×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

มันนิกซ์ (MONIX) ฟินเทคสตาร์ทอัพผู้ให้บริการ “แอปฟินนิกซ์” (FINNIX) แพลตฟอร์มสินเชื่อดิจิทัลคู่คนทำมาหากิน ประกาศความสำเร็จคว้าเงินลงทุนมูลค่ากว่า 700 ล้านบาท หรือ 20 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ จากบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX และลอมบาร์ด เอเชีย (Lombard Asia) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ ทะยานสู่ผู้นำสินเชื่อดิจิทัลด้วยผลงานการเติบโตที่โดดเด่น ตอกย้ำภารกิจลดความเหลื่อมล้ำเรื่องเงินให้สังคมไทย เตรียมพร้อมธุรกิจสู่ IPO ในอนาคต

นายชินบิน ฟาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มันนิกซ์ จำกัด และนางสาวถิรนันท์ อรุณวัฒนกูล ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท มันนิกซ์ จำกัด กล่าวว่า “มันนิกซ์รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พันธมิตรใหม่เข้ามาร่วมลงทุนและสร้างโอกาสให้กับคนทำมาหากินที่ยังเข้าไม่ถึงการเงิน ซึ่งการได้รับเงินลงทุนเพิ่มในครั้งนี้ ตอกย้ำให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่ทาง SCBX และลอมบาร์ดเอเชียมีต่อวิสัยทัศน์และการเป็นผู้นำธุรกิจสินเชื่อดิจิทัลของเราได้เป็นอย่างดี โดยเราจะเดินหน้ายกระดับแพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้เป็นเพื่อนซี้ที่ดีที่สุด ด้วยพลังของเทคโนโลยีเอไอและแมชชีนเลิร์นนิงอันชาญฉลาดที่สุด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและช่วยให้คนไทยการเงินดีมีสุขได้ยั่งยืนอย่างแท้จริง”

มันนิกซ์คือผู้นำแพลตฟอร์มสินเชื่อดิจิทัลพลังเอไอที่เข้าใจลูกค้าที่สุด จัดตั้งบริษัทเมื่อปี พ.ศ. 2563 จากการร่วมทุนของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX Group) และกลุ่มอบาคัส (Abakus Group) ฟินเทคยูนิคอร์น จากประเทศจีน ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นในการสร้างโอกาสให้คนไทยได้การเงินดีมีสุข บริษัทให้บริการแอปพลิเคชัน “ฟินนิกซ์” เพื่อช่วยเหลือคนไทยกว่า 36 ล้านคนที่ไม่สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ให้เข้าถึงสินเชื่อที่ถูกกฎหมายและเป็นธรรมได้ แอปฟินนิกซ์สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ไวสุดใน 5 นาที จากการใช้ข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) โดยไม่ต้องค้ำประกันหรือส่งเอกสาร ซึ่งช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน มันนิกซ์มียอดปล่อยสินเชื่อแล้วทั้งสิ้นกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท มีลูกค้าสินเชื่อรวมกว่า 650,000 ราย และมีผลกำไรสุทธิเป็นบวกแม้ในสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย จากการลงทุนในครั้งนี้ทำให้มีเงินทุนสะสมรวมทั้งสิ้นแล้วราว 1,400 ล้านบาท หรือ 40 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และด้วยการสนับสนุนที่ดีจากพาร์ทเนอร์ บริษัทมีความพร้อมอย่างยิ่งที่จะเดินหน้าเร่งการเติบโตทางธุรกิจ ยกระดับแพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ จากนี้บริษัทเตรียมแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (IPO) โดยมีเป้าหมายจะเป็นแอปทางการเงินที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำเรื่องเงินให้ประเทศไทย

 

ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "การลงทุนในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมั่นในโอกาสการเติบโตในระยะยาวของมันนิกซ์ ในฐานะบริษัทแม่ของกลุ่ม ทาง SCBX ยังคงให้การสนับสนุนบริษัทลูกอย่างต่อเนื่องและไปในทิศทางที่เหมาะสมกับแต่ละบริษัท ซึ่งรวมถึงการระดมทุนจากภายนอกของมันนิกซ์ในรอบนี้ เพื่อสร้างการเติบโตและเตรียมความพร้อมในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (IPO) ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า มุ่งเพิ่มมูลค่าของบริษัทและสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ จากความสามารถและประสบการณ์ของทีมงานผู้เชี่ยวชาญของลอมบาร์ดเอเชียและกลุ่มอบาคัส ทำให้เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่ามันนิกซ์จะสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ ซึ่งจะช่วยเสริมแกร่งให้หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ SCBX นั่นคือการแสวงหาโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในบริการทางการเงิน และเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับบริษัทในพอร์ตโฟลิโอ โดยเราจะเดินหน้ายกระดับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อปลดล็อกมูลค่าที่ซ่อนอยู่จากการลงทุนด้านฟินเทคของเรา และพร้อมตั้งตารอความสำเร็จอื่นๆ อีกมากมายที่จะตามมาในอนาคต"

 

นายเอกลักษณ์ หวังชูเชิดกุล กรรมการผู้จัดการ ลอมบาร์ดเอเชีย กล่าวว่า “มันนิกซ์คือผู้นำธุรกิจสินเชื่อดิจิทัลที่มีความน่าสนใจและกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การลงทุนครั้งนี้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของเราที่ต้องการสนับสนุนธุรกิจที่มุ่งสร้างประโยชน์ให้กับสังคมควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทนในการลงทุนที่ดี ซึ่งมันนิกซ์เป็นแพลตฟอร์มการเงินชั้นนำที่เปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มีคุณภาพให้กับกลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้น้อย จึงตอบโจทย์ข้อนี้ได้เป็นอย่างดี ในฐานะนักลงทุน ทางลอมบาร์ดเอเชียจะผนึกพลังกับผู้บริหารของมันนิกซ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจและเร่งอัตราการเติบโตให้ก้าวกระโดด เพื่อมุ่งสู่การ IPO ให้สำเร็จ”

   การติดกับสถานะการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะจบลงเมื่อไหร่ กลายเป็นแรงกดดันให้ทุกคนและทุกองค์กรต้องเปลี่ยนผ่านตัวเองสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็วเพื่อความอยู่รอด...แต่ใช่ว่าจะทำได้อย่างราบรื่น เพราะการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจท่ามกลางสภาพแวดล้อมไอทีใหม่ ๆ เช่น คลาวด์ เอดจ์คอมพิวติ้ง เวอร์ช่วลไลเซชัน คอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส เป็นต้น ทำให้หลายองค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงระหว่างช่องว่างของการเปลี่ยนผ่าน (Transformation Gap) โดยความเสี่ยงที่ว่า ได้แก่ Cost (ต้นทุน) Cyber (ภัยคุกคาม) Cloud (คลาวด์) และ Compliance (กฎระเบียบ) หรือ 4Cs นั่นเอง

 Cost – ต้นทุนข้อมูล

ว่ากันว่าต้นทุนสำคัญของธุรกิจยุคดิจิทัล คือ ข้อมูล ซึ่งจริงที่สุด ปัจจุบัน องค์กรส่วนใหญ่ต้องปวดหัวกับปัญหาการจัดการข้อมูล แอปพลิเคชัน และบริการที่ทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมไอทีแบบ Virtualization อาทิ Virtual Machine การใช้งานในแบบ on-prem หรือคลาวด์ประเภทต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่ง

Gartner คาดว่า จากนี้จนถึงปี 2567 องค์กรธุรกิจมากกว่า 80% มีแนวโน้มใช้จ่ายงบประมาณที่มากขึ้นโดยเฉลี่ย 20-50% ไปกับจัดหาโซลูชั่นเพื่อ Protect ข้อมูลเหล่านี้ที่มีอาจอยู่ในหลากหลายแหล่ง ทำให้งบประมาณในการบริหารจัดการใช้มากขึ้น

