November 24, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

หลักจากงาน Beijing International Automotive Exhibition ปิดฉากไปอย่างยิ่งใหญ่ โอโมดา แอนด์ เจคู หรือ OMODA & JAECOO ภายใต้ Chery Automobile บริษัทด้านเทคโนโลยียานยนต์ชั้นนำระดับโลกสัญชาติจีน ได้เผยโฉมเทคโนโลยียนตรกรรมใหม่ ๆ สุดทึ่ง ในคอนเซ็ปต์ “ผลิตภัณฑ์ใหม่ + เทคโนโลยีใหม่ + ระบบนิเวศใหม่” ที่ถือเป็นการกำหนดจุดยืนที่ชัดเจนในยุคแห่งพลังงานใหม่ ขณะเดียวกัน OMODA & JAECOO ยังได้เปิดตัวหุ่นยนต์ “Mornine” หุ่นยนต์ไบโอนิคครั้งแรกของโลกอย่างเป็นทางการ ซึ่ง “Mornine” เป็นหุ่นยนต์ไบโอนิคเดินได้ที่พัฒนาโดย Chery Automobile บริษัทแม่ของ OMODA & JAECOO ที่ร่วมมือกับพันธมิตร AiMOGA

เปิดตัวหุ่นยนต์ “Mornine” หุ่นยนต์ไบโอนิคเดินได้ครั้งแรกของโลก

เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ OMODA & JAECOO คือการสร้างความเชื่อมโยงของผู้ขับขี่ในระบบนิเวศ ตอกย้ำการเป็น “มากกว่ารถยนต์” หรือ “More than cars” โดยได้พัฒนาระบบนิเวศต่าง ๆ ในการขับขี่ มุ่งเน้นผู้ขับขี่เป็นศูนย์กลาง และสถานการณ์การใช้ชีวิตในอนาคต รวมถึงการผสมผสานระหว่าง “Tech Life” “Fashion Life” และ “Off-Road Life” เข้าด้วยกัน พร้อมเป็นตัวช่วยในการตั้งแคมป์ การแต่งรถ และคอมมูนิตี้ออนไลน์ (Geek Communities) ที่มอบประสบการณ์การขับขี่ที่หลากหลายและเข้ากับตัวตน รวมถึงการเสริมระบบนิเวศการขับขี่ให้แข็งแกร่งขึ้นอีกด้วย

โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมา แบรนด์ OMODA & JAECOO ได้จัดงานแถลงข่าวระบบนิเวศการขับขี่ขึ้นที่เมืองอู๋หู ประเทศจีน และได้เปิดตัวหุ่นยนต์ “Mornine” หุ่นยนต์ไบโอนิคครั้งแรกของโลกอย่างเป็นทางการ ซึ่ง “Mornine” เป็นหุ่นยนต์ไบโอนิคเดินได้ที่พัฒนาโดย Chery Automobile บริษัทแม่ของ OMODA & JAECOO ที่ร่วมมือกับพันธมิตร AiMOGA

 

“Mornine” เป็นหุ่นยนต์สองเท้าอัจฉริยะเสมือนมนุษย์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ผลิตจากวัสดุเลียนแบบธรรมชาติ (Biomimetic) นวัตกรรมใหม่ เพื่อให้มีความใกล้เคียงมนุษย์ดิจิทัล โดยแบรนด์ OMODA & JAECOO ได้กำหนดเป้าหมายการนำ “Mornine” มาใช้ ผ่านกลยุทธ์ “Three-Step” ในการเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยี เพิ่มฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย และเปลี่ยนผ่านไปสู่การขายและบริการอัจฉริยะ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงลึกและเพิ่มประสิทธิภาพในสถานการณ์เฉพาะให้กับ “Mornine” ในระหว่างงานเปิดตัวแขกผู้มีเกียรติในงานได้มีส่วนร่วมโต้ตอบกับ “Mornine” พร้อมสัมผัสกับประสิทธิภาพของ AI ในการโต้ตอบในสถานการณ์ที่หลากหลาย และสร้างประสบการณ์ให้ผู้เข้าร่วมได้ดื่มด่ำกับเสน่ห์ของ “Mornine” ที่ชาญฉลาดอย่างเต็มที่

ด้วยวิสัยทัศน์และเอกลักษณ์ของแบรนด์ในด้านเทคโนโลยี OMODA & JAECOO มุ่งมั่นเดินหน้าทำตามแผนกลยุทธ์ของแบรนด์ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีและระบบนิเวศของพลังงานใหม่ เพื่อเขียนหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์โลกให้ยั่งยืน

