×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 807

เจเนอเรชั่นที่ 2 และประธานบริหารของบริษัท คาวากูจิ เซกิ (Kawaguchi Seiki) โคสุเกะ โอซาว่า จับกระแสสิ่งแวดล้อม ด้วย Screw press Dehydrator เครื่องมือที่มีการออกแบบขึ้นมา เพื่อการจัดการกับปัญหาขยะเหลือทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม

แนวคิดของการพัฒนา Screw press Dehydrator  ต่อยอดมาจากธุรกิจ ของรุ่นพ่อ ที่เปิดโรงงานผลิตเครื่องจักรใหญ่มากว่า 70 ปี โดยมีจุดเริ่มจากเครื่องจักรของเรือ ไปจนถึงงานซ่อมบำรุง

กระทั่งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา จึงเริ่มขยายธุรกิจไปสู่การรับผลิตเครื่องจักรแบบ OEM ให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ และในจังหวะนี้เองที่ โอซาบอกว่า มองเห็นโอกาสและเชื่อว่า Screw press Dehydrator จะสามารถเติบโตขยายนำมาใช้ในอุตสาหกรรมทางด้านอาหารได้ จากเดิมที่ใช้เฉพาะในอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อรีดน้ำจากกากของเสียในการทำเกษตรและปศุสัตว์

จากเกษตรสู่นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร

การเจาะตลาดอุตสาหกรรมอาหาร เริ่มจากในแวดวงพันธมิตรทางธุรกิจให้ข้อมูลว่า ธุรกิจผลิตถั่วงอกรายใหญ่ในญี่ปุ่น ประสบปัญหาเรื่องการกำจัดเศษอาหารที่เกิดจากการผลิต ทางบริษัทฯจึงได้รับโอกาสในการเข้าไปเพื่อช่วยแก้ปัญหา โดยได้นำ Screw press Dehydrator เข้าไปเสนอ และทดสอบการใช้งานจริง พบว่าลูกค้าเคยมีประสบการณ์ใช้เครื่องจักรรีดน้ำลักษณะใกล้เคียง แต่ไม่มีประสิทธิภาพตามที่คาดหวัง เมื่อบริษัทฯ นำเสนอ และทดสอบจึงทำให้เห็นผลที่แตกต่าง และมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ 

ไม่เพียงเท่านั้น แนวคิดการนำเครื่องจักรทางการเกษตร มาสู่อุตสาหกรรมอาหารของโอซาว่านั้น ยังมาจากจุดเริ่มของกฎหมายที่เคร่งครัดของประเทศญี่ปุ่น  ในเรื่องการกำจัดของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม  ซึ่งเขาพบว่าธุรกิจหลายรายในแวดวงอุตสาหกรรมอาหาร ประสบปัญหาเรื่องกากของเสีย และต้องการลดปริมาณ ซึ่งภาระในการทำลายที่สูงนั้นได้สร้างต้นทุนที่สูงขึ้น  และในจุดนี้เองที่ทำให้ โอซาว่า มองเห็นโอกาสในการแก้ปัญหา จนครองใจลูกค้าในที่สุด

ในส่วนของ Screw press Dehydrator นั้น ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีของเครื่องรีดน้ำในเครื่องจักรเดิม  และมีเครื่องมือแยกกากประเภทนี้อยู่ในตลาดแล้วก็ตาม แต่โอซาว่ากล่าวว่า การสร้างนวัตกรรม และความแตกต่างคือหัวใจ ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้นำมาพัฒนาโดยการเพิ่มโนว์ฮาวเฉพาะด้านเข้าไป เช่น เพิ่มความสามารถในการรีดน้ำจาก 50% เป็น 70% เป็นต้น จนออกมาเป็นอุปกรณ์ที่สมบูรณ์แบบในที่สุด

อีกส่วนที่สำคัญในความสำเร็จทำให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้านั้น มาจากการจุดเด่นของการนำเสนองานในรูปแบบโซลูชั่น "เราไม่ได้ขายเฉพาะเครื่องแยกกาก  ในลูกค้าแต่ละราย เราจะต้องมีการเข้าไปสำรวจโรงงาน เพื่อให้ทราบถึงข้อจำกัด และความต้องการที่แท้จริง จากนั้นจึงทำเป็นโซลูชั่นเพื่อให้เกิดความสะดวกสูงสุด เช่นทำ Conveyor ( ระบบลำเลียง) เสริม หรือทำเครื่องบด"

การกำจัดกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเรื่องที่จริงจัง และเข้มงวดอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น การกำจัดจึงเกิดค่าใช้จ่ายที่สูงมากตามมา ตั้งแต่ค่าขนส่ง และค่าทำลาย แต่เมื่อมีเครื่อง Screw press Dehydrator  ทำให้โรงงานสามารถรีไซเคิลกากอาหารไปเป็นอาหารสัตว์

“นอกจากจะลดค่าใช้จ่ายลง หรือแม้แต่ทำให้ค่าใช้จ่ายกลายเป็นศูนย์ ยังกลายเป็นแหล่งรายได้ที่มาจากการขายเป็นอาหารสัตว์อีกด้วย ”

นโยบายการขยายตลาดในไทย

โอซาว่า เชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารในญี่ปุ่น  จะเกิดซ้ำรอยและกระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมองว่าจุดนี้เป็นโอกาสในการขยายตลาด เพราะอุปกรณ์ของเขาเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหา และที่สำคัญคือรักษาสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ สถานการณ์วันนี้ ปัญหาเกิดขึ้นที่ประเทศเกาหลีและทาง บริษัท คาวากูจิ เซกิ ได้ไปลงทุนที่เกาหลีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

สำหรับการทำตลาดในประเทศไทย ได้มีการร่วมมือกับคู่ค้าคือ บริษัท YN2-TECH (ประเทศไทย) จำกัด เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพ และมีความไว้วางใจ เริ่มจากความ ชื่นชอบในวิสัยทัศน์ของเจ้าของ และ Y2Tech เองก็ให้ความสำคัญกับแผนการจำหน่าย โดยได้ให้ทีมงานขายและวิศวกร เดินทางไปอบรมโดยตรงที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนถึงการทำงานของเครื่องจักร

โอกาสในการเจาะตลาดในประเทศไทยนั้น  เนื่องจากประเทศไทยมีอุตสาหกรรมอาหารเป็นหลัก จึงเชื่อว่า Screw press Dehydrator น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดการกับกากอาหาร และของเสียจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิต  ซึ่งในระยะแรกได้รับผลตอบรับอย่างดี และเริ่มมีการทดลองในหลายๆโรงงานแล้ว และด้วยขนาดของอุตสาหกรรมที่แตกต่างในอนาคตบริษัทฯ จะสามารถผลิตขนาดเครื่องขึ้นมาได้ตามสเกลที่ต้องการ

นอกจากการขยายตลาดมาที่ไทยแล้ว โอซาว่า ยังเล็งเห็นถึงศักยภาพในการให้ไทยเป็นฮับในการขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย เช่น เวียดนาม กัมพูชา พม่า หรือลาว โดยจุดแรกต้องทำให้เป็นโมเดลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในไทยเสียก่อน  

รวมถึงการมองโอกาสธุรกิจโดยขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ตั้งแต่ เครื่องสำอาง เวชสำอาง หรือแม้แต่อุตสาหกรรมยา เพราะมีของเสียซึ่งต้องผ่านกระบวนการทำลายที่ถูกต้องเช่นกัน

ในด้านกลยุทธ์การขายสำหรับลูกค้าในไทยนั้น จะเน้นไปที่โรงงานผลิตอาหาร ผลไม้แปรรูป โรงงานเบียร์ โรงงานที่ผลิตสินค้าประเภทผัก หรือผลไม้ ที่มีกาก ของเสีย ซึ่งมีการเข้าไปเยื่ยมชมและสำรวจเครื่องจักรในโรงงานแล้วจำนวนหนึ่ง รวมทั้งมีการออกบูธ ประชาสัมพันธ์ และรวบรวมข้อมูล ก่อนการนำเสนอโซลูชั่น ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

