เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วเป็นถุงพลาสติกรักษ์โลก ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ท่ามกลางกระแสรักษ์โลก ที่ทุกภาคส่วนในสังคมกำลังมุ่งมั่นเดินหน้าไปสู่การสร้าง “สังคมคาร์บอนต่ำ” มีหลายธุรกิจชั้นนำระดับโลกที่พัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นจริงแล้ว และนำมาแบ่งปันแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมาร่วมก้าวไปพร้อมกัน ในงาน ESG Symposium 2023: ร่วม เร่ง เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เมื่อไม่นานนี้

ขนส่งและเดินทางด้วย “รถประหยัดพลังงาน (Green Logistic)”

ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคของความเป็นกลางทางคาร์บอน และมีความต้องการที่ต้องเปลี่ยนยานยนต์ทุกคันเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ BEV และพลังงานสะอาด ซึ่งในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของภาครัฐ 

มร.ฮิโรกิ นาคาจิม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนไม่ใช่สิ่งที่บริษัทเดียวจะทำได้โดยลำพัง จึงได้มีการริเริ่มความร่วมมือกับระหว่างบริษัทรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศญี่ปุ่นและได้ก่อตั้งบริษัทภายใต้ชื่อ “Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPT”  เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้รถที่มีเทคโนโลยีหลากหลาย รวมถึงรถจากพลังงานสะอาด และรถที่มีคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการขนส่ง  โดยได้ขยายความร่วมมือดังกล่าวมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับโลก “Detroit of Asia” สำหรับรถยนต์เชิงพาณิชย์

นอกจากนี้ มร.นาคาจิม่ายังได้เปิดเผยถึงความร่วมมือที่บริษัท CJPT มีความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และเอสซีจี เพื่อผลักดันให้ไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมรักษ์โลก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ทั้งการผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากชีวมวล และอาหารเหลือทิ้ง รวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ด้านการใช้ข้อมูล (Big Data) และโครงสร้างพื้นฐานด้านการโทรคมนาคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ และด้านการเดินทาง โดยการนำเสนอยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ได้แก่ รถพลังงานไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) รวมถึงยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับด้านพลังงาน ลูกค้า รวมทั้งรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้งาน

โดยในความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บริษัท CJPT ได้ร่วมมือในการผลิตพลังงานไฮโดรเจนที่มาจากพลังงานไบโอก๊าซ หรือ “ก๊าซชีวภาพ” ซึ่งหมักโดยใช้มูลไก่จากฟาร์มของ CP และนำไปใช้ในภาคขนส่ง ซึ่งเป็นการนำของเสียจากการผลิตภาคการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า และใช้ประโยชน์ให้เป็นพลังงานสะอาดสำหรับรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) ซึ่งถือเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดโลกร้อนได้ด้วย

ส่วนกรณีศึกษาในประเทศญี่ปุ่น มร.นาคาจิม่าเล่าว่า กรณีแรกคือ CJPT ได้ริเริ่มให้มีการใช้ “ไฮโดรเจน” ในเมืองฟุกุชิมะ ในรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ซึ่งใช้เป็นร้านสะดวกซื้อและการขนส่ง สำหรับประชากรกว่า 300,000 คน โดยสามารถขยายไปสู่เมืองอื่น ๆ ได้ในอนาคต

กรณีที่สองคือ ในกรุงโตเกียว ที่ CJPT ร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ในการส่งเสริมการสร้างสถานีชาร์จสำหรับรถ BEV และไฮโดรเจนสำหรับรถ FCEVs เพื่อขยายการใช้รถยนต์พลังงานสะอาด ขณะเดียวกันกระจายการใช้พลังงาน

เร่งเครื่อง “พลังงานสะอาด”

จากการที่ภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้พลังงานความร้อนในการผลิต แต่ในยุคที่ทั่วโลกเริ่มปรับตัวมาใช้พลังงานสะอาดแทน จอห์น โอดอนเนลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Rondo Energy กล่าวว่า ถึงแม้การเปลี่ยนผ่านนี้ถือเป็น “โจทย์ยาก” แต่สามารถเป็นไปได้

โอดอนเนลล์ อธิบายว่า ไทยเป็นตลาดสำคัญของบริษัทในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานพลังงานใหญ่ระดับโลกเพื่อนำไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งบริษัทกำลังทำงานกับเอสซีจีเพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมในไทยใช้พลังงานสะอาดและต้นทุนต่ำ ที่สำคัญ “เมื่อรักษ์โลกแล้ว ต้องทำเงินได้ด้วย”

“การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานนั้นแม้เป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นโอกาสเช่นกัน เพราะปัจจัยพื้นฐานในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว” โอดอนเนลล์กล่าว “แหล่งพลังงานสะอาดทั้งจากแสงแดดและลมขณะนี้ถือว่าต้นทุนต่ำมาก ๆ อยู่ที่ใครจะกล้าลงทุนหรือไม่”

อีกทั้งยังเป็นโอกาสครั้งใหญ่สุดแห่งยุค “ขณะนี้พลังงานสะอาดกำลังขับเคลื่อนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม และจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกใน 50 ปีข้างหน้า”

โอดอนเนลล์ เปิดเผยด้วยว่า บริษัทได้ร่วมกับเอสซีจีในการผลิตอิฐแบบพิเศษที่เก็บความร้อนได้กว่า 1,500 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ความร้อนซึ่งสามารถแปลงพลังงานสะอาดจาก “ลม” และ “แสงแดด” ให้เป็นพลังงานความร้อนที่สามารถใช้ได้ในภาคอุตสาหกรรม

ขณะเดียวกัน เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมและแสงแดดสูง และต้นทุนพลังงานสะอาดกำลังมีต้นทุนที่ถูกลงเรื่อย ๆ จนขณะนี้มีต้นทุนถูกกว่าพลังงานฟอสซิล ดังนั้น พลังงานเหล่านี้จึงสามารถตอบโจทย์การใช้พลังงานความร้อนในภาคอุตสาหกรรมได้

“นวัตกรรมแบตเตอรี่เก็บความร้อนจากพลังงานสะอาดสำหรับภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่” โอดอนเนลล์ระบุ

“ไบโอพลาสติก” ลดคาร์บอน

ในขณะนี้ จำนวนประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความต้องการใช้ทรัพยากรโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากบราซิล บริษัท Braskem จึงได้ริเริ่มนำประโยชน์ที่ได้จากการผลิตเอทานอลจากอ้อย มาผลิตเป็น “ไบโอพลาสติก” ที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

โรเจอร์ มาร์คิโอนี ผู้อำนวยการเอเชีย ฝ่ายโอเลฟินส์และโพลีโอเลฟินส์ บริษัท Braskem กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทสามารถผลิตไบโอพลาสติกจากอ้อยซึ่งสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก สอดรับกับความต้องการพลาสติกชีวภาพในตลาด 

ล่าสุด จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่กับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล ซึ่งมีกำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปี  ภายใต้แบรนด์ I’m green™ (แอมกรีน) และยังสามารถนำไปผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ดูแลบ้าน ของเล่น เครื่องใช้ในบ้าน ถุงพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Mechanical recycling และ Advanced recycling เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผสมผสานความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพของ Braskem เข้ากับความเชี่ยวชาญของ SCGC ในด้านการผลิตพอลิเอทิลีน รวมทั้งศักยภาพของ SCGC ที่เป็นผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาคโดยโรงงานของบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทย และถือเป็นโรงงานผลิต   I’m green™  แห่งแรกนอกประเทศบราซิล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ระดับภูมิภาคที่มุ่งเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน

เมื่อเร็ว ๆ นี้  เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับภูมิภาคที่มุ่งเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน ตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัย จากงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 35 ร่วมสร้างวัฒนธรรมไทยเชิงป้องกันสู่ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และความผาสุกที่ยั่งยืน (Forward Culture of Prevention for Safety Thailand) จัดโดยกระทรวงแรงงาน นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 หรือ EIA Monitoring Awards 2023 จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำการเป็นโรงงานเชิงนิเวศที่มุ่งยกระดับมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการดูแลชุมชน และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้อุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน  

รางวัลองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัย (Zero Accident Campaign 2023) โดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจ SCGC ได้แก่ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด (ROC) และบริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด (MOC) รับโล่ประกาศเกียรติคุณในกิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ ประจำปี 2566 (Zero Accident Campaign 2023) ระดับแพลตินัม ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 จากสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) กระทรวงแรงงาน โดยมีเกณฑ์การพิจารณาจากสถานประกอบการที่สามารถรักษาชั่วโมงการทำงานต่อเนื่องโดยไม่เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน ไม่ถูกดำเนินคดีด้านความปลอดภัย ไม่มีลูกจ้างประสบอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ในช่วงเวลา 2 ปี ไม่มีอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นหยุดงานเกิน 3 วัน อีกทั้งยังเป็นสถานประกอบกิจการที่เป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการ มีระบบมาตรฐานสากล และเป็นองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยฯ

รางวัลสถานประกอบการด้านสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring Awards 2023) โดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจ SCGC ได้แก่ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด และ บริษัท ไทย เอ็มเอ็มเอ จำกัด  รับรางวัลสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 หรือ EIA Monitoring Awards 2023 ระดับยอดเยี่ยม และดีเด่น (ตามลำดับ) ประเภทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีการจัดการและรักษาสิ่งแวดล้อมตามมาตรการของ EIA จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการเห็นความสำคัญถึงการป้องกัน และติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เพื่อให้สถานประกอบการได้ยกระดับและพัฒนากลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมของตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สถานประกอบการอื่น ๆ

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ระดับภูมิภาคที่มุ่งเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน ตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) ผนึกกำลังความร่วมมือจัดกิจกรรม วันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล หรือ International Coastal Cleanup 2023 ประจำปี 2566 ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม จ.ระยอง กว่า 25 องค์กร โดยมีจิตอาสาจากทุกภาคส่วนร่วมกิจกรรมเก็บขยะชายหาดกว่า 2,800 คน เพื่อลดปัญหาขยะที่หลุดรอดลงสู่ทะเล ฟื้นฟูความสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งส่งเสริมการนำทรัพยากรกลับมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน  โดยมีนายพิเชษฐ์ ตั้งปัญญารัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยอง โอเลฟินส์ จำกัด ในธุรกิจ SCGC เป็นผู้แทน SCGC ร่วมพิธีเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ และได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยตรีพิรุณ เหมาะรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยองให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด

SCGC ตระหนักถึงปัญหาขยะที่หลุดรอดสู่ทะเลและสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงวิถีชีวิตของชุมชนประมงพื้นบ้านและชุมชนริมชายฝั่ง รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศอีกด้วย โดย SCGC มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศทางทะเลเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึง ชุมชน เยาวชน และพนักงานจิตอาสา ผ่านการนำ นวัตกรรมเพื่อพิทักษ์ทะเล” (Innovation for Better Marine) มาช่วยยกระดับการแก้ไขปัญหา และขับเคลื่อนภารกิจพิทักษ์ทะเลด้วย “โมเดล 3 พร้อมเพื่อท้องทะเล ซึ่งเชื่อมโยงและครอบคลุมตลอดทั้งกระบวนการจัดการ ได้แก่ “พร้อมใจ ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ และคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ผ่านโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมเก็บเก็บขยะที่หลุดรอดมาสู่ชายหาดและแม่น้ำลำคลอง ด้วยนวัตกรรมทุ่นกักขยะลอยน้ำ และกิจกรรมเก็บขยะชายหาด  พร้อมเติบโต เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยนวัตกรรมบ้านปลา SCGC เป็นต้น

วันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล หรือ International Coastal Cleanup Day (ICC Day) จัดขึ้นทุกปี ในวันเสาร์ที่ 3 ของเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมเก็บขยะชายหาดพร้อมกันทั่วโลก โดยจังหวัดระยองได้จัดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องเป็นปีที่ 21 แล้ว สำหรับปี 2566 นี้ มีการพัฒนาชายหาด 3 พื้นที่ ตั้งแต่หาดแหลมเจริญต่อเนื่องไปจนถึงหาดสุชาดา ระยะทางประมาณ 10.2 กิโลเมตร บริเวณหาดน้ำริน หาดพยูน หาดพลา ระยะทางประมาณ 4.6 กิโลเมตร รวมไปถึงบริเวณหาดแม่รำพึง ที่มีระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร สามารถรวบรวมปริมาณขยะได้ จำนวนมากกว่า 6 ตัน มีสมาชิกจิตอาสาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน และชุมชนใกล้เคียง เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 2,800 คน โดยข้อมูลของขยะที่เก็บได้จะถูกส่งไปยังองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรวมกับข้อมูลการเก็บขยะชายหาดจากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาขยะในทะเลในระยะยาวอย่างยั่งยืน 

Page 2 of 9
X

Right Click

No right click