และเมื่อปีที่ผ่านมาแบรนด์ OMODA & JAECOO ได้เปิดตัวรถยนต์รุ่นต่าง ๆ และมีการส่งออกมากกว่า 160,000 คัน ครองใจผู้ขับขี่กว่า 40 ประเทศทั่วโลก โดยรถยนต์ JAECOO ที่เปิดตัวในเดือนเมษายนปีที่แล้ว ด้วยแนวคิด “From Classic, Beyond Classic” ได้ปลดล็อคประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ออฟโรด SUV สุดพรีเมียม พร้อมที่จะไปท่องโลกกับผู้ขับขี่ในทุกท้องถนน

“ผลิตภัณฑ์ใหม่ เทคโนโลยีใหม่” กับไดเรกชั่นกลยุทธ์การใช้พลังงานใหม่

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานทั่วโลกที่รวดเร็วขึ้น OMODA & JAECOO มุ่งเดินหน้าพัฒนาจุดแข็งจากผลิตภัณฑ์และศักยภาพทางเทคโนโลยีของเราอย่างเต็มที่ ซึ่งในงาน Beijing International Automotive Exhibition เราได้นำเสนอยนตกรรมพลังงาน “ใหม่” ด้วยรถยนต์ JAECOO 7 PHEV และ JAECOO 8 PHEV

จากความสำเร็จของ JAECOO 7 PHEV ในตลาดโลก ถือเป็นบทพิสูจน์ที่สำคัญของ JAECOO ในการพลิกโฉมวงการรถยนต์ออฟโรดแบบเดิม ๆ ด้วยรถยนต์พลังงานใหม่ โดย JAECOO ได้ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้แบรนด์สามารถชิงความได้เปรียบในตลาดรถยนต์ออฟโรดพลังงานใหม่ ผ่านโมเดลรุ่น JAECOO 7 PHEV และ JAECOO 8 PHEV

สำหรับรถยนต์ JAECOO 7 PHEV ได้พัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ออฟโรดพลังงานใหม่ ด้วยระบบอัจฉริยะขับเคลื่อนสี่ล้อ (ARDIS) โดยเฉพาะนวัตกรรมที่เหนือชั้น ได้แก่ Power Mode, Energy Conservation, Ultimate Safety, Four-wheel Drive Off-road, Smart Technology และ Outdoor Living ในขณะที่ JAECOO 8 PHEV รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อออฟโรดประสิทธิภาพสูง ที่มอบประสบการณ์การขับขี่ออฟโรดหรูหราเหนือระดับ โดย

JAECOO 8 PHEV ถือเป็นจุดสูงสุดของตลาดรถยนต์ออฟโรดพลังงานใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแพลตฟอร์มออฟโรดไฮบริดเจนเนอเรชัน 3 ของ JAECOO ทั้งหมดนี้ ถือเป็นการสร้างสรรค์คุณค่าในตลาดออฟโรดพลังงานใหม่

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ได้เปลี่ยนไปสู่การแข่งขันด้านเทคโนโลยี ซึ่ง OMODA & JAECOO ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวอย่างยิ่ง ภายใต้ Chery Automobile บริษัทแม่ของ OMODA & JAECOO ได้ฝากมรดกการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ผ่าน “เทคโนโลยี” ในระดับสากลอย่างเต็มรูปแบบมาโดยตลอด ในยุคแห่งพลังงานใหม่นี้ OMODA & JAECOO เดินหน้าให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี โดยยึดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นหัวใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และได้โชว์เทคโนโลยี “PHEV ไฮบริดเจนเนอเรชัน 3” ในงานแถลงข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้งหมดนี้ ถือเป็นความท้าทายที่จะพัฒนาเพื่อผู้ขับขี่ทุกคน และพร้อมสำหรับการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

เคทีซีเปิดโครงการ “KTC FACTORANT” พัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการอนุมัติสินเชื่อ นำหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคน ลดขั้นตอนงานซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิผลในการรับสมัครและพิจารณาสินเชื่อ ปรับพื้นที่ทำงานเป็นโซนพิเศษป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า ตามมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล ISO/IEC 27001: 2013 และมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ISO/IEC 27701: 2019 รองรับการอนุมัติบัตรได้เพิ่มขึ้นกว่า 600,000 รายต่อเดือน

 