อย่างไรก็ตาม  โอซาว่า พบว่า โรงงานบางส่วนของไทย ไม่มีขั้นตอนการกำจัดของเสีย แต่ใช้วิธีส่งกากหรือของเสียต่อไปให้โรงงานอาหารสัตว์เพื่อไปจัดการเอง จึงพบว่าโรงงานอาหารสัตว์ก็เป็นเป้าหมายในการเข้าไปนำเสนอเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้มองข้ามส่วนของโรงงานผลิตอาหาร ที่ต้องการมาตรฐาน และมีนโยบายเรื่องการกำจัดของเสียอย่างถูกต้อง

เป้าหมายการขายในปีนี้อยู่ ที่ประมาณ 5 เครื่อง เนื่องจากราคาของอุปกรณ์อยู่ที่ 6-7 หลัก จึงเน้นการขายในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แบบค่อยเป็นค่อยไป และในส่วนของการขายสำหรับลูกค้ากลุ่ม SME อยู่ในระหว่างการศึกษาหาข้อมูลเพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้ทั้งในด้านของราคาและสเกล

ราคาของเครื่องที่มีการประเมินว่าค่อนข้างสูงสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กนั้น  โอซาว่า บอกว่าอยากให้มองการซื้อเครื่องจักรเป็นการลงทุน และก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร

เพราะจากเดิมอาจจะมีต้นทุนในการทำลายของเสียที่จำนวนหนึ่ง ค่าขนส่งอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อมีการใช้เครื่องจักรทำให้เกิดการแปรรูปและก่อประโยชน์เป็นเม็ดเงินขึ้นมา ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และโดยธรรมชาติของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ประมาณ 7 ปี แต่จากการประมาณการสำหรับ Screw press Dehydrator จุดคุ้มทุนอยู่ที่ประมาณ 3 ปีเท่านั้น  

สิ่งสำคัญของ บริษัท คาวากูจิ เซกิ ที่แตกต่างจากผู้จำหน่ายเครื่องมือแยกกากรายอื่น คือ เน้นการขายโนว์ฮาว ที่เป็นโซลูชั่น ตามนโยบายที่เป็นมิตรกับคู่ค้า

“บริษัทเราเป็นบริษัทเดียวในประเทศญี่ปุ่น ที่ทำธุรกิจแบบครบวงจร ไม่ใช่เป็นการขายอุปกรณ์ไปแล้วจบ แต่พร้อมช่วยเหลือลูกค้าและติดตามแก้ปัญหาให้ตลอดเวลา” 

โอซาว่าทิ้งท้ายว่า การนำเครื่องจักรนี้เข้ามาทำตลาดไนไทย  นอกจากประสบความสำเร็จทางธุรกิจแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่เป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ นโยบายทางด้าน CSR เพราะการใช้ Screw press Dehydrator เป็นการลดของเสียในปริมาณมาก และมีผลพลอยได้ในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการทำลายและการขนส่ง รวมทั้งลดการใช้พลังงานของการขนส่งอีกด้วย ซึ่งมีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จให้เห็นแล้วที่ญี่ปุ่น  ดังนั้นการสร้างประเทศไทยเป็นฮับก็หวังว่าจะช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมของไทย และขยายไปสู่แต่ละประเทศจนทั่วโลกในที่สุด


 

 

ทีเอ็มบี และ เคเอกซ์ พื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนและร่วมเรียนรู้ของประชาคมจากทุกภาคส่วน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกันเปิดหลักสูตรพิเศษ Lean Quick Win”  ขึ้นเป็นครั้งแรก โดย ดร. รุจิกร  ภาวสุทธิไพศิฐ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี กล่าวว่า   ทีเอ็มบี ได้ริเริ่มโครงการ Lean Supply Chain by TMB หลักสูตรที่มุ่งเน้นการเรียนรู้และนำไปใช้ได้จริง เพื่อเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพครบวงจร ด้านการบริหารจัดการการผลิต ลดสินค้าคงคลัง เพิ่มผลผลิตในองค์กร และลดระยะเวลาในการทำงาน โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมอบรมแล้วกว่า 1,380 บริษัท สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทั้งซัพพลายเชนได้กว่า 900 ล้านบาท ใน 5 ปีที่ผ่านมา​