ทางออก – ข้อมูลในองค์กรจำเป็นต้องได้รับการ Protect อย่างครบถ้วย ดังนั้นเทคโนโลยี Backup ต้องมีความสามารถในการจัดการกับข้อมูลทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นระบบงานแบบ Virtualization, Physical, Cloud และ โดยเฉพาะองค์กรที่มีการนำ DevOps มาใช้ในการพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มบริการ หรือการบริหารจัดการปริมาณงานต่าง ๆ อาทิ Openstack, Docker, Kubernetes เป็นต้น อีกทั้งต้องมีความสามารถในการสำรองที่รวดเร็ว และประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน

 Cyber – ปัญหาไซเบอร์

การโจมตีของ Ransomware ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็น 715% ในปี 2563 ส่งผลให้ 38% ขององค์กรที่โดนโจมตีเกิดการชะงักงันของระบบเป็นเวลานาน 5 วัน หรือมากกว่า และมีบางองค์กรไม่ได้ทำการ Protect ข้อมูลตามกฎ 3-2-1 (การสำรองข้อมูล 3 ชุดบนอุปกรณ์จัดเก็บที่แยกจากกัน 2 ประเภท และแยก 1 ชุดเก็บต่างสถานที่กัน) รวมถึงการการกู้คืนเพื่อนำ Business ทั้งหมดกลับมาทั้งหมดยังมีความยุ่งยาก และไม่ตอบโจทย์ SLA ในการกู้คืน

ทางออก – ระบบป้องกันภัยคุกคามแบบอุปกรณ์ 1 ชนิด ต่อ 1 ปัญหาภัยคุกคาม (Pointed Products) ไม่ตอบโจทย์ต่อสถานการณ์ปัจจุบัน การสร้างมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลด้วย “แพลตฟอร์ม” หนึ่งเดียวในรูปแบบ Data Services Platform แต่ครอบคลุมทั่วทั้งระบบกลับให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ทุกองค์กรตามหาคือ แพลตฟอร์มป้องกันภัยที่มีความยืดหยุ่นสูง (Resiliency) ที่พร้อมใช้งาน (Availability) ชนิด 24x7 วัน โดยไม่ต้องกลัวการชะงักงันของระบบ การปกป้องและกู้คืนข้อมูล (Protection) ได้ทุกสเกล และการวิเคราะห์เจาะลึก (Insight) ถึงทุกข้อมูลและทุกอินฟราสตรัคเจอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการต้นทุนรวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านข้อมูลต่าง ๆ นอกจากนี้ ต้องตอบโจทย์การทำงานสอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน อาทิเช่น เอดจ์คอมพิวติ้ง ระบบงานหลักขององค์กร (Core) ระบบแบบ on-prem และคลาวด์ สามารถบูรณาการการทำงานแบบ API driven เพื่อเชื่อมการทำงานของแอปพลิเคชันหรือโมดูลต่าง ๆ ได้อัตโนมัติ หรือ รองรับความปลอดภัยให้กับการทำงานที่ค่อนข้างไดนามิคอย่างคูเบอร์เนเตสได้ เป็นต้น

 Cloud – การจัดการคลาวด์

นับวันองค์กรธุรกิจเริ่มมองแผนกลยุทธ์ที่ผสมผสานการทำงานแบบมัลติคลาวด์มากขึ้น ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้เกิดการใช้งานข้ามไปมาระหว่างคลาวด์แต่ละประเภท

ทางออก – การใช้เครื่องมือ Data Protection ที่สามารถรองรับการทำงานร่วมกับทุกประเภทของ Worklaod ไม่ว่าจะเป็น Physical, Virtualization, Private Cloud, Cloud, และ Hybrid Cloud ด้วยการ

