กระแสของกัญชากลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่มีแนวโน้มว่าโฉมหน้ารัฐบาลชุดใหม่จะมีพรรคภูมิใจไทยรวมอยู่ในสมการนั้นด้วย หลังจากที่ชะงักไปบ้างเมื่อครั้งการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ที่ใน MOU ระบุจะนำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษโดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา ซึ่งเท่ากับว่านโยบายกัญชาเสรี ของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งผลักดันโดยพรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มว่าจะได้ไปต่อ

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า นโยบายการเปิดเสรีกัญชามีทั้งคุณและโทษ หลายเรื่องยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในสังคมไทย โดยเฉพาะประเด็นทางด้านสังคมและระบบสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาโดยไม่มีการควบคุมและยังไม่มีมาตรการรองรับอย่างรอบด้าน  แต่หากพิจารณาในด้านเศรษฐกิจแล้ว กัญชาเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ได้จริง จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งมีการประเมินมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ณ ปี 2565 นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ มีมูลค่ารวมถึงกว่า 28,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำมูลค่า 9,615 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์กลางน้ำ 14,690 ล้านบาท ส่วนผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ 3,750 ล้านบาท แบ่งเป็น ยารักษาโรคและอาหารเสริม มูลค่า 1,500 ล้านบาท อาหารและเครื่องดื่ม 1,200 ล้านบาท เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล 800 ล้านบาท เครื่องนุ่งห่มและของใช้ส่วนตัว 250 ล้านบาท และยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดในอีก 2 ปีข้างหน้า จะโตได้ 10-15% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 42,800 ล้านบาท

 

และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในสังคมออนไลน์โดยใช้เครื่องมือ DXT360 ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ที่มีการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2566 พบว่ามีการพูดถึงทั้งหมด 902 ข้อความ และได้รับการมีส่วนร่วม หรือ Engagement ถึง 12,358 ครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่าผู้คนบนสังคมออนไลน์ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกัญชา-กัญชงไม่น้อย และถ้าดูจากสัดส่วนการโพสต์ลงบนโซเชียล แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้

· ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย มีการโพสต์ขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ใช้ส่วนประกอบอย่างเส้นใยของกัญชามาช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้มีความแข็งแรงขึ้น โดยพบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีสัดส่วนการโพสต์บนโลกออนไลน์มากที่สุดคิดเป็น 57.43%

· ผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ มีการโพสต์ส่วนใหญ่เป็นการใช้สารสกัดจากน้ำมันกัญชามาใช้เป็นส่วนประกอบของยาเพื่อการรักษาต่าง ๆ เช่น ประกอบการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง และรักษาอาการปวดเรื้อรัง เป็นต้น โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีถึง 27.05%

· ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีการโพสต์ขายผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและการทำความสะอาดโดยใช้ส่วนประกอบเป็นสารสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สบู่ และยาสระผม เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 8.43%

· ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม พบว่ามีการนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นขนม ผงเครื่องดื่ม และเครื่องดื่มบรรจุขวด ซึ่งส่วนผสมที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารสกัดน้ำมันกัญชาและใบกัญชา โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 6.54%

· ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ข้างต้น พบว่ามีการโพสต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 0.55% เช่น สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง คือ อิฐ และ เฮมป์พาร์ทิเคิลบอร์ด หรือแผ่นกั้นผนังห้อง เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจมีแนวโน้มว่าจะมีการนำสารสกัดจากกัญชาและกัญชงมาใช้แปรรูปหรือพัฒนาเป็นสินค้าหรือนวัตกรรมที่มีความหลากหลายในด้านของรูปแบบสินค้าและประเภทของสินค้ามากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อดูความคิดเห็นบนโซเชียล พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

 

จากข้อมูลพบว่าผู้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์จะมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ โดยมีการพูดถึงในเรื่องของการยอมรับการใช้กัญชามาประกอบการรักษามากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการรักษาหรือบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง ถึงแม้ในความเป็นจริงจะยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์รองรับว่าสามารถรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้

แต่หากมองในมุมของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มพบว่า ผู้คนบนโซเชียลได้มีการแสดงความคิดเห็นที่สื่อถึงความกังวลและความคิดเห็นไปในทิศทางเชิงลบ โดยเฉพาะความกังวลในเรื่องการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากกัญชา-กัญชง ที่อาจได้รับเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือนำไปสู่การเสพติดไปจนถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้

