December 23, 2024

Business School for Life โรงเรียนบริหารธุรกิจ ตลอดชีวิต @AccBA CMU

June 17, 2019 5517

นับแต่ระลอกแรกของ Technology Disruption ที่กระทบกระแทกเข้ามาพลิก เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปสู่วิถีแห่งดิจิทัล ตัดตอนวงจรธุรกิจที่เคยดำเนิน สืบเนื่องติดต่อกันมายาวนาน ปิดเกม เปลี่ยนโฉมโมเดลการค้าน้อยใหญ่ในโลก  ไม่พ้นแม้อุตสาหกรรมการเงิน วันนี้เริ่มมีคำกล่าวขานว่าระลอกคลื่นแห่ง Disruption เริ่มหันทิศทางมาที่ภาคการศึกษา ประเด็น Education Disruption เริ่มจุดกระแส ความท้าทายครั้งใหญ่ให้กับมหาวิทยาลัยทั่วโลก ไม่พ้นแม้แต่หลักสูตรบริหารธุรกิจ ใน Business School อันเป็นที่สุดของ ความนิยมทั่วโลกก็ยังเริ่มสั่นคลอน

รศ.ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร คณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ (AccBA CMU) ได้เผย วิสัยทัศน์ต่อประเด็น Education Disruption บนมุมมองของนักการศึกษาประกอบกับ สายตาผู้เชี่ยวชาญสายกลยุทธ์ หรือ  Management Strategist โดยยกแนวคิด ของ ศ. อิกอร์ แอนซอฟ (Prof. Igor Ansoff) เจ้าแห่งทฤษฎี Strategic Success Paradigm ในการพยากรณ์แนวโน้มตลาดผู้เรียน MBA และแนวทางพัฒนาหลักสูตร เพื่อตอบโจทย์อนาคตที่กำลังเปลี่ยนไป

Technology Disruption คือ การพลิกเกม โดยเทคโนโลยี ซึ่งจะมา Disrupt อุตสาหกรรม การศึกษา ขนาดเกิด Education Disruption นั้น กระทบทุก Business School จน นักวิจารณ์บางรายบอกว่ามหาวิทยาลัย จะถูกตัดตอนออกไปนั้น อันที่จริงแล้ว Business School ก็ พลิกเกม” โดย พัฒนาตัวเองมาหลายยุคหลายสมัย  มีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวตาม สภาพการณ์และสภาพแวดล้อมท่ี เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอมา ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตร รายวิชาซึ่งเป็นเสมือนผลิตภัณฑ์ ก็มีการปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ตลาดและ ความต้องการอยู่เสมอๆ ครั้งนี้เช่นกัน เมื่อสภาพแวดล้อมวันนี้และอนาคตที่ คาดการณ์ว่าจะต่างไปจากในอดีต และ คาดว่าจะเปลี่ยนมากและยากต่อการ พยากรณ์ นั่นหมายความว่า อนาคตของ Business School ก็ย่อมต้องเปลี่ยนไป ส่วนทิศทางของ Business School จะเป็น ไปอย่างไรนั้นในมุมของผมคิดว่า น่าจะ พัฒนาไปสู่ Business School for Life คือ “เรียนรู้ตลอดชีวิต” คือบทเปิด ความคิดเห็นของ รศ.ดร.สิริวุฒิ อันนำมาสู่ บทสัมภาษณ์ เพื่อขยายความในประเด็น เรื่อง Future Education และ Business School for Life และแนวทางวันนี้ของ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Q: ความเห็นของอาจารย์ในเรื่อง Technology Disruption?

A: ทุกวันนี้การคาดการณ์อนาคตทำยากขึ้น เพราะเราไม่รู้ว่า Disruptive Technology ไม่ว่าจะเป็น AI (Artificial Intelligence: ปัญญาประดิษฐ์) Machine Learning (การเรียนรู้ ของสมองกล) หรือ Big Data ทั้งหลายนั้นในที่สุดแล้วมันจะพัฒนาไปถึงไหน มี Limitation หรือขีดจำกัดอยู่ที่ใด เพราะสิ่งที่พูดกันทุกวันนี้คือ ทุกสิ่งทได้ ขอเพียงจินตนาการไปถึง ซึ่งถ้ำศักยภาพในการทได้มีมากขนาดนั้นจริง เราจะรู้ได้อย่างไรว่า AI  หรือ Machine Learning จะดึงเราไปไกลแค่ไหน หรือเส้นขอบฟ้าของเราจะกว้างขึ้น เพียงใด เมื่อเป็นเช่นนี้ การคาดการณ์อนาคตจึงยากมาก

พูดถึงเทคโนโลยีแค่สองตัว อย่าง Machine Learning กับ AI ผมมองว่า คือ ตัวที่จะ มาเสริมบทบาทหน้าที่ของมนุษย์ และแทนที่งานในบางลักษณะ โดยเฉพาะที่ทำซ้ำๆ และ งานที่มนุษย์มีโอกาสทำผิดพลาดบ่อยๆ ตอนนี้เราเห็นแล้วว่างานที่มีแบบแผนตายตัว เทคโนโลยีทำแทนได้ทันที ไม่ใช่เพียงแค่งานใช้แรงกายอย่างเดียว เพราะงาน Labor นั้น หุ่นยนต์หรือ Robot ทำได้และทำแทนมานานแล้ว ตอนนี้งานที่ใช้สมองก็แทนได้เขาถึง เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ เช่น การลงรายการบัญชี การทำบัญชี จนถึงรายงานการเงิน  ทุกวันนี้สามารถสแกนใบเสร็จแล้วเรียลไทม์ลงงบการเงินได้ทันที ซึ่งก็มีเว็บไซต์ที่เปิดให้ บริการทั่วไปหมดแล้ว หรืออย่างบทความจำนวนมากของ Bloomberg ก็ถูกเขียนโดย AI ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทำหลายอย่างแทนมนุษย์จะทำให้เรามีเวลาเหลือมากขึ้น และต้องผันตัวไปทำอะไรที่สร้างสรรค์ (Imaginative Work) มากขึ้น คำถามคือ เราต้อง สอนคนต่างไปอย่างไร

Q: แรงขับของภาคการศึกษา โดยเฉพาะในสาย Business School ตลอดจนแนวทางการปรับตัวอันสืบเนื่องมาจากผลกระทบจาก เทคโนโลยี ในความคิดเห็นของอาจารย์จะเป็นอย่างไร? 

