November 21, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นผู้เปลี่ยนเกมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย แต่สำหรับปี 2566 นี้ generative AI ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ ซึ่งจะทำให้โลกตะลึง ผลการสำรวจ "วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีปี 2023" ของ Accenture เมื่อเร็วๆ นี้ เปิดเผยว่า 100% ของผู้ตอบ แบบสอบถามชาวไทย (ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดในโลก) เห็นพ้องกันว่า generative AI จะเปลี่ยนโฉมระบบ อัจฉริยะขององค์กร สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริหารชาวไทยพร้อมที่จะเปิดรับ generative AI มาใช้งานเพื่อ กำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานในยุคถัดไป อันนำมาซึ่งโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการพัฒนาสร้างสรรค์องค์กรรูปแบบ ใหม่ และพลิกโฉมโมเดลธุรกิจแบบเดิมๆ ด้วยการใช้โมเดลพื้นฐาน AI ผู้บริหารในประเทศไทยรายงานว่า ประโยชน์หลักสำหรับองค์กรมีอยู่ 2 ประการสำคัญ ได้แก่ ประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีขึ้น (78%) และการเร่ง สร้างนวัตกรรม (68%) ความเสี่ยงในการดำเนินการอันดับต้นๆ ที่ผู้บริหารชาวไทยคาดการณ์ไว้คือ การประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีที่เข้ากันไม่ได้กับของเดิม การปฏิเสธการเข้าร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้นทุนที่สูงขึ้นหรือ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเครื่องมือเหล่านี้จะสร้างประโยชน์มากมายสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ก็ตาม แต่ก็ ยังต้องพิจารณาข้อด้อยหลายประการที่พบได้ทั่วไปด้วย

ข้อด้อย 3 ประการสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชั่น AI

ความท้าทายที่องค์กรต้องเตรียมพร้อมรับมือเมื่อใช้เครื่องมือ AI ได้แก่:

 

● การขาดแคลนผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยี เป็นอุปสรรคต่อการตรวจสอบความถูกต้อง ของผลลัพธ์: แม้ว่าเครื่องมือ AI จะเพิ่มประสิทธิภาพของนักพัฒนา โดยการสร้างโค้ดขึ้นมาได้เอง แต่เครื่องมือเหล่านี้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขความขาดแคลนของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ได้ เนื่องจากนักพัฒนาที่มีทักษะยังคงมีความสำคัญในการทำงาน เพื่อรับประกันว่าโค้ดที่ใช้งานจะ ปราศจากข้อผิดพลาดและมีความปลอดภัย และรับประกันความสมบูรณ์และฟังก์ชั่นการทำงาน ตามจุดประสงค์ที่ออกแบบไว้

● การละเลยขั้นตอนอื่นๆ ของวงจรการพัฒนา: การสร้างแอปพลิเคชั่นครอบคลุมมากกว่าแค่การสร้าง โค้ดและการแก้ไขโค้ด มันไปไกลกว่าความสามารถของเครื่องมือสร้าง AI ใดๆ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับ การสร้างสภาพแวดล้อมการพัฒนา การคอมไพล์โค้ดและการสร้างแอปพลิเคชั่น การดูแลการบูรณาการ โค้ด การทดสอบ การจัดการการเปลี่ยนแปลงผ่านแนวทางปฏิบัติ DevOps และการจัดการโฮสต์ของ แอปพลิเคชั่นและการจัดการเวลาการใช้งานจริง

● ภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น: โมเดลกำเนิดที่ใช้ AI มีศักยภาพมหาศาล ในการเร่งความเร็วในการสร้างโค้ดใหม่อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องใช้ความ ระมัดระวัง เนื่องจาก AI สามารถเริ่มต้นสร้างนวัตกรรมได้อย่างก้าวกระโดด แต่ก็อาจจะก่อให้เกิดค่าใช้ จ่ายในการบำรุงรักษา และการทำให้มั่นใจว่าแอปพลิเคชั่นมีความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมี ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของโค้ด การกำกับดูแล และความปลอดภัย สิ่งนี้อาจเสี่ยงต่อการสะสมภาระ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากงานทางด้านเทคโนโลยี และเพิ่มภาระให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่มีงานล้นมือ อยู่แล้ว

 

เพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้อย่างมีประสิทธิผล องค์กรต่างๆ จึงต้องนำแนวทางแบบบูรณาการมาใช้ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแบบฝัง AI ไว้ในโซลูชั่นอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็ให้การกำกับดูแล การตรวจสอบ ความปลอดภัย และการสนับสนุนนักพัฒนาตลอดวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์

การผสมผสาน AI เข้ากับทุกขั้นตอนของวงจรการพัฒนาแอป

ด้วยการใช้การตั้งค่าที่ถูกต้อง ทีมนักพัฒนาสามารถเอาชนะความท้าทายข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ ประโยชน์จาก AI เพื่อเร่งการพัฒนาแอปได้อย่างเต็มที่

เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้น การผสมผสาน generative AI เข้ากับเทคโนโลยี low-code ช่วยยกระดับการ กำกับดูแล ฝังการตรวจสอบความปลอดภัย และสนับสนุนนักพัฒนา ตลอดวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมด ถือเป็นสิ่งสำคัญ การบูรณาการนี้ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับบุคคลากรและองค์กรมากยิ่งขึ้น โดยจัดเตรียมเครื่องมือ ในการพัฒนาและแก้ไขแอปพลิเคชั่นด้วยความคล่องตัว ความสามารถในการปรับลดขนาดของระบบและระบบ ความปลอดภัยที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างโมเดลแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ด้วย สถาปัตยกรรมและประสบการณ์ผู้ใช้ที่เหมาะสม ตลอดจนวิเคราะห์มูลค่าทางธุรกิจและผลกระทบต่อองค์กรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้ประโยชน์จากตัวเชื่อมต่อ ChatGPT เป็นตัวอย่างที่ดี ผู้ช่วยเสมือนเป็นเครื่องมือทรงพลังที่สามารถโต้ ตอบกับผู้ใช้ผ่านการประมวลผลและการสร้างภาษาธรรมชาติ ผู้ช่วยเสมือนเหล่านี้สามารถให้คำตอบเฉพาะ บุคคล ตอบคำถามและปฏิบัติงาน ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และเร่งประสิทธิภาพการทำงานให้เร็วขั้นได้

ด้วยการใช้ประโยชน์จาก generative AI ภายในแอปพลิเคชั่น นักพัฒนาสามารถขยายไปสู่กรณีการใช้งาน ใหม่ๆ และปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้วยประสบการณ์การสนทนาเชิงโต้ตอบ สิ่งเหล่านี้จะเปิดช่องทาง สำหรับการสนับสนุนลูกค้าที่ได้รับการปรับปรุงดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยเสมือน แอปพลิเคชั่นการเดินทางและ การจอง การแปลภาษา และแอปพลิเคชันอื่นๆ อีกมากมาย

ท้ายที่สุดแล้ว ในขอบเขตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ การใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code ยังให้ประโยชน์เพิ่มเติมมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากผสมผสาน generative AI เข้าด้วยกัน

● ส่งเสริมนักพัฒนารุ่นใหม่: การใช้ low-code ทำให้ความสามารถของ AI ทำงานกับระบบส่วนรวม ได้ดีขึ้น โดยขยายขอบเขตการเข้าถึงไปยังนักพัฒนาในวงกว้าง รวมถึงนักพัฒนาและผู้เชี่ยวชาญด้าน ไอทีรุ่นรุ่นใหม่ๆ ซึ่งทำได้โดยการนำการพัฒนาที่มีคำแนะนำไปใช้ และทำให้กระบวนการระบุ จุดประสงค์การใช้งานภายในแอปพลิเคชันง่ายขึ้น โดยใช้ภาษาภาพที่ตรวจสอบและทวนสอบได้ง่าย

● ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยและการควบคุมผู้ใช้งานที่แข็งแกร่ง: การรักษาความลับของ ข้อมูล ได้รับการยึดถือปฏิบัติในแพลตฟอร์มแบบ low-code ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่แชร์ออกไปนั้น ยังคงความเป็นส่วนตัว และไม่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้นักพัฒนายังได้ รับความสามารถในการกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งาน ทำให้พวกเขาสามารถจัดการบทบาทและความ รับผิดชอบภายในแพลตฟอร์มได้อย่างรอบคอบ

● โซลูชั่นแบบครบวงจร: เมื่อโซลูชั่นแบบ low-code ถูกรวมเข้ากับ AI โซลูชั่นเหล่านี้จะสามารถ รองรับทุกขั้นตอนของวงจรการใช้งานซอฟต์แวร์ ซึ่งรวมถึงภาระงานต่างๆ เช่น การออกแบบงาน ส่วนหน้า การบูรณาการข้อมูล การใช้ตรรกะ การเผยแพร่ การใช้งานโฮสต์ และอื่นๆ

การผสานรวมระหว่าง low-code และ AI มีศักยภาพในการปฏิวัติการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยการทำให้ AI เป็น ส่วนสำคัญของกระบวนการพัฒนา นักพัฒนาสามารถปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ และส่งมอบแอปพลิเคชัน คุณภาพสูงด้วยความคล่องตัว ความสามารถในการปรับลดขนาดระบบ และประสบการณ์ผู้ใช้ที่ได้รับการปรับปรุง

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ต้องตระหนักถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นของ AI และ low-code และดำเนินการ เพื่อบรรเทาผลกระทบเหล่านั้น ด้วยการวางแผนและดำเนินโครงการอย่างรอบคอบ นักพัฒนาสามารถมั่นใจ ได้ว่าพวกเขากำลังใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ

บทความโดย: มาร์ค วีสเซอร์ รองประธานกรรมการ เอเชียแปซิฟิก

 

Mark Weaser, Vice-President for Asia-Pacific OutSystems

 

 

ถาม: ทำไมไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ถึงมีความสำคัญมากในอนาคต ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่คิดว่ามันอันตราย แต่ MBA ยังบอกว่ามันควรเป็น Investment Theme ที่น่าจับตานับแต่นี้?