แต่สำหรับผู้ประกอบการบางรายที่ไม่มีเวลาเข้าร่วมอบรมหลักสูตร 4 เดือน จึงร่วมมือกับเคเอกซ์ มจธ. ต่อยอดโอกาสธุรกิจให้กับเอสเอ็มอี ด้วย หลักสูตร “Lean Quick Win” ที่พัฒนามาจากโครงการ Lean Supply Chain by TMB เป็นเวิร์คช้อปแบบเข้มข้น 3 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าร่วมการอบรมได้ในวงกว้างและสะดวกมากขึ้น

และยังเป็นครั้งแรกที่เอสเอ็มอีจะได้รับความรู้ที่ผสมผสานกันระหว่างแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเทคนิค Lean Six Sigma กับแนวทาง Design Thinking ช่วยจุดประกายไอเดีย และครอบคลุมความรู้ที่สำคัญสำหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการเติบโตอย่างแตกต่างในยุคดิจิทัล เน้นการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ พร้อมทั้งการรับคำปรึกษาอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญทั้งจากทางเคเอ็กซ์ มจธ. และทีเอ็มบี โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเจ้าของหรือผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจเอสเอ็มอี

 

โดยหลักสูตร Lean Quick Win จัดขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 8 -10 ส.ค.  ณ ห้อง Xcite Space ชั้น 17 อาคารเคเอกซ์ สำหรับธุรกิจบริการสถานประกอบการทางการแพทย์ เพียง 30 บริษัทเท่านั้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าของทีเอ็มบี ซึ่งภายในหลักสูตรเข้มข้น 3 วัน ผู้อบรมจะได้เรียนรู้แนวทาง Design Thinking อย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่ (1) การวิเคราะห์ปัญหาและเข้าใจความต้องการของลูกค้า (2) การระดมไอเดียพัฒนาแนวคิดใหม่ (3) การมองหาความเป็นไปได้ เลือกแนวคิด พร้อมพัฒนาเป็นตัวต้นแบบ (4) การสร้างไอเดียต้นแบบ และ (5) นำเสนอ พร้อมรับข้อเสนอจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ

ผศ.ดร.มณฑิรา  นพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายอุตสาหกรรมและภาคีความร่วมมือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการนำจุดแข็งของทั้ง 2 หน่วยงาน มาเสริมสร้างสมรรถนะความสามารถของ SMEs โดยในโครงการจะมีการกำหนดโจทย์/ ปัญหาทางเทคโนโลยีจากสภาพที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะนำมาศึกษา วิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งมีการนำ Design Thinking ซึ่งเป็นการผสานองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมและการออกแบบมาร่วมในกระบวนการ เพื่อให้เกิดผลเชิงนวัตกรรม โดยความร่วมมือในการจัดโครงการในครั้งนี้ จึงเป็นมิติใหม่ของการยกระดับการสนับสนุน SMEs ไทยอย่างเป็นรูปธรรม และชัดเจนยิ่งขึ้น

 ดร.รุจิกรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ทีเอ็มบี ยังได้ร่วมมือกับ เคเอกซ์ มจธ. ผ่านทางรีวอร์ดโปรแกรม TMB BIZ WOW ซึ่งลูกค้าทีเอ็มบีสามารถได้คะแนนสะสมจากการทำธุรกรรมการเงินและนำมาแลกเป็นสิทธิประโยชน์รูปแบบต่างๆ ที่ช่วยต่อยอดธุรกิจ โดยลูกค้าของทีเอ็มบีสามารถใช้คะแนน TMB BIZ WOW แลกรับสิทธิ์อบรมหลักสูตรเพื่อพัฒนาไอเดีย เพื่อสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมใหม่ รวมไปถึงหลักสูตรที่จะเปิดอบรมในอนาคตได้อีกด้วย

 

