เซเว่น อีเลฟเว่น ประกาศกลยุทธ์เสริมทัพพันธกิจส่งเสริมและสนับสนุนเอสเอ็มอี ปี 2566 ภายใต้ชื่อ “SME Beyond”

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับ และเดอะ ฟินแล็บ หน่วยงานบ่มเพาะผู้ประกอบการเพื่อพัฒนานวัตกรรมภายใต้ธนาคารยูโอบี สนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยมากกว่า 250 รายในการปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล ภายใต้โครงการ Smart Business Transformation หรือ SBTP ของธนาคารยูโอบี ประจำปี 2565

โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต่างได้รับประโยชน์หลายประการ อาทิ การพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ ลดต้นทุนการดำเนินงาน มีการบริหารองค์กรที่ดีขึ้น และปรับปรุงความพร้อมสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนได้อย่างบูรณาการ โดยผลลัพธ์เหล่านี้สอดคล้องกับผลสำรวจ ASEAN SME Transformation Study 2022 ของธนาคารยูโอบี ซึ่งพบว่าร้อยละ 50 ของ SMEs ในภูมิภาคอาเซียนมีมุมมองในแง่บวกต่อการฟื้นฟูกิจการของพวกเขา โดยร้อยละ 50 ของ SMEs ไทยยังตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การขับเคลื่อนสู่แนวทางความยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของลูกค้าเนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไป

นางสาวสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “นอกจากการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัลแล้ว แนวคิดเรื่องความยั่งยืนก็ส่งผลต่อวิธีคิดในด้านแนวทางการดำเนินงานของ SMEs ด้วยเช่นกัน จากผลสำรวจระบุว่า 2 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของ SMEs ไทย มองว่าแนวทางความยั่งยืนกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะส่งผลต่อธุรกิจของพวกเขา”

นับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ SBTP ในปี 2562 เราได้ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศไทยมากกว่า 900 รายให้เกิดการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เราเสริมความพร้อมให้กับ SMEs ด้วยทักษะทางดิจิทัลและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเพื่อที่ให้พวกเขาสามารถแข่งขันในตลาดได้ อีกทั้งพวกเขายังเรียนรู้วิธีการบูรณาการความยั่งยืนให้เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนเองและได้รู้จักกับระบบการเงินสีเขียวเพื่อความสำเร็จในระยะยาวได้”

ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของการเข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการไทยได้นำโซลูชันดิจิทัลไปปรับใช้ รวมถึงแนวทางการทำธุรกิจและแนวคิดด้านความยั่งยืน ภายใต้คำแนะนำของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และพันธมิตรในโครงการ ที่คอยช่วยพวกเขาให้สามารถเดินหน้ากระบวนการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเพื่อรองรับความท้าทายใหม่ได้

สำหรับโซลูชันที่ผู้ประกอบการนำไปใช้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูล สามารถช่วยจัดการความท้าทายต่างๆ ที่ธุรกิจเผชิญอยู่ อาทิ การวิเคราะห์และจัดการข้อมูลภายในที่เก็บบันทึกมา เพื่อทำความเข้าใจกับลูกค้าทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและลูกค้าใหม่ได้ดียิ่งขึ้น การปรับปรุงการตลาดดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาขั้นตอนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และการจัดการต้นทุนที่ดีขึ้น

ผู้ประกอบการไทย เผยผลลัพธ์เชิงบวกที่ได้รับจากโครงการ Smart Business Transformation โดย SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ SBTP ประจำปี 2565 เปิดเผยว่าพวกเขาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้สูงขึ้น และการมีส่วนร่วมจากลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพิ่มยอดขายได้มากขึ้นจากการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัล ในขณะที่ต้นทุนด้านการตลาดและการปฏิบัติงานนั้นลดลง อีกทั้งพวกเขายังสามารถสร้างความเข้าใจ และความมุ่งมั่นในการเปิดรับแนวทางความยั่งยืนของทั้งองค์กร จากผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจ และผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ด้วย