บริหารจัดการแบบมาตราฐาน เข้ามาช่วยเสริมความปลอดภัยเมื่อต้องมีการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชัน ฐานข้อมูล และอินฟราสตรัคเจอร์ขึ้นไปอยุ่บนคลาวด์ประเภทใดก็ได้ ค่ายใดก็ได้ โดยทำหน้าที่ตั้งแต่การคัดแยกข้อมูลที่จำเป็นในการย้ายขึ้นสู่คลาวด์ผ่านเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลเพื่อส่งผ่านไปยังคลาวด์ในจุดต่าง ๆ ที่ควรประหยัดได้ทั้งแบนด์วิธ เนื้อที่ในการจัดเก็บ และต้นทุนดำเนินการ

 Compliance – กฎของข้อมูล

การ์ทเนอร์กล่าวว่า ในปี 2566 ข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรโลกกว่า 65% จะได้รับการดูแลโดยกฎระเบียบด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าที่มีในปัจจุบันอย่างน้อย 10% ดังนั้น องค์กรต้องหมั่นติดตามและเตรียมพร้อมไว้เสมอ โดยเฉพาะจำนวนข้อมูลที่จะเพิ่มมากขึ้นบนรูปแบบการใช้งานคลาวด์แบบไฮบริด อีกทั้งการเก็บรักษาข้อมูลให้ตรงตาม Compliance จะเป็นเรื่องยากและวุ่นวายมากขึ้นในการบริหารจัดการ

ทางออก – เครื่องมือวิเคราะห์ในอนาคต ตัวอย่างเช่น Aptare Script โดยเวอร์ริทัส จะต้องมีมุมมองที่หลากหลายและเจาะลึกถึงพฤติกรรมการใช้งานข้อมูลทุกประเภทในทุกอินฟราสตัคเจอร์ และทุกอุปกรณ์จัดเก็บและสำรองข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น Virtualization, on-prem, Hybrid Cloud หรือ Multi Cloud รวมถึงการจัดระเบียบข้อมูลให้ถูกต้องตรงตามกฎการคุ้มครองข้อมูลและมาตรฐานด้านการบริการ (SLA Compliance) ต่าง ๆ เป็นต้น

การรู้เท่าทัน 4 จุดเสี่ยงในโลกยุดดิจิทัล จึงนับเป็นข้อได้เปรียบสำคัญที่ต่อยอดสู่การวางนโยบายและกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีและการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าในอนาคต

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ลงนามกับนายอัตสึโอะ คุโรดะ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์กรรับประกันแห่งประเทศญี่ปุ่น (Nippon Export and Investment Insurance : NEXI) ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการรับประกัน (Insurance) โดยมีนายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และนายพิริยะ เข็มพล กรรมการ EXIM BANK เป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในพิธีลงนาม เพื่อใช้บริการประกันการส่งออกและการลงทุนของ EXIM BANK เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยและญี่ปุ่น โดยเฉพาะในตลาด CLMV และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ของไทย ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563

 

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับ NEXI ครอบคลุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการให้บริการทางการเงินในรูปแบบการรับประกันและการรับประกันต่อ เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงให้ผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นมั่นใจที่จะขยายการส่งออกและโครงการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ทั้งในไทย ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก อันจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ของญี่ปุ่น การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรธุรกิจของญี่ปุ่น การพัฒนาทักษะแรงงาน โดยเฉพาะ SMEs และโอกาสใหม่ ๆ ทางการตลาด อาทิ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในญี่ปุ่น ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและญี่ปุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยบริการประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงด้านการลงทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่างทั้งสองหน่วยงานนี้จะช่วยให้การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกังวลความเสี่ยงจากผู้ซื้อ ประเทศผู้ซื้อ หรือประเทศเป้าหมายที่เข้าไปลงทุน นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการที่ใช้บริการประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงการลงทุนของ EXIM BANK สามารถโอนสิทธิในกรมธรรม์ประกันการส่งออกและการลงทุนเป็นหลักประกันในการขอรับสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ได้

 

