December 23, 2024

ในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) อาจจะยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายในแง่ของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ในไทย เทียบเท่ากับต่างประเทศที่วันนี้เดินหน้าไปแล้วหลายช่วงตัว

พฤกษาโชว์ผลประกอบการครึ่งปีแรกยังเติบโตแม้ในสภาวะตลาดชะลอตัว สร้างรายได้รวม 19,662 ล้านบาท เติบโต 3% ทำกำไรได้ 2,618 ล้านบาท

การบริหารจัดการ หลักสูตรและการศึกษาในยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรายวัน รายชั่วโมง แม้กระทั่งเป็นรายนาทีอย่างในยุคนี้นั้น บทบาทผู้บริหารที่ก้าวเข้ามารับมือ ถือได้ว่ากำลังเผชิญกับความเหนือกว่าคำว่า “ความท้าทาย”

ท่ามกลางสถานการณ์ ที่มีความหลากหลายทางความคิด พรรคการเมืองใหญ่น้อย นำเสนอนโยบายต่างๆ ซึ่งล้วนสรุปแนวทางไม่ต่างกันนัก และที่สำคัญคือนโยบาย “แก้จน” โดยพรรคการเมืองส่วนใหญ่

เมื่อเร็วๆ นี้ ณ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดโครงการอบรมหลักสูตร “Blockchain for Enterprise Transformation” เป็นวันแรก

จากข้อมูลการสำรวจ 2018 Global Sustainable Investment Review ของ Global Sustainable Investment Alliance (GSIA) ภาคีระดับโลก ที่ประกอบด้วย หน่วยงานสกุล SIF (Sustainable Investment Forum) และสมาคมของบรรดาผู้ลงทุนสถาบัน องค์กรธุรกิจ และนักวิชาชีพ ที่เน้นการลงทุนที่ยั่งยืน มีความรับผิดชอบ และมุ่งผลกระทบ ในประเทศต่างๆ ได้แก่ Eurosif (ยุโรป), JSIF (ญี่ปุ่น), RIAA (ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์), RIA Canada (แคนาดา), UKSIF (สหราชอาณาจักร), USSIF (สหรัฐอเมริกา) และ VBDO (เนเธอร์แลนด์) ระบุว่า ตัวเลขการลงทุนที่ยั่งยืนทั่วโลก มีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นจาก 22.89 ล้านล้านเหรียญ ในปี พ.ศ. 2559 มาอยู่ที่ 30.68 ล้านล้านเหรียญ ในปี พ.ศ. 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 ในช่วงเวลา 2 ปี

โดยการลงทุนในหมวดนี้ คิดเป็นร้อยละ 33 ของขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ทั้งหมด หรือเทียบอย่างง่าย คือ ในจำนวนเงินลงทุน 3 เหรียญ จะมีอยู่ราว 1 เหรียญ ที่เป็นการลงทุนที่ยั่งยืน แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของเรื่องการลงทุนที่ยั่งยืนว่าได้เข้าสู่โหมดการลงทุนกระแสหลัก (Mainstream) โดยกลุ่มผู้ลงทุนรายใหญ่ประเภทสถาบัน อย่างมีนัยสำคัญ

เฉพาะตัวเลขการเติบโตของกลยุทธ์การลงทุนที่ใช้ข้อมูล ESG (Environmental, Social and Governance) ผนวกในการวิเคราะห์ ในปี พ.ศ. 2561 มีเม็ดเงินสูงถึง 17.54 ล้านล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2559

แลร์รี่ ฟิงก์ ซีอีโอ แบล็กร็อก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนใหญ่อันดับหนึ่งของโลก กล่าวไว้ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า ผู้ลงทุนทุกราย จะประเมินมูลค่าบริษัท ด้วยการวัดผลกระทบของกิจการในเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

การใช้ปัจจัย ESG ในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจลงทุน ร่วมกับการพิจารณา Risk-Return Profile ในแบบทั่วไป นอกจากจะทำให้ผู้ลงทุนสามารถคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคตของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนเอง ในแง่ที่จะช่วยสร้างผลตอบแทน (Alpha) ที่เพิ่มขึ้น และช่วยลดความผันผวนของราคา (Beta) ของหลักทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนแล้ว ยังทำให้การลงทุนนั้น ช่วยเสริมสร้างผลกระทบเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก (Real World Impact) ในทางที่ดีขึ้นด้วย

เพื่อเป็นการตอบโจทย์การลงทุนที่ยั่งยืน พร้อมกับการสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจในประเทศไทย ได้จัดทำและประกาศรายชื่อ 100 หลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2015 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ห้าในปีนี้

ภาพรวมกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ปี ค.ศ. 2015-2019

การพิจารณาเพื่อคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนเข้าในยูนิเวิร์ส ESG100 ได้ใช้ข้อมูล ESG ที่บริษัทเผยแพร่ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เป็นสำคัญ รวมถึงข้อมูล ESG ที่มีการเปิดเผยหรือปรากฏต่อสาธารณะ ในรายงานประจำปี (แบบ 56-2) หรือในรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainability Report) หรือในรายงานอื่น ตามแต่กรณี โดยไม่ใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใดๆ เพิ่มเติม