กล่าวได้ว่า นับแต่มีการปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2565 และแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่น่าจะมีพรรคภูมิใจไทยเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล การใช้กัญชาจึงยังคงอยู่ในสถานะที่ถูกเปิดช่องให้ใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่ได้ถูกจำกัดเพียงการใช้ทางการแพทย์ ไปจนกว่า

จะมีการออกมาตรการเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้อย่างเหมาะสม เรื่องของกัญชาจึงได้กลายเป็นวาระในการถกเถียงของคนทุกระดับในสังคมไทย

CR :  Inforquest

ธุรกิจกลุ่มบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มยังติดเทรนด์ดาวรุ่ง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เบเกอรี่ และบาร์ตบเท้าเดินหน้าดีต่อเนื่อง หลังท่องเที่ยวฟื้น ประชาชนใช้จ่ายเพิ่ม พฤติกรรมคนยุคใหม่บริโภคและใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น โดยมูลค่าตลาดรวมร้านอาหารยังยืนหนึ่งที่ประมาณ 4.25 แสนล้านบาท ด้าน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย แนะผู้ประกอบการต้องตามแนวโน้ม สร้างจุดเด่น หาจุดขาย สู้ปัจจัยเสี่ยงและการแข่งขันที่สูงขึ้น พร้อมชวนผู้ประกอบการเสริมความรู้ จับทิศธุรกิจจากบริษัทชั้นนำของโลกที่ยกทับร่วมจัดงานในโซนกาแฟ-เบเกอรี่ และ โซนร้านอาหาร-บาร์ พร้อมพื้นที่จัดแสดงพิเศษใหม่ SIPS & SPIRITS ที่รวบรวมและจัดแสดงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไวน์ คราฟต์เบียร์จากทั่วโลก รวมถึงสุราไทยที่กำลังเป็นกระแสความสนใจในงาน Food & Hospitality Thailand 2023

นางสาวสุภาภรณ์ อังศรีสุรพร ผู้จัดการฝ่ายบริหารโครงการอาวุโส อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 กล่าวถึงธุรกิจกลุ่มกาแฟ เบเกอรี่ กลุ่มบาร์และร้านอาหารว่า ทั้ง 2 กลุ่มยังคงติดอยู่ในกลุ่มธุรกิจดาวรุ่ง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว การใช้จ่ายของภาคประชาชนที่มีความมั่นใจขึ้น รวมถึงพฤติกรรมและวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่บริโภคและใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ซึ่งประมาณการมูลค่ารวมของธุรกิจกลุ่มบริการด้านอาหาร-เครื่องดื่มในปี 2566 ธุรกิจร้านอาหารยังมีมูลค่ารวมมาเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ประมาณ 4.25 แสนล้านบาท (ไม่รวมธุรกิจผับและบาร์) ส่วนตลาดรวมของธุรกิจร้านกาแฟอยู่ที่ประมาณ 65,000 ล้านบาท และตลาดรวมของธุรกิจเบเกอรี่อยู่ที่ประมาณ 38,000 ล้านบาท

แม้ธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวจะได้รับผลจากปัจจัยบวก แต่ผู้ประกอบการก็ควรต้องคำนึงถึงปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ การแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจไทยและต่างประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ดังนั้นหนึ่งในทางออกของผู้ประกอบการคือ ต้องมีการเตรียมพร้อม พัฒนาเพิ่มศักยภาพ การบริหารความเสี่ยง รวมถึงติดตามแนวโน้มและทิศทางของธุรกิจตลอดเวลา ดังนั้นในงาน Food & Hospitality Thailand 2023 ครั้งนี้ จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับโฃนกาแฟ-เบเกอรี่ (Coffee & Bakery Thailand : CBT) และ โซนร้านอาหาร-บาร์ (Restaurant & Bar Thailand : RBT)

โดยโซนกาแฟ-เบเกอรี่ (Coffee & Bakery Thailand : CBT) เป็นศูนย์รวมของธุรกิจกาแฟและเบเกอรี่อย่างครบวงจร ซึ่งได้รับความสนใจเข้าร่วมจัดแสดงงานจากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวัตถุดิบพรีเมี่ยม อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ใช้ในธุรกิจทั้งไทยและนานาชาติ อาทิ Duchess, Filter Vision, Global Partner Inter Food, Grain Baker, i-Cream Solutions,

