ท่ามกลางกระแสการแข่งขันในธุรกิจไลฟ์สไตล์มอลล์ หรือ คอมมูนิตี้มอลล์ ที่พากันเปิดให้บริการมากมายทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละภูมิภาค ซึ่งแต่ละแห่งต่างต้องงัดทุกกลเม็ดทางการตลาดเพื่อช่วงชิงความสนใจของลูกค้า โดยตัวชี้วัดความสำเร็จนั้น ย่อมหนีไม่พ้นประสิทธิภาพในการนำเสนอประสบการณ์แปลกใหม่ที่ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้จริง
จากโจทย์ที่ท้าทายนี้เองที่ทำให้ พจนีย์ พินิจศักดิ์กุล หรือเหมี่ยน ผู้บริหารหน้าใหม่ของบริษัท อาร์ต วิลล์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้ดูแลโครงการ The Sense Pinklao “เดอะเซ้นส์ ปิ่นเกล้า” คอมมูนิตี้มอลล์แห่งใหม่ มุ่งมั่นและตั้งใจค้นหาความแตกต่างเพื่อผลักดันให้เป็นจุดขายของ เดอะเซ้นส์ ปิ่นเกล้า ให้ได้ในช่วงเวลาอันสั้น
“พอเรียนจบปริญญาตรีจากสหรัฐ-อเมริกา คุณพ่อก็ให้โจทย์ว่า ให้พัฒนาที่ดินทำเลดีอยู่ในย่านปิ่นเกล้า 6 ไร่ จะทำอะไรดี เราเลือก Community Mall เพราะโดยส่วนตัว ชอบนัดเพื่อนไปเดินเล่น Community Mall ทุกครั้งที่ไปได้เห็นปัจจัยหลายอย่างที่เป็น Key of Success ของธุรกิจและเห็นลู่ทางว่า เราสามารถสร้าง Community Mall เพื่อนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับคนในย่าน
ปิ่นเกล้าได้ ความคิดในการสร้าง The Sense เลยค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวขึ้นจากจุดนี้ค่ะ”
ต่อมา ทายาทครอบครัวธุรกิจจิวเวลรี่คนนี้ได้เล่าถึงประสบการณ์มากมายหลายด้านที่เธอได้เรียนรู้จากการสร้าง เดอะเซ้นส์ ปิ่นเกล้า ทำให้รู้ว่าการบุกเบิกธุรกิจเพื่อปูทางไปสู่ความสำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับนักธุรกิจสาวหน้าใหม่ วัย 29 ปี แบบเหมี่ยนเลย ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่เธอใช้กำหนดทิศทางธุรกิจ นั่นคือ ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่ได้จากการเรียน ปริญญาโท สาขาการบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เมื่อมาสนธิกำลังเข้ากับแรงกาย แรงใจ ความคิดสร้างสรรค์ของเหมี่ยนแล้ว จึงทำให้วันนี้ เดอะเซ้นส์ ปิ่นเกล้า พร้อมเปิดตัว และมีอนาคตสดใสในฐานะคอมมูนิตี้มอลล์น้องใหม่ที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้ไม่ยาก
“จบปริญญาโทจากศศินทร์ ในสาขาบริหารธุรกิจ เน้นหนักมาทางด้าน Strategic Management and Marketing ค่ะ รู้สึกคิดไม่ผิดเลยที่เลือกเรียนที่นี่ เพราะสิ่งสำคัญที่ได้จากการเรียนคือ Connection กับเพื่อนๆ ที่เป็นเจ้าของกิจการหลากหลายรูปแบบ รวมถึงได้รู้จักและเรียนรู้จากคณาจารย์ที่ไม่เพียงมีความเชี่ยวชาญในความรู้ทางทฤษฎีเท่านั้น แต่อาจารย์หลายท่านยังมีประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจ การเป็น Entrepreneur มาก่อน สิ่งที่อาจารย์ถ่ายทอด จึงสามารถนำมาใช้ในการทำธุรกิจได้จริง ที่เห็นได้ชัดคือ การวิเคราะห์ทิศทางกลยุทธ์ทางการตลาด การวางแผนส่งเสริมการขาย หาข้อได้เปรียบจากสิ่งที่คู่ค้าไม่มี อย่างการคัดเลือกร้านที่ไม่มีอยู่ในห้างเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า โลตัส ปิ่นเกล้า และเมเจอร์ ปิ่นเกล้า แล้วนำมาเป็น Selling Point ของ เดอะเซ้นส์ ได้ ซึ่งในจุดนี้เหมี่ยนไม่ได้มองว่า ห้างดังต่างๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากเดอะเซ้นส์เป็นคู่แข่งของเรานะ แต่เหมี่ยนมองในประเด็นประโยชน์สูงสุดของลูกค้าที่จะมาใช้บริการเดอะเซ้นส์ มากกว่า ว่าเราจะสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการเราได้อย่างไร เพราะเหมี่ยนเชื่อว่าเดอะเซ้นส์ เองก็จะมีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างจากห้างดังๆ ที่กล่าวมาอยู่แล้วด้วย”