โดยการประเมินมุ่งไปที่การวิเคราะห์ข้อมูล ESG แบบบูรณาการ ผนวกเข้ากับข้อมูลทางการเงิน ที่เรียกว่า Integrated ESG เพื่อให้สะท้อนผลตอบแทนการลงทุนหรือตัวเลขผลประกอบการที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัท ด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ การวิเคราะห์อุตสาหกรรม กลยุทธ์องค์กร และรายงานทางการเงิน

การประเมิน ESG แบบบูรณาการ เป็นการยกระดับจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้าน ESG แบบเอกเทศ มาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานด้าน ESG ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับผลประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนในมิติของการลงทุนที่ยั่งยืนว่า บริษัทที่มี ESG ดี จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีด้วย

และเพื่อให้เห็นถึงความสามารถในการให้ผลตอบแทนของการลงทุนที่ยั่งยืนจากหลักทรัพย์จดทะเบียนในประเทศไทย โดยใช้กลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นยูนิเวอร์สการลงทุนที่ยั่งยืน สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดทำ Thaipat ESG Index หรือ ดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ สำหรับใช้เป็นดัชนีเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน (Benchmark Index) และสามารถใช้เป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับการลงทุน (Investable Index) ในผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับหลักทรัพย์ ESG100 ที่ผ่านเกณฑ์สภาพคล่องหลักทรัพย์ เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการซื้อขาย เหมาะสมต่อการนำมาคำนวณในดัชนี เพื่อใช้อ้างอิงสำหรับการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชุดดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ ที่จัดทำขึ้น ประกอบด้วย ดัชนีผลตอบแทนราคา (Price Return) อีเอสจี ไทยพัฒน์ ดัชนีผลตอบแทนรวม (Total Return) อีเอสจี ไทยพัฒน์ และดัชนีผลตอบแทนรวมสุทธิ (Net Total Return) อีเอสจี ไทยพัฒน์ โดยมี S&P Dow Jones เป็นผู้คำนวณและเผยแพร่ข้อมูลดัชนี ผ่านหน้าจอ Bloomberg และ Reuters ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วโลก

ดัชนีผลตอบแทนรวม อีเอสจี ไทยพัฒน์ เป็นดัชนีที่คำนวณผลตอบแทนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ที่ลงทุน และเงินปันผล โดยมีสมมติฐานว่า เงินปันผลที่ได้รับนี้จะถูกนำกลับไปลงทุน (Reinvest) ในหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี (มิใช่เฉพาะหลักทรัพย์ที่จ่ายปันผล)

เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง Thaipat ESG Index (TR) กับ SET TRI, SET100 TRI และ SET50 TRI

จากการคำนวณผลตอบแทนรวมโดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันฐานของดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ (30 มิ.ย. 58) จนถึงวันที่ 11 มิ.ย. 62 เทียบกับดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ (SET TRI) ดัชนีผลตอบแทนรวม SET100 (SET100 TRI) และดัชนีผลตอบแทนรวม SET50 (SET50 TRI) พบว่า ดัชนีผลตอบแทนรวม อีเอสจี ไทยพัฒน์ ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 32.69% ขณะที่ SET TRI ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 26.09% ส่วน SET100 TRI ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 26.48% และ SET50 TRI ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 27.18%

การเปิดเผยกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 และการจัดทำชุดดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ ถือเป็นพัฒนาการของการเผยแพร่ข้อมูลด้าน ESG ของหลักทรัพย์จดทะเบียน และข้อมูลดัชนีอ้างอิงสำหรับการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ควบคู่กับข้อมูลผลประกอบการทางการเงิน อันจะนำไปสู่การสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน การส่งเสริมธรรมาภิบาลของบริษัท และการดูแลรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน


เรื่อง  ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ | ประธาน สถาบันไทยพัฒน์

นับตั้งแต่เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดในช่วงเวลากว่า 60 ปีที่ผ่านมา นอกจากอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือสิ่งของต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นแล้ว “ขยะ” ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ในกระบวนการสร้างความเปลี่ยนผ่านของธุรกิจหรือองค์กรไปสู่ดิจิทัล ที่เรียกกันว่า Digital Transformation นั้น นอกจากองค์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นกลไกหรือตัวส่งเสริมสำคัญในกระบวนการแล้ว ยังต้องการการออกแบบระบบนิเวศน์ทางธุรกิจเป็นอีกประเด็นสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจและการดำรงชีวิต หนึ่งในนั้นจะต้องมีเทคโนโลยี Blockchain อยู่อย่างแน่นอน ผมมั่นใจว่า Blockchain จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงในหลากหลายธุรกิจ

อุตสาหกรรมบริการทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย จากประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรปัจจุบันรายได้จากภาคอุตสาหกรรมและบริการของประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

X

Right Click

No right click