จุดพลิกผัน: ปีที่จะมีจำนวนคนซึ่งมีตัวตนดิจิทัลบนอินเทอร์เน็ตครบ 80 เปอร์เซ็นต์ (ของจำนวนมนุษยชาติทั้งหมด)
ภายในปี 2025: 84 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจคาดว่าจุดพลิกผันดังกล่าวจะเกิดภายในปีนั้น
วิวัฒนาการของการมีตัวตนอยู่ในโลกดิจิทัล เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายถึงการมีเบอร์โทรศัพท์มือถือ มีที่อยู่อีเมลของตัวเอง และบางคนอาจมีเว็บไซต์หรือหน้า MySpace ของตัวเองด้วย
ปัจจุบัน การมีตัวตนดิจิทัลของคน ก็คือปฏิสัมพันธ์ทางดิจิทัล และสามารถสืบค้นผ่านทางแพลตฟอร์มและสื่อออนไลน์ที่มีอยู่มากมาย หลายคนมีตัวตนดิจิทัลมากกว่าหนึ่งตัวตน เช่นบนหน้าเพจของ Facebook, บัญชี Twitter ข้อมูลส่วนตัวใน LinkedIn, Tumblr blog, บัญชี Instagram และอื่นๆ อีกมากมาย
ในโลกที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นนี้ ชีวิตดิจิทัลมีความเกี่ยวพันกับชีวิตทางกายภาพจนแยกกันไม่ออกมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต การสร้างและการจัดการตัวตนดิจิทัลจะกลายเป็นเรื่องปกติ แล้วแต่ว่าคนตัดสินใจที่จะแสดงตัวตนของตนต่อโลกภายนอกทุกวัน ผ่านทางแฟชั่น คำพูดและการกระทำของตนอย่างไร ภายในโลกที่เชื่อมต่อถึงกันและในการแสดงตัวตนดิจิทัลของคนนั้น คนสามารถที่จะแสวงหาและแบ่งปันข้อมูล แสดงความคิดเห็นโดยอิสระ ทำการค้นหาและถูกค้นพบ พัฒนาและรักษาความสัมพันธ์เสมือนจริงที่ไหนก็ได้ในโลกนี้
ผลกระทบเชิงบวก
- มีความโปร่งใสมากขึ้น
- การเชื่อมต่อระหว่างบุคคลและกลุ่มเพิ่มขึ้นและรวดเร็วขึ้น
- สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีมากขึ้น
- มีการเผยแพร่/ แลกเปลี่ยนข้อมูลรวดเร็วขึ้น
- มีการใช้บริการของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผลกระทบเชิงลบ
- มีการสอดส่องดูความเป็นส่วนตัว
- มีการโจรกรรมเอกลักษณ์ของบุคคล (Identity Theft) มากขึ้น
- การกลั่นแกล้งกันทางออนไลน์/ การเฝ้าติดตามหรือสะกดรอยทางออนไลน์ (Online Bullying/ Stalking)
- เกิดความคิดตามกลุ่มภายในกลุ่มผลประโยชน์และการแบ่งขั้วมากขึ้น
- เกิดการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนหรือไม่ถูกต้องเพื่อทำลายชื่อเสียงกัน (จะมีความต้องการในเรื่อง Reputation Management) , เกิดภาวะเสียงก้องในห้องแคบ (Echo Chamber หรือการเลือกเสพหรือรับฟัง แต่ข้อมูลข่าวสารจากกลุ่มที่ตรงกับความคิดเห็นของตัวเองเท่านั้น)
- ขาดความโปร่งใสเพราะบุคคลไม่ได้มีส่วนรับรู้ขั้นตอนหรือวิธีจัดการข้อมูลหรือ Information Algorithms (ของข่าวสาร/ ข้อมูล ซึ่งเก็บไปจากพวกเขา)
ไม่ชัดเจนหรือเป็นไปได้ทั้งสองทาง
- เป็นมรดกตกทอดเชิงดิจิทัล (Digital Legacies)/ รอยเท้าดิจิทัล
- การโฆษณาที่ตรงเป้าหมายชัดเจนยิ่งขึ้น
- สารสนเทศและข่าวสารที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น
- เป็นการสร้างโปรไฟล์ส่วนบุคคล
- มีอัตลักษณ์ถาวร (ไม่มีสภาวะนิรนามหรือ Annonymity)
- สามารถพัฒนาขบวนการทางสังคมออนไลน์ได้ง่าย (เช่น กลุ่มทางการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มงานอดิเรก กลุ่มผู้ก่อการร้าย เป็นต้น)
การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติการณ์ของมนุษย์ (The Shift in Action)
ถ้าเปรียบเว็บไซต์สื่อสังคมยอดนิยมขนาดใหญ่สุดทั้งสามเป็นประเทศ ก็คงจะติดอันดับชาติที่มีประชากรมากที่สุด 10 อันดับแรกกันแล้ว (ดูรูปที่ 1)
เรื่อง : วิริญบิดร วัฒนา