            จากแผนกลยุทธ์ Get MORE with TMB ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี ที่ประกาศออกมา ในส่วนของการให้บริการลูกค้าเอสเอ็มอี เทียนทิพย์  นาราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี  ก็ออกมาประกาศกลยุทธ์การให้ความสำคัญกับลูกค้าเอสเอ็มอี ด้วยการทำความเข้าใจปัจจัยต่างๆ ของธุรกิจเอสเอ็มอีที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโต ทีเอ็มบีจึงเตรียมสร้างประสบการณ์ใหม่ในการใช้บริการที่ตรงกับรูปแบบการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลให้กับเอสเอ็มอี ใน 3 เรื่องได้แก่

  1. More Benefits - สิทธิประโยชน์ที่มากกว่า เพื่อต่อยอดธุรกิจ ด้วยการเปิดตัว TMB BIZ WOW รีวอร์ดโปรแกรมครั้งแรกเพื่อ SME ที่จะเปลี่ยนธุรกรรมการเงินเป็นสิทธิประโยชน์ที่เป็นประโยชน์ต่อเอสเอ็มอีให้ธุรกิจเติบโตและคล่องตัวขึ้น ด้วย ความรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ ที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความสนใจ เช่นคอร์สเวิร์คช้อป การสร้างสินค้าอย่างไรให้โดนใจลูกค้า การบริหารการลงทุนและภาษี ตัวช่วยเพื่อธุรกิจราบรื่น เพิ่มช่องทางการเก็บสินค้า ส่งของทันต้นทุนถูก มีรายชื่อให้บริการ พร้อมสามารถใช้คะแนนเป็นส่วนลดในการใช้บริการต่างๆ การตลาดเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม แพลตฟอร์มทางการตลาดและองค์ความรู้สำหรับการทำการตลาดอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น และ ไลฟ์สไตล์เหนือระดับแบบเจ้าของธุรกิจ ทั้งการพักผ่อนและเดินทางบริการที่พักและร้านอาหาร เช่นเดียวกับที่มีใน TMB WOW
  2. More Time – คล่องตัวและมีเวลามากขึ้น ด้วยโซลูชั่น TMB SME One Bank ใช้คู่กับ TMB BIZ TOUCH โมบายล์แอปพลิเคชันแรกที่ออกแบบมาเพื่อเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ สามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา รับ โอน จ่าย ใช้วงเงิน OD อายัดเช็ค และโอนเงินไปต่างประเทศ 7 สกุลเงิน ได้บนมือถือ และล่าสุดได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Online Loan Request ครั้งแรกที่เอสเอ็มอีสามารถคำนวณวงเงิน เปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เร็วและง่ายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
  3. More Possibilities ต่อยอดธุรกิจ SME ด้วยคำปรึกษาด้านธุรกิจและการเงิน ด้วย TMB BIZ Advisory บริการให้คำปรึกษาด้านการเงินจากผู้เชี่ยวชาญของทีเอ็มบี ด้วยระบบ VDO Conference ในห้องรับรองส่วนตัว ที่สาขาของทีเอ็มบี เริ่มต้นที่ 25 สาขา และจะขยายไปทุกสาขาทั่วประเทศในเร็วๆ นี้ และโครงการ LEAN Supply Chain by TMB เน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพแบบครบวงจร ด้านการบริหารจัดการการผลิต ลดสินค้าคงคลัง เพิ่มผลผลิตในองค์กร และลดระยะเวลาในการทำงาน โดยมีบริษัทร่วมอบรมแล้วกว่า 1,200 ราย

          เทียนทิพย์ กล่าวเสริมว่า “ทีเอ็มบีเข้าใจดีว่าเอสเอ็มอียุคนี้ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันรอบด้าน และจากสถิติเราพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจเกิดใหม่กว่า 70,000 รายต่อปี แต่มีเพียง 50% เท่านั้นที่ก้าวผ่านปีแรกไปได้ ทีเอ็มบีจึงสร้างสรรค์ตัวช่วยทางธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอี ต้องได้มากกว่าและโตได้มากกว่าเมื่ออยู่กับเรา เช่น เราทราบว่าเอสเอ็มอีทำธุรกรรมเฉลี่ยกว่า 80-100 ครั้งต่อเดือน หรือมากกว่ามนุษย์เงินเดือนถึง 4 เท่า แทนที่จะปล่อยให้สูญเปล่า ลูกค้าสามารถร่วมรีวอร์ดโปรแกรม TMB BIZ WOW ที่เปลี่ยนธุรกรรมเป็นรางวัลที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตแบบยั่งยืนของ SME โดยเฉพาะ ทั้งนี้ เราภูมิใจที่เป็นธนาคารแรกที่เปิดกว้างด้านสิทธิประโยชน์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อเติมเต็มในสิ่งเอสเอ็มอีขาดโดยที่ลูกค้าไม่ต้องร้องขอ ซึ่งเป็นเป้าหมายของเราเพื่อให้ทีเอ็มบีเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและแนะนำมากที่สุดในประเทศไทย (The Most Advocated Bank in Thailand) ภายใน 5 ปีนับจากนี้”