A: ผมคิดว่า Driving Force ไปสู่การเปลี่ยนแปลง ไม่ได้มีเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น อย่างที่บอกว่าทุกสิ่งต้องมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว แต่คิดว่าอนาคตต่อไปจะอยู่ยากขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงมันซับซ้อน รวดเร็ว แหวกแนว และเห็นได้ไม่ชัด ลองมาไล่เลียงกันดูก็ได้

ภาคการศึกษาในยุคแรก คือ Education for Knowledge การศึกษาเพื่อมุ่งสร้างความรู้ Driving Force หรือแรงขับเคลื่อน ยุคนั้นคือรัฐบาล ที่กำหนดนโยบายและจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริม และสร้างให้ประชาชนมีความรู้ สถาบันฯ ก็มุ่งเป้าหมายชัดเจนไปที่การสอนความรู้ และการ Apply ความรู้ ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัย ในยุคนั้น มักจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็น Research University เน้นงานวิจัย และเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่เน้นไป ทางด้านวิทยาการ มุมมองของคนทั่วไป ก็จะมองว่า มหาวิทยาลัยเป็นสมบัติของ แผ่นดิน เป็น National Asset ในส่วน  Business School ก็วางหลักสูตรเพื่อปั้น คนให้เป็นคน “รู้จริงและคิดเป็น” ซึ่งต่อมาพอสภาพแวดล้อมเปลี่ยน แนวคิดนี้ก็ปรับไป

หลังจากนั้น Driving Force เริ่มไม่ได้ มาจากแรงขับเพียงภาครัฐ แต่เกิดจากภาค ผู้เรียน ที่อยากจะมี Job Mobility  ที่สามารถไปสมัครงานที่ไหนก็ได้ เปลี่ยนงาน ได้คล่อง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม ก็เกิดภาวะการแข่งขันสูง (Competition Demand) ต้องการบุคลากรที่มีทั้งความรู้ และทักษะที่จะมาช่วยทำให้องค์กรชนะ การแข่งขันได้ จึงก้าวมาสู่ยุคการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะหรือ Business School for Skills ยุคนี้ผู้เรียนเรียกร้อง อยากได้ สิ่งที่จะทำให้ตนเองทำงานได้ หลักสูตร ใน Business Schools ทั้งหลายเปลี่ยน กำหนดเป้าหมายและจุดขายมาที่เพิ่ม ทักษะเชิงปฏิบัติ เพื่อให้บัณฑิตเป็น ผู้ที่ทั้ง คิดเป็น และทเป็น

ณ จุดนี้จะพบว่าภาคการศึกษาที่ จากเดิมเคยเน้นการเรียนการสอนและ การวิจัย เอาสิ่งที่วิจัยได้มาสอน ก็เริ่มปรับ มาสอนสิ่งที่เป็นความรู้ทั่วไป หรือ  General Knowledge เป็นความรู้พื้นฐาน กว้างๆ แล้วเติมทักษะเฉพาะ หรือ  Specialized Skills ซึ่งส่วนใหญ่ตัวหลักสูตร จะถูกออกแบบมาในลักษณะที่ต้องมีวิชาพื้นฐาน (Core Courses) แล้วมีวิชา ที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะให้เลือก (Electives) โดยการเรียนการสอนใน  Business Schools ก็มีการ Balance กัน ระหว่างการศึกษาแบบสามัญกับแบบอาชีวะ และลักษณะการเรียนการสอนก็จะเริ่ม ปรับจากเดิมที่เน้นการบรรยาย หรือ Teacher Teaching มาเป็น Case Studies บ้าง Problem-Based หรือ Project-Based หรือ Experiential Learning บ้าง วิชาใน กลุ่มบริหารงานบุคคลก็ใช้การแสดง บทบาททำ Role Play อะไรต่างๆ เข้ามา ลักษณะนี้ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาทักษะ ผู้เรียนอีกขั้นหนึ่ง

ถัดจากนั้นก็มาถึงยุคที่เริ่มมีเสียง วิพากษ์วิจารณ์จากภาคผู้ประกอบการ หรือผู้ใช้บัณฑิตว่า การศึกษาที่ทำอยู่ ไม่ตรงจุด หรือ Irrelevant ผลิตบัณฑิต ที่ไม่พร้อมใช้ เมื่อเสียงขององค์กรเริ่ม สะท้อนดังขึ้น จนเป็นแรงขับดันที่นำมา สู่ยุคของการศึกษาเพื่อองค์กร Education for Organization

แนวคิด Education for Organization เป้าหมายคือการผลิตบัณฑิตที่ คิดเป็น ทเป็นและแก้ปัญหาได้ เป็นมนุษย์ พร้อมใช้ โดยหลักสูตรจะบูรณาการ  (Integrate) ทฤษฎีกับการท?างานจริง ในสถานประกอบการเน้นการเรียนไป พร้อมกับทำงาน เป็นความร่วมมือกันของ สถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม แต่หลักสูตรต่างๆ ก็ยังถูกพัฒนาจากมุมมอง ฝั่ง Supply Side หรือสถาบันการศึกษาอยู่ดี

ทั้งนี้ Business School for Organization มีธรรมชาติที่ต่างไปจากสองยุคแรก  ในแง่ของความจำเพาะเจาะจง สังเกตได้ จากหลักสูตรจะวางวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ว่าต้องการบัณฑิตเพื่องานในองค์กร ประเภทไหน จะลดความเป็น Generalized ลงแต่จะมุ่งตอบโจทย์เฉพาะอุตสาหกรรม ที่เป็นเครือข่ายกับสถานศึกษาเพราะ เป็นการเรียนควบคู่ไปกับการทำงาน  การเรียนผ่านการปฏิบัติจริง (Action Learning) การจัดการเรียนผ่าน Online อย่าง MOOC ผสมกับการเรียนฝึกปฏิบัติ เรียนนอกเวลางาน  ถ้าเป็นในรั้วมหาวิทยาลัย ก็เรียนวิชาข้ามคณะมากขึ้น เป็นปรากฏการณ์ ในยุคนี้  ข้อดีคือผลลัพธ์พร้อมใช้จริงๆ  แต่จุดอ่อนของการจัดการศึกษาลักษณะนี้ คือ จะต้องมีหลักสูตรออกมาจำนวนมาก จึงจะสามารถครอบคลุมความต้องการ ของอุตสาหกรรมที่ประเทศต้องการ และ ความเสี่ยงคือ หากมีการเปลี่ยนแปลง อย่างฉับพลันของเทคโนโลยี กลุ่มคน เหล่านี้ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการ Reskill อย่างเร่งด่วน คำถามคือทำได้ทันไหม และ ในกรณีที่มีดีมาน หรือ

ความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้น Capacity ในการรองรับก็จะเป็น ปัญหาเพราะมีความจำกัดในเรื่อง Scale Up ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วในปัจจุบันโครงการ นำร่องทั้งหลายก็ยังรับคนได้จำกัดและ ไม่สามารถขยายผลรองรับความต้องการ ขนาดใหญ่ได้

อีกแรงขับสำคัญคือ ภาครัฐที่ขานรับ เสียงสะท้อนของภาคเอกชนว่า บัณฑิตที่ เป็นผลผลิตจากหลักสูตรต่างๆ ไม่ตรงกับ ความต้องการของชาติ จนต้องมีการ ปรับเปลี่ยนกติกา หรือ Deregulation ใหม่  เช่นให้ต่างชาติมาตั้งมหาวิทยาลัยใน ประเทศไทยได้ ผ่อนข้อบังคับมาตรฐาน สกอ. เพื่อให้เกิดหลักสูตรพันธุ์ใหม่ จนเป็นที่มาของหลักสูตรผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่   ซึ่งก็เป็นโครงการที่เริ่มนำร่องล่าสุด  เพื่อเป้าหมายที่จะรองรับแผนพัฒนา ประเทศ Thailand 4.0 ที่โดยส่วนตัวแล้ว อยากจะใช้คำว่า World 4.0 มากกว่า เพราะถ้ามองรอบๆ ตัวเราประเทศไหนๆ ก็ 4.0 แทบทั้งนั้น บ้างก็ไปถึง 5.0 แล้ว  แต่เหตุผลก็เพราะสภาพแวดล้อมเริ่มเปลี่ยน ทำให้การศึกษาก็ต้องเปลี่ยนเพื่อตอบโจทย์ ความต้องการที่ไม่เหมือนเดิม และนั่นคือ แรงขับในยุคต่อไป ซึ่งผมคิดว่าจะเป็นยุคที่เรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต หรือ  Education for Life รวมทั้งหลักสูตรบริหารธุรกิจก็จะต้องปรับเป็น Business School for Life

Q: ปัจจัยผลักดันไปสู่ Business School for Life จะประกอบไปด้วย?

A: ชัดเจนประการแรกเลยคือ เทคโนโลยี ที่เราเริ่มเอามาช่วยเสริมการเรียนการสอน ให้มีความยืดหยุ่น เป็น Flexible Learning ด้วยความสามารถของเทคโนโลยี เรา สามารถออกแบบจัดทำหลักสูตรที่ปรับให้ มีความสอดคล้องกับผู้เรียนซึ่งสามารถ ปลดล็อกได้หลายเรื่อง ทั้งเรื่องเวลา สถานที่ หรือจะเป็นการเอื้ออำนวยต่อผู้เรียนที่ทำงานไปพร้อมกัน ที่สำคัญต่อไปเราจะเห็นการเรียนสามารถทำเป็นโมดูลสั้นๆ แทนที่จะต้องเรียนคอร์สยาวๆ มากขึ้นหรือออกแบบเป็นหลักสูตรพ่วงประกาศนียบัตร เสริมเป็น Bundle Specialized Program โดยดึงเอาความเชี่ยวชาญจากหลายๆ ศาสตร์มารวมกันแล้วนำเสนอเป็นแพ็กเกจ เป็นต้น เมื่อเทคโนโลยีเป็นไปได้ การออกแบบจัดทำหลักสูตรจึงมีความยืดหยุ่นได้อย่างไม่เคยมีมา

อีกประเด็นที่ตื่นเต้นกันแต่ก็ยังไม่เห็นว่าจะมีใครก้าวไปถึง คือที่พยากรณ์กันว่า ต่อไปคนจะไม่คาดหวังปริญญา แต่จะหันมาเรียนรู้เป็นเรื่องๆ เฉพาะที่สนใจในขณะนั้นแล้วเอาไปใช้งาน และเมื่อเจอปัญหาใหม่ก็เดินกลับมาสถาบันการศึกษาเพื่อเพิ่ม สมรรถนะอีกวนเวียนกลับไปมาอย่างนี้เป็น Life Time Relationship ซึ่งคิดว่าก็มี ความเป็นไปได้ ในแง่ที่ต่อไปคนจะหันมา เน้นที่การสะสมสมรรถนะ Competency ว่าจะต้องรู้อะไรจึงจะแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ได้ และเมื่อรู้แล้วต้องการจะใช้ได้จริง คือ แทนที่จะสะสมหน่วยกิตเพื่อปริญญาหรือวุฒิ แล้วเอาไปประกาศว่ามีคุณสมบัติเหมือนอย่างในอดีต ก็เปลี่ยนมาแสดงว่าฉันมีสมรรถนะที่จะทำงานแบบนี้ได้นะ แล้วใช้เป็นจุดขายของตัวเองไปเลย ซึ่งเป็นแค่การคาดการณ์ แต่ผมไม่คิดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามคืนหรือแม้แต่ภายในปีสองปี แต่ก็เป็น Driving Force ที่เรามอง ข้ามไม่ได้จำเป็นจะต้องเตรียมวางรากฐานการศึกษาแบบตลอดชีวิตหรือ For Life  แม้คำพยากรณ์นี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ การปรับหลักสูตรมาสู่ Competency-Based ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ควรทำ

Q: คีย์สคัญในเรื่อง Business School for Life คืออะไร?

A: เมื่อพยากรณ์กันว่าการศึกษา ในอนาคตจะไม่ใช่เพื่อใบประกาศหรือ ปริญญา แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม และพัฒนาสมรรถนะหรือ Competency นั่นก็หมายความว่า ผู้เรียนจะต้องรู้ว่าตนเองต้องกาเรียนรู้ในเรื่องอะไรซึ่งไม่ง่ายเลย ดังนั้น Need Assessment จึงเป็นสิ่งที่สคัญมาก

ที่ผ่านมาเกณฑ์ที่เราใช้ประเมินและคัดกรองผู้เรียน จะพิจารณาที่สติปัญญาว่าเพียงพอและมีศักยภาพในการเรียนจนจบ ได้หรือไม่ ทั้ง 3 ยุคแรก เราล้วนใช้เกณฑ์ ชี้วัดคัดเลือกเดียวกัน เช่น เกรด คะแนนสอบ ประสบการณ์ทำงาน ฯลฯ แต่ในโลกยุคใหม่ เชื่อว่า เราต้องเริ่มจากการช่วยผู้เรียน ประเมินตนเอง (Need Assessment)  ว่าเขาผู้นี้ขาดอะไร จำเป็นต้องรู้อะไร แล้วจึง จัด Package ของการเรียนรู้เพื่อเติมเต็ม สิ่งที่ขาดหรือจำเป็นต้องมี ซึ่งประเด็นสำคัญคือ ความต้องการจะเรียนรู้ของคนเราในแต่ละช่วงของวัฏจักรชีวิตจะไม่ เหมือนกัน เช่นเริ่มจะขึ้นเป็นผู้บริหารกับช่วงก่อนเกษียณ ช่วงมีแรงทำงานหลายอาชีพไปพร้อมๆ กันกับช่วงทำงานแก้เหงายามอายุมากขึ้น กลายเป็นการศึกษาตลอด Life Cycle แทน และในท้ายที่สุดเราจะต้องเตรียม Business School ให้ รองรับ Education for Life นั่นเอง