ITO EN, Longbeach, NC Bakery Equipment, Santoker, Siamaya Craft, SKGF Trading, Tafa Inter Trading, Nescafé Dolce Gusto และ Alpine Water ซึ่งนอกจากจะมีการจัดแสดงงานจากบริษัทชั้นนำต่างๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมการแข่งขันและเวิร์คชอป เพื่อเพิ่มทักษะให้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจอีกหลายรายการ อาทิ การแข่งขัน Thailand National Latte Art Championship (TNLAC), Thailand National Coffee in Good Spirits Championship (TNCIGS), Grow Tea Creatives Sensory Special Class และ Coffee Workshop

ส่วนโซนร้านอาหารและบาร์ (Restaurant & Bar Thailand : RBT) เป็นอีกโซนที่มีความสำคัญ โดยในโซนนี้จะเป็นการรวบรวมบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือระดับพรีเมี่ยมของโลก ตลอดจนระบบจัดการโซลูชั่นต่างๆ ที่ใช้ในธุรกิจมาร่วมในการจัดแสดง อาทิ Abbra Corporation Limited, Nutra Regenerative Protein, Chaitip, CTI Food Supply, Ebisu Foods, See Fah Food, Udom Supply Imex, BR Group, Fukushima Galilei, K.M. Packaging, Lucky Flame Co., Ltd., Newton Food Equipment, Winterhalter, VJ International Group, Royal Porcelain, Villeroy & Boch, Independent Wine & Spirit และ GLT Italia นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมสัมมนา เวิร์คชอป และการแข่งขันเพิ่มทักษะเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจอีกหลายรายการ อาทิ การแข่งขัน Thailand’s International Culinary Cup (TICC) 2023, การแข่งขัน ASEAN Hotel Bartender Competition 2023, Food Stylist for Value Added Workshop, สัมมนาหัวข้อ Restaurant Success Case by Copper และ TAT Seminar: Thailand's Culinary Treasures

และในปีนี้ยังมีการเพิ่มพื้นที่จัดแสดงพิเศษใหม่ SIPS & SPIRITS ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในงาน โดยเป็นการรวบรวมและจัดแสดงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไวน์ คราฟต์เบียร์จากทั่วโลก รวมถึงสุราไทยที่กำลังเป็นกระแสความสนใจจากคนทั่วประเทศ พร้อมเวิร์คชอปการชงค็อกเทล การทำเบียร์ การสัมมนาให้ความรู้จากผู้อยู่ในอุตสาหกรรมและธุรกิจตัวจริงอีกด้วย

งาน Food & Hospitality Thailand 2023 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2566 ณ ฮอลล์ 1-3 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานฯ สามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.fhtevent.com

ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต้องสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และพัฒนาคุณภาพการบริการ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดแรงงาน ธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับพนักงานที่มีความสามารถและความทุ่มเทมากกว่าเคย ทำให้ปี 2023 นี้ ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนาวิธีการให้บริการลูกค้า พร้อมสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถที่ดีที่สุดไว้กับองค์กร โดย Ibi Montesino รองประธานบริหาร ผู้จัดจำหน่ายและประสบการณ์ลูกค้า และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเฮอร์บาไลฟ์ ได้แนะนำขั้นตอนไว้ดังนี้

เพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีดิจิทัล

เทคโนโลยีช่วยให้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเพียงคนเดียวสามารถดูโดดเด่นขึ้นได้ แต่เนื่องจากลูกค้ามักมีความคาดหวังว่าเทคโนโลยีจะทำงานได้อย่างราบรื่น ทำให้บางครั้งการสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานยากอาจสร้างความผิดหวังให้แก่ผู้ใช้และทำให้ภาพลักษณ์บริษัทดูไม่เป็นมืออาชีพ ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีใดก็ตามในการเชื่อมต่อกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ธุรกิจ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ

การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าและช่วยในการตัดสินใจครั้งสำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของบริษัท เนื่องจากข้อมูลเปรียบเสมือนแหล่งเชื้อเพลิงความสำเร็จของธุรกิจ ตั้งแต่ใช้เพื่อวิเคราะห์คู่แข่ง ติดตามการส่งสินค้า การประเมินราคา วิเคราะห์ปัญหาและความกังวลของลูกค้า ไปจนถึงการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ให้ออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด

สร้างการเติบโตและขยายธุรกิจ

นักธุรกิจหลายคนอาจได้เคยยินคำกล่าวที่ว่า การจัดการและทำความเข้าใจการเติบโตของบริษัทนั้นเป็นเรื่องท้าทาย บางครั้งธุรกิจที่เริ่มต้นด้วยการดำเนินงานจากเจ้าของคนเดียว อาจกลายเป็นธุรกิจที่ต้องการทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นในชั่วพริบตา เมื่อเป็นเจ้าของธุรกิจมาสักระยะหนึ่ง ความสามารถในการจัดการจะเฉียบคมขึ้นและเมื่อพร้อมสำหรับธุรกิจก้าวต่อไปแล้ว อาจสามารถขยายการเติบโตได้โดยการเพิ่มบุคคลากร หรือมองหาวิธีเพิ่มกำไรโดยไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีที่มีฟังชั่นอัตโนมัติ เพื่อทดแทนการใช้แรงงานคนจำนวนมาก ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและเงิน

สร้างประสบการณ์ที่น่าหลงใหลให้กับลูกค้า

การบริการที่ไม่ดีเป็นฝันร้ายของเหล่าผู้บริโภค บริษัทต่างๆ ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนประสบการณ์การบริการลูกค้าให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและช่วยให้ลูกค้าทุกคนรู้สึกว่าได้รับการรับฟัง มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อธุรกิจ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีการตั้งแต่การฝึกอบรมตัวแทนฝ่ายสนับสนุนลูกค้า ไปจนถึงการ

จัดหาผู้ให้บริการที่มีคุณภาพ แม้หลายบริษัทมุ่งเน้นการแก้ปัญหาของลูกค้าด้วยเทคโนโลยีในหลากหลายวิธี แต่สิ่งสำคัญที่ยังคงจำเป็นต้องมีคือ การทำให้ลูกค้ารู้สึกว่ามีความเชื่อมต่อแบบบุคคลและไม่รู้สึกเหมือนคุยกับหุ่นยนต์

อีกวิธีหนึ่งที่ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าได้คือ การใช้ข้อมูลเพื่อทำความรู้จักลูกค้าให้มากที่สุด เช่น วิธีการซื้อและความความคิดในการซื้อของลูกค้า เพราะการมีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น จะทำให้การเข้าถึงลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการได้ตรงใจมากขึ้นเช่นกัน

ให้ความสำคัญกับพนักงาน

การระบาดของโรคได้สอนบทเรียนสำคัญมากมายให้กับธุรกิจต่างๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ทุกคนได้เรียนรู้ว่าการทำงานที่ออฟฟิศไม่ได้มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเสมอไป จากการศึกษาล่าสุดเปิดเผยว่า พนักงานกว่า 87% มีแนวโน้มรับการทำงานแบบยืดหยุ่นหากมีโอกาส และพบว่าพนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้นเมื่อทำงานจากระยะไกล รวมทั้งการทำงานที่ยืดหยุ่นยังช่วยเพิ่มความภักดีต่อบริษัทอีกด้วย

บางครั้งการทำงานเป็นทีมแบบอยู่คนละที่ ต้องตรวจสอบและจัดเตรียมให้แน่ใจว่าเครื่องมือเทคโนโลยีสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เว็บแคมและสถานที่ทำงานที่สะดวกสบายที่ช่วยให้ทำงานได้อย่างราบรื่น รวมทั้งผู้จัดการต้องสื่อสารกับทีมของตัวเองที่กระจายตัวตามเมืองต่างๆ หรือทั่วโลก เพื่อให้ลูกทีมรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการงานและรู้สึกได้รับความสำคัญ ดังนั้นควรมีการนัดหมายประชุมตามเวลาที่กำหนด เพื่อให้ผู้จัดการได้ติดตามพนักงานแบบตัวต่อตัวและสร้างความเป็นกันเอง

นอกจากนี้ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานก็เป็นเรื่องสำคัญ การเป็นสมาชิกฟิตเนส การมีบริการด้านสุขภาพจิตและโปรแกรมอื่นๆ จะช่วยให้พนักงานมีสภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงอยู่เสมอ

ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กที่มีเจ้าของคนเดียวไปจนถึงบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ความยั่งยืนเป็นสิ่งดีทั้งต่อโลกและลูกค้า ซึ่งบริษัทสามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การลดการใช้พลังงาน การเปลี่ยนไปใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน หรือแม้แต่การจัดหาซัพพลายเออร์ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน รวมทั้งมาตรการง่ายๆ เช่น การรีไซเคิลในสำนักงาน การเลือกวิธีเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดประชุมแบบดิจิทัล และการคิดถึงผลกระทบที่ธุรกิจสร้างต่อสิ่งแวดล้อม