นางสาวชนิดาภา สุริยา ผู้บริหารสูงสุด สายงานบริการลูกค้าและสนับสนุนธุรกิจ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การขยายฐานสมาชิกไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ กระบวนการรับสมัครและพิจารณาอนุมัติมีส่วนสำคัญมาก และมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานที่ต้องทำงานต่อเนื่องกัน เคทีซีจึงต้องการยกระดับกระบวนการทำงาน โดยเน้นความสามารถในการทำงาน ความเร็วและความถูกต้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาอนุมัติ โดยได้ริเริ่มโครงการ “KTC FACTORANT” ปรับปรุงพื้นที่สำนักงานชั้น 17 ที่อาคารไทยซัมมิท ถนนเพชบุรีตัดใหม่ เป็นโซนพิเศษ โดยรวมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอนุมัติบัตรเข้ามาทำงานในพื้นที่เดียวกัน จัดลำดับหน่วยงานตาม Process Flow รวมทั้งนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทนคนในบางขั้นตอน เช่น การเคลื่อนย้ายเอกสารต่างๆ เพื่อให้เกิดการไหลของกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ลดระยะเวลาการรอคอย (Waiting Time) และระยะเวลาการเคลื่อนย้าย (Transportation Time) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการ และออกแบบการดำเนินการให้เป็นแบบสายพานการผลิต (Belt Conveyor Design) เพื่อให้งานไหลไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องรวมถึงการสร้าง Visualized Information Dashboard เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด”

การยกระดับกระบวนการรับสมัครและพิจารณาสินเชื่อในโครงการ “KTC FACTORANT” นี้ มีเป้าหมายจะลดเวลาการทำงานที่ไม่จำเป็นในแต่ละขั้นตอนรับสมัครลงอย่างน้อย 85% และเพิ่มประสิทธิภาพการส่งต่องานระหว่างหน่วยงานให้เกิดความต่อเนื่องสูงขึ้น โดยคาดว่าโครงการฯ นี้จะช่วยให้เคทีซีสามารถรองรับการอนุมัติบัตรใหม่เพิ่มขึ้นได้ไม่ต่ำกว่า 600,000 รายต่อเดือน”

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow)  ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และบริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด จัดการแข่งขันหุ่นยนต์สำหรับเยาวชนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ FIRST® LEGO® League (FLL) ในหัวข้อ SUPERPOWEREDSM

บนเป้าหมายเพื่อฝึกการวางแผนและทำงานเป็นทีมเพื่อแก้โจทย์ที่ท้าทาย มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้พลังงานในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ สู่การต่อยอดนวัตกรรมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยสู่การแข่งขันระดับนานาชาติที่สหรัฐอเมริกา

การแข่งขัน FIRST® LEGO® League (FLL) จัดการแข่งขันเป็นสองระดับ ได้แก่ 1) FIRST® LEGO® League Challenge แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ การแข่งขันหุ่นยนต์ทำภารกิจบนสนาม (Robot Performance) การนำเสนอโครงงาน (Project) และการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ (Core Values) โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) การแข่งขัน FIRST® LEGO® League Explore ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ การนำเสนอโครงงาน (Project) และการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ (Core Values) กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยในปีนี้ มีผู้สมัครเข้าแข่งขัน FIRST® LEGO® League Challenge จำนวน 28 ทีม และผู้เข้าแข่งขัน FIRST® LEGO® League Explore จำนวน 29 ทีม ซึ่งได้จัดการแข่งขันไปเมื่อวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “เพราะเราเชื่อมั่นว่าการสนับสนุนการศึกษาด้านสะเต็ม หรือ STEM Education ซึ่งประกอบด้วย 4 สาขาวิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) อย่างจริงจังจะช่วยสร้างคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและส่งเสริมความยั่งยืน Dow จึงได้ร่วมกับพันธมิตรทั่วโลกในการพัฒนาเยาวชนในหลายๆ โครงการ รวมทั้งการแข่งขัน FLL ในประเทศไทย ซึ่งเราได้มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เด็กไทยได้มีโอกาสแสดงความสามารถและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ซึ่งจะกลายเป็นประสบการณ์ที่มีค่าและมีส่วนช่วยในการพัฒนาความสามารถต่อไป

ดร.นวลวรรณ ชะอุ่ม ประธานโครงการ FIRST® LEGO® League ประเทศไทย กล่าวว่า “การแข่งขัน FLL จะเป็นการกระตุ้นศักยภาพของเยาวชนไทย ในด้านการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ รวมไปถึงการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน ซึ่งทักษะดังกล่าวนั้นสำคัญยิ่งในยุคปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและดิจิทัล ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแข่งขันในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งเวทีที่จะให้เยาวชนไทยได้พัฒนาและพิสูจน์ตัวเองในการเป็นตัวแทนทีมชาติไทย เพื่อเข้าแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป”

ผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศ (Champion’s Award: 1st Place) รุ่น FLL Challenge ได้แก่ทีม GALARGIZE โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ได้รับถ้วยรางวัล ใบประกาศนียบัตร พร้อมของรางวัลมูลค่า 51,000 บาท และสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนทีมชาติไทยในการแข่งขันระดับนานาชาติ ส่วนรางวัลรองชนะเลิศ (Champion’s Award: 2nd Place) ได้แก่ทีม SKDWr Crispy Rice โรงเรียนสุคนธีรวิทย์ จ.นครปฐม รับถ้วยรางวัล ใบประกาศนียบัตร พร้อมของรางวัลมูลค่า 40,000 บาท

ส่วนผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศ (Champion’s Award: 1st Place) รุ่น FLL Explore ได้แก่ทีม Energy Wind Team สถาบัน Top Robot Kids จ.สงขลา ได้รับถ้วยรางวัล ใบประกาศนียบัตร พร้อมของรางวัลมูลค่า 28,000 บาท และสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนทีมชาติไทยในการแข่งขันระดับนานาชาติ ส่วนรางวัลรองชนะเลิศ (Champion’s Award: 2nd Place) ได้แก่ทีม Bot New Gen สถาบัน iBot Academy Rayong จ.ระยอง รับถ้วยรางวัล ใบประกาศนียบัตร พร้อมของรางวัลมูลค่า 14,000 บาท

ในฐานะผู้สนับสนุนหลักของโครงการ FIRST® LEGO® League (FLL) ในปีนี้ Dow ได้พิจารณามอบรางวัลพิเศษ Dow Innovation Award ในระดับ FLL Challenge ให้กับทีม Junior Engineer โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ จ.นครปฐม และในระดับ FLL Explore ให้กับทีม Cheer Beat สถาบัน iBot Academy Rayong จ.ระยอง ซึ่งทีมวิศวกรของ Dow ได้คัดเลือกผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม และรางวัล Popular View ให้กับทีม GALARGIZE โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ซึ่งคัดเลือกจากความนิยมในการรับชมคลิปวีดีโอแนะนำตัวของแต่ละทีมบน YouTube โดยได้รับป้ายเกียรติคุณรางวัลพิเศษ พร้อมเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกทีมจะได้รับรางวัลในหัวข้อต่าง ๆ กัน และได้รับเกียรติบัตรจากการแข่งขันเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่เยาวชนทุกท่านในการพัฒนาผลงานและส่งเสริมให้เกิดความรักในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต

 

 

 ออนโรบอต (OnRobot) แบรนด์ผู้นำเสนอเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์แบบครบวงจร เปิดตัวซอฟต์แวร์ WebLytics โซลูชั่นเพื่อการตรวจสอบระยะไกล การวินิจฉัยอุปกรณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลในสายการผลิต ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเสริมขีดความสามารถด้านการผลิตและลดช่วงเวลาการหยุดชะงักในระบบการผลิตให้น้อยที่สุด

 

WebLytics มอบความสามารถในการตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือเพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์หลายส่วนได้พร้อมกันแบบเรียลไทม์ ผ่านการรวบรวมข้อมูลของอุปกรณ์ทั้งจากตัวหุ่นยนต์และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนสายการผลิตให้เป็นระบบการทำงานอัจฉริยะที่เข้าใจง่าย แสดงผลและตรวจสอบได้อย่างชัดเจน และทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

 

“การเปิดตัว WebLytics ถือเป็นหลักชัยสำคัญทั้งสำหรับออนโรบอต ลูกค้า และเครือข่ายผู้บูรณาการระบบการทำงานทั่วโลก” มร.เอนริโก คร็อก ไอเวอร์เซน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ออนโรบอต เผยว่า  “WebLytics เป็นซอฟต์แวร์โซลูชั่นรุ่นแรกที่สามารถมอบข้อมูลการทำงานของหุ่นยนต์กับมนุษย์ได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถใช้งานครอบคลุมทุกอุปกรณ์หุ่นยนต์ของแบรนด์ใหญ่ ๆ ได้ทุกแบรนด์ โดย WebLytics ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์รุ่นแรกนี้ถือเป็นก้าวแรกบนเส้นทางการพัฒนาซอฟตแวร์ของออนโรบอต และเติมเต็มวิสัยทัศน์ของเราในการนำเสนอแอปพลิเคชันการทำงานของหุ่นยนต์กับมนุษย์ได้แบบครบวงจร (One Stop Shop) ทั้งในส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์”