สรุปคีย์สำคัญก็คือ เราจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงและตระหนักรู้ถึงความไม่รู้ของตนเอง และรู้ว่าตนเองจเป็นจะต้องรู้อะไร ซึ่งเรื่องนี้ไม่ค่อย มีใครกล่าวถึง เพราะก่อนจะไปถึงจุดที่ คนไม่ต้องการปริญญา กระดาษไม่มี ความหมายแต่จะเป็นอย่างนั้นได้ต้องอยู่ บนสมมุติฐานว่าคนทุกคนบอกได้ว่า ตนเองต้องการอะไร ถ้าเขายังบอกไม่ได้เลย ว่าต้องการอะไร ความรู้อะไร ทักษะไหน หรือขาดอะไร เขาก็ย่อมไม่รู้ว่าจะไปเลือกเรียน อะไรเพิ่ม มันจึงเป็นอีกความท้าทายของ สถาบันการศึกษาที่จะต้องช่วยชี้ให้รู้ให้ได้ ว่า “ความต้องการ” นั้นอยู่ที่ไหน คืออะไร?

Q: หากต้องจัดหลักสูตรเพื่อรองรับ Need ที่แตกต่างและหลากหลาย รูปแบบของโปรแกรมการเรียนการสอนควรจะดเนินอย่างไร?

A: คิดว่าตัวการศึกษาจะต้องเป็น หน่วยเล็กๆ ที่เลือกเรียนต่อๆ กัน Micro Module และสามารถจัดการผสมผสาน สาขาในศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็น  Mix & Match โดยอิงกับความต้องการและสิ่งที่ขาดของผู้เรียนเป็นสำคัญ หากเทียบ กับ 3 ยุคแรกที่หลักสูตรจะกำหนดโดย Supply Side แต่ในอนาคตจะกลับกัน  ซึ่งคิดว่า Module การเรียนจะตอบโจทย์ Demand Side มากขึ้นปัจจัยที่สร้างความยืดหยุ่นแบบนี้ให้เป็นไปได้คือ  Disruptive Technology ทั้งหลาย เมื่อก่อนผมเรียก เทคโนโลยีอุบัติใหม่ แต่พอมาประยุกต์ในลักษณะนี้แล้วทำให้เรียกใหม่ ว่า เทคโนโลยีพลิกเกม” จะตรงกว่า

Q: แล้วผลกระทบของ Ed Tech. ในแง่มุมที่เกี่ยวกับ ชุมชนและสังคม?

A: เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่งานหลายๆ อย่าง จะเป็นได้ทั้งตัวช่วยที่ปิดช่องว่างและสร้างโอกาสในหลายๆ เรื่อง แต่สิ่งที่เป็น ความท้าทายสำคัญที่สถาบันการศึกษาต้องตอบให้มากขึ้นคือ จะทำอย่างไรกับเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางปัญญา หรือที่เรียกว่า Intelligence Inequality ที่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องปากท้องและเศรษฐกิจ  แต่การเข้าถึงซึ่งการศึกษาที่มีคุณภาพสูงได้ด้วยราคาที่ไม่แพงและทันการณ์ โดยนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ จุดนี้สำคัญมาก

Q: Success Factors ของการศึกษาในอนาคต จะขึ้นกับ ปัจจัยอะไรเป็นสคัญ?

A: ขั้นแรกเลยนั้น Learning Goals จะต้องเปลี่ยนก่อนเลย เพราะ หากมองไปที่ไทม์ไลน์พัฒนาการของ Business School ในแต่ละยุค โดยเจาะลงไปที่เป้าหมายของการเรียนหรือ Learning Goals จะเห็นว่า ยุค For Knowledge เล็งเป้าหมายเพื่อทำให้คนมีความรู้ พอเป็นยุค For Skills ก็มุ่งไปที่การสร้างทักษะเพื่อใช้ในการทำงาน ถึงยุค For Organization เป้าหมายก็ชัดที่การรองรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

แต่สำหรับในยุค For Life นั้น ผมคิดว่าเป้าหมายนั้นต้องเพื่อทำให้คนสามารถ Co-Learning at Time of Need คือเรียนรู้ร่วมกัน ณ เวลาที่ต้องการ โดยมี ผู้เรียนกับผู้สอนเป็น Learning Partners และไม่จำเป็นว่าผู้สอนต้องรู้มากกว่า แต่ต้องสามารถจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาและความจำเป็นของผู้เรียนได้

โมเดล คือ ผู้เรียนมาเรียนรู้ร่วมกับผู้สอน ผู้เรียนมาเรียนเป็น  On Demand จริงๆ แล้วลักษณะของสถาบันการศึกษาที่จะรองรับแบบนี้ ประการแรกต้องเป็น Lifelong Learning และอีกประการคือ เป็น Multiple Career คือต้องเป็น Program ที่ยืดหยุ่นมากพอที่จะรองรับ ให้คนสามารถทำหลายๆ อาชีพได้ในเวลาเดียวกัน เพราะคำพยากรณ์ในอนาคตคือคาดว่า เทรนด์ต่อไปคนจะมีอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ และ ถือเป็นเรื่องปกติ โดยคนจะทำงานทั้งอาชีพอิสระ เป็นทั้งฟรีแลนซ์พร้อมๆ กับมีอาชีพประจำ ดังนั้นความต้องการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะเพื่อทำงานที่แตกต่างและหลากหลายจะกลายเป็นความต้องการและจะเป็นอีกเป้าหมายของการเรียนรู้

Q: รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในอนาคต

A: หลักสูตรของอนาคตจะต้องมี Micro Module หรือทำเป็น โมดูลเล็กๆ ในการเรียนการสอนที่สามารถเชื่อมโยงได้กับทั้งชุมชน และองค์กรและที่สำคัญคือ Business School สำหรับยุคไทยแลนด์  4.0 ที่เป็น For Organization สามารถผลึกเข้าด้วยกันโดยดึงเอา ความเชี่ยวชาญจากหลายๆ สายมารวมกัน

