September 20, 2024

พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยในการถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ในงานนี้เต็มไปด้วยเหล่า Speakers คุณภาพที่มีประสบการณ์และมุมมองทางด้านธุรกิจในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหารจากองค์กรภาครัฐและเอกชนหรือผู้ที่สนใจในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

การพูดคุยหัวข้อสำคัญ

  1. ทิศทางเศรษฐกิจ 2025 กับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  2. ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน
  3. เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  4. การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนด้วย STECO’s Enterprise Mix

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 อาคาร KX Knowledge Xchange ถ.กรุงธนบุรี

เวลา 12.00 – 17.00 น.

ลงทะเบียนร่วมงานฟรี ได้ที่

https://forms.gle/rfuNdNVWjCis2uLMA 

รายละเอียดเพิ่มเติม

Facebook : ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มจธ.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร. 064-749-9629 , 02-470-9643 คุณดลฤทัย

E mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

หลังจากการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากของบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทำให้ผู้นำธุรกิจและเทคโนโลยีต่างสรุปว่า “ภาวะขาดแคลนบุคลากรไอทีที่มีทักษะสูง (หรือ Tech Talent Crunch)” นั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว

แต่สิ่งที่ปรากฏอาจเป็นเพียงภาพลวงตา ผลวิจัยล่าสุดของการ์ทเนอร์พบว่า 86% ของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIOs) บอกว่าพวกเขากำลังเผชิญกับการชิงตัวบุคลากรที่มีคุณสมบัติอย่างที่ต้องการ และอีก 73% มีความกังวลกับประสิทธิภาพของบุคลากรไอทีที่ลดลง

ปัญหาขาดแคลน Tech Talent ยังมีอยู่ต่อไป

วิกฤติการขาดแคลนบุคลากรไอทียังไม่จบสิ้น เนื่องจากปัจจุบันยังมีอุปสงค์แรงงานด้านนี้มากกว่าอุปทานที่มีอยู่ในตลาดเป็นอย่างมาก การ์ทเนอร์คาดว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบลากยาวไปถึงปี 2569 เป็นอย่างน้อย สอดคล้องกับปริมาณการใช้จ่ายด้านไอทีตามที่คาดการณ์

พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเลิกจ้างจำนวนมากนั้นอยู่ในสายงานธุรกิจไม่ใช่สายเทคโนโลยีและงานด้านไอทียังมีโอกาสอยู่อีกมากนอกจากบริษัทในสายเทคโนโลยี สิ่งสำคัญเพื่อทำความเข้าใจปัญหาขาดแคลนแรงงานไอทีที่มีทักษะสูงอย่างแท้จริงคือต้องมองไปให้ไกลกว่ากลุ่มบริษัทเทคฯ

การปรับลดแรงงานจำนวนมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ พยายามปรับให้ราคาหุ้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพื่อลดค่าใช้จ่ายตามโจทย์ของผู้ถือหุ้น แม้การเลิกจ้างเหล่านี้จะได้รับการชี้แจงว่าเป็นการปรับลดหลังเกิดการจ้างงานมากเกินความเป็นจริง แต่จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการจ้างงานใหม่ไม่จำเป็นต้องได้รับผลกระทบไปด้วย ดังนั้นการปลดพนักงานเมื่อไม่นานมานี้จะส่งผลกระทบทั้งต่อตัวพนักงานและโครงการใหม่ ๆ อย่างเป็นวงกว้าง ตามที่องค์กรหันไปให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และบริการหลัก ๆ เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดที่เจาะจงมากขึ้นแก่บริษัท ผลวิจัยการ์ทเนอร์พบว่าบริษัทที่อยู่เบื้องหลังการเลิกจ้างพนักงานที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่สุด 10 อันดับ ยังคงมีการจ้างงานรวมกว่า 150,000 คน ซึ่งมากกว่าเมื่อต้นปี 2563  เนื่องจากตลาดยังมีความผันผวนและแกว่งไปมาตามภาวะปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ รวมถึงการปรับตัวรับมือกับการแพร่ระบาดที่มีอย่างต่อเนื่อง และการให้ความสำคัญของทักษะการทำงานที่เปลี่ยนไป สำคัญมากที่ผู้นำธุรกิจและสารสนเทศต้องไม่ตีความเหตุเลิกจ้างในปัจจุบันผิดไป แต่ภาวะขาดแคลน Tech Talent จะยังดำเนินต่อไปอีกนาน แม้ความผันผวนของตลาดในปัจจุบันจะบรรเทาลงไปใช้กลยุทธ์ดึงบุคลากรไอทีระดับท็อป ผู้นำเทคโนโลยีมีหน้าที่สร้างการเติบโตให้องค์กรด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ต้องมองให้ไกลกว่าข่าวการเลิกจ้างที่เข้ามารบกวนใจ เพื่อให้เห็นถึงสัญญาณต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในตลาด การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ CIO กำลังสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถเร็วกว่าที่จะว่าจ้างได้ทัย โดยเฉพาะในส่วนงานหลัก เช่น วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science), วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) และ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่ตลาดยังขาดแคลนและแย่งชิงตัวกันอย่างหนัก และจะหนักเพิ่มมากขึ้นไปอีก ผู้นำไอทีต้องรับมือกับการแข่งขันเพิ่มขึ้นในกลุ่มบุคลากรที่มีความสามารถ และค่าจ้างก็จะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