นายชลวัส เรืองปรีชาเวช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คลินตันอินเตอร์เทรด จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าและปั๊มน้ำ กล่าวว่า “โครงการ SBTP ประจำปี 2565 ช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านธุรกิจของเราสู่ดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว เราเลือกใช้งาน SAP B1 ซึ่งเป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์สำคัญในการบริหารจัดการและนำข้อมูลที่ถูกจัดเก็บมาจัดสรรได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถปรับปรุงการดำเนินงานเอกสารต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และการเห็นข้อมูลแบบเรียลไทม์นี้ ก็ช่วยให้การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นได้ทันที นอกจากนี้หนึ่งในพันธมิตรของโครงการ SBTP ก็ยังให้คำแนะนำแก่เราในเรื่องการจัดการช่องหว่างระหว่างเจนเนอเรชันในที่ทำงาน ที่เราเชื่อว่าจะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างผลงานให้กับเราได้เป็นอย่างดี”

นายคุณากร ธนสารสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานไทยแลนด์นิตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อยืดตราห่านคู่ กล่าวว่า “ห่านคู่เข้าร่วมโครงการ SBTP เป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว โดยเห็นผลเชิงบวกตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีที่สองที่เราเริ่มนำโซลูชันเทคโนโลยีอย่าง SAP B1 เข้ามาใช้ ซึ่งช่วยเราพัฒนาการบริหารจัดการต้นทุนและการจัดเก็บข้อมูลทางธุรกิจ โดยข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมมานี้ ก็ทำให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้มากกว่าเดิมในสายการผลิตของเรา ช่วยพาเราเดินหน้าผันตัวสู่การเป็นผู้ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้เรายังนำโซลูชันทางธุรกิจอย่าง UOB mCollect มาช่วยลดภาระในส่วนงานการเรียกเก็บและชำระเงิน ส่งผลให้พนักงานขายของเรา สามารถทุ่มเทให้กับการบริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”

นายปิติพัฒน์ มงคลอริยนันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคเอ็มพี พาร์ทเนอร์ จำกัด ผู้ประกอบการให้คำปรึกษาด้านงานก่อสร้าง กล่าวว่า “เราได้เรียนรู้การนำเอาแนวคิดลูกค้าคือศูนย์กลาง (customer centric) มาปรับใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันของเรา ทำให้แอปพลิเคชันสามารถระบุถึงความต้องการของลูกค้าได้ ทำให้ฐานลูกค้าของเราขยายตัวขึ้นจาก 20 เป็น 700 ราย นอกจากนี้เราต้องขอบคุณ SBTP ที่แนะนำ Zaviago ซึ่งเป็นโซลูชันด้านการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการระบุเป้าหมายของสื่อออนไลน์ สิ่งนี้ทำให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราได้ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด”

นายจักกเดช อัศวโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอราเมง จำกัด กล่าวว่า “ข้อมูลทางธุรกิจและข้อมูลของลูกค้าเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงที่สุดเสมอ และโครงการ SBTP ช่วยให้เราสามารถติดตั้งเครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูลได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าได้ ช่วยให้เราลดต้นทุนและเพิ่มยอดขาย ขณะเดียวกันก็มอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า ที่สำคัญ SBTP ยังช่วยปูเส้นทางให้เราในการมุ่งสู่การทำธุรกิจแบบ Zero Waste ตามนโยบายการทำธุรกิจที่ยั่งยืนด้วย โดยเรามีแผนของเราจะเริ่มจากการทำครัวกลางในปี 2566 นี้ด้วย”