สะดวก สบาย ปลอดภัย 24 ชม. ด้วยความเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ที่ไม่ได้อยู่ภายในตัวอาคารปิดทึบ ทำให้เหมี่ยนกำหนดอีกหนึ่งจุดขายที่น่าสนใจของเดอะเซ้นส์ ด้วยการนำซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และร้านกาแฟ แบรนด์ชั้นนำที่ได้รับความนิยมมาเปิดให้บริการ 24 ชม. ในส่วนชั้นล่างหน้าเดอะเซ้นส์ นอกจากนั้น ยังมีสถานบันเทิง ให้ลูกค้าได้มานั่งฟังเพลงกันชิลๆ เปิดตั้งแต่ 5 โมงเย็น ถึงตีสอง ทั้งหมดนี้มาพร้อมกับจอดรถสะดวกสบายกว้างขวางกว่า 500 คัน ที่ลูกค้าไม่ต้องกลัวภัยอันตรายยามดึก เพราะโครงการนี้ได้ถูกออกแบบให้มีไฟฟ้าส่องสว่างและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยช่วยดูแลตลอด 24 ชม. ซึ่งเธอเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เองจะสามารถเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของลูกค้า โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมย่านปิ่นเกล้าที่ต้องการความสะดวก สบาย ตลอด 24 ชม. ได้อย่างดี
Trends & Mixed ผู้เช่า ย้ำความแตกต่าง เป็นความมุ่งมั่นของผู้บริหารสาวคนนี้มาแต่ต้นแล้วกับการให้ความสำคัญในการคัดเลือกผู้เช่าพื้นที่ให้บริหารในเดอะเซ้นส์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด ซึ่งเธอขยายความว่า อย่างร้านอาหาร ซึ่งมีสัดส่วนเป็น 70 % ของที่นี่ เธอก็ได้คัดเลือกร้านอาหารที่ในรัศมี 20 กิโลเมตรจาก เดอะเซ้นส์ ยังไม่มีเปิดให้บริการมาเปิดที่นี่ เพื่อช่วยลดระยะเวลาลูกค้า หากต้องการกินอาหารที่ร้านนี้จะได้ไม่ต้องเดินทางไปสาขาไกลๆ เป็นต้น
เปิดพื้นที่ให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ กลุ่มเพื่อนที่เหมี่ยนได้รู้จักเมื่อครั้งศึกษาต่อที่ศศินทร์ เป็นเจ้าของธุรกิจ Jasberry Rice บวกกับการได้ทำ research ในชั้นเรียน ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาด้านการขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย ที่ขาดความรู้ด้านการทำการตลาด การขนส่งเพื่อนำไปขาย ยอดขายจึงไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งที่สินค้ามีคุณภาพดีและน่าสนใจมาก เพราะฉะนั้น เมื่อเปิด เดอะเซ้นส์ ขึ้น เธอจึงกำหนดไว้ในแผนการตลาดเลยว่า ในอนาคตอันใกล้จะเปิดพื้นที่ให้ผู้ขายเหล่านี้นำผลิตภัณฑ์อินทรีย์ของตนมาจำหน่ายในพื้นที่เดอะเซ้นส์ แห่งนี้ ด้วยความหวังว่า
โปรเจ็คต์ดีๆ นี้จะช่วยเพิ่มรายได้และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับเกษตรกรไทยต่อไป นอกจากนั้น ที่นี่ยังเปิดกว้างสำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่จับกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ ตลอดจนผู้ประกอบการที่ต้องการพื้นที่ขายในการแนะนำสินค้าหรือกิจกรรมพิเศษต่างๆ ที่ตรงกับคอนเซ็ปต์ ของเดอะเซ้นส์ ปิ่นเกล้า ซึ่งเธอสรุปสั้นๆ ได้ใจความว่าอยากให้ลูกค้ามาแล้ว รู้สึกสนุกและมีความสุขในทุกสัมผัส รวมทั้งได้ฝากให้ติดตามกิจกรรมเดอะเซ้นส์ ผ่านทางเฟซบุ๊ก
https://www.facebook.com/thesensebkk