September 19, 2024

“ซีพี ออลล์” ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น  เซเว่น เดลิเวอรี่ และผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) เตรียมออกหุ้นกู้เสนอขายแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป จำนวน 3 ชุด ช่วงอายุ 5-10 ปี อัตราดอกเบี้ยระหว่าง [3.45-4.05]% ต่อปี โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายครั้งนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ “A+” จากทริสเรทติ้ง ซึ่งคาดว่าจะเสนอขายในระหว่างวันที่ 22 และ 25-26 มีนาคม 2567 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 9 แห่ง รวมถึงขายผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet พร้อมเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังมิจฉาชีพหลอกลงทุน

นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ Chief Financial Officer บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ซีพี ออลล์” เตรียมพร้อมที่จะเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย หุ้นกู้ชุดที่ 1 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย [3.45-3.50]% ต่อปี หุ้นกู้ชุดที่ 2 อายุ 8 ปี 1 เดือน 16 วัน อัตราดอกเบี้ย [3.60-3.84]% ต่อปี และหุ้นกู้ชุดที่ 3 อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย [3.85-4.05]% ต่อปี โดยจะแจ้งอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนอีกครั้ง ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป คาดว่าจะเสนอขายในระหว่างวันที่ 22 และ 25-26 มีนาคม 2567  ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 9 แห่ง ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่  ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารยูโอบี และบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร รวมทั้งเสนอขายผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet และขอเน้นย้ำ ให้ผู้ลงทุนระวังมิจฉาชีพที่แอบอ้างชื่อบริษัทฯ หลอกลงทุน นำเสนอผลตอบแทนที่สูงเกินจริง โดยเฉพาะช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook และแอปพลิเคชั่น Line เป็นต้น ขอให้นักลงทุนพิจารณาผลตอบแทนที่เป็นไปได้ หรือติดต่อสอบถามผ่านสถาบันการเงินทั้ง 9 รายที่เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายก่อนตัดสินใจลงทุน

หุ้นกู้ บมจ.ซีพี ออลล์ ที่จะเสนอขายในครั้งนี้ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “บวก” (Positive) สะท้อนถึงผลการดำเนินงานและสถานะการเงินที่แข็งแกร่งของ “ซีพี ออลล์” ผู้นำธุรกิจค้าปลีกที่สามารถสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน การมีเครือข่ายสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และมีธุรกิจสนับสนุนที่เข้มแข็ง รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ

“ซีพี ออลล์” เป็นที่รู้จักของประชาชนในวงกว้างด้วยแบรนด์  “เซเว่น อีเลฟเว่น” ผู้ให้บริการความสะดวกกับทุกชุมชน โดยบริษัทฯ ยังคงกลยุทธ์การเป็นจุดหมายปลายทางของอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Drink Destination) เพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสเข้าถึงสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้สโลแกน “หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา” และ “หิวเมื่อไหร่ก็สั่งเลย” โดยมีแผนงานที่จะพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการ แบบ O2O เชื่อมโยงช่องทางออนไลน์และออฟไลน์แบบไร้รอยต่อ ผ่านบริการ 7-Delivery ส่งตรงถึงบ้าน นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการขยายสาขาและสร้าง “เสน่ห์ร้าน” ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมายให้กับลูกค้า (Beyond Customer Experience) โดยมุ่งกระจายตัวให้เข้าถึงทุกชุมชน  ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2566 มีจำนวนร้านสาขารวม 14,545 สาขาทั่วประเทศ และยังคงมีแผนงานการเปิดร้านสาขาใหม่อย่างต่อเนื่อง

ด้วยชื่อเสียงของ “เซเว่น อีเลฟเว่น” ทำให้การขยายธุรกิจไปยังประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.) ลาว ได้รับการชื่นชมและตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าในต่างประเทศ โดยบริษัทมีแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มเติมตามศักยภาพของแต่ละประเทศ สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปี 2566 ที่ผ่านมา  บริษัทฯ มีรายได้รวม 921,187 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% และกำไรสุทธิ 18,482 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% จากปีก่อน แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ขณะที่บริษัทฯ ยังคงดำเนินตามกลยุทธ์ของบริษัทฯ ภายใต้สโลแกน “สะดวกครบ จบที่เดียว (All Convenience)” ทั้งในเรื่องของสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการเป็นศูนย์บริการด้านสุขภาพและความงามของชุมชน ซึ่งสอดรับกับการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัว รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่กลับมา และมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิก FTSE4Good Index ติดต่อกันเป็นปีที่ 6, เป็นสมาชิก DJSI ในกลุ่มดัชนี DJSI Emerging Markets ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7, กลุ่มดัชนี DJSI World ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 อีกทั้งได้รับการจัดอันดับด้านการกำกับดูแลกิจการจาก IOD ในระดับดีเลิศ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนถึงศักยภาพของ “ซีพี ออลล์”  ที่สามารถสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน เป็นธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และเป็นธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

สถาบันการเงินผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ให้ความเห็นว่า “มั่นใจว่า หุ้นกู้ “ซีพี ออลล์” จะได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุนเป็นอย่างดีเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือระดับ “A+” และความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำในธุรกิจค้าปลีก รวมถึงผลประกอบการที่ดี และยังมีแผนการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น การเสนอขายหุ้นกู้ของ “ซีพี ออลล์” ในครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุน”

ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับ สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้ บมจ.ซีพี ออลล์ สามารถติดต่อผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 9 แห่งได้ ดังต่อไปนี้

 

คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้าน ประกาศปี’67 พร้อมเดินหน้าสนับสนุน ส่งเสริม SME ภายใต้ "กลยุทธ์ 3 ให้” ต่อเนื่อง

การพัฒนา SME อาจไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ก็มีปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของเอสเอ็มอีที่น่าสนใจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาของผู้ประกอบการรายย่อยได้ เคล็ดลับหนึ่งที่สอดแทรกอยู่ในงานอบรมโครงการ “ตอกเสาเข็มเพื่อ SME” ปี 2567 ที่ทางศูนย์เซเว่น อีเลฟเว่น สนับสนุนเอสเอ็มอี ภายใต้การบริหารของซีพี ออลล์ หยิบยกขึ้นมาคือ “การสร้างแบรนด์” ได้จุดประกายให้เกิดคำถามต่อเนื่องที่เชื่อมโยงสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมีนัยยะสำคัญ

ผศ.ดร.วราภรณ์ คล้ายประยงค์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์ SME หนึ่งในวิทยากร ได้ขยายความเรื่องของ “การสร้างแบรนด์” สิ่งที่ SME ควรรู้ก่อนที่จะปั้นแบรนด์ให้ปัง เพื่อพิชิตใจผู้บริโภคอย่างน่าสนใจ โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันมีการแบ่งแยกประเภทลูกค้าตามพฤติกรรมของลูกค้า แทนแบ่งแยกตามอายุ (Generation) เนื่องจาก Digital เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิต และภาพเหล่านี้ยิ่งชัดเจนมากขึ้นหลังเหตุการณ์โควิด 19 โดยมีวางกรอบกลุ่มผู้บริโภคใหม่ดังนี้ กลุ่มที่น่าจับตามองคือกลุ่ม Generation C (Connected Generation) ซึ่งมีประมาณ 75% ของประชากรวัยทำงาน ต่างกับ Generation X, Y และ Z ในอดีต ตรงที่อายุไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ

Gen C กลุ่มนี้จึงไม่ได้ถูกจำกัดด้วยอายุ แต่มุ่งเน้นไปที่ทัศนคติและกรอบความคิดในการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับไลฟ์สไตล์ จากข้อมูล Parachute Digital. 2024 พบว่า กลุ่ม Gen C ส่วนใหญ่จะเสพข้อมูลผ่านเว็บไซต์โซเซียลมีเดีย โดย 42% ใช้แท็บเล็ตขณะดูทีวี และ 64% ของเวลาบนมือถือถูกใช้ไปกับ Application ต่างๆ เรียกว่า กลุ่ม Gen C มีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยไม่เพียงแต่บริโภคเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังสร้าง content ขึ้นมาด้วย

