January 15, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่า “นวัตกรรม” หรือที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้คำนิยามไว้ว่า สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมนั้น นับเป็นฟันเฟืองที่สำคัญมากในการผลักดันให้ธุรกิจต่าง ๆ ก้าวไปข้างหน้า เนื่องจากวิถีชีวิต พฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนเราจำเป็นต้องนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหา พัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น รวมถึงสร้างความพึงพอใจให้มากขึ้นด้วย อุตสาหกรรมบริการก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร หรือธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ล้วนต้องพึ่งพานวัตกรรมในการดำเนินงานทั้งในส่วนของหน้าร้านและหลังร้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ที่นักท่องเที่ยวไม่ได้มองหาแค่สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่ต้องการประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ จากการเดินทางด้วย

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าที่สอนด้านธุรกิจบริการในเครือโรงแรมดุสิตธานี ซึ่งเปิดสอน 3 กลุ่มวิชา หนึ่งในนั้นคือกลุ่มวิชาผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (Innovative Entrepreneur) จึงได้จัดงานเซ็น MoU ทำความร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า NIA (National Innovation Agency) โดยมี ดร.อรรถเวทย์ พฤกษ์สถาพร รักษาการอธิการบดี วิทยาลัยดุสิตธานี และ คุณปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้แทนลงนามจากทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้วิทยาลัยดุสิตธานีเล็งเห็นว่า ผู้เรียนหลักสูตรปริญญาโทกลุ่มวิชาผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการบ่มเพาะทักษะและองค์ความรู้เชิงนวัตกรรมจากหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งคงเป็นที่ใดไม่ได้เลย นอกจาก NIA นั่นเอง เพราะ NIA มีภารกิจในการส่งเสริมการสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติและสร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรม รวมถึงยกระดับทักษะและความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้ประกอบการ บริษัทขนาดกลางและใหญ่

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี กลุ่มวิชาผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม ไม่เพียงมุ่งบ่มเพาะให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะรอบด้านที่จำเป็นต่อการบริหารธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านการสร้างนวัตกรรมให้กับธุรกิจด้วย ทั้งด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบการบริการ หรือแม้แต่การใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการการทำงาน อันจะนำไปสู่การเป็นธุรกิจที่ทันสมัยและประสบความสำเร็จ โดยทาง NIA จะคัดสรรผู้ที่มีประสบการณ์จริงจากภาคอุตสาหกรรมมาเป็นอาจารย์ผู้สอน แลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมอันหลากหลายของ NIA ซึ่งนับเป็นเอกสิทธิ์สำหรับผู้เรียนในกลุ่มวิชานี้เท่านั้น

“การทำธุรกิจทั่วไปอาจประสบความสำเร็จได้ก็จริง แต่ถ้าทำธุรกิจนวัตกรรม จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโต” คุณเต๊ะ-ปริวรรต วงษ์สำราญ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาจารย์ผู้สอน กล่าวขณะร่วมการเสวนาหัวข้อ “สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ด้วยแนวคิดนวัตกรรม” ในพิธีลงนามความร่วมมือที่เพิ่งจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ “ยกตัวอย่างเช่นเทสล่า แต่ก่อนสู่อีกหลาย ๆ บริษัทระดับโลกไม่ได้ แต่เมื่อมีการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ ก็ทำให้เติบโตได้สูงจนเป็นผู้นำระดับต้น ๆ ของโลก ทั้งนี้นักศึกษาทั้งที่ยังเรียนอยู่หรือสำเร็จการศึกษาไปแล้วสามารถขอทุนสนับสนุนสำหรับผู้ประกอบการจาก NIA ได้ นอกจากนี้ NIA ยังช่วยผลักดันธุรกิจของนักศึกษาออกไปสู่ตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ การเรียนปริญญาโทที่นี่จึงไม่ใช่แค่การเรียนเพียงอย่างเดียว แต่นับเป็นโอกาสอย่างหนึ่งที่นักศึกษาสามารถนำสิ่งสิ่งที่เรียนไปต่อยอด โดยการขอการสนับสนุนจาก NIA ไม่ว่าจะในรูปแบบเงินทุนหรือองค์ความรู้ต่าง ๆ”

นอกจากมีกลุ่มวิชาผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมแล้ว หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี ยังมีอีก 2 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจการบริการ (Hospitality Business Management) และ กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร (Gastronomy Business Management) ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวิชาใด ก็ล้วนบ่มเพาะและผลักดันให้ผู้เรียนมีทักษะและความเชี่ยวชาญอย่างเจาะลึกในด้านนั้นๆ ด้วยการผสานองค์ความรู้และประสบการณ์ทั้งจากอาจารย์ผู้สอนของวิทยาลัยและจากการทำความร่วมมือกับหน่วยงานที่เชี่ยวชาญภายนอก เหมือนเช่นที่วิทยาลัยดุสิตธานีทำความร่วมมือกับ NIA ในครั้งนี้

วิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำทางด้านธุรกิจบริการในเครือโรงแรมดุสิตธานี ได้จัดพิธีเปิดรูปปั้นท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยดุสิตธานี โดย ฯพณฯ พลากร สุวรรณรัฐ (ที่ 6 จากซ้าย) องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดรูปปั้น  พร้อมด้วยกรรมการสภาวิทยาลัย และผู้บริหาร มาร่วมเป็นเกียรติ เพื่อรำลึกถึงคุณูปการที่ท่านผู้หญิงสร้างไว้นับตั้งแต่ที่ท่านได้ก่อตั้งวิทยาลัยดุสิตธานีขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน ประกอบด้วย คุณอาสา สารสิน ประธานกรรมการ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา นายกสภาวิทยาลัย คุณชนินทธ์ โทณวณิก อุปนายกสภาวิทยาลัย คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ คุณวิภาดา โทณวณิก รองประธานกรรมการอาวุโส กลุ่มจัดซื้อจัดจ้างบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ดร. พรเทพ เตชะไพบูลย์ กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ศ. ดร. ชนาธิป ผาริโน กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ศ. ดร. วราวุฒิ ครูส่ง กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ คุณฟราวเกอะ เกอร์เบนส์ กรรมการสภาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง (อธิการบดี)  ดร. พิศาล สร้อยธุหร่ำ กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ดร. อรรถเวทย์ พฤกษ์สถาพร กรรมการสภาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำ ณ บริเวณโถงอาคาร 2 วิทยาลัยดุสิตธานี เมื่อเร็ว ๆ นี้

ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการของโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ไปตลอดปี 2561 โดยจะให้บริการวันสุดท้ายในวันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2562 เวลา 14.00 น. เลื่อนจากกำหนดเดิมวันที่ 16 เมษายน 2561 ระบุเพื่อให้บริษัทฯ สามารถให้เวลากับการลงรายละเอียดของการออกแบบและพัฒนาโครงการ Mixed-Use หรืออสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสมได้อย่างเต็มที่ 

ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC เปิดเผยว่า ตามที่ ดุสิตธานี อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ประกาศยุติการให้บริการโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ในช่วงเดือนเมษายน ปี 2561 เพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสม หรือมิกซ์-ยู  (Mixed-Use Development) นั้น

หลังจากได้พิจารณาปัจจัยแวดล้อม และพิจารณาถึงความสำคัญในการให้เวลากับการลงรายละเอียดทั้งการออกแบบและการพัฒนาโครงการดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ จึงตัดสินใจเลื่อนการปิดให้บริการโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ออกไปจากกำหนดเดิม เป็นให้บริการวันสุดท้ายในวันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2562 เวลา 14.00 น.

ดังนั้น ในปี 2561 นี้ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ จะยังคงเปิดให้บริการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 

สำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสมโครงการนี้ เป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) และบริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน)  มูลค่า 3.67 หมื่นล้านบาท

นับว่าเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มดุสิตธานี ที่ต้องการจะพัฒนาและยกระดับพื้นที่ย่านธุรกิจสำคัญใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ให้กลายเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมที่ประกอบไปด้วย โรงแรม อาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า  โดยในส่วนของโรงแรม คือ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่นั่นเอง

ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล วางแผนที่จะสร้างโครงการนี้ ให้มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร เพื่อให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ เหมือนดังเช่นที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ เคยสร้างประวัติศาสตร์ไว้เมื่อ 48 ปีที่แล้ว ด้วยการยกระดับโครงสร้างของโครงการให้สามารถอำนวยความสะดวกและบรรเทาการจราจรบริเวณนี้

รวมถึงสร้างโอกาสและความเชื่อมโยงทางธุรกิจมาสู่ชุมชน เพื่อให้โครงการนี้ เป็นตัวแทนของกลุ่มธุรกิจไทยที่จะเผยแพร่ชื่อเสียงและวัฒนธรรมไทย และยกระดับแบรนด์ไทยไปสู่ตลาดโลก

 “ตั้งแต่ที่เราประกาศการเรื่องโครงการนี้ไปเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว เราก็ได้รับเสียงตอบรับและความคิดเห็นที่เป็นบวกมากมายจากลูกค้า ในขณะเดียวกัน ลูกค้าเองก็แสดงออกถึงความเสียดายและยังสอบถามมาว่า เรามีแผนการที่จะนำเอกลักษณ์และความโดดเด่นของโรงแรมในปัจจุบันไปสู่โรงแรมแห่งใหม่ได้อย่างไร

จุดนี้เองที่เราทำให้ตัดสินใจให้เวลากับการออกแบบโครงการให้มากขึ้น เนื่องจากเราต้องทำด้วยความรอบคอบ ใส่ใจ และพิถีพิถันในรายละเอียดทุกขั้นตอน เพื่อให้การออกแบบโครงการนี้ตอบโจทย์ความต้องการทั้งด้านงานอนุรักษ์และการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำพื้นที่สีเขียวรอบโครงการเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวของสวนลุมพินี  การเชื่อมจราจรทุกระนาบไม่ว่าจะเป็นใต้ดิน บนดิน หรือลอยฟ้า เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรหนาแน่นในย่านนี้” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.ดุสิตธานี กล่าว

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเชื่อด้วยว่า การขยายระยะเวลาออกไปยังเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้มีโอกาสมาสัมผัสกับกิจกรรมสุดพิเศษมากมายที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ได้เตรียมไว้ต้อนรับลูกค้าและแขกผู้เข้าพักตลอดทั้งปี เพื่อเป็นการส่งท้ายโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ก่อนจะเข้าสู่การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างโรงแรมดุสิตธานีโฉมใหม่อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

X

Right Click

No right click