การมอบโอกาสการเติบโตทางดิจิทัลให้องค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อเข้าใจถึงภาวะขาดแคลน Tech Talent เมื่ออุปทานภาพรวมของแรงงานสายนี้ในตลาดเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยไม่กี่เปอร์เซ็นต์ CIO สามารถใช้โอกาสนี้เสริมความพยายามในการสรรหาบุคลากรของตน ถึงเวลาแล้วที่ CIO ต้องใช้กลยุทธ์เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรไอทีระดับท็อป แทนที่จะสรรหาไปตามกลไกตลาด

จะเก็บรักษาและดึงดูดใจคนเก่ง ๆ ได้อย่างไร ?

CIO ต้องมีความตั้งใจจริงสำหรับนำแนวทางปฏิบัติที่ได้รับการพิสูจน์แล้วมาใช้ เพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะสูงเข้ามาร่วมทำงานในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น

*ควรขยายขอบเขตการรับสมัครให้เจาะกลุ่มคนที่ไม่ได้ตั้งใจหางาน (Passive IT Candidates) หรือผู้สมัครงานที่มีงานทำอยู่ในปัจจุบันและไม่ได้มองหางานใหม่ แต่อาจเปิดรับโอกาสทางอาชีพที่ดีกว่าหากมีข้อเสนอที่น่าสนใจเข้ามา เนื่องจากแผนการจ้างงานด้านไอทีจำนวนมากถูกออกแบบมาเพื่อกำหนดเป้าหมายไปยังคนที่ตั้งใจหางาน (Active Job Seekers) มากกว่าคนที่ไม่ได้ตั้งใจหางาน จุดนี้ทำให้เสียโอกาสในการค้นหาผู้สมัครงานไอทีที่ครอบคลุมทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ

*เพิ่มโครงการแนะนำพนักงาน (Employee Referral Programs) หรือการใช้ความฉลาดของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นสองวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเฟ้นหาผู้สมัครงานแบบพาสซีพจากการค้นหาผ่านโซเซียลมีเดีย

ทักษะที่ไม่มีในตลาดแรงงานไอที สามารถหาได้จากการกำหนดเป้าหมายไปยังพนักงานที่ถูกเลิกจ้างในหมวดเทคโนโลยีใกล้เคียง และฝึกอบรมพวกเขาเพื่อเติมทักษะไอทีที่จำเป็น ตัวอย่างเช่น การหานักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientists) เป็นเรื่องยากมาก ๆ แต่ก็มีกลุ่มนักวิเคราะห์ธุรกิจและข้อมูล (Data and Business Analysts) จำนวนมากในตลาดแรงงานที่สามารถนำมาฝึกฝนทักษะทางเทคนิคเพิ่มเติมได้

CIO ควรทำงานร่วมกับทีมงานสรรหาบุคลากรเพื่อปรับคุณสมบัติที่ต้องการในประกาศหางาน และเพิ่มทักษะที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการในตำแหน่งที่เปิดรับ