จากการวิจัยของ Think with Google พบว่า 90 % ของผู้บริโภค Gen C สร้างเนื้อหาบนโลกออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้ง การแบ่งปันชีวิตกับโลกดิจิทัลผ่านเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter และ Instagram ความคิดสร้างสรรค์และกรอบความคิดดิจิทัลคือสิ่งที่ทำให้คน Gen C แตกต่างจากคนรุ่นอื่นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คนเหล่านี้คือคนที่กิน นอน และหายใจผ่านสื่อดิจิทัล (ข้อมูลจาก : Appleton. 2024) ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อกลุ่ม Gen C มีขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่จะทำอย่างไรเพื่อให้เข้าถึงคนกลุ่มนี้ หนึ่งในวิธีที่เห็นผลและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนก็คือ “การสร้างแบรนด์” โดยการสร้างแบรนด์ในสมัยนี้ง่ายและสะดวกสบายกว่าเมื่อก่อนมาก แบรนด์ที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

1.ทัศนคติในเชิงบวกกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง : การมองโลกในแง่ดีและสนับสนุนผู้บริโภคด้วยการสร้างมูลค่าเชิงบวกกับการขายที่ลำบากจะเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความมั่นใจและสร้างความสัมพันธ์ในแบรนด์ เช่น ผู้ประกอบการจำหน่ายพลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งจะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อเกิดบาดแผล หากผู้ประกอบการมีการนำข้อความดีๆหรือออกแบบลายที่ดูสดใส ก็จะช่วยสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่ดีได้

2.มีความเป็นมิตร : ผู้บริโภคกำลังมองหาความไว้วางใจและมูลค่าในการซื้อสินค้า ที่มากกว่ามูลค่าทางตัวเงิน ผ่านการให้ความใส่ใจผู้บริโภค เช่น บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริการด้วยใจ ดังนั้นเรื่องของคุณภาพ ความปลอดภัย และความสะดวกจึงยังคงสำคัญ แม้ว่าจะมีความอ่อนไหวต่อราคาเพิ่มขึ้น เช่น ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่คนไม่สามารถออกมาจับจ่ายซื้อสินค้าได้ ผู้ประกอบการก็มีบริการจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ หรือมีการสอบถามเพื่อแสดงความห่วงใย

3.ผสานเทคโนโลยีทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน : เมื่อกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในตลาดออนไลน์ ผู้ประกอบการก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเข้าไปสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางนี้ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายแพลตฟอร์มออนไลน์ให้เลือกทำตลาด และมีค่าใช้จ่ายไม่สูง เหมาะกับผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่ให้ได้ทำตลาดและสร้าง  แบรนด์ โดยผู้ประกอบการจะต้องศึกษารูปแบบและวิธีการขายในแต่ละแพลตฟอร์มให้ดี เพื่อสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

4.ให้ความสำคัญกับงานและชีวิต : การที่กลุ่ม Gen C เข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลขององค์กร ดังนั้น หากแบรนด์มีการสร้างการตระหนักรู้ถึงความใส่ใจขององค์กรที่มีต่อพนักงาน ก็จะยิ่งทำให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น เพราะความสุขของพนักงานที่มีต่อการทำงานจะสะท้อนออกมาผ่านตัวสินค้าและบริการนั่นเอง

5.ให้ความสำคัญกับสังคม : ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และต้องการเห็นธุรกิจดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ กลุ่ม Gen C มักจะค้นหาข้อมูลของผู้ประกอบการและที่มาของสินค้าว่า สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่ รวมถึงมีการทำกิจกรรมหรือโครงการดีๆ เพื่อตอบแทนสังคมหรือรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างมาก

หากดำเนินการสร้างแบรนด์ครบทั้ง 5 เรื่องแล้ว ลำดับถัดไปคือการเลือกช่องทางในการสร้างแบรนด์ ผู้ประกอบการควรเลือกจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีการการันตีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางออนไลน์ที่เป็นสื่อกลางในการขายสินค้าจำนวนมาก หากผู้ประกอบการสร้างแบรนด์ผ่านช่องทางขายออนไลน์ของตัวเอง ก็สามารถการันตีสินค้าได้เช่นกัน และต้องมีการสื่อสารกับลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความพึงพอใจ

พร้อมเปิดตัวคลิป “เชิดชูจิตวิญญาณความเป็นครู” เนื่องในวันครูแห่งชาติ 2567

ประชันไอเดียพลิกปัญหาเล็กสู่โอกาสใหญ่ ทีมแชมป์ Gen Z โชว์ผลงาน แอปตรวจจับมิจฉาชีพปลอมเสียงจาก AI แก้ปมแก๊งคอลเซ็นเตอร์

X

Right Click

No right click