นายพาวรอวัชระ ยุวนะศิริ กรรมการผู้จัดการ RainForest Green Community กล่าวว่า “เป้าหมายของเราคือการสร้างโครงการคอมมูนิตี้มอลของเราให้เป็น ‘ชุมชนสีเขียว’ โดยสิ่งที่เราได้รับจากโครงการไม่ได้มีแค่คำแนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น แต่ทำให้เราได้รู้จักโซลูชันทางการเงินที่ยั่งยืนจากธนาคารยูโอบีอย่าง U-Solar ที่เรามองว่าเป็นโอกาสของเราในการนำพลังงานสะอาดเข้ามาใช้ในคอมมูนิตี้มอลของเราอีกด้วย โครงการ SBTP ได้แนะนำให้เรารู้จักกับพันธมิตรของโครงการ ที่เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนช่วยในการลดค่าใช้จ่ายและลดการใช้พลังงานเมื่อเราติดตั้งโซลูชันสำเร็จ ในด้านปรับองค์กรสู่ดิจิทัล เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในการบริหารจัดการต้นทุน การจัดการภาษีองค์กร กระบวนการทำงาน จากการที่เรานำ PEAKaccount ซึ่งเป็นโซลูชันการทำบัญชีออนไลน์และบริหารจัดการต้นทุนที่ช่วยในด้านการบริหารจัดการข้อมูลมาใช้งาน”

โครงการ SBTP เปิดรับเจ้าของธุรกิจ SMEs หรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ที่พร้อมเปิดรับแนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจ มีความกระตือรือร้นในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและความพร้อมในการลงทุนด้านเครื่องมือดิจิทัล และสามารถให้เวลากับโครงการได้อย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลาสามเดือนของโครงการ 

ธุรกิจ SME จะเติบโตได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืนได้นั้น ผู้ประกอบการ SME ต้องรู้ทันตลาด

โครงการ Digital Opportunities for Talents (DOTs) 2022 หรือโครงการประกวดแผนธุรกิจภายใต้โจทย์ “Sustainability in Action” ซึ่งจัดขึ้นโดย Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) ได้ดำเนินมาถึงรอบประกาศผลรางวัลรอบสุดท้าย

โดยผู้ร่วมโครงการทั้ง 30 ทีม ได้ผ่านการแข่งขันอย่างเข้มข้นจนเหลือ 6 ทีมสุดท้าย ที่ได้ร่วมนำเสนอผลลัพธ์ความสำเร็จภายในงานประกาศผลรางวัลรอบสุดท้าย (Final Presentation) เพื่อส่งต่อองค์ความรู้จากการลงมือทำจริงตลอดระยะเวลา 2 เดือนให้กับผู้ประกอบการ SME ตลอดจนร่วมคว้าเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท และในปี 2022 นี้ ทีม In it for the beers ได้แก่ นางสาวศิริธร แก้วสุพรรณ์ และนางสาวสุฎารัตน์ สุขภิลาภ เป็นผู้ที่คว้ารางวัลชนะเลิศไปได้ด้วยแผนธุรกิจสำหรับร้าน Artstory by AutisticThai ผลงานจากจินตนาการผ่านภาพและลายเส้นผลงานศิลปะของกลุ่มเด็กและบุคคลที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้

นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาการแข่งขันอย่างเข้มข้นกว่า 2 เดือน ผู้เข้าแข่งขันได้พัฒนาทักษะและแสดงออกถึงศักยภาพ พร้อมเติบโตเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลรุ่นใหม่ในอนาคต ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เข้าแข่งขันได้ทำงานร่วมกับเจ้าของร้านค้า SME ในการพัฒนากลยุทธ์และลงมือทำจริง เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างการเติบโตให้กับร้านค้าที่ได้รับมอบหมาย โดย มีผู้เชี่ยวชาญจาก Sea (ประเทศไทย) และช้อปปี้คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ด้านร้านค้าก็ได้แนวคิดและมุมมองใหม่ๆ ในการสร้างธุรกิจให้เติบโต Sea (ประเทศไทย) ในฐานะผู้จัดโครงการฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้มีทักษะสำคัญของผู้ประกอบการดิจิทัล ที่สามารถต่อยอดและปรับใช้ได้ในอนาคต พร้อม ๆ กับการสนับสนุนธุรกิจที่ใส่ใจด้านความยั่งยืนให้เกิดการเติบโตในระยะยาว สอดคล้องกับเป้าหมายของ Sea (ประเทศไทย) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและยกระดับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยด้วยเทคโนโลยี พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Nation ด้วยการพัฒนา Digital Talent โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศต่อไป”