ตอบ: เทคโนโลยีที่ใช้กับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ปัจจุบันทั้งหมดเป็นแบบ Nuclear Fission Technology
พูดแบบง่ายๆ คือใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาทำการแยกนิวเคลียสของอะตอม (โดยทั่วไปใช้ธาตุยูเรเนียมเป็นวัตถุดิบ) จากหนึ่งให้เป็นสองหรือมากกว่านั้น ซึ่งในกระบวนการนี้เราจะได้พลังงานจำนวนหนึ่ง ที่เรียกว่าพลังงานนิวเคลียร์ นั่นเอง
แล้วค่อยเอาพลังงานความร้อนอันนี้ไปต้มน้ำเพื่อใช้ไอน้ำไปปั่นเครื่องปั่นไฟ แล้วค่อยนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ในบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม
ข้อดีของพลังงานแบบนี้คือมันสะอาด ไม่ปล่อยคาร์บอนและสารพิษสู่อากาศ มีเสถียรภาพ ผลิตไฟได้มากและไม่ขาดสาย แม้โรงงานและเครื่องปฏิกรณ์ (Nuclear Reactor) จะแพง แต่พลังงานที่ได้มีราคาถูก ในระยะยาวจะประหยัดกว่ามาก
ส่วนข้อเสียคือมันจะเกิดขยะกัมมันตภาพรังสี แม้จะมีเพียงจำนวนน้อย แต่ถ้าจัดเก็บไม่ดี หรือกำจัดไม่ถูกวิธี มันจะเป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมทั้งมวล
การที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เป็นที่นิยมของมหาชนเพราะเมื่อมันเกิดอุบัติเหตุ ขยะกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล ส่งผลร้ายแรงต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม ก็มักจะเป็นข่าวคึกโครม ดังตัวอย่างที่เชอร์โนบิลและฟูกูชิมา
ทว่าในความเป็นจริงแล้ว เครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Third-generation Reactor มีระบบความปลอดภัยสูงมาก และการออกแบบโรงไฟฟ้าสมัยนี้ ก็คำนึงถึงอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น ซึนามิและแผ่นดินไหว ซึ่งเคยทำให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ฟูกูชิมาแตกมาแล้ว
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่น 3 อยู่ในจีนและอินเดีย จำนวนเกือบ 10 โรง
ปัจจุบันการออกแบบและผลิตเตาปฏิกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ (Fourth-generation Reactor) เช่น sodium-cooled fast reactors (SFRs), gas-cooled fast reactors (GFRs), very high temperature reactors (VHTRs), and molten salt reactors (MSRs) ก็พบว่าทดลองแล้วได้ผลดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์แบบกระทัดรัด ที่เรียกว่า SMR (Small Modular Reactor) นั้น จะปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก และจะลดต้นทุนได้มาก เพราะราคาถูกลงแยะ ซึ่งผู้พัฒนาได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว (เราได้อธิบายไว้ในบทความและคลิปที่ออนไลน์ไปแล้วด้วย)
เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ช่วยให้มหาชนในบางประเทศวางใจต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากขึ้น ทำให้นักการเมืองกล้าตัดสินใจอนุมัติให้สร้างโรงใหม่ๆ ได้ เพราะความต้องการไฟฟ้าในโลกปัจจุบันเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ถ้าไม่เร่งสร้าง อาจเกิดขาดแคลนได้ในอนาคตอันใกล้ และพลังงานนิวเคลียร์นี่แหล่ะที่จะช่วยปิดสวิสต์โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลทั้งหลาย และจะช่วยให้โลกสะอาดขึ้นและเย็นลง


การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ขับขี่รุ่นใหม่ ที่หันมาใช้รถยนต์ EV แทนรถยนต์แบบสันดาบภายใน การอุบัติขึ้นของ Generative AI ในนาม ChatGpt ส่งผลให้องค์กรทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐทั่วโลกวางแผนที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดย AI ในภาคการผลิตและภาคบริการ กระแสความนิยมขององค์กรภาคธุรกิจและภาครัฐต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลและซอฟท์แวร์ขึ้นไปอยู่บน Cloud Computer (เทรนด์นี้เรียกว่า Digital Transformation) ตลอดจนขนาดของการสร้าง เคลื่อนย้าย และจัดเก็บ ข้อมูลในยุค 5G, 6G, 7G…..
เหล่านี้ย่อมต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะคอมพิวเตอร์ต้องเพิ่ม หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลต้องเพิ่ม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และ จุดชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์และพาหนะ EV ทั้งปวง ก็ต้องเพิ่ม และจะเป็นการเพิ่มแบบก้าวกระโดดในอนาคตอันใกล้เสียด้วย เพราะ Adoption Rate ของ EV และ AI เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นและกำลังจะ Take-off
สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบอยู่ในตัวว่าทำไมโลกยังต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และในฐานะนักลงทุน เราต้องจับตาต่อเทรนด์นี้อย่างไม่กระพริบตา
และที่น่าจับตาต่อยอดจากเทรนด์นี้ไปอีก คือพัฒนาการของเทคโนโลยี Fusion
Nuclear Fusion Technology เป็นเทคโนโลยีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าดวงอาทิตย์เปล่งความร้อนด้วยวิธีนี้
นั่นคือการรวมตัวของนิวเคลียสจากสองให้เหลือเพียงหนึ่ง ภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยกระบวนการนี้จะเปล่งพลังงานออกมาจำนวนมากด้วย

มีการทดลองกับธาตุหลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือ Proton-boron (pB-11) เพราะผลลัพธ์ที่ได้ติดมาแค่ฮีเลียม (Helium) เพียง 3 นิวเคลียส ที่เหลือล้วนเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากกากกัมมันตภาพรังสี หรือ Radioactive Waste แม้แต่น้อย
สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ในระยะห้องทดลอง แต่ก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ความก้าวหน้าทางด้านวัสดุศาสตร์และ AI น่าจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถควบคุมปฏิกิริยาพลาสม่าในเตาปฏิกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ในเร็ววัน
เทคโนโลยีนี้ จะช่วยให้นักต่อต้านนิวเคลียร์ทั้งหลาย คลายความกังวลลงได้ ทั้ง NGO นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักการเมือง และผู้กุมอำนาจรัฐบางส่วน
ภาพลักษณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์น่าจะดีขึ้นแยะ
ก่อนจะจบ ข้อมูลอย่างนึงที่คนมักไม่สนใจคือ แผงโซล่าเซลที่ใช้สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้านั้น อันที่จริงก็มีส่วนผสมจากสารเคมีที่เป็นพิษต่อธรรมชาติ และเมื่อเราใช้แผงเหล่านี้ไปเรื่อยๆ ผ่านไปสัก 15 ปี ประสิทธิภาพมันก็จะลดลง เหมือนกับแบตเตอรี่รถ EV ซึ่งเสื่อมเร็วกว่านั้นมาก
พวกมันจำเป็นต้องปลดระวาง และเปลี่ยนอันใหม่มาใช้แทน
ขยะเหล่านั้น คุณคิดว่ามันจะไปไหน?

โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว / Editor in Chief _MBA magazine

05/10/2566

โลกขณะนี้มีคลื่นใหญ่หลายคลื่นกำลังถาโถมอยู่ แต่มีอยู่สองคลื่นแน่ๆ ที่ไม่มีอะไรจะขวางไว้ได้

จะเรียกว่า “กระแส” “เทรนด์” หรือ “เมกะเทรนด์” หรืออะไรก็สุดแท้

แต่จงรู้ไว้ว่า มันเป็นสิ่งที่หยุดไม่อยู่ ขวางไม่ได้ แม้กระทั่งจะรั้งไว้ ก็รังแต่จะเกิดความเสียหายในระยะยาวเสียยิ่งกว่า เสมือนหนึ่งสึนามิที่ได้ฟอร์มตัวขึ้นแล้วในทะเลลึก เพียงแต่มันยังอยู่ในทะเล และกำลังเดินทางมาด้วยความเร็ว ทว่ายังมาไม่ถึงชายฝั่ง คนทั่วไปจึงยังไม่เห็นและสัมผัสกับพลังอันมหาศาลของมัน

ไม่ว่าท่านจะทรงอำนาจราชศักดิ์หรือเปี่ยมด้วยทรัพย์ศฤงคารมากมายสักปานใด ท่านมีทางเลือกเดียวเท่านั้นคือ “ต้องปรับตัว” ตามมัน

คลื่นยักษ์ที่ว่านี้คือ “Digital Currency” อันหนึ่ง และ “กัญชาเสรี” อีกอันหนึ่ง

แต่ใช่ว่า คลื่นสองคลื่นนี้จะมีแต่พลังทำลายล้างหรือ Disruption เพียงด้านเดียว ทว่าพลังด้านบวกมันก็มีมหาศาลเช่นกัน

หากเรารู้จักวางความคิดตนเองให้ถูก ศึกษาให้รู้ตื้นลึกหนาบางของมันอย่างละเอียด แน่นอนว่าเราก็จะสามารถเอาประโยชน์จากมันได้

ทั้งประโยชน์ในแง่ใช้สอย และประโยชน์ในแง่ของโภคผลเงินทอง ไม่ว่าเราจะเป็นรัฐบาล ธุรกิจเอกชน Start-Ups, SME หรือราษฎรตาดำๆ

แน่นอน แม้คนธรรมดาสามัญก็สามารถสร้างทรัพย์จากเทรนด์สำคัญๆ ของโลกได้แน่นอน หากเข้าใจและลงทุนได้อย่างถูกจังหวะเวลา

