รุนแรงและเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญกับการควบคุมการแพร่ระบาด ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ คนอีกกลุ่มที่เราไม่ควรลืมนึกถึง ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้ (People with learning differences) อาทิ โรคออทิสติก กลุ่มอาการดาวน์ เป็นต้น ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่ต้องเผชิญหน้ากับความไม่เท่าเทียมต่างๆ ในระบบสังคมและเศรษฐกิจมาตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาและโอกาสในการทำงาน นำไปสู่ปัญหาด้านการกระจายรายได้ หรือแม้แต่การใช้บริการสาธารณะที่อาจไม่รองรับต่อความต้องการของผู้ที่มีความต้องการพิเศษ ตลอดจนความไม่เข้าใจของผู้คนในสังคม ที่นำไปสู่การเลือกปฏิบัติทั้งแบบเจตนาและไม่เจตนา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจและความมั่นใจในการใช้ชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องด้วยเล็งเห็นศักยภาพของผู้ที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้ และต้องการร่วมผลักดันให้เกิดการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและทำงาน นำไปสู่การจ้างงานและความภาคภูมิใจในการดำรงชีพ โอกาสนี้ Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มชั้นนำ อาทิ ดิจิทัลเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (การีนา) อีคอมเมิร์ซ (ช้อปปี้) และบริการด้านการเงินแบบดิจิทัล (ซีมันนี่) จึงจับมือกับ สเตปส์ วิท ธีรา (Steps with Theera) กิจการเพื่อสังคมที่มุ่งฝึกอบรมและพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับบุคคลที่มีความแตกต่างในด้านการเรียนรู้ในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ “สังคมที่โอบรับความแตกต่าง” และเอื้ออำนวยให้เกิดความเท่าเทียมในการดำรงชีวิตและทำงาน ตลอดจน “ความภูมิใจและมั่นใจในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม”
(การฝึกการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้ร่วมโครงการและสภาพแวดล้อมการทำงานจริง)
นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวถึงที่มาของความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ถ้าเราลองคิดดูว่าเรามีโรคประจำตัวบางอย่าง และเนื่องจากโรคประจำตัวนั้นๆ เราถูกลิดรอนโอกาสที่พึงได้รับ ทั้งยังถูกมองว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถด้อยกว่าคนอื่นๆ หากวันใดโชคไม่ดี อาการเจ็บป่วยของเราอาจถูกหยิบยกมาล้อเลียนหรือใช้เพื่อสร้างความลำบากให้กับเรา เพียงเท่านี้เราก็รู้สึกได้แล้วว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่ถูกต้องและต้องการการแก้ไขอย่างจริงจัง ดังนั้น Sea (ประเทศไทย) และ สเตปส์ วิท ธีรา จึงได้ร่วมงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันความเท่าเทียมภายในสังคม โดยในปีนี้ Sea (ประเทศไทย) ยกระดับกิจกรรมสนับสนุนผู้ที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้ เป็นการพัฒนาศักยภาพและการสร้างโอกาสทางอาชีพในระยะยาว สร้างโอกาสที่พวกเขาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจและผ่าเผย มีความภูมิใจในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมอย่างแท้จริง”
การผลักดัน Inclusive Society ผ่านการพัฒนาทักษะจำเป็นสำหรับผู้ร่วมโครงการ พร้อมส่งเสริมทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้ที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้
ในปี 2564 ความร่วมมือเพื่อผลักดันความเท่าเทียมภายในสังคมระหว่าง Sea (ประเทศไทย) และ สเตปส์ วิท ธีรา มี 3 ด้านดังนี้
1. การพัฒนาทักษะชีวิตและการทำงาน ทั้งด้านการสื่อสาร การเข้าสังคม ความเข้าใจในกระบวนการทำงานและการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นในการทำงาน มีการจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ผ่านการทำงานจริง โดย Sea (ประเทศไทย) จะมอบทุนการศึกษาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการได้เข้าฝึกอบรมในหลักสูตรพัฒนาทักษะสําหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษของ สเตปส์ วิท ธีรา โดยการฝึกอบรมใช้ระยะเวลา 6 เดือน และเน้นการเตรียมความพร้อมของผู้ฝึกในการทํางานในสํานักงาน โดยผู้รับการฝึกจะได้รับการประเมินพัฒนาการและระดับความสามารถใน 4 มิติ ได้แก่ การทำงานในสำนักงาน ความพร้อมในการทำงาน ทักษะชีวิตและสังคม และการสร้างคุณค่าในตนเอง
2. การจัดจ้างงาน ซึ่งคำนึงถึงความเหมาะสมกับความต้องการพิเศษของแต่ละบุคคลและความชื่นชอบในแต่ละสายงานของผู้ร่วมโครงการเป็นหลัก โดยเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา Sea (ประเทศไทย) ได้ทำการจ้างงานบุคลากรในความดูแลของ สเตปส์ วิท ธีรา เพื่อการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้สัญญาจ้างงานระยะยาว ซึ่งนานพอที่จะทำให้ผู้ร่วมโครงการได้ทราบถึงความชอบของตนเองบนเนื้องานที่ได้รับมอบหมาย
3. การแสดงศักยภาพของผู้ร่วมโครงการให้เป็นที่ประจักษ์ ส่งเสริมมุมมองใหม่ๆ ต่อผู้ที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้ เริ่มต้นจากพนักงานในองค์กร โดย Sea (ประเทศไทย) และบริษัทในเครือ ได้เปิด Pop-up Café ในสำนักงาน ให้บุคลากรในความดูแลของ สเตปส์ วิท ธีรา เพื่อนำเบเกอรี่และเครื่องดื่มที่ทำขึ้นโดยผู้ที่มีภาวะออทิซึมและดาวน์แบบมาจำหน่าย ให้พนักงานได้อิ่มอร่อยอย่างถ้วนหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบุคลากรกลุ่มนี้ที่ไม่ด้อยไปกว่าใครหากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการทำงาน
(กิจกรรม Pop-up Café’ ซึ่งจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2564)
Max Simpson, Steps with Theera Co-founder กล่าวเสริมว่า “สเตปส์ วิท ธีรา เชื่อว่าคนทุกคนมีศักยภาพและควรที่จะได้รับ การต้อนรับให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างเท่าเทียม ผู้ฝึกที่มีการเรียนรู้ต่างจากคนอื่นเหล่านี้ไม่ได้ต้องการสิทธิพิเศษแต่อย่างใด พวกเขาเพียงต้องการที่ใช้ชีวิตเหมือนกับคนอื่นๆ โดยไม่ถูกมองว่าแปลกแยกหรือไร้ความสามารถ”
“แม้แต่เรื่องอาชีพ พวกเขาก็มีความต้องการที่จะเป็นตัวของตัวเองเหมือนกับคนทั่วๆ ไป บางคนถนัดด้านศิลปะและการออกแบบ บางคนถนัดด้านการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บางคนถนัดด้านการอบขนม ทำอาหารและชงเครื่องดื่ม ทางสเตปส์ วิท ธีรา จึงยินดีมากเมื่อ Sea (ประเทศไทย) และบริษัทในเครือ มองเห็นศักยภาพของคนกลุ่มนี้ และมอบพื้นที่ให้พวกเขาได้แสดงออกถึงความสามารถของตัวเอง ซึ่งช่วยย้ำเตือนว่าเขาเองก็เป็นคนคนหนึ่งที่ทำงาน ประกอบอาชีพ ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเยี่ยงคนทั่วไป และยังสามารถทำได้ดีอีกด้วย” Max กล่าวปิดท้าย
(กิจกรรม Pop-up Café’ ซึ่งจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2564)