จุดพลิกผัน: ทั่วโลกมีการเดินทางด้วยรถยนต์ที่ใช้ร่วมกัน มากกว่ารถยนต์ส่วนบุคคล
ภายในปี 2025: 67 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจคาดว่าจุดพลิกผันดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายในปีนั้น
ความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวก็คือ เทคโนโลยีที่ช่วยเสริมความสามารถของหน่วยย่อย (Technology-Enable Entities) (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือองค์กรก็ตาม) ให้สามารถแบ่งปันการใช้สินค้า/ทรัพย์สิน ที่คนอื่นแบ่งให้ใช้ หรือเป็นผู้แบ่งปัน/ จัดหาบริการ ให้ผู้อื่นร่วมใช้กับเรา ในระดับที่มีประสิทธิภาพหรือมีความเป็นไปได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน การแบ่งปันสินค้าหรือบริการดังกล่าวเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทั่วไปบนตลาดออนไลน์, แอปมือถือ/ บริการระบุตำแหน่งหรือแพลตฟอร์มที่เสริมด้วยเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งช่วยให้ต้นทุนของการทำธุรกรรมและความไม่ลงรอยกันในระบบ จนถึงจุดที่เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย แบ่งผลประโยชน์ส่วนเพิ่มโดยละเอียดมากขึ้น
ตัวอย่างที่รู้จักกันดีของเศรษฐกิจแบ่งปัน เกิดขึ้นในภาคส่วนของการคมนาคมขนส่ง เช่น Zipcar ซึ่งเป็นวิธีที่คนใช้เพื่อการแบ่งปันพาหนะเป็นเวลาที่สั้นลงและเหมาะสมกว่าการใช้บริการบริษัทรถยนต์เช่าแบบเดิม หรือกรณีของ Turo (เดิมชื่อ RelayRides) จัดทำแพลตฟอร์มเพื่อการระบุตำแหน่งและขอยืมพาหนะส่วนตัวของคนอื่นเป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วน Uber และ Lyft ให้บริการ “คล้ายแท็กซี่” อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจากบุคคล แต่เป็นกลุ่มก้อน ในรูปของบริการซึ่งเสริมด้วยบริการระบุตำแหน่งและการเข้าถึงด้วยโมบายล์แอป นอกจากนี้ยังพร้อมใช้ประโยชน์ได้ทันที
เศรษฐกิจแบ่งปันมีองค์ประกอบ ลักษณะเฉพาะหรือตัวบ่งชี้อยู่หลายอย่างด้วยกัน ได้แก่ เทคโนโลยีเสริม ความชอบการเข้าถึงมากกว่าการเป็นเจ้าของโดยตรง เป็นบริการแบบ Peer to peer (ระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย) การแบ่งปันทรัพย์สินส่วนบุคคล (เปรียบเทียบกับทรัพย์สินของบริษัท) สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเพิ่มขึ้น การบริโภคร่วมกัน และฟีดแบ็คของผู้ใช้อย่างเปิดเผยร่วมกัน (ส่งผลให้เกิดความเชื่อถือไว้ใจกันมากขึ้น) แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะเป็น “เศรษฐกิจแบ่งปัน” ทั้งหมด
ผลกระทบเชิงบวก
- มีการเข้าถึงเครื่องมือและทรัพยากรทางกายภาพมากขึ้น
- ผลลัพธ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น (มีการผลิตและใช้ทรัพย์สินเพื่อการดังกล่าวน้อยลง)
- มีบริการแบบส่วนบุคคลมากขึ้น
- สามารถอยู่ได้ด้วยเงินหมุนมากขึ้น (โดยไม่จำเป็นต้องอดออมก็สามารถใช้ทรัพย์สินที่ต้องการได้)
- มีการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินมากขึ้น
- มีโอกาสที่จะละเมิดความไว้วางใจในระยะยาวน้อยลง เพราะมีวงจรป้อนกลับสาธารณะโดยตรง
- การสร้างเศรษฐกิจขั้นทุติยภูมิ (คนขับรถยนต์ของอูเบอร์ให้บริการใหม่ คือจัดส่งสินค้าและอาหาร)
ผลกระทบเชิงลบ
- ฟื้นตัวช้าหลังการสูญเสียงาน (เพราะการออมลดลง)
- มีแรงงานตามสัญญาจ้างที่ระบุเวลา/ เฉพาะกิจมากขึ้น (เปรียบเทียบกับการจ้างงานระยะยาวซึ่งโดยทั่วไปมีความมั่นคงมากกว่า)
- ความสามารถในการวัดเศรษฐกิจสีเทาที่มีศักยภาพดังกล่าวนี้ลดลง
- มีโอกาสละเมิดความไว้วางใจในระยะสั้นมากขึ้น
- มีเงินลงทุนในระบบน้อยลง
ไม่ชัดเจนหรือเป็นไปได้ทั้งสองทาง
- ความเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติเปลี่ยนไป
- มีโมเดลของการบอกรับเป็นสมาชิกมากขึ้น
- ออมทรัพย์น้อยลง
- ขาดความชัดเจนว่า “ความมั่งคั่ง” และ “มีอันจะกิน” คืออะไร
- มีความชัดเจนน้อยลงว่า สิ่งที่ประกอบขึ้นเป็น “งาน” นั้นมีอะไรบ้าง
- ยากที่จะวัดเศรษฐกิจ “สีเทา” ที่ว่านี้ (ไม่มีความชัดเจน)
- การปรับแก้ไขเรื่องการจัดเก็บภาษีและการควบคุมจากโมเดลของความเป็นเจ้าของ/ การขาย สู่โมเดลของการใช้งานเป็นหลัก
การเปลี่ยนแปลงในพฤติการณ์
ความหมายของความเป็นเจ้าของสะท้อนอยู่ในคำถามดังต่อไปนี้
- ร้านค้าปลีกรายใหญ่สุดซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าของร้านค้าแม้เพียงแห่งเดียวคือใคร? (Amazon)
- ผู้ให้บริการห้องพักค้างคืนรายใหญ่สุดซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าของโรงแรมแม้แต่เพียงแห่งเดียวคือใคร? (Airbnb)
- ผู้ให้บริการการขนส่งรายใหญ่สุดซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์แม้แต่คันเดียวคือใคร? (Uber)
เรื่อง : วิริญบิดร วัฒนา