สุดท้ายแล้ว องค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยนสิ่งที่ Tech Talent ให้คุณค่ามากที่สุดในการทำงานกับองค์กร (Employee Value Propositions หรือ EVP) จะได้รับประโยชน์จากโอกาสในตลาดได้ดีกว่าในการสร้างการเติบโตที่มุ่งเน้นและมีประสิทธิภาพ ซึ่งงานด้านไอทีในตลาดยังมีอยู่มาก โดยบริษัทที่ทำตามความคาดหวังของพนักงานไม่ได้อาจต้องพบกับการลาออกของพนักงานที่พร้อมลาออกทันทีเมื่อได้รับข้อเสนอที่ดีกว่า ดังนั้นการมุ่งไปที่ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากค่าตอบแทน อาทิ ความยืดหยุ่นและโอกาสการเติบโตในสายงานจะสามารถปรับปรุง EVP ขององค์กรไอที เพื่อเอาชนะในสมรภูมิการแข่งขันด้านบุคลากรที่มีทักษะได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

“ถ้าจะเขย่าโลก เพื่อไปให้ถึงฝัน ก่อนที่เราไปจะโฟกัสเรื่องใหม่ๆ อย่างเรื่อง Metaverse, Bitcoin, หรือ Defi ผมอยากให้เรามองย้อนกลับไปว่าที่ผ่านมา เราได้นำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์และขับเคลื่อนธุรกิจได้เต็มที่แล้วหรือยัง ทั้ง IOT, Big Data, AI หรือ Machine Learning สิ่งที่คุณลงทุนไปเหล่านี้ มันตอบโจทย์ธุรกิจคุณหรือเปล่า” กล่าวโดย คุณปฐม อินทโรดม กรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

หากจะพูดถึงผู้นำทัพแห่งวงการไอทีในประเทศไทย หลายๆ คนน่าจะคุ้นหูกับบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้คร่ำหวอดในสายไอทีและดิจิทัลมายาวนานหลายสิบปี เจ้าของแนวคิด “Think Big” คิดใหญ่ เพื่อเปลี่ยนโลก รายการ open talk EP. 21 นี้ พร้อมชวนคุณเจาะลึกถึงมุมมอง ภาพรวม และอนาคตของประเทศไทยกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กับคุณปฐม อินทโรดม กรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ ที่คุณต้องไม่พลาดใน EP. นี้

  • กลยุทธ์ดิจิทัลที่สำคัญและพร้อมเขย่าโลก เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทย
  • Use case ของผู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างจริงจัง โอกาส และความท้าทายของเทคโนโลยี
  • ความสามารถของคนไทยในยุคดิจิทัล และทักษะสำคัญที่ควรมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ
  • ในภาพใหญ่ของประเทศ คนไทยสามารถพัฒนาเทคโนในด้านไหน มีความพร้อม โอกาส และอุปสรรคอะไรบ้าง
  • บริษัทต่างๆ ของประเทศไทยในอนาคต การก้าวไปสู่ความเป็น Start-Up เราต้องเตรียมตัวและพัฒนาต่อยังไง
  • Crowdfunding และ Defi เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต

คุณปฐม ยังฝากทิ้งท้ายว่า “เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างแน่นอน อยู่ที่เราว่าจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นหรือแย่ลง ซึ่งผลกระทบย่อมมีอยู่เสมอ หน้าที่ของคนไทย คือ ต้องช่วยกันลดช่องว่าง และปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลจริงจังมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสให้ประเทศ ท้ายที่สุดนี้ ผมอยากเห็นคนไทย มีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ แล้วเอาเทคโนโลยีมาต่อยอด อย่าหยุดเรียนรู้ แล้วเราจะอยู่รอดในอนาคต”

รับชมบทสัมภาษณ์ฉบับสมบูรณ์ได้ที่

 

ชูเทคโนโลยี AI และการสตรีมวิดีโอสด เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัย และคว้ารางวัล IF Design Award 2020

ไม่มีธุรกิจไหนในปัจจุบันที่สามารถแข่งขันได้ ถ้าไม่มีการนำเอา Digital Technology เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจขององค์กร

Page 1 of 6
X

Right Click

No right click