โครงการ DOTs 2022 ยังได้รับเกียรติจาก ดร. ศรุต วานิชพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส Sea (ประเทศไทย), ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), นางสาววนิดา จรูญเพ็ญ หัวหน้าส่วนประสานเครือข่ายหน่วยงานภาคเอกชน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), นางรัตน์วลี อนันตานานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และนางสาวฑิฟฟาณี เชน นักทดสอบนโยบาย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมเป็นคณะกรรมการทรงคุณวุฒิตัดสินผลงานในรอบ 6 ทีมสุดท้ายนี้อีกด้วย

นางสาวศิริธร แก้วสุพรรณ์ และนางสาวสุฎารัตน์ สุขภิลาภ จากทีม In it for the beers คว้ารางวัลชนะเลิศพร้อมเงินรางวัลมูลค่า 80,000 บาท โดยผลการดำเนินงานที่ทีม In it for the beers ได้นำเสนอแสดงให้เห็นว่า ทีมผู้เข้าแข่งขันได้นำความรู้และทักษะดิจิทัลที่ได้เก็บเกี่ยวตลอดโครงการฯ มาประยุกต์ใช้ในแผนการดำเนินงานเพื่อช่วยให้ Artstory by AutisticThai ร้านค้า SME ไทยที่นำเสนอผลงานจากจินตนาการผ่านภาพและลายเส้นผลงานศิลปะของกลุ่มเด็กและบุคคลที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้สามารถพัฒนาและต่อยอดธุรกิจบนช่องทางออนไลน์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชได้อย่างแท้จริง โดยเห็นการเติบโตของยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 2 เท่า เทียบกับก่อนช่วงเข้าร่วมโครงการ และยอดการเข้าชมร้านค้าในช้อปปี้ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 1.3 เท่าภายในระยะเวลา 2 เดือนของการเข้าร่วมโครงการ อีกทั้ง ยังสามารถส่งต่อแนวคิดและแผนงานในการสร้างการเติบโตให้กับร้านค้าอย่างยั่งยืนในอนาคตได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

สำหรับทีมอื่น ๆ ที่เข้ารอบ Final Presentation ก็สามารถทำผลงานได้โดดเด่นและช่วยสร้างการเติบโตของร้านค้าที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นทีม ไฉ่เสินเหยีย กับร้าน SANDT คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 มูลค่า 50,000 บาท ทีม Will-Wisdom-Mind กับร้าน Carechoice คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 มูลค่า 30,000 บาท รวมถึงทีม GangRocket กับร้าน Little Hen Noodle, ทีม CreamCreamery กับร้าน Ira Concept และทีม MED KID Consulting กับร้าน Green Wash คว้ารางวัลชมเชย มูลค่ารางวัลละ 5,000 บาท

ยิ่งไปกว่านั้น ร้านค้าทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการฯ ก็มียอดขายต่อเดือนโดยเฉลี่ยบนแพลตฟอร์มช้อปปี้เติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2.1 เท่า ยอดคำสั่งซื้อต่อวันเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.3 เท่า และสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์มช้อปปี้มูลค่าโดยรวม 3.6 ล้านบาท ตลอดในช่วงเวลา 2 เดือนภายใต้โครงการ

 

ยอดสินค้าทะลุ 8,000 รายการ ตั้งเป้าปี’66 เดินหน้ายกระดับ SME เพิ่ม 10%

X

Right Click

No right click