ยิ่งไปกว่านั้น EXIM BANK และ NEXI ยังมีความร่วมมือด้านการรับประกันต่อระหว่างกัน ช่วยสนับสนุนการทำหน้าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาการส่งออกและการลงทุนของ EXIM BANK ได้เป็นอย่างดี ทำให้ EXIM BANK สามารถรับความเสี่ยงในการทำธุรกิจรับประกันได้มากขึ้น ขยายขอบเขตการให้บริการแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยและญี่ปุ่นได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยมี NEXI ร่วมรับความเสี่ยงในการสนับสนุนธุรกรรมการส่งออกและการลงทุน

 

“EXIM BANK ขยายความร่วมมือกับ NEXI ในครั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของไทย ในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อยกระดับศักยภาพและเทคโนโลยีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทย กระตุ้นการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีนวัตกรรม ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในไทยและขยายไปยังตลาด CLMV ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคและโลกโดยรวม” นายพิศิษฐ์กล่าว

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เผยกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ (Commercial Banking) ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางปี 2561-2563 ด้วยเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นธนาคารหลักของกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และลูกค้าธุรกิจ SME พร้อมขับเคลื่อนศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร รวมทั้งการผสานความรู้ความเชี่ยวชาญในประเทศกับศักยภาพความแข็งแกร่งทางการเงินและเครือข่ายระดับโลกของ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) มุ่งเน้นสร้างพอร์ตที่สมดุลและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปี 2561 ตั้งเป้าสินเชื่อธุรกิจโต 6-8% และเงินฝากโต 6-8% 
 
พรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า “กลุ่มลูกค้าธุรกิจของกรุงศรีประสบความสำเร็จในการสร้างความเติบโตด้านสินทรัพย์อย่างต่อเนื่องตามแผนธุรกิจระยะกลางฉบับแรกที่ครอบคลุมปี 2558-2560 โดยภาพรวม มีสินเชื่อเติบโตเฉลี่ย 7.5% ต่อปี และเงินฝากเติบโตเฉลี่ย 5.0%  ต่อปี สะท้อนถึงศักยภาพในการต่อยอดความสำเร็จภายหลังการควบรวมธุรกิจของธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ    ยูเอฟเจ จำกัด (BTMU) สาขากรุงเทพฯ และการผสานพลังเครือข่ายของ MUFG  สำหรับแผนธุรกิจระยะกลางในปี 2561-2563 กรุงศรีมุ่งเน้นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับกระบวนการทำงานเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและส่งมอบบริการเพื่อสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้าธุรกิจโดยจะให้ความสำคัญกับการเติบโตของสินเชื่อและเงินฝากไปพร้อมๆ กัน นอกเหนือจากการกระชับสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมแล้ว กรุงศรียังมีเป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มใหม่เชื่อมโยงกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0”
 
พรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
 
 
“กรุงศรีเดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็นธนาคารพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจ (Trusted  Banking Partner) สำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และเป็นธนาคารหลักสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งตั้งเป้าที่จะขยายพอร์ตของธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ โดยจะใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกับบริษัทในเครือกรุงศรี กรุ๊ป และศักยภาพความแข็งแกร่งของเครือข่ายระดับโลกของ MUFG การผสานพลังนี้จะทำให้กรุงศรีสามารถส่งมอบบริการทางการเงินที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเพื่อธุรกิจและผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ธุรกรรมและสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ บริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองการลงทุนในตลาดต่างประเทศ สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ กรุงศรีมุ่งเน้นกลยุทธ์ Fee based business และการปรับสมดุลของพอร์ตสินเชื่อโดยเน้นการเติบโตด้านสินทรัพย์และการสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ กรุงศรีได้จัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ทั้งในด้านการให้คำปรึกษาและองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมการขยายตลาดของลูกค้ากลุ่มธุรกิจไทย รวมทั้งการสร้างเครือข่ายธุรกิจและการแนะนำคู่ค้าธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ” นายพรสนองกล่าว 

ในปัจจุบันระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในหลายๆ สาขาอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน

Page 3 of 4
X

Right Click

No right click