November 24, 2024

“เด็กอาชีวะ” สุดเจ๋ง สร้างสื่อดิจิทัล รวมกว่า 130 ชิ้นงาน “เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2” ย้ำ พันธกิจสร้าง “อาชีวะสื่อสารสุขภาวะ”

February 03, 2021 2197

“เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2”  สร้าง “อาชีวะสื่อสารสุขภาวะ” เน้นการตระหนักรู้และการรู้เท่าทันประเด็นภาวะซึมเศร้า

การระรานทางไซเบอร์และภัยบนสื่อสังคมออนไลน์  เผยสถานการณ์   โควิด-19 ทำให้กิจกรรมเสริมทักษะด้านต่างๆปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบออนไลน์ และหากช่วงมี.ค.64  สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ก็พร้อมจัดนิทรรศการโชว์ 133 ผลงาน จาก 31 ทีมอาชีวะ  

ดร.สุภาพร ศรีสัตตรัตน์ หัวหน้าโครงการเกรียนไซเบอร์เซ่ียนสร้างสรรค์สื่อสร้างสุข – "เกรียน ไซเบอร์ฯ ปี 2" โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมหาวิทยาลัยสยาม เปิดเผยว่า ปัจจุบันโครงการเกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2 มีนักศึกษาอาชีวศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวน 155 คน  จาก 31 ทีม  (20 วิทยาลัย)  ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคกลาง   และผลิตผลงานสื่อดิจิทัล จำนวนรวม 133 ชิ้นงาน

นักศึกษาอาชีวะได้สร้างผลงานในประเด็นภาวะซึมเศร้า การระรานทางไซเบอร์และภัยบนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นประเด็นที่โครงการเกรียนไซเบอร์ฯ ค้นพบจากการสำรวจความสนใจด้านปัญหาสังคมของนักศึกษาอาชีวะเมื่อปี 2563  ผลงาน 133 ชิ้นงานของนักศึกษาอาชีวะ มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ โปสเตอร์แอนิเมชั่น โมชั่นกราฟฟิก ภาพถ่าย สารคดี มิวสิควีดีโอ คลิป (หนังสั้น,โฆษณา,ซีรีย์) อินโฟกราฟฟิก (ภาพนิ่งและแอนิเมทกราฟฟิก) และภาพรวมผลงานของนักศึกษาก็นับว่ามีคุณภาพสมกับฝีมือการผลิตของวัยรุ่น

ดร.สุภาพร กล่าวว่า จากผลงานทั้งหมดของนักศึกษาอาชีวะที่มีอายุระหว่าง 14-18 ปี และเข้าร่วมโครงการฯ สะท้อนให้เห็นว่า นักศึกษาอาชีวะก็เหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไป ไม่ช่างพูด มีความอ่อนไหว มีปัญหาเหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไป  เช่น เหงา ว้าเหว่ มองสังคมว่าไม่ได้สวยงาม  มองโลกในแง่ลบ และขณะเดียวกันผลงานก็ได้สะท้อนถึงทางออก การป้องกันและการเข้าใจปัญหา และทำให้เจ้าของผลงานเข้าใจความเป็นจริงของสังคมมากขึ้น

โครงการ “เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2” มุ่งเน้นให้นักศึกษาอาชีวะตระหนักและรู้เท่าทันปัญหาภาวะซึมเศร้า การระรานทางไซเบอร์และภัยบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคมและถ่ายทอดสิ่งดังกล่าวไปสู่เพื่อนวัยเดียวกัน ดังจะเห็นได้จาก ผลงานของนักศึกษาฯ มีอัตลักษณ์แสดงให้เห็นถึงตัวตนของวัยรุ่น ซึ่งสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายในวัยเดียวกัน เช่น มิวสิควิดีโอที่ผลิตเป็นเพลงแรป วิดีโอคลิปที่สะท้อนการบูลลี่ (การกลั่นแกล้ง / การระรานทางไซเบอร์)  จึงกล่าวได้ว่านักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็น “อาชีวะสื่อสารสุขภาวะ” อย่างแท้จริง

จากสถานการณ์โควิด-19  ทำให้กิจกรรมเสริมทักษะความรู้และกิจกรรมด้านต่างๆ  ของโครงการ “เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2” ต้องจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งมีผลกระทบต่อการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างนักศึกษาอาชีวะ 31 ทีม จาก 20 วิทยาลัย  อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โครงการฯ จะจัดนิทรรศการโชว์ผลงานของนักศึกษาอาชีวะในเดือนมีนาคม 2564

Last modified on Thursday, 04 February 2021 16:33
X

Right Click

No right click