ซึ่งเชื่อว่าต่อไป Education for Life หรือการศึกษาจะต้อง ไม่รวมกันมาเป็น Package สำเร็จรูปเหมือนในอดีต แต่จะมีความเป็นโมดูลเล็กๆ เป็นทางเลือกเพื่อตอบโจทย์ความต้องการการเรียนรู้ และทักษะในเรื่องต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น

ส่วนโมดูลเหล่านั้นจะผ่านรูปแบบที่เป็น MOOC หรือ Human Interaction หรือ E-Learning หรือเป็นการฟังบรรยาย ก็สุดแล้วแต่ แต่การเรียนในอนาคตจะมีรูปแบบที่หลากหลาย ออกมาให้เลือก ซึ่งจะมีการดีไซน์ออกมาบนพื้นฐานธรรมชาติ ของเนื้อหา และที่น่าสนใจคือต่อไปการเรียนรู้จะสามารถ เป็น Just in Time Learning เหมือนเป็นคลังความรู้ หรือ  Inventory คือ อยากรู้อะไร อยากได้อะไร แค่เดินเข้ามาก สามารถจะรู้ได้ทันที แบบนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อย่างแท้จริง แต่ต้องเรียกว่า Learner-Centric ในรูปแบบ  Individual-Centric โดยเอาความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน เป็นที่ตั้ง และไม่ใช่ Student-Centered แบบในอดีต

Q: ในแง่บทบาทของความเป็นสถาบันการศึกษา หากว่าการเรียนรู้ทเป็นโมดูลและอาจไม่อิงกับความเป็นสถาบัน

A: อยากให้ลองจินตนาการเปรียบเทียบสถาบันการศึกษา กับบริษัทสองบริษัท ที่รายหนึ่งเน้นขายสินค้าที่ตัวเองผลิตได้ ให้กับลูกค้า แต่อีกรายหนึ่งเน้นขาย Solution ช่วยลูกค้าแก้ปัญหา แม้ในการแก้ปัญหานั้นอาจมีบางอย่างที่ไม่ใช่สินค้าของตนเองแต่ก็เอื้อมมือไปหาเครือข่ายที่ตอบโจทย์ให้กับลูกค้า เช่น เจ้าหนึ่งมุ่งแต่จะขายคอมพิวเตอร์ อีกเจ้าหนึ่ง มุ่งสร้างประสิทธิภาพในสำนักงานให้ลูกค้า ใครจะผู้ชนะก็เห็น คำตอบอยู่ชัดๆ ดังนั้น บทบาทและหน้าที่ของสถาบันการศึกษาจะเป็นเสมือน Solution ของโจทย์ความต้องการเรียนรู้ แม้ว่าศาสตร์นั้นจะไม่มีอยู่ในคณะตัวเองก็ต้องทำหน้าที่ไปแสวงหาและ Customize เข้ามา แล้วเพิ่มโมดูลเข้าไป ดังนั้น การแบ่งหลักสูตรตลอดจนโครงสร้างการเรียนที่เคยแบ่งเป็นคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่แยกกันในอดีต ภายใต้ความเชี่ยวชาญของแต่ละแขนงวิชา พอถึงยุคนี้กลายเป็นข้อจำกัด เพราะอนาคตจะต้องเป็นสหวิทยาการหรือ Multidisciplinary ซึ่งหากว่าเรายังแยกกันไปมันก็จะยากต่อผู้เรียน การนำเสนอแบบ Supply Side ต้องปรับ และสิ่งเหล่าน คือปฐมบทของการศึกษาที่จะพัฒนาไปจน เป็น Education for Life

Q: แล้ว Implication ในเชิงของ ผู้เรียน จะเปลี่ยนไปในแนวทางใด?

A: ต่อไปจะไม่เรียก “นักเรียนหรือ Student แต่จะเป็นผู้เรียนหรือ Learner” ซึ่งอนาคตจะหมายถึงคนที่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาเรียน แล้วออกไปทำงานและกลับเข้ามาเรียน เป็นลักษณะ Lifelong Walk-In and Walk-Out Learner คือ แวะเวียน เดินเข้า-เดินออกในสถานศึกษาตลอดชีวิต

ตอนนี้ทุกสถาบันเวลาพูด Lifelong Learning จะยังคงวนใน Loop ของฝั่ง Supplyไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสะสม Credit การเรียนและการสอบ เพื่อนำไปสู่การได้ปริญญา แม้แต่การเรียนออนไลน์ หรือ MOOC ก็ยังเป็นการคิดและพูดกันในรูปแบบเดิมๆ ว่าเรียนอันนี้แล้วจะได้หน่วยกิตเท่านั้นเท่านี้ ซึ่งถ้าเป็น Education for Life จริงๆ เราต้องบอกว่า เรียนโมดูลนี้แล้วจะได้ Competency อะไร แทนที่จะบันทึกเป็นหน่วยกิต แต่จะต้องบันทึกหรือสะสมสมรรถนะ Competency ว่าบุคคลผู้ที่มี Set of Competency หรือสมรรถนะชุดนี้จะทำอะไรได้บ้าง ในอนาคต Certificate หรือปริญญา จึงพึงควรที่จะต้องออกตาม Competency ซึ่งผู้เรียนสามารถค่อยๆ สะสมไปแบบ Life Long ตลอดชีวิต การทำงาน ซึ่งเป็นได้ว่าผู้เรียนอาจไม่ได้ปริญญาเลยสักใบในชีวิต แต่ความสำคัญคือเขาสามารถติดตามพัฒนาการหรือ Tracking ตัวเองได้ นี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า Track Record เพราะสิ่งที่เขามี หรือ Competency ที่สะสมไว้สามารถ ตอบโจทย์เรื่องอาชีพและการงานของเขาได้

แน่นอนว่าเรื่องนี้ยังมีความท้าทายที่สำคัญมากคือ ต้องก้าวข้ามคำว่า ธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ไปสู่คลังสมรรถนะ (Competency Bank) เช่นว่า ต่อไปแทนที่จะออกใบปริญญาหรือสัมฤทธิบัตรด้านการบริหารการเงิน แต่ใน Transcripts คงต้องระบุเป็นสมรรถนะว่าบุคคลผู้นี้มีความสามารถในการทำอะไรได้บ้างด้วย เช่น วิเคราะห์งบการเงิน สามารถตัดสินใจ ลงทุนได้ เป็นต้น

ซึ่งการเรียนลักษณะนี้จะมีความ ยืดหยุ่นมาก เพราะลงในระดับ Issue Base แต่ด้วยโครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคง ยังยากที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าใช้วิธีการจัด การศึกษาแบบเดิม แต่หากว่าการ Disrupt เกิดขึ้นและรุกล้ำมากขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง สถาบันการศึกษาคงจะต้องเตรียมการ เตรียมตัว เตรียมระบบ ทั้งบุคลากรและ ชั้นเรียน ทั้งหมดให้สามารถรองรับกับ อนาคตที่กำลังจะมาถึง

ผมมักบอกกับนักศึกษาเรื่องการเรียนรู้ โดยยกคำพูดของ ท่านมหาตมะ คานธี  ที่เคยพูดไว้ว่า “Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.” คือ ให้ใช้ชีวิตประหนึ่งว่าคุณจะ ตายวันพรุ่งนี้ เพื่อจะได้ไม่ประมาท และ ให้เรียนรู้ประหนึ่งว่าคุณจะมีชีวิตเป็น อมตะ ซึ่งผมว่าเป็นคำพูดที่สมยุคสมัยเป็น อย่างมากในเวลานี้

Q: แล้วคณะบริหารธุรกิจที่ มช. หรือ AccBA CMU เตรียมตัว กับการรับมือในเรื่อง Disruption กันแล้วหรือไม่อย่างไร?