โครงการ Turnaround ปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ มี SME เข้าร่วมทั้งสิ้น 13,751 ราย สามารถฟื้นฟูได้แล้ว 4,445 ราย สสว.สร้างระบบติดตามดูแลต่อเนื่องจนแข็งแรงอย่างแท้จริง

นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 มอบหมายให้ สสว. ดำเนินโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถเอสเอ็มอี (Turnaround) เพื่อช่วยฟื้นฟูกิจการของ SME ที่มียอดขายตกต่ำเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือจากปัจจัยอื่นๆ พร้อมทั้งได้มอบหมายให้ สสว. ดำเนินโครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อให้กู้ยืมระยะยาวแก่ SME ในโครงการ Turnaround ที่เคยเป็น NPL

แต่ได้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ แล้ว รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยไม่คิดดอกเบี้ย บัดนี้ โครงการ Turnaround ได้ดำเนินการครบถ้วนตามแผนงานที่ กำหนดไว้แล้ว กล่าวคือ มี SME สมัครเข้าร่วมโครงการ 13,751 ราย สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้  10,000 ราย

เมื่อศึกษารายละเอียดจากการดำเนินโครงการ พบว่า ปัญหาหลักๆ SME คือ

  1. การตลาด ขาดการพัฒนาสินค้าหรือสินค้าไม่ ตรงความต้องการของผู้บริโภค
  2. ต้นทุนสูง ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่ มประสิทธิภาพ เสียเปรียบในการแข่งขัน
  3. สภาพคล่องตึงตัว เงินทุนหมุนเวียนติดขัด หากทิ้งไว้มีโอกาสสูงที่จะต้ องเลิกกิจการ

กิจการที่เข้าร่วมโครงการส่ วนใหญ่เป็นกิจการประเภทค้าปลีก- ค้าส่ง ก่อสร้าง และบริการด้านต่างๆ สสว. ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีช่ วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ SME ที่สำคัญ ได้แก่ จัดทำแผนปรับปรุงธุรกิจเชิงลึ กจำนวน 4,445 ราย และช่วยเจรจาหนี้ระหว่างผู้ประกอบการกับธนาคาร

ปัจจุบัน SME ในโครงการ Turnaround ได้รับอนุมัติการปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารเจ้าหนี้แล้ว 330 ราย วงเงิน 273 ล้านบาท และอยู่ระหว่างกระบวนการพิ จารณาอีก 1,720 ราย

สำหรับผู้ประกอบการ SME อีก 8,000 กว่ารายที่เหลือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธั ญบุรี ได้ช่วยวินิจฉัยและให้คำปรึกษา เพื่อปรับปรุงกิจการต่อไป เช่น ให้ความรู้ด้าน E-Commerce การจัดหาพื้นที่ขายสินค้า การทำ packaging รวมทั้งมีการแจกคูปองจากบริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปใช้ ในการตรวจและรับใบอนุญาตจากสำนั กงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเป็นการยกระดับสินค้ าและบริการ เป็นต้น

“การดำเนินโครงการ Turnaround สามารถช่วยฟื้นฟู SME ไทยได้ 4,445 ราย เมื่อ SME พอมีกำลังจะทำกิจการต่อไปได้แล้ ว ก็จะส่งเข้าโครงการอื่นๆ โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพให้ สามารถแข่งขันได้ในโลกยุคปัจจุ บัน”นางสาลินี กล่าว

 

X

Right Click

No right click