 

สำหรับผู้ใช้งานจริงหรือผู้ที่บูรณาการเข้ากับสายการผลิต WebLytics ไม่เพียงช่วยขจัดภาระการเก็บข้อมูลโดยมนุษย์ หากยังนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้งานได้จริงทั้งในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ร่วมกับมนุษย์ ทำให้สามารถวินิจฉัยอุปกรณ์ได้ในขณะทำงาน สามารถแจ้งเตือนและกำหนดมาตรการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเพื่อลดช่วงเวลาการหยุดชะงักการทำงานของอุปกรณ์หุ่นยนต์ในสายการผลิตให้น้อยที่สุด

 

ด้วยความสามารถในการผสานการทำงานเข้ากับการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในอุตสาหกรรม (Overall Equipment Effectiveness: OEE) ตามมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทำให้ WebLytics สามารถระบุถึงแนวโน้มต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ทั้งในส่วนเซลล์หุ่นยนต์ ตลอดจนรูปแบบการทำงาน ช่วงเวลางานหนาแน่น และการรบกวนขีดความสามารถในการทำงาน

 

WebLytics สามารถรายงานผลการใช้งานอุปกรณ์แขนหุ่นยนต์และอุปกรณ์อื่น ๆ ของออนโรบอตได้ รวมทั้งมือจับ กล้องตรวจจับ และเซ็นเซอร์ ตลอดจนระบุถึงจำนวนครั้งการหยุดทำงานเพื่อความปลอดภัยและจำนวนวงรอบการจับชิ้นส่วนที่ได้ดำเนินงานไปในระหว่างการปฏิบัติงาน อีกทั้ง WebLytics ยังใช้งานง่าย ราคาไม่สูง มุ่งเน้นประสิทธิภาพการทำงานและการตรวจสอบของผลิตภัณฑ์ออนโรบอตทุกรุ่น นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์เพื่อการทำงานกับมนุษย์และอุปกรณ์แขนหุ่นยนต์น้ำหนักเบาเพื่องานอุตสาหกรรมของแบรนด์ชั้นนำ รวมถึงเครื่องมือต่าง ๆ ของออนโรบอตได้ และด้วยความสามารถในการขยายขอบเขตการทำงาน ทำให้ WebLytics คือทางเลือกที่ดีเยี่ยมทั้งในวันนี้และอนาคตเมื่อต้องการใช้งานหุ่นยนต์ปละเครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับการเข้าใช้งาน WebLytics สามารถทำได้ผ่านยูเซอร์อินเตอร์เฟซบนหน้าเว็บไซต์ที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง ซึ่งจะแสดงการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) และดัชนีชี้วัดผลงาน (KPI) บนแผงควบคุมที่สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ เพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นประสิทธิภาพการทำงานทั้งหมดได้ในทันทีแบบเรียลไทม์ มีความโปร่งใส และยังตรวจสอบประวัติการทำงานได้ทั้งหมด

 

เซิร์ฟเวอร์ WebLytics ยังสามารถใช้เป็นเครือข่ายในพื้นที่ปฏิบัติงานหรือเพิ่มเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายการแสดงผลซึ่งเชื่อมต่อกับเซลล์หุ่นยนต์

 

“WebLytics คือส่วนเสริมการทำงานที่สมบูรณ์แบบให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ของเรา และถือเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญของออนโรบอตในการสร้างสรรค์เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ซึ่งในนี้คือความสามารถในการตรวจสอบระยะไกล การวินิจฉัยอุปกรณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูล ในระดับราคาที่เข้าถึงได้และใช้งานได้จริงสำหรับบริษัททุกขนาด” มร.เอนริโก คร็อก ไอเวอร์เซน กล่าวเสริม

 

WebLytics กำหนดเปิดให้ใช้งานทั่วโลกผ่านการลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

 

โอกาสครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในประเทศไทย ข้อมูลของสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ (International Federation of Robotics: IFR) ระบุว่าทวีปเอเชียเป็นตลาดหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของโลก คิดเป็น 71% ของหุ่นยนต์ที่พัฒนาใหม่ทั้งหมดของปี ค.ศ. 2020 โดยประเทศไทยจัดอยู่ที่อันดับ 13 ของโลก อันดับ 7 ของเอเชีย และอันดับ 2 ของอาเซียนในด้านจำนวนการติดตั้งใช้งานหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมในปี ค.ศ.2020

 

 

 

 

 

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click