ดีกว่ายืนมองให้มันผ่านไปเฉยๆ แล้วก็มาสำนึกเสียใจภายหลัง แบบว่า "รู้งี้...น่าจะลงมือทำหรือลงทุนกับอันนั้นอันนี้ เสียตั้งแต่แรก"

โอเค เรื่องกัญชาค่อยว่ากันอีกบทความหนึ่ง ตอนนี้ขอแสดงความเห็นเรื่อง Digital Currency ก่อน เพราะมีข่าวว่าธนาคารกลางของจีน กำลังจะออก Digital Currency มาใช้ในเวลาอีกไม่นาน

แน่นอน Digital Currency ที่ว่านี้ก็คือเงินหยวนนั่นเอง แต่ที่ไม่เหมือนเดิมคือมันจะทำงานอยู่บนเครือข่าย Blockchain ไม่ใช่ระบบเดิมที่ใช้โอนกันผ่านเครือข่ายสถาบันการเงินอย่างในปัจจุบัน

ดูก็รู้แล้วว่ารัฐบาลจีนต้องการใช้ระบบใหม่นี้ต่อกรกับ LIBRA หรือ Digital Currency สกุลใหญ่ๆ ที่อาจจะออกตามกันมาเป็นพรวน

ใครก็ตามถ้าไม่ได้ไปอยู่หลังเขาในช่วงหลายเดือนมานี้ย่อมต้องทราบข่าวกันบ้างว่า Facebook ได้ดำริว่าจะออกสกุลเงิน Digital Currency ของตัวเองมาใช้ ตั้งชื่อว่า “LIBRA” โดยคาดว่าจะออกให้ใช้กันภายในหกเดือนแรกของปีหน้า (ผู้อ่านที่ซีเรียสจริงจังสามารถอ่าน Whitepaper ของ LIBRA ได้ตามลิงก์นี้: https://libra.org/en-US/white-paper/#introducing-libra)

 

พูดให้ง่ายคือ LIBRA จะใช้แทนเงินสดได้บนเครือข่ายของ Facebook และเครือข่ายของกิจการร่วมก่อตั้งบิ๊กๆ อีก 26 ราย เช่น VISA, PayPal, Coinbase, XAPO, Mastercard, eBay, Uber, Lytf เป็นอาทิ โดยพวกเราที่ต้องการใช้เงินสกุลนี้ ก็ไม่ต้องทำไรมาก เพียงแค่ดาวน์โหลด Wallet ที่เรียกว่า “CALIBRA” เข้ามาในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ แล้วก็เอาเงินบาทหรือเงินสกุลอะไรก็ได้ไปแลกเป็น LIBRA ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น (ซึ่งองค์กร Libra.org ที่จะตั้งขึ้นมา ณ นครเจนีวา จะเป็นผู้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนให้ทราบ) แล้วก็นำ LIBRA ไปใช้ซื้อสินค้าและบริการ หรือโอนไปให้เพื่อนฝูงญาติพี่น้องได้ฟรีๆ ผ่านสมาร์ทโฟนของเรา ไม่ว่าผู้รับโอนจะอยู่ที่ไหนบนผิวโลก โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม (หรืออาจจะเสียค่าธรรมเนียมต่ำมากๆ ...ต่ำกว่าอัตราที่แบงก์หรือสถาบันการเงินเก็บอยู่ในปัจจุบัน)

ลองคิดดูว่าถ้า Facebook เพียงแต่ออกแคมเปญว่าให้ผู้จะลงโฆษณาหรือทำโปรโมชั่นสินค้าบริการบน Facebook จ่ายชำระเป็นเงินสกุล LIBRA แล้วจะได้ลดราคา หรือบอกว่าผู้ใช้ Facebook หากยอมดาวน์โหลด Wallet (ซึ่งหน้าตาเหมือนกับ App ทั่วไป) ก็จะได้รับเหรียญ LIBRA ไปใช้ฟรี เป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้หน่วย

เพียงเท่านี้ LIBRA ก็จะแพร่หลายไปทั่วโลกทันที เพราะอย่าลืมว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กปัจจุบันมีมากกว่า 2,400,000,000 คน กระจายกันอยู่ทั่วโลก

คนที่เคยใช้เงินบาท เงินดอลลาร์ เงินหยวน เงินเยน เงินยูโร หรือเงินสกุลอะไรก็ตาม ชำระเงินและโอนให้กันและกันอยู่ทุกที่วี่วัน ก็จะหันไปใช้ LIBRA กันบ้างล่ะ ไม่มากก็น้อย

แบบนี้มันต้องร้อนถึงรัฐบาลต่างๆ แน่นอน เพราะมันจะมาเจือจางให้อำนาจของรัฐบาล ซึ่งเป็นเจ้าของสกุลเงิน ผ่านธนาคารชาติของตนๆ ลดน้อยถอยลงไป

 

จึงไม่แปลกที่ LIBRA จะได้รับการต่อต้านในทันทีจากรัฐบาลและนักการเมืองที่กุมอำนาจส่วนใหญ่ ทั้งในสหรัฐฯ และประเทศสำคัญๆ (เราติดตามเรื่องนี้อยู่อย่างใกล้ชิดและจะรายงานให้ทราบเป็นต่างหากออกไป..โปรดติดตามงานบนเว็บของเรา)

