ได้กลายมาเป็นสงครามหน้าฉาก หรือ “สงครามร้อน” ในทันที โดยฉากนี้นับว่าสหรัฐฯ ทำแต้มในเชิงยุทธวิธีการทหารได้ เพราะสามารถสังหารแม่ทัพใหญ่ของศัตรูสำเร็จ แต่ก็เสียแต้มคูในเชิงการเมืองเพราะถูกเกลียดชังจากชาวโลกเพิ่มขึ้นประธานาธิบดีทรัมป์ ไม่ได้คำนึงถึงหลัก “ธรรมา ธรรมะ สงคราม” ผู้คนในเมืองไทยเราสนใจข่าวนี้กันมาก เพราะกลัวว่าสงครามจะลุกลามใหญ่โต และกลัวผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ
แน่นอน ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีคือ ราคาน้ำมัน ราคาทองคำ และราคาเงินคลิปโต ล้วนพุ่งขึ้นและโดยที่น้ำมันเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญของโลกอุตสาหกรรม และกระทบกับค่าครองชีพของคน ไม่มีใครอยากให้น้ำมันแพง ยกเว้นพ่อค้าน้ำมันผู้คนจึงค่อนข้างกังวล
เหตุการณ์นี้ยังทำให้คนทั่วไปได้มีโอกาสรู้จัก “โดรน” มากขึ้น (เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ เปิดเผยว่าได้โจมตีโดย “โดรนสังหาร” ( ที่เรียกว่า MQ-9 Reaper) และรู้ว่าการรบสมัยนี้ตัดสินกันด้วยเทคโนโลยี เช่นหัวรบที่บังคับด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ชิพหรือนำทางด้วยแสงเลเซอร์ ขนไปทิ้งด้วยอากาศยานไร้คนขับ (โดรน), พิกัดจีพีเอสระดับละเอียด ผิดพลาดได้เพียงแค่ตารางนิ้ว, ดาวเทียมสอดแนมที่มีวงโคจรเหนือการตรวจจับของเรด้าแต่สามารถถ่ายภาพผิวโลกได้อย่างชัดเจนด้วยเลนซ์พิเศษ, ระบบโครงข่ายอินทราเน็ตแบนด์วิธพิเศษที่ใช้สื่อสารระหว่างโดรนกับโดรน โดรนกับฐาน ฐานกับหัวรบ และหัวรบกับหัวรบด้วยกันเอง (เทคโนโลยีแบบนี้ ถ้าเอามาใช้ในบ้านเมืองทั่วไป เราเรียกว่า “Internet of Things” คือต่อไปในยุค 5G เครื่องใช้ไม้สอยทุกชนิดจะมีคอมพิวเตอร์ฝังอยู่ เช่น ตู้เย็น หม้อหุงข้าว แอร์ รถยนต์ เสื้อผ้า หรือแม้แต่ใต้ผิวหนังคน เพื่อรายงานข้อมูลที่จำเป็น และสื่อสารระหว่างกันได้แบบ Real Time)
เทคโนโลยีเหล่านี้ ช่วยให้เจ้าหน้าที่ผู้ขับโดรนอยู่หน้า Cockpit ณ ฐานปฏิบัติการ ซึ่งอาจอยู่ห่างไปถึงหลายพันกิโลเมตร แต่ก็สามารถบังคับให้โดรนไปทิ้งระเบิดหรือโจมตีเป้าหมายด้วยหัวรบได้อย่างแม่นยำ
น่าสนใจว่าโดรนสังหารนี้ พัฒนามาจากสมองของวิศวกรชาวยิวที่เกิด ณ กรุงแบกแดด แต่มาโตในเยรูซาเล็ม และอพยพมาสหรัฐเขาคือ Abraham Karem ซึ่งถ้าเรารู้ประวัติเขาก็จะเข้าใจพัฒนาการของสงครามระหว่างยิวกับอาหรับและความพัวพันของสหรัฐฯ กับความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
โดรนสมัยนี้ทำได้มากกว่าที่คิด! โดรนแมลงสอดแนม สามารถบินลอดเข้าไปตามช่องเล็กช่องน้อยได้ แล้วเกาะติดตามผนัง กลิ้งตัว เดิน ถ่ายคลิป บันทึกเสียง บันทึกข้อมูลเช่นความร้อนหรือลักษณะรูปพรรณสัณฐานของมนุษย์ แล้วขึ้นบินอีกครั้งโดรนค้นหา ที่สามารถค้นหาบุคคลเป้าหมายซึ่งอยู่ปะปนกับฝูงชนได้ในเวลาอันสั้น
โดรนม้า ที่สามารถบุกป่าฝ่าดงในถิ่นทุรกันดารแล้วช่วยแบกสำภาระแทนทหารได้มากกว่า 1 ตันโดรนที่เดินทางพร้อมกับยานอวกาศไปลงดาวอังคาร แล้วทำการสำรวจด้วยตัวเอง ผ่านระบบสั่งการจากฐานบัญชาการของนาซ่าในเท็กซัสโดรนถ่ายภาพ และโดรนขนส่งฯลฯ
สิ่งที่เราเห็นในนิยายวิทยาศาสตร์ หนังไซไฟ และการ์ตูนสมัยก่อนนั้น มันได้กลายเป็นเรื่องจริงในชีวิตประจำวันไปเสียแล้วอันที่จริง “โดเรมอน” การ์ตูนสมัยเราเป็นเด็ก ก็คือโดรนชนิดหนึ่งนั่นเอง