ปี 2023 นี้ เป็นโอกาสให้เจ้าของธุรกิจทุกขนาดได้ประเมินวิธีการให้บริการลูกค้า พัฒนาการสื่อสารออนไลน์และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความคาดหวังของลูกค้าและพนักงานเป็นหลัก ผ่านการลงทุนในเทคโนโลยีและเน้นการขยายธุรกิจ ซึ่งอาจทำให้ปีนี้เป็นปีที่นำพาความสำเร็จมาให้บริษัทได้มากที่สุด

เอเอซีเอสบี อินเตอร์เนชันแนล (AACSB International) เครือข่ายการศึกษาด้านธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศยกย่องโรงเรียนธุรกิจ 25 แห่งภายใต้โครงการอินโนเวชันส์ แดท อินสไปร์ (Innovations That Inspire) หรือ นวัตกรรมสร้างแรงบันดาลใจ

โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อยกย่องโรงเรียนธุรกิจจากทั่วโลกที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์การศึกษาด้านธุรกิจ สำหรับปี 2566 นี้ ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนธุรกิจในรูปแบบที่เพิ่มมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ซึ่งรวมถึงผู้เรียน ธุรกิจ และสังคม โดยโรงเรียนธุรกิจเหล่านี้กำหนดนิยามใหม่ให้กับอนาคตของการเรียนรู้ การเป็นผู้นำ และการเชื่อมโยง ซึ่งปูทางไปสู่การนำเสนอคุณค่าเพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านธุรกิจ

นวัตกรรมเด่นของโรงเรียนธุรกิจเหล่านี้ช่วยบุกเบิกความร่วมมือในอุตสาหกรรมและชุมชน กำหนดนิยามใหม่ของอิทธิพลด้านการวิจัย และยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ยกตัวอย่างเช่น

· อนาคตของธุรกิจคือดิจิทัล (The Future of Business Is Digital) โดยโรงเรียนธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย (UniSA Business): ทางสถาบันได้ผนึกกำลังกับเอคเซนเชอร์ (Accenture) บริษัทที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาธุรกิจดิจิทัลแบบเรียนออนไลน์ ซึ่งมอบทักษะทางธุรกิจและดิจิทัลระดับสูง และมุ่งเน้นประสบการณ์จริงในอุตสาหกรรม

· ปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ (Act for Climate) โดยโรงเรียนธุรกิจแอมลียง (EMLYON Business School): นำเสนอหลักสูตรที่ผสมผสานความเข้าใจพื้นฐานด้านสภาพภูมิอากาศ คำอธิบายสถานการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม และการออกแบบแผนปฏิบัติการที่เหมาะสม เพื่อสอนให้ผู้เรียนพัฒนาทฤษฎีสำหรับรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง

· ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและผู้ประกอบการ (Center for Innovation and Entrepreneurship หรือ iCenter) โดยวิทยาลัยธุรกิจลูวิสแห่งมหาวิทยาลัยมาร์แชลล์ (Marshall University: The Lewis College of Business): จัดตั้งศูนย์ iCenter ที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมทั่วทั้งวิทยาลัย วิทยาเขต และชุมชน ด้วยการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านการให้ความรู้และการฝึกอบรม

· การพัฒนากลุ่มวิจัยในโรงเรียนธุรกิจ (Developing Research Groups in Business School) โดยโรงเรียนเศรษฐศาสตร์และธุรกิจเคทียูแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีคอนาส (Kaunas University of Technology: KTU School of Economics and Business): พัฒนากลุ่มวิจัยแบบสหวิทยาการ 4 กลุ่ม เพื่อขจัดอุปสรรคทางวิชาการ เพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของคณาจารย์ ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการสร้างความร่วมมือและการได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

"ความต้องการใหม่ ๆ ของบรรดาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ได้ผลักดันให้ต้องมีการคิดใหม่ทำใหม่ในส่วนของการศึกษาด้านธุรกิจ และนวัตกรรมจากโรงเรียนธุรกิจในโครงการอินโนเวชันส์ แดท อินสไปร์ ประจำปี 2566 นี้ แสดงให้เห็นถึงแนวทางใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนธุรกิจในอนาคต" คุณแคริน เบค-ดัดลีย์ (Caryn Beck-Dudley) ประธานและซีอีโอของเอเอซีเอสบี กล่าว "การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้ วิธีการเรียนรู้ใหม่ ๆ และขยายการเข้าถึงการศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนธุรกิจสามารถตอบสนองความคาดหวังของตลาด ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ ผู้เรียน และสังคม"