เพราะหากปล่อย LIBRA ออกมาโดยง่าย แน่นอนว่ามันจะไม่หยุดที่ตรงนั้น ต่อไปกิจการยักษ์ใหญ่ทั้งหลายก็จะต้องออก Digital Currency ของตนมาใช้อย่างแน่นอน

Google, Amazon, Apple, JP Morgan ก็คงจ่อคิวอยู่ โดยขณะที่ผมเขียนต้นฉบับอยู่นี้ ก็มีข่าวยืนยันแล้วว่า Walmart ประกาศว่าจะออก Digital Currency ของตัวเองอย่างแน่นอน

คิดดูว่าในหนึ่ง Walmart มีกิจการเกือบครบวงจรอยู่ในนั้น หากพ่อบ้านแม่บ้านที่ไปซื้อข้าวของใน Walmart พากันใช้เหรียญดิจิทัลของวอลมาร์ทกันหมด อำนาจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ย่อมลดลงไปอีก

ผมว่าคนคิดเรื่อง LIBRA เก่งที่สามารถนำเอาข้อดีของเงินดอลลาร์และของบิทคอยน์และหลักการของมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) มาผสมผสานกัน

 

ข้อดีของดอลลาร์คือมีสภาพคล่องสูงที่สุดในโลก ซื้อง่ายขายคล่องทั้งหน่วยเล็กหน่วยใหญ่ ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ และมีค่าค่อนข้างเสถียร ไม่ขึ้นลงหวือหวา ไม่ใช่วันนี้ซื้อไอติมได้สองแท่ง แต่พรุ่งนี้ซื้อได้แท่งเดียวหรือสามแท่ง ทว่าข้อเสียของดอลลาร์คือไม่มีทรัพย์สมบัติอันมีค่าเป็นทุนสำรอง (Reserve) หนุนหลังไว้เลย มีแต่แสนยานุภาพและระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เท่านั้นที่หนุนอยู่ แต่เมื่อใดก็ตามที่คนหมดความเชื่อถือ เงินดอลลาร์ก็เป็นเพียงเศษกระดาษธรรมดา

 

ข้อดีของบิทคอยน์คือมีการเปิดเผยข้อมูลของทุกธุรกรรม (คือทุกการซื้อขาย การชำระเงิน และการโอนเปลี่ยนมือ) อย่างโปร่งใสและกลับไปลบแก้ไขย้อนหลังได้ยาก โกงและแฮ็คลำบาก ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Blockchain” ซึ่งต่อมาได้ใช้เป็นระบบดาต้าเบสหลักสำหรับบันทึกธุรกรรมของ Cryptocurrencies ทุกสกุล แถมยังสามารถเพิ่ม Smart Contract บนบล็อกเชนได้ด้วย (เกิดจากนวัตกรรมที่คิดขึ้นโดย Etherium) แต่ข้อเสียของบิทคอยน์ (และเงินคริปโตส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ Stable Coin) คือสภาพคล่องน้อยและราคาขึ้นลงหวือหวา ไม่เหมาะกับการนำมาใช้แทนเงินสดในชีวิตประจำวัน เหมาะกับการลงทุนหรือเก็งกำไรเท่านั้น

 

ข้อดีของมาตรฐานทองคำ ที่เคยใช้กันมาในระบบการเงินโลกยุคก่อน คือความเชื่อถือที่ทุกฝ่ายมีต่อค่าเงินสกุลสำคัญๆ ที่ร่วมอยู่ในระบบ เพราะต้องมีทองคำหนุนหลังเท่ากับมูลค่าเงินที่พิมพ์ออกมาใช้ และหากเกิดประเทศใดขาดดุลการค้าก็ต้องหาทางลดการนำเข้าทำให้ต้องประหยัดโดยอัตโนมัติ หรือมิฉะนั้นก็ต้องหาทางนำทองคำมาชำระ แต่ข้อเสียคือทองคำมีน้อย เมื่อการค้าของโลกเพิ่มมูลค่าขึ้น ระบบการเงินแบบนี้ก็เกิดปัญหา ประกอบกับหลายประเทศมิได้ยึดวินัยการใช้จ่ายตามที่ควรจะเป็น แต่ต่อมาก็ได้มีการนำหลักการทุนสำรองมาประยุกต์ใช้ด้วยแนวคิดที่เรียกว่า Currency Board คือแทนที่จะใช้ทองคำเป็นทุนสำรอง ก็เปลี่ยนมาใช้เงินตราสกุลหลักๆ หนุนหลังแทน