ในอนาคต ถ้าพม่าต้องการโจมตีกรุงศรีอยุธยา ก็ไม่จำเป็นต้องส่งกองทหารเดินทัพข้ามภูเขามาแล้ว พวกเขาเพียงแต่ส่งคนของเขามาเป็นผู้รับใช้ตามบ้านคนสำคัญ และสถานที่สำคัญของเรา (ซึ่งก็เป็นจริงอยู่แล้วในขณะนี้) สอดแนมและกำหนดพิกัด แล้วยิงจรวดนำวิถีติดหัวรบที่บังคับด้วยชิพสมัยใหม่ ไล่ล่าเป้าหมายได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
ด้วยความสามารถของ AI Algorithm ช่วยให้โดรนสอดแนมสมัยนี้ สามารถค้นหาและติดตามเป้าหมายได้ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลสัณฐานบุคคล หรือที่เรียกว่า “Biometrics” เช่นอ่านเค้าโครงหน้า (Face Recognition) เหมือนที่เราใช้ล็อกอินเข้าสมาร์ทโฟนหรือโซเชี่ยลมีเดีย, ลายนิ้วมือ, ม่านตา, ส่วนสูง, กลิ่นตัว, อุณหภูมิร่างกาย, หรือแม้แต่แผลเป็นหรือรอยสัก
รัฐบาลจีน ประกาศว่าจะใช้เทคโนโลยีแบบนี้สอดแนมราษฎร เพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละคน แล้วมาให้คะแนนว่าแต่ละคนประพฤติตนเป็นพลเมืองดีหรือไม่อย่างไรฟังแล้วเหมือนนิยายของจอร์จ เอร์เวล เรื่อง “1984” ที่สิทธิเสรีภาพของราษฎรถูกจำกัดด้วยการสอดแนมตลอดเวลาจากรัฐบาลหรือ “พี่ใหญ่” (Big Brother)
สิ่งเหล่านี้ทำให้เสรีชนทั่วโลกไม่สบายใจ ทั้งกลัวว่ารัฐบาลจะมีอำนาจมากเกินไป อาจแทรกแซงรุกล้ำเข้ามาสอดส่องควบคุมเรื่องส่วนตัวของราษฎรได้ หรือกลัวว่าบรรดากิจการเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ที่เก็บข้อมูลของเราไปทุกวัน จะมีอำนาจมากเกินไป เป็นอำนาจแบบ “เหนือรัฐ” และ “รอดรัฐ” คือไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐใดรัฐหนึ่ง และตั้งตัวเองเป็น “รัฐภายในรัฐ” เสียเอง
การที่เฟสบุ๊กกำลังจะออกเงินดิจิทัล LIBRA ก็เป็นบทพิสูจน์เรื่องนี้ได้ดี (คือบริษัทเอกชนจะมีสกุลเงินระดับโลกของตัวเอง และจะมีธนาคารชาติและดำเนินนโยบายการเงินของตัวเอง) ซึ่งไม่แปลกที่มันจะถูกต่อต้านโดยรัฐบาลสำคัญๆ เกือบทั่วโลก
ล่าสุด Amazon กิจการเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่เชี่ยวชาญด้าน AI และวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง เพิ่งจะได้รับอนุมัติสิทธิบัตรให้โดรนขนส่งของบริษัทสามารถให้บริการสอดแนมลูกค้าได้ด้วย (เขาเรียกว่า “Surveillance as a Service”)
ทุกวันนี้ Amazon ใช้โดรนบินไปส่งของที่ลูกค้าสั่งซื้อจากเว็บของตัวอยู่แล้วในบางเมืองของสหรัฐฯ แต่ต่อไปลูกค้าสามารถจ้าง Amazon ให้ใช้โครนเหล่านี้เฝ้าบ้านหรือสอดส่องดูแลความเป็นไปในละแวกบ้านให้ด้วย
ตรงนี้แล่ะ ที่ทำให้เสรีชนหวั่นใจ เพราะบ้านใกล้เรือนเคียงที่เขาไม่ต้องการใช้บริการ อาจถูกเก็บข้อมูลไปด้วย แล้วถ้าเกิดเอาข้อมูลตรงนี้ไปใช้แบบพิเรนห์ หรือเอาไปขายเข้ากระเป๋า Amazon (เหมือนที่เฟสบุ๊กและกูเกิ้ลทำอยู่ในปัจจุบัน) ...มันจะไม่เป็นการละลาบละล้วงเรื่องส่วนตัวกันมากไปปะ...มันผิดกฎหมาย Privacy ด้วยใช่หรือไม่?
เราต้องรอดูว่า Amazon จะจัดการอย่างไรกับประเด็นเหล่านี้ เมื่อเขาให้บริการจริงโลกสมัยใหม่ เป็นโลกที่ต้อง Trade-off เพราะแม้เทคโนโลยีจะช่วยให้มนุษย์สะดวกสบายยิ่งขึ้นมาก แต่ก็ต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัวไปไม่น้อย
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
05/01/2020