โครงการอินโนเวชันส์ แดท อินสไปร์ เข้าสู่ปีที่ 8 แล้ว และได้ยกย่องโรงเรียนธุรกิจรวม 214 แห่งซึ่งเป็นแบบอย่างของแนวทางที่ก้าวหน้าด้านการศึกษา การวิจัย การมีส่วนร่วมกับชุมชน ความเป็นผู้ประกอบการ ความเป็นผู้นำ รวมถึงความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง ทั้งนี้ โครงการอินโนเวชันส์ แดท อินสไปร์ ประจำปี 2566 ได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนธุรกิจสจ๊วตแห่งสถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ (Illinois Institute of Technology's Stuart School of Business) สามารถดูข้อมูลและตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ aacsb.edu/innovations-that-inspire

 นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (Mr. Aphinant Klewpatinond, Chief Executive Officer, Kiatnakin Phatra Financial Group) เปิดเผยว่าคณะกรรมการ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ได้มีมติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 3.25 บาทให้แก่ผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นไปแล้วในอัตราหุ้นละ 1.75 บาท จะมีอัตราเงินปันผลคงเหลือในงวดนี้เท่ากับหุ้นละ 1.5 บาท นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้มีมติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการออกและจัดสรร ‘วอร์แรนท์’ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 5 (KKP-W5) และครั้งที่ 6 (KKP-W6) อายุ 10 เดือนและ 2 ปี 10 เดือน ตามลำดับ ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น ในอัตราการจัดสรร 12 หุ้นเดิมต่อใบสำคัญแสดงสิทธิ KKP-W5 และ KKP-W6 อย่างละ 1 หน่วย โดยใบสำคัญแสดงสิทธิแต่ละหน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารได้ 1 หุ้น ที่ราคาการใช้สิทธิ 70 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับกลยุทธ์การขยายธุรกิจในอนาคตของธนาคาร ตั้งเป้าขยายพอร์ตสินเชื่อร้อยละ 13 ในปีนี้

ผลประกอบการในระยะที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ของกลุ่มธุรกิจฯ ที่มุ่งเติบโตโดยระมัดระวัง (Smart Growth) โดยให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง การจัดกลุ่มลูกค้าและคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Segmentation) ตลอดจนการขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้อง (Cross-Selling) โดยใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งในธุรกิจตลาดทุนของบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจฯ ส่งผลให้สินเชื่อในภาพรวมของธนาคารเติบโตอย่างน่าพึงพอใจ เช่น ปี 2565 ที่สินเชื่อของธนาคารขยายตัวถึงร้อยละ 21.4 จากปีก่อนหน้า ด้วยเหตุนี้ กลุ่มธุรกิจฯ จึงมุ่งเตรียมความพร้อมในด้านทุน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการขยายธุรกิจ รองรับการขยายสินเชื่อให้เติบโตได้เต็มศักยภาพ อีกทั้งยังสามารถรักษาการปันผลในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ตั้งเป้าโตสินเชื่ออีกร้อยละ 13” นายอภินันท์ กล่าว

ทั้งนี้ ธนาคารมีแผนการลงทุนเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของธนาคาร โดยเฉพาะการรุกหน้าบริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ ไม่ว่าผ่านแอป KKP Mobile ของธนาคาร หรือบริการ Edge (เอดจ์) และ Dime (ไดม์) ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยขยายฐานลูกค้าของธนาคารไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยอีกเป็นจำนวนมากที่มองหาเงินฝากดอกเบี้ยสูง ควบคู่ไปกับบริการด้านการลงทุนที่สะดวก ตอบโจทย์ และมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับของเกียรตินาคินภัทร โดยบริการเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็น New S-Curve หรือหน่วยธุรกิจที่จะสร้างการเติบโตใหม่ให้กับกลุ่มธุรกิจฯ

ในโอกาสเดียวกัน คณะกรรมการธนาคารยังได้มติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการออกและจัดสรร KKP ESOP Warrants หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของธนาคาร และบริษัทย่อยที่กำหนดโดยไม่คิดมูลค่าจำนวนไม่เกิน 60,000,000 หน่วย ซึ่งมีราคาการใช้สิทธิ 72 บาทต่อหุ้น และมีอายุ 4 ปี นับจากวันที่ได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ เพื่อเป็นแรงจูงใจสำหรับบุคลากรในการสร้างการเติบโตและผลกำไรที่ดี ตลอดจนสร้างความผูกพันกับองค์กรในระยะยาวอีกด้วย

 

Page 2 of 4
X

Right Click

No right click