LIBRA หยิบเอาสภาพคล่องและเสถียรภาพของดอลลาร์ มาประกอบเข้ากับบล็อกเชน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (แต่ก็ทำการอัปเกรดบล็อกเชนให้อนุมัติธุรกรรมเร็วขึ้น) อีกทั้งยังสามารถตัดนายหน้าคนกลางทิ้งไปในกระบวนการชำระเงินและโอนเงิน แล้วยังหนุนด้วยทุนสำรองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คือจะออก LIBRA 1 หน่วยก็ต่อเมื่อมีผู้นำเงินสดสกุลใดสกุลหนึ่งมาแลกในอัตราแลกเปลี่ยนที่มีมูลค่าเดียวกันเท่านั้น และเมื่อมีการแลกกลับ ระบบก็จะลบ LIBRA ทิ้งไปในจำนวนเท่ากัน ไม่ได้พิมพ์เงิน LIBRA ตามอำเภอใจ โดยจะมีหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญ (Libra.org ตั้งอยู่ที่เจนีวา) ทำหน้าที่ดูแลบริหารเงินทุนสำรองที่รับแลกมานั้น (ตะกร้าเงิน) เพื่อให้ค่าเงิน LIBRA เกิดเสถียรภาพ

 

นั่นเท่ากับ Libra.org จะมีอำนาจยิ่งกว่าธนาคารกลางใดๆ และผู้ถือหุ้น LIBRA โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Facebook ในฐานะต้นคิดและผู้กุมกระเป๋าเงิน CALIBRA ก็จะมีอำนาจคุมเงินสกุลสำคัญของโลก ตลอดจนธุรกรรมทางการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นบนเครือข่ายจำนวนมหาศาล อีกทอดหนึ่ง

จึงยากสักหน่อยที่รัฐบาลและรัฐสภาสหรัฐฯ จะยอมให้ LIBRA เกิดขึ้นโดยไม่ทักท้วงซักฟอกให้แน่ใจ คงต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบ ทั้งในแง่ขอบเขตอำนาจที่จะมาเบียดบังธนาคารกลางและการใช้อำนาจของรัฐบาล ตลอดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสถาบัน

การเงินและอุตสาหกรรมอื่นๆ (Facebook ตระหนักถึงเรื่องนี้ดี จึงประกาศมาล่วงหน้า ทั้งๆ ที่ในเชิงเทคโนโลยีและในเชิงเครือข่าย Ecosystem ที่มีอยู่ทั่วโลกแล้ว สามารถออก Cryptocurrency ของตัวเองได้เลยทันที)

แต่อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด เพราะมันเลยจุดที่จะห้ามไว้ได้ไปแล้ว

เทคโนโลยีบล็อกเชนมันอนุญาตให้ใครก็ได้สามารถออก Cryptocurrency หรือเงินดิจิทัลของตัวเองมาใช้ในเครือข่ายได้อย่างง่ายๆ และการแพร่หลายของสมาร์ทโฟนกับอินเทอร์เน็ตก็ทำให้ธุรกรรมทางการเงินอยู่นอกการควบคุมของ “อำนาจรัฐใดรัฐหนึ่ง” คือมันมีลักษณะ “ลอดรัฐ” และ “ลอดพรมแดน”

 

รัฐบาลจีนรู้เรื่องนี้ดีอยู่เต็มอก เพราะที่ผ่านมาจีนประกาศแบนบิทคอยน์และเงินคริปโตทุกสกุล แต่คนจีนก็ยังคงเป็นผู้ลงทุนหลักในบิทคอยน์อยู่ในขณะนี้

Node ของบิทคอยน์นั้นกระจายไปยังหลายร้อยประเทศทั่วโลก การจะกำจัดมันได้ ต้องกำจัดทุก Node เพราะหากยังมี Node หลงเหลืออยู่เพียง Node เดียว มันก็จะสร้างเครือข่ายขึ้นมาได้อีก

การกำจัดบิทคอยน์ให้ตายสนิทจึงมีวิธีเดียว คือต้องปิดระบบอินเทอร์เน็ตทั้งโลก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของรัฐบาลทุกรัฐบาล และธุรกรรมอื่นบนอินเทอร์เน็ตย่อมล่มสลายไปด้วย

ดูอย่างนี้แล้ว คงเดาได้ไม่ยากว่า เงินดิจิทัลที่เจ้าของมิใช่รัฐบาล แต่เป็นกิจการหรือกลุ่มกิจการที่มีเครือข่าย Ecosystem ของตัวเองสมบูรณ์อยู่แล้วทั่วโลก ย่อมต้องเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก

จะเป็น LIBRA หรือไม่เป็น LIBRA ก็หาใช่ประเด็นไม่

 

รัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกมีทางเลือกเดียวคือ ‘ต้องปรับตัว’ เพราะจะเอาตัวเข้าขวางคลื่นยักษ์นี้ ก็ย่อมเสียเวลาเปล่า รังแต่จะเป็นการถ่วงหรือ Delay มิให้เทคโนโลยีพัฒนาไป และทอนพลังนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ที่ควรจะต่อยอดไปได้อย่างที่ควรจะเป็น