A: เราเริ่มแล้ว ซึ่งเชื่อมโยงกับ AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) ที่คณะฯ กำลังทำอยู่ทั้งเรื่อง Re-Skill อาจารย์ รวมทั้ง กระบวนการท?า Assurance of Learning หรือกระบวนการสร้างหลักประกันว่า ผลสัมฤทธิ์จะเกิดขึ้นจริงในตัวผู้เรียน  ที่กำหนดให้เราต้องระบุว่า การเรียนการสอนนั้นได้สร้าง Competency อะไรให้ผู้เรียน ตลอดเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา AccBA CMU หมายรวมถึงอาจารย์ของเราเริ่มปรับ เปลี่ยนทั้งการกำหนดเป้าหมายในเรื่อง Competency การเรียนการสอน การปรับ วิธีการสอนที่มุ่งสร้างสมรรถนะ ไปจนถึง กลไกการวัดผล ซึ่งเราเป็นที่เดียวใน ประเทศไทยที่มีการวัดสมรรถนะผู้เรียนเป็น รายคนและทุกกระบวนวิชาในรูป Student Dashboard สิ่งที่ทางคณะฯ ทำนั้นเกินกว่ามาตรฐานการประกันคุณภาพที่ทาง สกอ. กำหนด เพราะเราต้องการใช้กระบวนการ บันทึกการสะสมสมรรถนะของผู้เรียนที่เรา สร้างขึ้นมานี้เป็นต้นแบบของการวัด ความสำเร็จทางการศึกษาของโลกยุคใหม่ จากบันทึกรายงานความก้าวหน้าฉบับล่าสุด ของเรา AACSB ก็ชมเชยว่าระบบของเรา เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาของโลก  

Q: พูดถึงเกณฑ์ชี้วัด ความสเร็จ เรื่องมาตรฐานกับความคาดหวังของอาจารย์และทางคณะฯ แนวทางเป็นอย่างไร?

A: เพราะเป้าหมายของการศึกษา ในแต่ละยุค มีความต่างกันไปตามวาระ และเวลา Business School ในยุค For Knowledge จึงตั้งเกณฑ์วัดความสำเร็จที่จำนวนผู้จบการศึกษา โดยตั้งเกณฑ์ตัวชี้วัดจากคะแนนและหน่วยกิต เป็นต้น และเมื่อยุคสมัยได้ปรับเปลี่ยนเป็นการพัฒนาทักษะ หรือ For Skills เกณฑ์วัดความสำเร็จก็ถูกขยับไปจับว่า จบออกไปแล้วทำงานตรงกับสายที่เรียนมาใช่หรือไม่ และเมื่อถึงยุค For Organization ตัวชี้วัดก็เล็งผลที่ความพร้อมของบัณฑิตในการทำงาน เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายเรื่องคนของอุตสาหกรรม หลักสูตรนำร่อง บัณฑิตพันธุ์ใหม่ไปไกลขนาดให้ผู้ประกอบการเป็นคนวัดว่าบัณฑิตพร้อมใช้จริงไหม แต่สำหรับ Business School for Life ตัวชี้วัดความสำเร็จ คิดว่าสิ่งแรกเลยคือ Responsiveness หรือการวัดความสามารถในการรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ของผู้เรียน อันนี้เป็น Life Skill ที่จะสะท้อน ว่าผู้เรียนมีความยืดหยุ่นที่จะรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา สามารถที่จะปรับตัวได้อย่างเท่าทัน และ ใช้ประโยชน์จากความไม่รู้ของตนเองได้  มีความสามารถที่จะประเมินความต้องการ ตนเอง และตอบตัวเองได้ว่าต้องการเติม ความรู้ที่ขาดในด้านใด แล้วเดินกลับมา Re-Skill หรือสะสมโมดูลความรู้ และ Competency ที่ต้องการได้ตลอดเวลา

อีกตัวชี้วัดที่มองว่าสำคัญคือ Speed of Learning คนเรียนรู้ได้ไวหรือไม่ ต่อไป คาดการณ์ว่าคนหนึ่งคนจะมีได้หลายอาชีพ ในเวลาเดียวกัน ดังนั้น โมดูลในการเติมความรู้และทักษะ ต้องสร้างความรู้ให้กว้างและลงลึก เพื่อสร้างทั้งความเชี่ยวชาญและความรอบรู้ และประการสุดท้ายที่สำคัญ คือ การมีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทงานที่เรียกว่า Work Life Balance เพราะต่อไปเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่งานในหลายๆ หน้าที่ มนุษย์เราก็จะมีเวลาคืนกลับมา หมายความว่าเราต้องหันไปพัฒนาและทำงานที่สร้างสรรค์มากขึ้น งานที่เทคโนโลยีทำแทนไม่ได้ เมื่องานประเภทซ้ำๆ ลดน้อยลง การใช้ชีวิตจะต้องจัดสมดุลให้ได้ บทบาทของสถานศึกษาในอนาคตจะต้องเริ่มเติมเต็มสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นเทรนด์สำคัญ ถือเป็น Leadership ประเภทหนึ่ง และ AACSB ถือว่าเป็นหน้าที่ของ Business School ที่จะต้องเป็น Leader of Leadership เป็นผู้นำด้านการพัฒนาภาวะผู้นำให้สังคม หน้าที่นี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต

Q: ความเชื่อมโยงกับภายนอก อย่างตลาดงานหรือองค์กร ภาคผู้ใช้บัณฑิต

A: เรื่องนี้ต่อไปความคาดหวังจะอยู่ที่ Competency ที่ต้องมี เช่น อาชีพ นักวิเคราะห์ การตลาด ต้องมีความสามารถ หรือ  Competency อะไรบ้าง ก็เป็น Demand จากภาคผู้ประกอบการ ส่วนสถาบันการศึกษา ก็มีหน้าที่จัดทำโมดูล ซึ่งจะประกอบไปด้วย โมดูลต่างๆ และอาจไม่จำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องเรียนหรือรู้ทั้งหมดก่อนจึงจะทำงานได้ แต่อาจรู้เพียงบางโมดูลก็สามารถทำงานได้เลย เมื่อมีความจำเป็นหรือต้องการ ทักษะความรู้เพิ่มเติมค่อยมาเรียนเพิ่มในภายหลัง ความสำคัญของจุดนี้อยู่ที่ “การปลดล็อก” เรื่องระยะเวลาของหลักสูตรที่กำหนดว่าต้องจบภายในเมื่อนั้นเมื่อนี้โดยต้องขจัดเรื่องเงื่อนไขของเวลาออกไป เพื่อให้การเรียนรู้เป็นเรื่องของการตอบสนอง จริงๆ ซึ่งสถานที่ทำงานและเงื่อนไขสายอาชีพของแต่ละบุคคลมักไม่เท่ากัน แบบนี้จะสามารถคงประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างดีที่สุด ทั้งผู้เรียน มหาวิทยาลัยและองค์กรเองที่จะได้รับประโยชน์อย่างตรงจุดและตรงโจทย์เป็นที่สุด ในมุมของมหาวิทยาลัยเองก็จะได้ทบทวนตัวเองด้วยว่าความรู้หรืองานวิจัยค้นคว้าที่เคยมีมายังสามารถนำมาใช้ประโยชน์แท้จริงอะไรได้บ้าง

Q: คณะบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัย เชียงใหม่มีการจัดทหลักสูตร ออนไลน์ E-Learning หรือใช้ เทคโนโลยีในหลักสูตรบ้างหรือไม่ อย่างไร?

A: ทางคณะฯ เรามีการพัฒนา E-learning และ MOOC แต่ต่างไปจากที่อื่น ที่ว่าเราไม่ได้เปิดเป็นหลักสูตรเพื่อเพิ่ม อีกวิชา แต่เรามองว่าจะใช้ได้ดีในแง่ของ การเป็น Augment คือเป็นส่วนเสริมของ การเรียนปกติในส่วนของ Content ที่ตายตัว

ปฏิสัมพันธ์ตัวต่อตัวยังไม่มีเทคโนโลยี ใดเทียบได้เลย จึงเชื่อว่ายังไม่สามารถมา แทนที่ในเรื่องนี้ได้หรือแม้กระทั่ง Coursera ที่ว่ากันว่าได้รับความนิยมแพร่หลายอัตรา ของคนที่อดทนเรียนเองผ่านออนไลน์จน จบจะพบว่าน้อยมาก Success Rate ไม่ถึง 10% โดยเฉลี่ยซึ่งถ้าเป็นระบบปกติ 10% นี่ถือว่าล้มเหลว ผมมองว่ามนุษย์เป็น สัตว์สังคมที่ไม่สามารถตอบสนองตัวเองได้ โดยลำพัง ยังต้องการการอยู่รวมกันเป็น กลุ่มมีการพึ่งพา และทักษะหลายอย่าง เช่น ทักษะชีวิต Life Skills ที่จะทำให้ เกิดความก้าวหน้าในอาชีพยังเรียนผ่าน คอมพิวเตอร์ไม่ได้

ในส่วนของการนำเทคโนโลยีมาใช้ คณะฯ เราเริ่มมีการทำบทเรียนเป็น Virtual Reality เพื่อใช้ฝึกนักศึกษาในรูปแบบจำลองสถานการณ์จริง เช่น แทนที่ต้องพา นักศึกษาเดินทางไปโรงงานก็ให้สวมหน้ากากที่รองรับโทรศัพท์มือถือซึ่งมี Application ดูบทเรียนโลกเสมือนที่เตรียมไว้ ก็เสมือนเข้าไปยืนอยู่ในโรงงาน นักศึกษาสามารถเข้าไปดูแม้ในยามที่โรงงานจริงปิดทำการ เหล่านี้เป็นเรื่องของการเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้น

Q: ดูเหมือน Business School for Life จะออกแนว Formless เมื่อเทียบ กับระบบการศึกษาที่ผ่านมา

A: ผมเองมองว่าเรื่องนี้เหมือนลูกตุ้มนาฬิกา ตอนนี้กำลังเหวี่ยงไปสุดโต่งด้านนี้ ในที่สุดเดี๋ยวก็กลับมา อย่างสำนักตักศิลาในสมัยก่อน ใครอยากเรียนอะไรก็มาที่สำนัก เลือกเรียนโน่นนี่นั่น ต่อมาก็พัฒนามาเป็นการเรียนใน Classroom แล้วก็พัฒนาไล่เรียงมา และตอนนี้ก็ดูจะกลับไปเป็นเหมือนสมัยก่อน เพียงแต่มีเทคโนโลยีเพิ่มเข้ามา และองค์ความรู้มีมากกว่าในอดีต ผมเองคิดว่าต่อไปถ้าหากการเรียนรู้มันเริ่มไร้ รูปแบบมากขึ้น เดี๋ยวคนก็เรียกร้องหา Formality เพราะสิ่งที่จะทำให้คนเรียนรู้ แล้วสำเร็จได้ คือผู้เรียนจะต้องบอกได้ว่าตัวเองขาดอะไร ต้องการอะไร ไม่รู้อะไร ซึ่งไม่ง่าย

Q: การจัดการเรียนการสอน นักศึกษาในปัจจุบันซึ่งกลังอยู่ ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน จากยุคปัจจุบัน เพื่อก้าวข้ามไปสู่อนาคตยุคใหม่ ทางคณะฯ ได้วาง แนวทางอย่างไร?

