่สมดุลทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งเราหวังว่าจะช่วยให้เกิดการรวมพลังทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยเอสซีจีได้จัดแสดงโซลูชันเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition Solutions) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ “พลังงานชีวมวล (Biomass)” จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สำหรับทดแทนพลังงานฟอสซิลในกระบวนการผลิต และ “SCG Cleanergy โซลูชันพลังงานสะอาดครบวงจร” ในรูปแบบ Smart Grid เครือข่ายอัจฉริยะจัดการพลังงานสะอาด เพื่อการซื้อ-ขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้อย่างง่ายดาย

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวเสริมว่า “เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC พร้อมสานต่อแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG (Bio–Circular–Green Economy) โดยพัฒนานวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ “SCGC GREEN POLYMER” เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้ง “ร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีนสำหรับการผลิตพลาสติกชีวภาพ” โดยร่วมมือกับ Braskem (บราสเคม) ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล ตอบโจทย์ความต้องการใช้พลาสติกรักษ์โลกที่กำลังเติบโต

เอสซีจี นำเสนอหลากหลายนวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ภายใต้แนวคิด “Together to Sustainable Future” ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 14-19 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้เปิดตัว “ผลงานชะลอม ตราสัญลักษณ์ APEC 2022 Thailand” หนึ่งเดียวในโลก ผลิต

จากนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution เทคโนโลยีการพิมพ์ได้อย่างอิสระ สวยงาม ซึ่งเป็นการนำเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติ ขนาดใหญ่ ขึ้นรูปด้วยปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮดรอลิก คาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล สร้างเสร็จไว ช่วยลดวัสดุเหลือทิ้งอย่างน้อย 70% สามารถสร้างสรรค์ได้หลายรูปแบบ ทั้งงานก่อสร้าง และงานตกแต่ง ทั้ง เฟอร์นิเจอร์ หรือชิ้นงานตกแต่งแลนด์สเคป รวมทั้งสามารถพริ้นท์เป็นวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง ซึ่ง “ผลงานชะลอม ตราสัญลักษณ์ APEC 2022 Thailand” นี้ จะร่วมมือกับ APEC 2022 Thailand นำไปวางเป็นบ้านปะการังเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่เสียหาย เพิ่มความหลากหลายระบบนิเวศทางทะเล ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ยั่งยืนให้ชุมชนต่อไป

นอกจากนี้ เอสซีจี ยังนำเสนอ “โครงการพัฒนาทักษะอาชีพที่ตลาดต้องการ” เช่น วิสาหกิจชุมชน ช่างประจำบ้าน คนขับรถบรรทุก เพื่อเปิดกว้างโอกาส สร้างอาชีพรายได้มั่นคงให้ชุมชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า “การประชุม APEC 2022 Thailand ได้นำแนวคิด BCG มาสานต่อ เพื่อเปิดกว้างการค้าการลงทุน ส่งเสริมให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งทุกเขตเศรษฐกิจให้ความสำคัญ โดยวางเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากรยั่งยืน ซึ่งจะสำเร็จได้จำเป็นต้องรวมพลังและศักยภาพจากทุกภาคส่วน โดยภาคเอกชนไทยซึ่งมีความสามารถได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ จะเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการเชื่อมโยงโอกาสใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว หลังยุคโควิด 19”

ผู้สนใจสามารถติดตามนวัตกรรมและข่าวสารอื่นๆ ของเอสซีจีได้ที่ https://www.scg.com/esg/ https://scgnewschannel.com

เอสซีจี จัดแสดงนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บนเวทีผู้นำโลก APEC 2022 Thailand

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เป็นบริษัทฯ  มีความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อความสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio–Circular–Green Economy Model หรือ BCG Economy Model) ซึ่งเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติของรัฐบา

ในการจัดประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperation : APEC) หรือ APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ  ทาง CPF  ได้นำสองผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากแนวคิดเรื่องความยั่งยื่น คือ เนื้อจากพืช ภายใต้แบรนด์ MEAT ZERO และ ไก่เบญจา จากแบรนด์ U FARM ซึ่งมีห่วงโซ่การผลิตภายใต้ BCG ขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net-Zero Emisstion ( การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ) มาจัดแสดง ภายในงาน “APEC 2022 Thailand : Showcase at ICONSIAM” เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์และร่วมสร้างการมีส่วนร่วมให้คนไทยภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC 2022

ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร. นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด. นางพรรณินี นันทพานิช รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และนางสาวสุชาดา วีระเมธีกุล รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดกลาง ซีพีเอฟ ร่วมในงาน

"MEAT ZERO" ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช เป็นนวัตกรรม ‘PLANT-TEC' ช่วยให้โปรตีนจากพืชมีเนื้อสัมผัส และรสชาติเหมือนเนื้อสัตว์จริง โดยไม่มีโคเลสเตอรอล ไขมันต่ำ ไฟเบอร์สูง  โดยลดขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต"MEAT ZERO" 

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช เป็นนวัตกรรม ‘PLANT-TEC' ที่ทำให้โปรตีนจากพืชมีเนื้อสัมผัส และรสชาติเหมือนเนื้อสัตว์จริง ไม่มีโคเลสเตอรอล ไขมันต่ำ ไฟเบอร์สูง ซึ่งลดขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต

"ไก่เบญจา" อีกผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมของซีพีเอฟที่คัดเลือกไก่สายพันธุ์พิเศษมาเลี้ยงด้วยซูเปอร์ฟู้ด อาทิ ข้าวกล้อง และ Flex Seed ทำให้ได้เนื้อไก่มีสีชมพู หอม นุ่ม ฉ่ำกว่าเนื้อไก่ทั่วไปถึง 55% มีโอเมก้า 3 สูง 100% ปลอดสาร ปลอดภัย จากธรรมชาติ ไม่ใช้ฮอร์โมนและไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยงดู ได้การรับรองมาตรฐานระดับโลกจาก NSF ทั้งนี้ กระบวนการผลิตไก่สดของซีพีเอฟ มีคาร์บอนฟุตพรินท์ต่ำกว่าเนื้อไก่สดทั่วไปถึง 50% ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

ทั้งนี้ ไก่เบญจา และ MEAT ZERO  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล “สุดยอดรสชาติอาหารระดับโลก ประจำปี 2022” หรือ Superior Taste Award 2022 จากสถาบันชั้นนำของโลก International Taste Institute ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม

งาน “APEC 2022 Thailand : Showcase at ICONSIAM” เป็นความร่วมมือระหว่าง สยามพิวรรธน์ ในฐานะพันธมิตรด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี 2022 ของไทยและกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-20 พฤศจิกายน 2565 ณ เจริญนครฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟ  ได้เข้าร่วมแสดงศักยภาพผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมของไทยและของโลก ภายใต้แนวคิด "Sustainable Kitchen of the World …Towards Net-Zero" ร่วมขับเคลื่อนโลกสู่ความยั่งยืน ภายในงานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก 2022 (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC 2022) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เป็นบริษัทฯ ที่ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ

Page 3 of 5
X

Right Click

No right click