รัฐบาลและธนาคารกลาง จึงเหลือหนทางเดียว คืออาจต้องเทคโอเวอร์เงินคลิปโตหรือเงินดิจิทัลมาเป็นของตัวเสียเลย โดยชิงออกเงินของตัวเองและเซ็ตมาตรฐานให้ทุกคนต้องใช้ (หรืออาจร่วมมือกันในกลุ่มประเทศผู้กุมเงินสกุลสำคัญของโลก) เหมือนกับที่เคยทำมาแล้วกับเงินตราที่เป็นเหรียญกษาปณ์และธนบัตร เพราะถ้าดูจากประวัติศาสตร์แล้ว ทั้งเหรียญเงินตราและธนบัตรที่ใช้กันในยุคแรก ก็มิใช่ของรัฐบาล เพียงแต่เมื่อมันแพร่หลายและได้รับความนิยมแล้ว รัฐบาลจึงเข้ายึดครองเสีย โดยออกกฎหมายห้ามคนอื่นหล่อหรือพิมพ์เงินมาแข่ง

เมื่อถึงวันนั้น รัฐก็จะเข้าครอบงำชีวิตราษฎรอย่างสมบูรณ์

รู้ว่าใครใช้จ่ายอะไร และจะอนุญาตให้ใครใช้จ่ายอย่างไรก็ได้ (เช่นเด็กอายุไม่ถึง 15 จะใช้เงินดิจิทัลซื้อเหล้าไม่ได้) จะอายัดใครเมื่อไหร่และเท่าใดก็ได้ อีกทั้งยังบังคับเก็บภาษีได้ทันทีผ่าน Wallet ของตัวเอง

Big Brother และ Dystopia ที่หลายคนกลัวนักกลัวหนา มีโอกาสเป็นจริงก็คราวนี้อ่านมาถึงบรรทัดนี้ คนฉลาดๆ แบบท่าน คงรู้แล้วว่าจะแทงม้าตัวไหน และจบ้างะเลือกถือสินทรัพย์ประเภทใดเพิ่มขึ้น

 

 

 

ทักษ์ศิล  ฉัตรแก้ว 

พ.ย.2020

 

 

ในโลกนี้มีกฎเพียงไม่กี่กฎซึ่งมนุษย์ค้นพบจากการเฝ้าสังเกตธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ที่สามารถให้อรรถาธิบายสรรพสิ่งและความเป็นไปของธรรมชาติได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

บ้านปูฯ เดินหน้ากลยุทธ์ Greenerเต็มพิกัด

เพิ่มสัดส่วนธุรกิจก๊าซธรรมชาติ พร้อมติดเครื่อง “บ้านปู เน็กซ์”

ขยายพอร์ตพลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรม

  • รายได้จากการขาย2,759 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ85,660 ล้านบาท) และ EBITDA 695ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ21,578 ล้านบาท)
  • เดินหน้ากลยุทธ์Greenerขยายธุรกิจก๊าซธรรมชาติ และจัดตั้งธุรกิจ “บ้านปู เน็กซ์” เต็มพิกัดเพื่อเพิ่มพอร์ตพลังงานสะอาด ตอบโจทย์รูปแบบการใช้พลังงานในอนาคต
  • บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รายงาน
    ผลภาพรวมการดำเนินงานปี2562 ของบริษัทฯ มีรายได้จากการขายรวม2,759 ล้านเหรียญสหรัฐสร้างการเติบโตธุรกิจพลังงานสีเขียวด้วยการเพิ่มสัดส่วนธุรกิจก๊าซธรรมชาติ และการจัดตั้งบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด
  • นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าแนวโน้มธุรกิจพลังงานในช่วงปี2562 สะท้อนถึงความท้าทายจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าของประเทศคู่กรณี ความต้องการใช้พลังงานชะลอตัวจากปัจจัยสภาวะอากาศที่ไม่หนาวเย็นนักในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ และการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง แม้กระนั้น เรายังคงเดินหน้าเสริมสร้างความแข็งแกร่งและสมดุลให้กับระบบนิเวศทางธุรกิจระหว่างกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ทั้งกลุ่มธุรกิจแหล่งพลังงาน กลุ่มธุรกิจผลิตพลังงาน และกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจที่ตอบรับกับเทรนด์พลังงานแห่งโลกอนาคต ที่สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาด รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาด ซึ่งจะเริ่มได้เห็นความคืบหน้าทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมในปี2563
  • สำหรับภาพรวมปี2562 บ้านปูฯ มีรายได้จากการขายรวม 2,759 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ85,660 ล้านบาท) ลดลงจากปีก่อน 722 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ22,416 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 21 มีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA)รวม695 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21,578 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 41 จากปีก่อนหน้า และมีกำไรสุทธิก่อนผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนคิดเป็นจำนวน75 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,329 ล้านบาท) ซึ่งปรับลดลงร้อยละ66 จากปีก่อนหน้า จากการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐในปีที่ผ่านมาทำให้เกิดผลขาดทุนจากการแปลงค่างบการเงินจำนวน95 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,950 ล้านบาท) งบการเงินรวมจึงได้บันทึกขาดทุนสุทธิจำนวน20 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 621 ล้านบาท)

     

X

Right Click

No right click