A: นอกเหนือไปจากการวางหลักสูตร และรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้น  Project Based และ Action Learning  ที่ได้ผลดีในการส่งเสริมความรู้และทักษะ ให้กับนักศึกษาต่อเนื่องมาหลายปี เรายังพยายามทำเรื่อง Career มากขึ้นและถือว่าประสบความสำเร็จมาก เราจัด Module Workshop ให้นักศึกษาปริญญาตรีตลอดเวลา

โดยแบ่งเป็น Step เริ่มจากเรื่อง “ค้นพบอาชีพในฝัน” เราเชิญ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยามาเป็นโค้ชให้นักศึกษาปีละกว่า 500 คน ได้ผลสะท้อนออกมาดีมาก ค้นพบอะไรหลายๆ อย่าง เด็กหลายคน ค้นพบเป้าหมาย บ้างค้นพบความสนใจและความต้องการของ ตัวเองอย่างที่ไม่เคยเป็นมา บางคนตอนแรกก็เรียนตามแม่สั่ง  ต่อมาก็พบเจอเป้าหมาย Module ต่อมาเป็น Workshop ปรับทัศนคติ “ฉันทำได้” (Can-Do Attitude) เพื่อสร้างทัศนคติและความเชื่อว่า “ฝันได้ก็ทได้” เพราะเด็กหลายคนค้นพบความอยาก และเป้าหมาย แต่คิดว่าตัวเองทำไม่ได้ ซึ่งเราต้องส่งเสริมความเชื่อมั่น ซึ่งผมมักบอกเด็กเสมอว่า “คนเราขอแค่ได้คิด ก็คิดได้”  เราประสบความสำเร็จมากในเรื่องเหล่านี้ อย่างที่บอกว่าเราวัด Impact หรือผลกระทบในสิ่งที่เราทำมากกว่าจำนวนของคนจบปริญญา

หลังจากผ่าน 2 Workshop ทางคณะฯ ก็จะจัด Module  ช่วยในเรื่องการปูเส้นทางเพื่อสร้างความสำเร็จในชีวิตและการงาน ด้วย Workshop โดยเนื้อหาจะเป็นการให้นักศึกษามีบุคคลต้นแบบในใจ (Role Model) เพื่อตอกย้ำ Passion ของตนเองผ่านชุดบรรยาย Inspirational Talk จากรุ่นพี่ศิษย์เก่า และบุคคลตัวอย่างของสังคม  แล้วตามมาด้วย Module ที่เน้นการเรียนรู้สายอาชีพของนักบริหารธุรกิจ ทั้งตำแหน่งงานที่มีอยู่ในองค์กรปัจจุบัน และอาชีพมาแรงแห่งอนาคต นี่เป็นตัวอย่างย่อๆ นอกเหนือจาก Module วิชาการที่เราทำ

Q: ตามวิสัยทัศน์และความคิดเห็นที่กล่าวมา แนวทาง การเตรียมบุคลากร เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ต้องเริ่มยังไง?

A: อาจารย์ต้องได้รับการ Re-Skill เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะ อยู่ได้ภายใต้ Disruptive World โดยยังคงทำเหมือนที่เราเคยทำ เมื่อเข้ามาสอนหนังสือใหม่ๆ เมื่อหลายสิบปีก่อน แต่นั่นก็เป็นเพียง ส่วนหนึ่ง ยังมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่เราประชุมร่วมกันขบคิด และหารือ อย่างเรื่องวิชาการ การเรียนการสอนคงต้องลดความเป็น Discipline-Based ที่เคยเน้นสาขาวิชา อาทิ สาขาการเงิน การตลาด คงต้องลดและเป็น Issue-Based, Competency-Based มากขึ้น ตอบสนองฝั่ง Demand ให้มากขึ้น ต้องกำหนดชัดไปเลยว่า เรียนสิ่งนี้ไปแล้วได้ Competency อะไร เอาไปทำอะไร เอาประโยชน์ของมันมาตั้งเป็นหลัก แทนที่จะเอาชื่อวิชามาเป็นหลักว่าคนจะจบ ปริญญานี้จะต้องเรียนวิชาอะไร จุดนี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ

Q: เมื่อไหร่ถึงเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง

A: คิดว่าในเร็วๆ นี้ ถ้า 5G เข้ามาจริงๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก เพราะหลายสิ่งจะมาทำงานแทนเรา ในอีกด้านหนึ่งมันช่วย Free Up เวลาให้เราด้วย เมื่อเราได้เวลาคืนกลับมา ความสำคัญคือ แล้วเราจะใช้เวลาเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์และสร้างสมดุลในชีวิตได้อย่างไร ผมคิดว่า ยังไงสถาบันการศึกษาก็ยังคงต้องดำรงบทบาทในการรับผิดชอบเรื่องทำนองนี้อยู่ดี เพราะจะปล่อยให้คนลองผิด ลองถูกกันเองทั้งหมดคงยากที่จะสำเร็จโดยรวมได้

Q: นิยามถึง Spirit ของบัณฑิต AccBA CMU เรา จะกล่าวถึงอะไร?

A: นอกเหนือไปจากเรื่องวิชาการความรู้และทักษะที่ทางคณะฯ เพาะบ่มเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรอบรู้ ความสามารถและสติปัญญาเพื่อจะใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต ทักษะสำคัญประการหนึ่งที่คนเรียนบริหารธุรกิจต้องมีคือ รู้จักการกำหนดเป้าหมาย รู้จักการวางแผนเพื่อให้ไปถึงฝั่งฝัน พร้อมด้วย แรงบันดาลใจ ภายใต้การรู้จักใช้ทรัพยากรและเวลาที่มีอย่างจำกัด เพื่อฝ่าไปให้พบความสำเร็จ เช่น ตอนนี้เราเป็นคณะเดียว ในประเทศไทยที่กำหนดให้นักศึกษาปริญญาตรีจะต้องทำโครงการระยะยาวเพื่อรับใช้สังคม เป็นโครงการที่ต้องทำยาว 3 ปี ก่อนจะสำเร็จไปเป็นบัณฑิต ศิษย์ AccBA CMU ที่ถูกเพาะบ่มผ่าน โครงการที่ต้องเชื่องโยงกับชุมชนและสังคม ได้เรียนรู้ที่จะวางแผนระยะยาว ฝ่าฟันทุกอุปสรรค ทุ่มเทสรรพกำลังในการบรรลุเป้าหมายของตน และทิ้งตำนานที่ตนเองสามารถเล่าขานได้อย่างภาคภูมิใจ ไปตลอดชีวิต

บัณฑิตที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศในแต่ละปีมีจนวนเยอะมาก แต่ผู้ที่สเร็จการศึกษาพร้อมกับ Project ที่ทงานร่วมกับชุมชนและสังคมมาถึง 3 ปี หายาก วิชาบริหารธุรกิจมิใช่เพียงการเรียนรู้เพื่อแสวงหา ผลตอบแทนเชิงกไร แต่ในโลกวันนี้และอนาคต วิชาบริหารธุรกิจต้องคนึงถึง Impact และการส่งมอบคุณค่าและความยั่งยืนให้กับชุมชน สังคมและประเทศชาติ จึงเป็นนิยามและความหมายของโรงเรียนบริหารธุรกิจเพื่ออนาคต


เรื่อง : กองบรรณาธิการ       

ภาพ : ชัชชา ฐิติปรีชากุล

Last modified on Thursday, 24 June 2021 09:06
X

Right Click

No right click